ASTVผู้จัดการรายวัน-สินค้าแพง น้ำมันพุ่ง กดดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดลงติดต่อกัน 3 เดือน หวังการเข้าสู่โหมดเลือกตั้งจะช่วยกระตุ้นความเชื่อมั่น หลังมีเงินอัดฉีดเข้าสู่ระบะหลายหมื่นล้าน ส่วนยอดซื้อรถ บ้าน ทำธุรกิจเอสเอ็มอีดิ่งตาม
นางเสาวนีย์ ไทยรุ่งโรจน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนเม.ย.2554 ปรับตัวลดลง 3 เดือนติดต่อกัน โดยดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมอยู่ที่ 70.5 ลดลงจากเดือนมี.ค.2554 ที่ 71.0 ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสในการหางานอยู่ที่ 71.1 ลดจาก 71.6 แต่ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตเพิ่มขึ้นจาก 96.8 เป็น 97.2 ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเดือนเม.ย.2554 อยู่ที่ 79.6 ลดจากเดือนมี.ค.2554 ที่ 79.8 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในปัจจุบันอยู่ที่ 63.4 ลดจาก 64.6 แต่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในอนาคตเพิ่มขึ้นจาก 84.3 เป็น 84.6
ปัจจัยที่ทำให้ดัชนีความเชื่อมั่นลดลง เพราะผู้บริโภควิตกกังวลเกี่ยวกับปัญหาค่าครองชีพและราคาสินค้ายังทรงตัวระดับสูง ขณะที่รายได้ไม่ปรับสูงขึ้นตาม ปัญหาความไม่แน่นอนทางการเมืองและการเลือกตั้ง ตลอดจนปัญหาความสัมพันธ์ชายแดนไทย-กัมพูชา ขณะที่ราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศเดือนเม.ย.ยังปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยเบนซิน 95 เพิ่มขึ้นลิตรละ 1.80 บาท และเบนซิน 91 เพิ่มขึ้น 2.00 บาท
นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยลบจากปัญหาโลกร้อน ภัยพิบัติธรรมชาติ แผ่นดินไหว และน้ำท่วมที่เกิดในภาคใต้ ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สิน พืชผลการเกษตร การค้า และการท่องเที่ยว รวมถึงปัญหาสึนามิในญี่ปุ่นที่กระทบต่อการส่งออก ขณะที่เศรษฐกิจโลกแม้จะฟื้นตัว แต่ยังแฝงความไม่แน่นอนสูง จากปัญหาความวุ่นวายในแอฟริกาและตะวันออกกลางจนอาจกระทบต่อราคาน้ำมันโลก รวมถึงภัยก่อการร้ายสากลที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจโลก
ด้านปัจจัยบวก มาจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ยังอยู่เกณฑ์ดี ทั้งการคาดการณ์จีดีพีไตรมาสแรกจะเติบโตไม่ต่ำกว่า 4% ขณะที่ราคาสินค้าเกษตรทรงตัวในระดับสูง และรัฐบาลตรึงราคาดีเซลไม่เกินลิตรละ 30 บาท การปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย 0.25% ยอดการส่งออกที่มีมูลค่าสูงสุดเป็นประวัติการณ์ 21,072 ล้านเหรียญสหรัฐ ดัชนีตลาดหลักทรัพย์เกิน 1 พันจุดและค่าเงินบาทยังมีเสถียรภาพ
“ความเชื่อมั่นที่ลดลง มาจากความวิตกปัญหาค่าครองชีพที่ยังสูงเป็นหลัก แต่ก็มีทิศทางที่ดีขึ้น เพราะขณะนี้มีความชัดเจนทางการเมืองที่เดินหน้าสู่การเลือกตั้ง ส่งผลให้มีเงินใช้จ่ายช่วงเลือกตั้งเพิ่มขึ้น ช่วยให้เศรษฐกิจคึกคักได้หลายหมื่นล้านบาท แต่ก็ต้องระวังในเรื่องปัญหาค่าครองชีพที่ผู้บริโภคยังกังวลว่าอีก 6 เดือนข้างหน้าราคาสินค้าจะปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง”นางเสาวนีย์กล่าว
ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นที่ลดลง ส่งผลให้ดัชนีความเหมาะสมการซื้อสินค้าคงทนลดลงตามไปด้วย โดยการซื้อบ้านหลังใหม่มีความเชื่อมั่นลดจาก 79.3 เหลือ 78.7 รถยนต์คันใหม่ลดจาก 100.5 เหลือ 99.8 หลังจากประเทศญี่ปุ่นได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติจนทำให้ไทยต้องชะลอการผลิตและไม่สามารถส่งมอบได้ทำตามกำหนด ขณะที่ลงทุนทำธุรกิจเอสเอ็มอีปรับลดลงจาก 86.0 เหลือ 85.1 มีเพียงการท่องเที่ยวที่ปรับเพิ่มขึ้นเท่านั้น จาก 96.9 เป็น 100.1
นางเสาวนีย์ ไทยรุ่งโรจน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนเม.ย.2554 ปรับตัวลดลง 3 เดือนติดต่อกัน โดยดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมอยู่ที่ 70.5 ลดลงจากเดือนมี.ค.2554 ที่ 71.0 ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสในการหางานอยู่ที่ 71.1 ลดจาก 71.6 แต่ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตเพิ่มขึ้นจาก 96.8 เป็น 97.2 ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเดือนเม.ย.2554 อยู่ที่ 79.6 ลดจากเดือนมี.ค.2554 ที่ 79.8 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในปัจจุบันอยู่ที่ 63.4 ลดจาก 64.6 แต่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในอนาคตเพิ่มขึ้นจาก 84.3 เป็น 84.6
ปัจจัยที่ทำให้ดัชนีความเชื่อมั่นลดลง เพราะผู้บริโภควิตกกังวลเกี่ยวกับปัญหาค่าครองชีพและราคาสินค้ายังทรงตัวระดับสูง ขณะที่รายได้ไม่ปรับสูงขึ้นตาม ปัญหาความไม่แน่นอนทางการเมืองและการเลือกตั้ง ตลอดจนปัญหาความสัมพันธ์ชายแดนไทย-กัมพูชา ขณะที่ราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศเดือนเม.ย.ยังปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยเบนซิน 95 เพิ่มขึ้นลิตรละ 1.80 บาท และเบนซิน 91 เพิ่มขึ้น 2.00 บาท
นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยลบจากปัญหาโลกร้อน ภัยพิบัติธรรมชาติ แผ่นดินไหว และน้ำท่วมที่เกิดในภาคใต้ ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สิน พืชผลการเกษตร การค้า และการท่องเที่ยว รวมถึงปัญหาสึนามิในญี่ปุ่นที่กระทบต่อการส่งออก ขณะที่เศรษฐกิจโลกแม้จะฟื้นตัว แต่ยังแฝงความไม่แน่นอนสูง จากปัญหาความวุ่นวายในแอฟริกาและตะวันออกกลางจนอาจกระทบต่อราคาน้ำมันโลก รวมถึงภัยก่อการร้ายสากลที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจโลก
ด้านปัจจัยบวก มาจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ยังอยู่เกณฑ์ดี ทั้งการคาดการณ์จีดีพีไตรมาสแรกจะเติบโตไม่ต่ำกว่า 4% ขณะที่ราคาสินค้าเกษตรทรงตัวในระดับสูง และรัฐบาลตรึงราคาดีเซลไม่เกินลิตรละ 30 บาท การปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย 0.25% ยอดการส่งออกที่มีมูลค่าสูงสุดเป็นประวัติการณ์ 21,072 ล้านเหรียญสหรัฐ ดัชนีตลาดหลักทรัพย์เกิน 1 พันจุดและค่าเงินบาทยังมีเสถียรภาพ
“ความเชื่อมั่นที่ลดลง มาจากความวิตกปัญหาค่าครองชีพที่ยังสูงเป็นหลัก แต่ก็มีทิศทางที่ดีขึ้น เพราะขณะนี้มีความชัดเจนทางการเมืองที่เดินหน้าสู่การเลือกตั้ง ส่งผลให้มีเงินใช้จ่ายช่วงเลือกตั้งเพิ่มขึ้น ช่วยให้เศรษฐกิจคึกคักได้หลายหมื่นล้านบาท แต่ก็ต้องระวังในเรื่องปัญหาค่าครองชีพที่ผู้บริโภคยังกังวลว่าอีก 6 เดือนข้างหน้าราคาสินค้าจะปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง”นางเสาวนีย์กล่าว
ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นที่ลดลง ส่งผลให้ดัชนีความเหมาะสมการซื้อสินค้าคงทนลดลงตามไปด้วย โดยการซื้อบ้านหลังใหม่มีความเชื่อมั่นลดจาก 79.3 เหลือ 78.7 รถยนต์คันใหม่ลดจาก 100.5 เหลือ 99.8 หลังจากประเทศญี่ปุ่นได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติจนทำให้ไทยต้องชะลอการผลิตและไม่สามารถส่งมอบได้ทำตามกำหนด ขณะที่ลงทุนทำธุรกิจเอสเอ็มอีปรับลดลงจาก 86.0 เหลือ 85.1 มีเพียงการท่องเที่ยวที่ปรับเพิ่มขึ้นเท่านั้น จาก 96.9 เป็น 100.1