เมื่อกล่าวถึงโลหะมีค่า นักลงทุนคงคุ้นเคยกับทองคำมากกว่าโลหะตัวอื่นๆเช่น เงิน แพลททินั่ม และพัลลาเดียม เนื่องจากได้รับความนิยมมาช้านานทั้งในฐานะเครื่องประดับและสินทรัพย์ลงทุน แต่ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาการปรับตัวขึ้นของราคา โดยเฉพาะโลหะเงินมีอัตราที่สูงกว่าทองคำมากหลังจากเดินหน้าสร้างสถิตสูงสุดได้ต่อเนื่อง นับตั้งแต่ปลายไตรมาส 3ของปี 2010 และผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นจากช่วงดังกล่าวมาจนถึงต้นเดือน พ.ค. พบว่าสูงกว่า 95 % เทียบกับทองคำที่ให้ผลตอบแทนราว 18 % ขณะที่ความผันผวนเฉลี่ยต่อวันของโลหะเงินค่อนข้างสูงราว 4 % มากกว่าทองคำเท่าตัว
แม้ว่าราคาโลหะเงินจะเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกันกับทองคำ แต่ราคาต่อหน่วยทรอยออนซ์ต่ำกว่า ทองคำมาก โดยทองคำ1 ทรอยซ์ออนซ์มีราคาประมาณ 1,533 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่โลหะเงินมีราคาประมาณ 40 ดอลลาร์สหรัฐ และเมื่อเปรียบเทียบอัตราส่วนราคาโลหะเงินเทียบทองคำซึ่งอยู่ที่ 65:1 ในช่วงเดือน ก.ย. ปี2010 ได้ปรับตังลงมายัง 37:1 สะท้อนภาพความต้องการลงทุนในโลหะเงินที่พุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
สำหรับการลงทุนในโลหะเงินมีหลายรูปแบบคล้ายกับทองคำ มีทั้งการซื้อขายโลหะเงินเป็นแท่งหรือเหรียญ (Physical) การลงทุนผ่าน ETF รวมถึงการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดย ETF ขนาดใหญ่ที่สุดในตอนนี้ได้แก่ iShare Silver Trust ซึ่งถือครองโลหะเงินมากกว่า 340 ตัน ส่วนตลาดซื้อขายล่วงหน้า (Silver Futures)มีอยู่ทั่วโลกแต่ที่ค่อนข้างคึกคัก ได้แก่ ตลาด CME ของสหรัฐอเมริกา และ MCX ในอินเดีย ขณะที่การซื้อขายในตลาด Physical สำหรับในบ้านเราได้รับความนิยมน้อยกว่าเมื่อเทียบกับทองคำ อีกทั้งร้านค้าที่รับซื้อขายเงินแท่งหรือเหรียญเงินมีน้อย และราคาซื้อขายจะบวกภาษี ( vat) เข้าไปด้วย
แม้ดูเหมือนความต้องการลงทุนในโลหะเงินจะเป็นปัจจัยที่ผลักดันราคาให้ปรับตัวขึ้นลงค่อนข้างมากในช่วงนี้ แต่การเคลื่อนไหวของราคายังได้รับอิทธิพลจากอุปสงค์และอุปทาน ที่มีการลงทุนเป็นสัดส่วนราว17% จากอุปสงค์ทั้งหมด ซึ่งน้อยกว่าอุปสงค์เพื่อใช้ในอุตสาหกรรม เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ แบตเตอร์รี หรืออุตสาหกรรมเกี่ยวกับฟิล์ม นอกจากนี้ยังมีอุปสงค์เพื่อใช้ในการทำเครื่องประดับ และเครื่องใช้
ส่วนอุปทาน โลหะเงินที่มาจากการทำเหมืองมีสัดส่วนสูงสุดถึง 70% ของอุปทานทั้งหมด ยังมีอุปทานจากโลหะเงินเดิมที่นำมาหลอมใหม่ (Old Scrap) และการเข้าซื้อเพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านราคาของผู้ผลิต โดยส่วนสุดท้ายมาจากขายของรัฐบาลกลางประเทศต่าง ๆ ที่มีสัดส่วนน้อยที่สุดในปี 2010
เนื่องจากตลาดอนุพันธ์จะเปิดให้ซื้อขาย Silver Futures ในเดือนมิ.ย. นี้ จึงเป็นโอกาสที่จะมาทำความรู้จักกับโลหะเงินในฐานะสินทรัพย์อ้างอิง ทั้งในแง่ของการเคลื่อนไหวของราคา ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อราคา รวมถึงลักษณะสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ซึ่งจะนำมาเล่าในบทความครั้งต่อๆไป เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับผู้ที่สนใจในทางเลือกลงทุนใหม่ หากนักลงทุนมีข้อสงสัยเกี่ยวกับบทความหรือตลาดอนุพันธ์สามารถส่งคำถามมาได้ที่pinkaews@phillip.co.th
แม้ว่าราคาโลหะเงินจะเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกันกับทองคำ แต่ราคาต่อหน่วยทรอยออนซ์ต่ำกว่า ทองคำมาก โดยทองคำ1 ทรอยซ์ออนซ์มีราคาประมาณ 1,533 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่โลหะเงินมีราคาประมาณ 40 ดอลลาร์สหรัฐ และเมื่อเปรียบเทียบอัตราส่วนราคาโลหะเงินเทียบทองคำซึ่งอยู่ที่ 65:1 ในช่วงเดือน ก.ย. ปี2010 ได้ปรับตังลงมายัง 37:1 สะท้อนภาพความต้องการลงทุนในโลหะเงินที่พุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
สำหรับการลงทุนในโลหะเงินมีหลายรูปแบบคล้ายกับทองคำ มีทั้งการซื้อขายโลหะเงินเป็นแท่งหรือเหรียญ (Physical) การลงทุนผ่าน ETF รวมถึงการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดย ETF ขนาดใหญ่ที่สุดในตอนนี้ได้แก่ iShare Silver Trust ซึ่งถือครองโลหะเงินมากกว่า 340 ตัน ส่วนตลาดซื้อขายล่วงหน้า (Silver Futures)มีอยู่ทั่วโลกแต่ที่ค่อนข้างคึกคัก ได้แก่ ตลาด CME ของสหรัฐอเมริกา และ MCX ในอินเดีย ขณะที่การซื้อขายในตลาด Physical สำหรับในบ้านเราได้รับความนิยมน้อยกว่าเมื่อเทียบกับทองคำ อีกทั้งร้านค้าที่รับซื้อขายเงินแท่งหรือเหรียญเงินมีน้อย และราคาซื้อขายจะบวกภาษี ( vat) เข้าไปด้วย
แม้ดูเหมือนความต้องการลงทุนในโลหะเงินจะเป็นปัจจัยที่ผลักดันราคาให้ปรับตัวขึ้นลงค่อนข้างมากในช่วงนี้ แต่การเคลื่อนไหวของราคายังได้รับอิทธิพลจากอุปสงค์และอุปทาน ที่มีการลงทุนเป็นสัดส่วนราว17% จากอุปสงค์ทั้งหมด ซึ่งน้อยกว่าอุปสงค์เพื่อใช้ในอุตสาหกรรม เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ แบตเตอร์รี หรืออุตสาหกรรมเกี่ยวกับฟิล์ม นอกจากนี้ยังมีอุปสงค์เพื่อใช้ในการทำเครื่องประดับ และเครื่องใช้
ส่วนอุปทาน โลหะเงินที่มาจากการทำเหมืองมีสัดส่วนสูงสุดถึง 70% ของอุปทานทั้งหมด ยังมีอุปทานจากโลหะเงินเดิมที่นำมาหลอมใหม่ (Old Scrap) และการเข้าซื้อเพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านราคาของผู้ผลิต โดยส่วนสุดท้ายมาจากขายของรัฐบาลกลางประเทศต่าง ๆ ที่มีสัดส่วนน้อยที่สุดในปี 2010
เนื่องจากตลาดอนุพันธ์จะเปิดให้ซื้อขาย Silver Futures ในเดือนมิ.ย. นี้ จึงเป็นโอกาสที่จะมาทำความรู้จักกับโลหะเงินในฐานะสินทรัพย์อ้างอิง ทั้งในแง่ของการเคลื่อนไหวของราคา ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อราคา รวมถึงลักษณะสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ซึ่งจะนำมาเล่าในบทความครั้งต่อๆไป เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับผู้ที่สนใจในทางเลือกลงทุนใหม่ หากนักลงทุนมีข้อสงสัยเกี่ยวกับบทความหรือตลาดอนุพันธ์สามารถส่งคำถามมาได้ที่pinkaews@phillip.co.th