ศูนย์ข่าวศรีราชา - ชาวบ้านแหลมฉบัง -บางละมุง ลั่นไม่ยุติโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 เจอปิดท่าเรือแหลมฉบังแน่ พร้อมเตรียมฟ้องศาลปกครองคุ้มครองพื้นที่ทำกิน เผยท่าเรือแหลมฉบังจัดประชุมรับฟังความคิดเห็น 4 ครั้ง ข้อมูลไม่เปลี่ยนแปลง
วานนี้ (10พ.ค.)ที่การท่าเรือแหลมฉบัง อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ได้มีการประชุมคณะกรรมการกำกับการดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อม ของโครงการท่าเทียบเรือในพื้นที่ แหลมฉบัง เพื่อกำกับดูแลให้มีการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันแก้ไข ติดตามผลกระทบสิ่งแวดล้อม และตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมของโครงการท่าเทียบเรือแหลมฉบัง ตามรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA) โดยมีนายเฉลิมเกียรติ สลักคำ ผู้อำนวยการท่าเรือแหลมฉบังเป็นประธาน และได้เชิญตัวแทนชาวบ้าน เข้าร่วมประชุมด้วย เพื่อพิจารณาเรื่องการร้องเรียนของนายรังสรรค์ สมบูรณ์ และกลุ่มชาวประมงและชุมชน ต.บางละมุง เกี่ยวกับโครงการพัฒนาท่าเรือขั้นที่ 3
นายรังสรรค์ สมบูรณ์ ชาวประมงชายฝั่งแหลมฉบัง กล่าวว่า เมื่อประมาณปลายเดือนมี.ค.ที่ผ่านมา กลุ่มประมงเรือเล็ก และประมงชายฝั่งในพื้นที่ต.แหลมฉบัง และต.บางละมุง ได้ทำหนังสือถึงประธานคณะอนุกรรมาธิการสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา กรณีที่ท่าเรือแหลมฉบังจะพัฒนาท่าเรือขั้นที่ 3 โดยการถมทะเลออกไป 1,600 ไร่ ความยาว ตั้งฉากกับชายฝั่งทะเล 4,500 เมตร ซึ่งโครงการดังกล่าวจะทำให้ประมงเรือเล็ก และประมงชายฝั่งจะได้รับความเดือดร้อนอย่างรุนแรง และไม่สามารถประกอบอาชีพได้อีกเลย
ที่ผ่านมาจากการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังในขั้นที่ 1 และ 2 ได้สร้างความเดือนร้อนให้แก่ประชาชนมาแล้ว จนแทบจะหมดตัวกันทุกครัวเรือน รวมทั้งปัญหาเก่าการท่าเรือฯก็ยังไม่สามารถแก้ไขได้ แต่กลับจะมาพัฒนาในขั้นที่ 3 ต่อไปอีก พวกเราชาวบ้านในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการขยายท่าเรือดังกล่าว จะไม่ยอมอีกต่อไปแล้ว โดยจะมีการคัดค้านโครงการดังกล่าวให้ถึงที่สุด
สำหรับแนวทางการต่อสู้ของพวกเรา ที่จะดำเนินการหลังจากนี้ คือ 1. ยื่นฟ้องศาลปกครอง ให้คุ้มครองพื้นที่ทำกินของกลุ่มประมงเรือเล็ก และประมงชายฝั่งในบริเวณที่จะได้รับผลกระทบจากโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง 2. ทำหนังสือถึงคณะอนุกรรมาธิการสิ่งแวดล้อมให้ลงมาตรวจสอบการดำเนินการท่าเรือแหลมฉบัง และ 3.รวบรวมรายชื่อ ชาวประมงที่ได้รับความเดือดร้อนทั้งหมดถวายฎีกา ถึงความเดือนร้อนของประชาชน เนื่องจากที่ผ่านมาในสมัยที่นายบรรหาร ศิลปอาชา เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการถวายฎีกาไปแล้วครั้งหนึ่ง ซึ่งเป็นข้อมูลเท็จ โดยอ้างว่าพื้นที่บริเวณดังกล่าวเป็นที่รกร้าง และไม่มีประชาชนอาศัยอยู่ เพื่อจะเวนคืนที่ดินและพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังในขั้นที่ 3 แต่ในความเป็นจริงแล้วพื้นที่ดังกล่าวมีประชาชนประกอบอาชีพทำประมง มีเรือกว่า 300 ลำ
นายรังสรรค์ กล่าวต่อไปว่า หากการท่าเรือฯ ยังพยายามที่จะพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวต่อไปอีก พวกเราก็พร้อมที่จะรวมตัวกัน แล้วทำการปิดทางเข้า- ออก ท่าเรือแหลมฉบัง และจะปิดที่ทำการท่าเรือแหลมฉบัง รวมทั้งปิดร่องน้ำ การเข้า- ออกบริเวณท่าเทียบเรือแหลมฉบังด้วย โดยจะทำการต่อสู้ให้ถึงที่สุด เพราะหากพวกเรายอมให้การท่าเรือแหลมฉบังอีก ก็เท่ากับพวกเราสละแผ่นดินและที่ทำมาหากินไป เพราะในขณะนี้ พื้นที่บริเวณดังกล่าว เป็นพื้นที่ผืนสุดท้ายแล้ว หากการท่าเรือฯนำไปพัฒนาพวกเราก็ไม่มีทางไปแล้ว ส่วนในวันนี้ ที่มีการเรียกชาวบ้านมาประชุม ซึ่งเป็นครั้งที่ 4 แล้ว แต่ก็เป็นการพูดแต่เรื่องเดิมๆ
วานนี้ (10พ.ค.)ที่การท่าเรือแหลมฉบัง อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ได้มีการประชุมคณะกรรมการกำกับการดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อม ของโครงการท่าเทียบเรือในพื้นที่ แหลมฉบัง เพื่อกำกับดูแลให้มีการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันแก้ไข ติดตามผลกระทบสิ่งแวดล้อม และตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมของโครงการท่าเทียบเรือแหลมฉบัง ตามรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA) โดยมีนายเฉลิมเกียรติ สลักคำ ผู้อำนวยการท่าเรือแหลมฉบังเป็นประธาน และได้เชิญตัวแทนชาวบ้าน เข้าร่วมประชุมด้วย เพื่อพิจารณาเรื่องการร้องเรียนของนายรังสรรค์ สมบูรณ์ และกลุ่มชาวประมงและชุมชน ต.บางละมุง เกี่ยวกับโครงการพัฒนาท่าเรือขั้นที่ 3
นายรังสรรค์ สมบูรณ์ ชาวประมงชายฝั่งแหลมฉบัง กล่าวว่า เมื่อประมาณปลายเดือนมี.ค.ที่ผ่านมา กลุ่มประมงเรือเล็ก และประมงชายฝั่งในพื้นที่ต.แหลมฉบัง และต.บางละมุง ได้ทำหนังสือถึงประธานคณะอนุกรรมาธิการสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา กรณีที่ท่าเรือแหลมฉบังจะพัฒนาท่าเรือขั้นที่ 3 โดยการถมทะเลออกไป 1,600 ไร่ ความยาว ตั้งฉากกับชายฝั่งทะเล 4,500 เมตร ซึ่งโครงการดังกล่าวจะทำให้ประมงเรือเล็ก และประมงชายฝั่งจะได้รับความเดือดร้อนอย่างรุนแรง และไม่สามารถประกอบอาชีพได้อีกเลย
ที่ผ่านมาจากการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังในขั้นที่ 1 และ 2 ได้สร้างความเดือนร้อนให้แก่ประชาชนมาแล้ว จนแทบจะหมดตัวกันทุกครัวเรือน รวมทั้งปัญหาเก่าการท่าเรือฯก็ยังไม่สามารถแก้ไขได้ แต่กลับจะมาพัฒนาในขั้นที่ 3 ต่อไปอีก พวกเราชาวบ้านในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการขยายท่าเรือดังกล่าว จะไม่ยอมอีกต่อไปแล้ว โดยจะมีการคัดค้านโครงการดังกล่าวให้ถึงที่สุด
สำหรับแนวทางการต่อสู้ของพวกเรา ที่จะดำเนินการหลังจากนี้ คือ 1. ยื่นฟ้องศาลปกครอง ให้คุ้มครองพื้นที่ทำกินของกลุ่มประมงเรือเล็ก และประมงชายฝั่งในบริเวณที่จะได้รับผลกระทบจากโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง 2. ทำหนังสือถึงคณะอนุกรรมาธิการสิ่งแวดล้อมให้ลงมาตรวจสอบการดำเนินการท่าเรือแหลมฉบัง และ 3.รวบรวมรายชื่อ ชาวประมงที่ได้รับความเดือดร้อนทั้งหมดถวายฎีกา ถึงความเดือนร้อนของประชาชน เนื่องจากที่ผ่านมาในสมัยที่นายบรรหาร ศิลปอาชา เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการถวายฎีกาไปแล้วครั้งหนึ่ง ซึ่งเป็นข้อมูลเท็จ โดยอ้างว่าพื้นที่บริเวณดังกล่าวเป็นที่รกร้าง และไม่มีประชาชนอาศัยอยู่ เพื่อจะเวนคืนที่ดินและพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังในขั้นที่ 3 แต่ในความเป็นจริงแล้วพื้นที่ดังกล่าวมีประชาชนประกอบอาชีพทำประมง มีเรือกว่า 300 ลำ
นายรังสรรค์ กล่าวต่อไปว่า หากการท่าเรือฯ ยังพยายามที่จะพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวต่อไปอีก พวกเราก็พร้อมที่จะรวมตัวกัน แล้วทำการปิดทางเข้า- ออก ท่าเรือแหลมฉบัง และจะปิดที่ทำการท่าเรือแหลมฉบัง รวมทั้งปิดร่องน้ำ การเข้า- ออกบริเวณท่าเทียบเรือแหลมฉบังด้วย โดยจะทำการต่อสู้ให้ถึงที่สุด เพราะหากพวกเรายอมให้การท่าเรือแหลมฉบังอีก ก็เท่ากับพวกเราสละแผ่นดินและที่ทำมาหากินไป เพราะในขณะนี้ พื้นที่บริเวณดังกล่าว เป็นพื้นที่ผืนสุดท้ายแล้ว หากการท่าเรือฯนำไปพัฒนาพวกเราก็ไม่มีทางไปแล้ว ส่วนในวันนี้ ที่มีการเรียกชาวบ้านมาประชุม ซึ่งเป็นครั้งที่ 4 แล้ว แต่ก็เป็นการพูดแต่เรื่องเดิมๆ