xs
xsm
sm
md
lg

ผู้จัดการสุดสัปดาห์

x

“ไพโรจน์-สุวัจน์” อนาคตชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

การเปิดตัวรวมพรรคเพื่อแผ่นดิน- รวมชาติพัฒนา
ASTVผู้จัดการสุดสัปดาห์ - ตกใจมากกับได้ยินข่าวว่า “ว่าที่ ร.ต.ไพโรจน์ สุวรรณฉวี” เสียชีวิตกระทันหันด้วยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ที่โรงพยาบาลกรุงเทพ 

ได้ยินข่าวแล้ว รู้ใจหายพอสมควร...

เหตุผลสำคัญก็คือ นายอำเภอ หรือ พี่ไพโรจน์ ที่นักข่าวในอดีตชอบเรียก เป็น “แหล่งข่าวคนสำคัญ” ของผมคนหนึ่ง

เป็นนักการเมืองคนแรกที่ผมรู้จักตั้งแต่เป็นส.ส.ครั้งแรก จนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต

ร.ต.หญิงระนองรักษ์ สุวรรณฉวี แถลงข่าวพร้อมบุตรชาย 3 คน ว่า ร.ต.ไพโรจน์ สุวรรณฉวี แกนนำกลุ่ม 3 พี พรรคเพื่อแผ่นดิน เสียชีวิตที่ รพ.กรุงเทพ ตั้งแต่เมื่อวันที่ 7 พ.ค. 54 จากอาการแพ้ยา และมีอาการอื่นๆ แทรกซ้อน โดยจะเคลื่อนย้ายศพไปตั้งบำเพ็ญกุศล ที่วัดสุทธจินดา อ.เมือง นครราชสีมา จ.นครราชสีมา ก่อนขอพระราชทานเพลิงศพต่อไป

อนาคตทางการเมืองของครอบครัวสุวรรณฉวี ก็จะดำเนินการทุกอย่างตามเจตนารมณ์ของ ว่าที่ ร.ต.ไพโรจน์ ซึ่งจะมาอยู่พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน และมีนายพลพีร์ และนายพีรพร บุตรชาย ทำหน้าที่สานต่องานทางด้านการเมือง ด้วยการลงสมัครส.ส.นครราชสีมา

บุตรชายของ ว่าที่ ร.ต.ไพโรจน์ ประกอบด้วย พลพีร์ พีรพร และ ณัฐวัชร์ สุวรรณฉวี
 

แม้ไพโรจน์ จะประกอบคุณงามความดี และความไม่ดี ตามสถานการณ์แต่ละเหตุการณ์ แต่ความใจถึงไม่ต้องพูดถึง ไพโรจน์มีไม่น้อยกว่าคนอื่น แม้ฐานะจะสู้ เนวิน ชิดชอบ หรือ สุชาติ ตันเจริญ ไม่ได้
บุคคลิกทางการเมืองของอดีตนายอำเภอ และคนใกล้ชิด พล.ต. ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ที่สำคัญคือ ไม่ยอมก้มหัวให้ใคร

นั่นทำให้เส้นทางการเมืองในโคราช ในฐานะอดีต ส.ส. 5 สมัย ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ
เคยสมหวัง และผิดหวังมาแล้ว

แต่อดีตเด็กสร้างของ “เฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์” แห่งพรรคประชาชน ในอดีต ไม่ยอมพ่ายแพ้ต่อโชคชะตา

ผมเจอ “ไพโรจน์” ครั้งแรกในฐานะ ส.ส.นครราชสีมา ที่ไม่มีใครรู้จักในการสัมมนาพรรคสามัคคีธรรม ที่โรงแรมรามาการ์เด้นท์

ไม่มีส.ส.คนไหนทักทายกับไพโรจน์

มิหนำซ้ำหลายคนยังคิดว่า เขาเป็นเพียง “ผู้ติดตามนักการเมือง”

วัย 61 ปีที่ผ่านมาของไพโรจน์ นั่งตำแหน่งบริหารเพียงครั้งเดียวในฐานะ รมช.พาณิชย์ แต่ต้องลาออก เพราะ บรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรีสมัยนั้น ต้องการเอาคนอื่นมานั่งแทน

ไพโรจน์ แสดงตัวทางการเมืองมาตลอดเวลาว่า “ไม่ขึ้นกับใคร”

นั่นทำให้ไพโรจน์สร้างฐานทางการเมืองขึ้นมาจนสามารถผลักดัน ส.ส.ในการควบคุมเข้าสู่สภาได้ถึง 6 คน

กลายเป็นกลุ่มโคราชแห่งพรรคเพื่อแผ่นดินขึ้นมา

ส.ส.ทั้ง 6 คน เป็น ส.ส.นครราชสีมาใหม่เอี่ยมถอดด้ามทุกคน ประกอบด้วย 1 . ร.ต.หญิงระนองรักษ์ สุวรรณฉวี 2 .นายพลพีร์ สุวรรณฉวี ภรรยาและบุตรของว่าที่ร.ต.ไพโรจน์ 3. นายประนอม โพธิ์คำ กำนันตำบลวังน้ำเขียว 4. นายอนุวัฒน์ วิเศษจินดาวัฒน์ อดีต ส.อบจ. 5. นายปุระพัฒน์ วิเศษจินดาวัฒน์ อดีต สต.หลายสมัย ( ชื่อเดิม นายประพัฒน์ วิเศษจินดาวัฒน์ ) ส.ส.ระบบสัดส่วน กลุ่มห้า 6.นางจิตราวรรณ (กบ) หวังศุภกิจโกศล อดีตนายกเทศมนตรีตำบลเสิงสาง

ไพโรจน์ เกิดและเติบโตที่กรุงเทพฯ สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีรัฐศาสตรบัณฑิต และปริญญาโทรัฐศาสตรมหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แต่การที่เขาเป็นนายอำเภอครบุรี นครราชสีมา และแต่งงานกับ ร.ต.ระนองรักษ์ ทำให้ไพโรจน์ มีฐานเสียงในโคราชพอสมควร

แต่การย้ายพรรคจำนวนมาก ทำให้ไพโรจน์ ยังไม่มีพลังทางการเมืองอันหนักแน่น จากสามัคคีธรรม เข้าไปสังกัดพรรคชาติพัฒนา พรรคชาติไทย พรรคความหวังใหม่ พรรคไทยรักไทย และพรรคเพื่อแผ่นดิน

กระนั้นก็ตาม ความโด่งดังจากนักการเมืองสังกัด กลุ่ม 16 ทำให้ไพโรจน์ ได้สิทธิ์เก้าอี้รัฐมนตรี

ไพโรจน์ เล่นการเมืองครั้งแรกในนามพรรคสามัคคีธรรม เมื่อปี พ.ศ. 2535 ต่อมาในการเลือกตั้งเดือนกันยายน พ.ศ. 2535 จึงได้ย้ายมาสังกัดพรรคชาติพัฒนา ในขณะที่สุวัจน์ ลิปตพัลลภ ทำหน้าที่เลขาธิการพรรค

ไพโรจน์ โด่งดังในการอภิปราย ส.ปก. 4-01 และโชว์หลักฐานความเป็นป่า ด้วยการอุ้ม “กระจง” บนไหล่เขาที่ จ.ภูเก็ต

จนกระทั่งต้องย้ายมาสังกัดพรรคชาติไทย ในปี พ.ศ. 2538 ทำหน้าที่ รมช.พาณิชย์ และต้องลาออกตามสัญญา ก่อน บรรหาร ศิลปอาชา จะยุบสภาเพราะแบงก์บีบีซี ล้มกลางสภา

กระแสแบงก์บีบีซีแรงมาก ทำให้ไพโรจน์ สอบตกในการเลือกตั้งปี 2539 ในการลงสมัครส.ส.โคราช สังกัดพรรคชาติไทย จนต้องย้ายไปอยู่พรรคความหวังใหม่ หลังจาก พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

หลังจากนั้นจึงไปอยู่พรรคความหวังใหม่ ที่กำลังอยู่ในช่วงขาลง และรับตำแหน่งผู้อำนวยการพรรค และโฆษกประจำตัวผู้นำฝ่ายค้านในสภา

แล้วยังไปทำงานกับ “ภูษณ ปรีย์มาโนช” ที่บริษัทโทเทิล แอสเซท คอมมูนิเคชั่น ในสมัยนั้น ( ปัจจุบันคือ ดีแทค )

ในช่วงนั้นใครที่รู้จักไพโรจน์ต่าง “สะใจกับชะตากรรม” ของไพโรจน์

จนกระทั่งได้มีการยุบรวมเข้ากับพรรคไทยรักไทย ในปี พ.ศ. 2544 เขาจึงได้เดินกลับสู่สภาอีกครั้ง ในฐานะส.ส.พรรคไทยรักไทย ทั้งการเลือกตั้งปี 2544 และ 2548

ช่วงเวลานี้เองที่ไพโรจน์ เผชิญกับมรสุมโรคร้าย

แต่หลังจากเกิดปฏิวัติยึดอำนาจในปี 2549 ไพโรจน์ กลับเดินเข้าสู่พรรคเพื่อแผ่นดิน และช่วงนี้จึงเป็นเวลาที่ดวงการเมืองของไพโรจน์ก้าวขึ้นตำแหน่งสูงสุดทางการเมือง โดยส่งภรรยานั่งเก้าอี้ รมว.ไอซีที ได้สำเร็จ

แต่ต้องเจ็บอก เมื่อเพื่อนร่วมกลุ่ม 16 อย่าง เนวิน ชิดชอบ เปิดไฟเขียวให้เขี่ยกลุ่ม 3 พี พ้นครม.อภิสิทธิ์

ไพโรจน์ คาดหวังว่า ความร่วมมือระหว่าง พินิจ จารุสมบัติ และปรีชา เลาหพงศ์ชนะ กลายเป็น กลุ่ม 3 พี แห่งเพื่อแผ่นดิน และสุวัจน์ ลิปตพัลลภ แห่งรวมชาติพัฒนา

จะทำให้ฐานที่มั่นในโคราชแข็งแกร่งกว่าที่เป็นอยู่ โดยมีเก้าอี้รัฐมนตรี รอรับอยู่เบื้องหน้าแล้ว
แต่เมื่อโรคร้ายมาคร่าชีวิตไปกระทันหัน...

แม้จะไม่ทำให้การรวมพรรคสะดุด แต่การรักษาเก้าอี้ ส.ส.เขตโคราช 5 เก้าอี้ และอีก 1 จากส.ส.สัดส่วน เป็นเรื่องที่ยาก

ยากที่ใครยอมให้ “ระนองรักษ์” นำทีม

กลายเป็นปัญหาใหญ่ของ สุวัจน์ ที่จะต้องรักษาเก้าอี้ ส.ส.โคราชทั้ง 10 ตัว ของพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน ไว้ให้ได้ ??

โดยมีคู่แข่งที่สำคัญคือ บุญจง วงศ์ไตรรัตน์ แห่งพรรคภูมิใจไทย รักษาการ รมช.มหาดไทย ดูแลพื้นที่โคราช

นั่นยังไม่นับ อดีตส.ส. ของพรรคเพื่อไทยอีก 4 คน

สุวัจน์ พยายามอย่างยิ่งที่จะยึดพื้นที่ ส.ส.โคราชทั้ง 15 คน ไว้ในกำมือให้ได้ แต่ปัญหาใหญ่ก็คือ ค่าใช้จ่ายจำนวนมาก และไม่มีใครต้องการอยู่ภายใต้การนำของ “สุวัจน์”

แต่การเลือกตั้งทุกครั้ง สุวัจน์ พยายามอาศัยบารมี พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ และความเป็นศิษย์หลวงพ่อคูณ เพื่อดึงความความนิยมจากชาวบ้าน

นายจำลอง ครุฑขุนทด อดีต รมช.ศึกษาฯ นายประเสริฐ จันทรรวงทอง ส.ส.นครราชสีมา  นายวิรัช รัตนเศรษฐ, นายสมชัย  ฉัตรพัฒนศิริ นายประเสริฐ  บุญชัยสุข, นายวัชรพล โตมรศักดิ์ พล.ต.ต.วุฒิ สุโกศล อดีต รมว.แรงงานฯ, นายสุภาพ คลี่ขจาย, นายประทีป กรีฑาเวช, นายวัชรา ณ วังขนาย…เหล่านี้ คืออดีต ส.ส.โคราชที่ผ่านการสอบตก และสอบผ่านมาหลายครั้ง

หากนักการเมืองทั้งหมดนี้เดินเข้าสู่ชายคาบารมีสุวัจน์ เชื่อแน่ว่า พรรครวมชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน จะกลายเป็นพรรคขนาดกลาง ที่ปลอดภัยสำหรับนักการเมืองทุกคนทีเดียว

โดยมี “นครราชสีมา” เป็นเมืองหลวงของพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน

แต่จุดอ่อนของพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน ก็คือ ระบบพรรคการเมือง และการขาดผู้นำพรรค
รวมทั้ง “ความใจถึงทางการเงิน” ที่พร้อมจะลงขัน เพื่อสร้างพรรคให้ใหญ่โต

ต่างกับ เนวิน ชิดชอบ ที่สามารถสร้างพรรคภูมิใจไทยได้รวดเร็วยิ่งกว่านักการเมืองคนใดในรุ่นราวคราวเดียวกัน

การกลายเป็น “พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน” สามารถคลายปมใหญ่ก็คือ การดูแลค่าใช้จ่ายของพรรค และส.ส. อยู่ในสภาพมุ้งใครมุ้งมัน

4 กลุ่มเล็กในพรรคขนาดกลาง ทั้ง กลุ่มสุวัจน์ กลุ่มไพโรจน์ กลุ่มพินิจ กลุ่มปรีชา ต่างต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งเอาเอง

นั่นหมายถึง เก้าอี้รัฐมนตรีที่ควรจะได้รับโควต้าสัก 3-4 เก้าอี้ เพื่อนำมาจัดสรรในพรรค จนกว่าจะถึงเดือนพฤาภาคม ปี 2555 ที่ทั้ง 4 จะพ้นโทษเว้นวรรคทางการเมือง 5 ปี

สุวัจน์ จึงจะกลับมานำพรรครวมชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดินด้วยตัวเอง

ด้วยความคาดหวังของหลายคนว่า จะกลายเป็นแคนดิเดต นายกรัฐมนตรี หากสามารถรวม อดีตส.ส.ได้มากพอ

แต่สุวัจน์ จะต้องมี “คู่หู” ทางการเมืองที่ฐานการเงินแข็งแกร่ง และฐานคะแนนเสียงมั่นคง มิใช่อาศัยบารมี พล.อ.อาทิตย์ กำลังเอก หรือ พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ เหมือนที่ผ่านมา

ไม่ใช่คิดแค่ว่า จะสร้างรายได้ใน 6 เดือน สักกี่ร้อยล้าน

และมิใช่มีแค่เพื่อนร่วมรุ่นเซ็นคาเบรียล อย่าง “ดร.นริศ ชัยสูตร” หรือ “กรพจน์ อัศวินวิจิตร” เท่านั้น

ต้องขยายฐานลูกค้าทางการเมืองไปจังหวัดอื่น ที่มิใช่โคราชชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน...อะไรทำนองนั้น

สุวัจน์ ลิปตพัลลภ
ไพโรจน์ สุวรรณฉวี
กำลังโหลดความคิดเห็น