บริษัทธอมสัน รอยเตอร์ จีเอฟเอ็มเอส (GFMS) ระบุว่า ค่าเฉลี่ยของราคาทองจะขึ้นไปทำสถิติสูงสุดใหม่ในปีนี้ โดยได้รับแรงหนุนจากความกังวลอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับเศรษฐกิจสหรัฐ และจากการอ่อนค่าของดอลลาร์ ขณะที่ภาวะกระทิงของราคาทองที่ดำเนินมานาน 12 ปีจะขึ้นไปแตะจุดสูงสุดในช่วงปลายปีนี้
GFMS ระบุว่า อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงที่มีค่าติดลบ และความกังวลเรื่องเพดานหนี้ จะช่วยกระตุ้นการลงทุนในทอง โดยปัจจัยดังกล่าวจะหนุนราคาทองให้ปรับตัวขึ้นในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ และปัจจัยบวกเหล่านี้
จะช่วยบดบังอุปสงค์ที่ลดลงจากภาคเครื่องประดับ และการพุ่งขึ้นของอุปทานทองที่มาจากภาคเหมืองแร่และเศษทอง
GFMS คาดการณ์ว่า ราคาทองจะมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 1,775 ดอลลาร์/ออนซ์ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ โดยปรับตัวขึ้นจาก 1,685 ดอลลาร์ในช่วงครึ่งหลังของปี 2012 และสามารถทำลายสถิติสูงสุดสำหรับค่าเฉลี่ยรอบครึ่งปีที่ 1,693 ดอลลาร์ ซึ่งทำไว้ในช่วงครึ่งหลังของปี 2011
GFMS คาดว่า ราคาทองสปอตจะมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 1,847 ดอลลาร์สำหรับช่วงตลอดทั้งปีนี้ อย่างไรก็ดี ราคาทองจะขึ้นไปแตะจุดสูงสุดในช่วงปลายปีนี้ก่อนจะปรับลดลง แต่ราคาทองจะยังคงอยู่ในระดับที่สูงมากในช่วงครึ่งแรกของปี 2014
GFMS คาดว่า การลงทุนสุทธิในทองจะเพิ่มขึ้นสู่ 152 ตันในช่วง 6 เดือนข้างหน้า เทียบกับ 59 ตันในช่วงครึ่งแรกของปี 2012 โดยการลงทุนสุทธินี้ครอบคลุมกิจกรรมการลงทุนของกองทุน ETF, การซื้อขายสัญญาล่วงหน้า และการซื้อขายในตลาด OTC
มีแนวโน้มว่าตัวเลขการลงทุนสุทธินี้จะสามารถบดบังการลดลงของอุปสงค์ทองในภาคเครื่องประดับและการเพิ่มขึ้นของอุปทานทอง โดยเป็นที่คาดกันว่าอุปสงค์ทองในภาคเครื่องประดับอาจดิ่งลง 4.2 % หรือ 40 ตัน และอุปสงค์จะลดลงมากเป็นพิเศษในอินเดีย ในขณะที่ภาคเหมืองแร่อาจผลิตทองได้เพิ่มขึ้น 20 ตัน และ
อุปทานเศษทองอาจพุ่งขึ้น 57 ตัน
นายฟิลิป แคลปวิจ์ค หัวหน้าฝ่ายวิจัยของ GFMS กล่าวว่า "ความเห็นที่มีต่ออัตราแลกเปลี่ยนดอลลาร์/ยูโรได้เปลี่ยนแปลงไปในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมาหลังจากที่เคยมีการคาดการณ์ในทางลบเป็นอย่างมากต่อยูโร โดยในปัจจุบันนี้เราไม่คาดว่าดอลลาร์มีโอกาสพุ่งขึ้นมากนักในปีนี้"
นายแคลปวิจ์คกล่าวว่า "เราคาดว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)จะดำเนินโครงการซื้อสินทรัพย์ต่อไป และจะยังไม่ยุติโครงการนี้ในปีนี้ และเราคาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะเติบโตในระดับที่น่าผิดหวังในปีนี้"
GFMS ประเมินว่า การลงทุนสุทธิในทองพุ่งขึ้นกว่า 3 เท่าในปี 2012 โดยพุ่งขึ้นจาก 104 ตันในปี 2011 สู่ 354 ตันในปี 2012 และปัจจัยนี้ช่วยชดเชยปริมาณการลงทุนในทองแท่งที่ดิ่งลงราว 20 % สู่ 961 ตัน
คำสั่งซื้อทองจากภาคเครื่องประดับลดลง 4.4 % สู่ 1,885 ตันในปี2012 โดยภาคดังกล่าวถือเป็นภาคที่ต้องการซื้อทองมากที่สุด
คาดกันว่าปริมาณการผลิตเหรียญทองทั่วโลกอาจดิ่งลงแตะจุดต่ำสุดรอบ4 ปีที่ 199 ตันในปี 2012 โดยลดลง 19 % จากปี 2011
ราคาทองที่ระดับสูงส่งผลลบต่ออุปสงค์จากผู้ผลิตเครื่องประดับในปี 2012โดยเฉพาะในตลาดเอเชียที่มีความอ่อนไหวสูงต่อระดับราคา
อุปสงค์ในการทำเครื่องประดับในอนุทวีปอินเดียดิ่งลง 11 % สู่ 624 ตันในปี 2012 และลดลงในเกือบทุกภูมิภาคของโลก อย่างไรก็ดี อุปสงค์ในการทำเครื่องประดับพุ่งขึ้น 5 % ในภูมิภาคตะวันออกกลาง
เป็นที่คาดกันว่า อุปสงค์ในการทำเครื่องประดับในอนุทวีปอินเดียอาจลดลงสู่ 322 ตันในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ เทียบกับ 348 ตันในช่วงครึ่งแรกของปี 2012
อุปสงค์ในเครื่องประดับอินเดียมีแนวโน้มร่วงลง 9 % ในช่วงครึ่งปีแรกและอาจดิ่งลงแตะจุดต่ำสุดรอบ 4 ปี
อุปสงค์ในการทำเครื่องประดับในเอเชียตะวันออกมีแนวโน้มขยับลงราว 2 % สู่ 465 ตัน โดยภูมิภาคเอเชียตะวันออกครอบคลุมจีน, ฮ่องกง,ไต้หวัน, เวียดนาม, มาเลเซีย และประเทศอื่นๆ
อุปสงค์ในการทำเครื่องประดับในจีนลดลงในปี 2012 เป็นครั้งแรกในรอบ 9 ปี แต่ร่วงลงเพียง 1 % เท่านั้น
อุปสงค์ในการทำเครื่องประดับในจีนไม่สามารถก้าวขึ้นมาแทนที่อินเดียได้เหมือนอย่างที่เคยมีการคาดการณ์กันไว้ในตอนแรก โดยอินเดียยังคงเป็นประเทศที่ใช้ทองมากที่สุดในโลก
นายแคลปวิจ์คกล่าวว่า "ถึงแม้เราคาดการณ์ว่าอุปสงค์ทองในจีนอาจจะแข็งแกร่งขึ้นในปีนี้ แต่เราก็ยังคงมีความกังวลต่อแนวโน้มในอินเดีย และปัจจัยนี้ก็ส่งผลให้ราคาทองมีแนวรับที่อ่อนแอลงเล็กน้อย แทนที่จะมีแนวรับที่สูงขึ้น"
ธนาคารกลางทั่วโลกได้เปลี่ยนจากสถานะผู้ขายทองสุทธิมาเป็นผู้ซื้อทองสุทธิในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เนื่องจากธนาคารกลางพยายามกระจายทุนสำรองของตนเอง และเป็นที่คาดกันว่าอุปสงค์ทองจากธนาคารกลางจะยังคงทรงตัวในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ โดยอาจอยู่ที่ 280 ตัน เทียบกับ 277 ตันในช่วงครึ่งแรกของปี 2012
GFMS ระบุว่า คำสั่งซื้อทองจากภาครัฐพุ่งขึ้น 79 ตัน สู่ 536 ตันในปี 2012 ซึ่งเป็นจุดสูงสุดในรอบ 48 ปี
เป็นที่คาดกันว่า ภาคเหมืองแร่อาจผลิตทองเพิ่มขึ้น 1.5 % สู่ 1,389 ตันในช่วงครึ่งแรกของปีนี้
การนำเศษทองกลับมาใช้ใหม่มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้น 7.5 % โดยอุปทานเศษทองมีแนวโน้มพุ่งขึ้นในภูมิภาคตะวันออกกลาง, เอเชียตะวันออก และอินเดียแต่มีแนวโน้มลดลงในยุโรป และทรงตัวในอเมริกาเหนือ
คาดกันว่าอุปทานเศษทองจากตะวันออกกลางอาจพุ่งขึ้นเกือบ 18 %สู่ 192 ตัน ส่วนอุปทานจากอนุทวีปอินเดียอาจทะยานขึ้นเกือบ 18 % สู่ 91 ตัน
นักวิเคราะห์คาดราคาทองเฉลี่ยแตะระดับสูงเป็นประวัติการณ์ปีนี้,ปีหน้า
ราคาทองอาจแตะระดับเฉลี่ยสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในปีนี้และปีหน้าแต่สถิติการพุ่งขึ้น 12 ปีอาจถึงจุดอิ่มตัว ขณะที่ราคาจะบวกน้อยลงจากการคาดการณ์นโยบายการเงินเพื่อสร้างเสถียรภาพในสหรัฐและประเทศสำคัญอื่นๆ
ส่วนราคาพัลลาเดียมคาดว่าจะแตะระดับเฉลี่ยสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในปีนี้ และราคาพลาตินั่มจะปรับตัวขึ้นมากที่สุดในรอบ 2 ปี ขณะที่ปัญหาด้านอุปทานในแอฟริกาใต้ย่ำแย่ลง และวัฏจักรเศรษฐกิจเริ่มที่จะส่งผลดีต่อโลหะอุตสาหกรรม
นักวิเคราะห์คาดการณ์ราคาทองจากปัจจัยสำคัญๆที่จะผลักดันราคา ดังนี้:-
ราคาเฉลี่ยปี 2013 ราคาเฉลี่ยปี 2014
ค่าเฉลี่ย 1788.95 1839.45
ค่ากลาง 1775.00 1780.00
สูงสุด 2250.00 3000.00
ต่ำสุด 1587.50 1420.00
จำนวนนักวิเคราะห์ 37 33
ราคาตลาดทองเอเชียทรงตัวใกล้นิวไฮ 1 เดือนเช้านี้รับมาตรการบีโอเจ
ราคาทองสปอตทรงตัวเช้านี้ใกล้ระดับสูงสุดในรอบ 1 เดือนที่ทำไว้เมื่อวานนี้ หลังจากได้แรงหนุนในฐานะสินทรัพย์ประกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อเมื่อธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) ได้ประกาศมาตรการกระตุ้นทางการเงิน
แบบเชิงรุก
บีโอเจประกาศว่าจะใช้มาตรการซื้อสินทรัพย์แบบไม่กำหนดเวลาสิ้นสุดโครงการ โดยเริ่มตั้งแต่ปีหน้า และจะเพิ่มเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อขึ้นเป็น 2%ซึ่งถือเป็นความพยายามที่มีความมุ่งมั่นมากที่สุดของบีโอเจเพื่อยุติภาวะเศรษฐกิจชะงักงันมานานหลายปี
ราคาโลหะเงินสปอตทรงตัวที่ 32.22 ดอลลาร์/ออนซ์ หลังจากพุ่งขึ้น7 วันติดต่อกัน ซึ่งเป็นสถิติช่วงขาขึ้นยาวนานที่สุดที่เคยทำไว้ในเดือนส.ค.2011
ผลสำรวจของรอยเตอร์พบว่า ราคาทองอาจพุ่งขึ้นแตะระดับเฉลี่ยสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในปีนี้และปีหน้า แต่สถิติการพุ่งขึ้น 12 ปีอาจถึงจุดอิ่มตัว ขณะที่ราคาจะบวกน้อยลงจากการคาดการณ์นโยบายการเงินเพื่อสร้างเสถียรภาพในสหรัฐและประเทศสำคัญอื่นๆ
การเจรจาเรื่องเพดานหนี้ของสหรัฐมีสัญญาณความคืบหน้า เมื่อทำเนียบขาวได้ขานรับท่าทีของผู้นำพรรครีพับลิกันในสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐที่ว่า พวกเขาจะให้ความเห็นชอบต่อการขยายเพดานหนี้สหรัฐออกไปอีกราว 4 เดือน
Pacific Group Hedge Fund ได้เปลี่ยนสินทรัพย์ที่ถือเป็นทองคำจำนวน 1 ใน 3 ของสินทรัพย์รวมของกองทุน ขณะที่ธนาคารขนาดใหญ่ของโลก (Big Bank) 8 แห่ง ลดการถือครองสัญญาขายล่างหน้าลงจาก 58% ลงสู่ 54.3%
(ข้อมูลจาก สำนักข่าว รอยเตอร์, บลูมเบิร์ก, CME Group)
T.Thammasak
GFMS ระบุว่า อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงที่มีค่าติดลบ และความกังวลเรื่องเพดานหนี้ จะช่วยกระตุ้นการลงทุนในทอง โดยปัจจัยดังกล่าวจะหนุนราคาทองให้ปรับตัวขึ้นในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ และปัจจัยบวกเหล่านี้
จะช่วยบดบังอุปสงค์ที่ลดลงจากภาคเครื่องประดับ และการพุ่งขึ้นของอุปทานทองที่มาจากภาคเหมืองแร่และเศษทอง
GFMS คาดการณ์ว่า ราคาทองจะมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 1,775 ดอลลาร์/ออนซ์ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ โดยปรับตัวขึ้นจาก 1,685 ดอลลาร์ในช่วงครึ่งหลังของปี 2012 และสามารถทำลายสถิติสูงสุดสำหรับค่าเฉลี่ยรอบครึ่งปีที่ 1,693 ดอลลาร์ ซึ่งทำไว้ในช่วงครึ่งหลังของปี 2011
GFMS คาดว่า ราคาทองสปอตจะมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 1,847 ดอลลาร์สำหรับช่วงตลอดทั้งปีนี้ อย่างไรก็ดี ราคาทองจะขึ้นไปแตะจุดสูงสุดในช่วงปลายปีนี้ก่อนจะปรับลดลง แต่ราคาทองจะยังคงอยู่ในระดับที่สูงมากในช่วงครึ่งแรกของปี 2014
GFMS คาดว่า การลงทุนสุทธิในทองจะเพิ่มขึ้นสู่ 152 ตันในช่วง 6 เดือนข้างหน้า เทียบกับ 59 ตันในช่วงครึ่งแรกของปี 2012 โดยการลงทุนสุทธินี้ครอบคลุมกิจกรรมการลงทุนของกองทุน ETF, การซื้อขายสัญญาล่วงหน้า และการซื้อขายในตลาด OTC
มีแนวโน้มว่าตัวเลขการลงทุนสุทธินี้จะสามารถบดบังการลดลงของอุปสงค์ทองในภาคเครื่องประดับและการเพิ่มขึ้นของอุปทานทอง โดยเป็นที่คาดกันว่าอุปสงค์ทองในภาคเครื่องประดับอาจดิ่งลง 4.2 % หรือ 40 ตัน และอุปสงค์จะลดลงมากเป็นพิเศษในอินเดีย ในขณะที่ภาคเหมืองแร่อาจผลิตทองได้เพิ่มขึ้น 20 ตัน และ
อุปทานเศษทองอาจพุ่งขึ้น 57 ตัน
นายฟิลิป แคลปวิจ์ค หัวหน้าฝ่ายวิจัยของ GFMS กล่าวว่า "ความเห็นที่มีต่ออัตราแลกเปลี่ยนดอลลาร์/ยูโรได้เปลี่ยนแปลงไปในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมาหลังจากที่เคยมีการคาดการณ์ในทางลบเป็นอย่างมากต่อยูโร โดยในปัจจุบันนี้เราไม่คาดว่าดอลลาร์มีโอกาสพุ่งขึ้นมากนักในปีนี้"
นายแคลปวิจ์คกล่าวว่า "เราคาดว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)จะดำเนินโครงการซื้อสินทรัพย์ต่อไป และจะยังไม่ยุติโครงการนี้ในปีนี้ และเราคาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะเติบโตในระดับที่น่าผิดหวังในปีนี้"
GFMS ประเมินว่า การลงทุนสุทธิในทองพุ่งขึ้นกว่า 3 เท่าในปี 2012 โดยพุ่งขึ้นจาก 104 ตันในปี 2011 สู่ 354 ตันในปี 2012 และปัจจัยนี้ช่วยชดเชยปริมาณการลงทุนในทองแท่งที่ดิ่งลงราว 20 % สู่ 961 ตัน
คำสั่งซื้อทองจากภาคเครื่องประดับลดลง 4.4 % สู่ 1,885 ตันในปี2012 โดยภาคดังกล่าวถือเป็นภาคที่ต้องการซื้อทองมากที่สุด
คาดกันว่าปริมาณการผลิตเหรียญทองทั่วโลกอาจดิ่งลงแตะจุดต่ำสุดรอบ4 ปีที่ 199 ตันในปี 2012 โดยลดลง 19 % จากปี 2011
ราคาทองที่ระดับสูงส่งผลลบต่ออุปสงค์จากผู้ผลิตเครื่องประดับในปี 2012โดยเฉพาะในตลาดเอเชียที่มีความอ่อนไหวสูงต่อระดับราคา
อุปสงค์ในการทำเครื่องประดับในอนุทวีปอินเดียดิ่งลง 11 % สู่ 624 ตันในปี 2012 และลดลงในเกือบทุกภูมิภาคของโลก อย่างไรก็ดี อุปสงค์ในการทำเครื่องประดับพุ่งขึ้น 5 % ในภูมิภาคตะวันออกกลาง
เป็นที่คาดกันว่า อุปสงค์ในการทำเครื่องประดับในอนุทวีปอินเดียอาจลดลงสู่ 322 ตันในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ เทียบกับ 348 ตันในช่วงครึ่งแรกของปี 2012
อุปสงค์ในเครื่องประดับอินเดียมีแนวโน้มร่วงลง 9 % ในช่วงครึ่งปีแรกและอาจดิ่งลงแตะจุดต่ำสุดรอบ 4 ปี
อุปสงค์ในการทำเครื่องประดับในเอเชียตะวันออกมีแนวโน้มขยับลงราว 2 % สู่ 465 ตัน โดยภูมิภาคเอเชียตะวันออกครอบคลุมจีน, ฮ่องกง,ไต้หวัน, เวียดนาม, มาเลเซีย และประเทศอื่นๆ
อุปสงค์ในการทำเครื่องประดับในจีนลดลงในปี 2012 เป็นครั้งแรกในรอบ 9 ปี แต่ร่วงลงเพียง 1 % เท่านั้น
อุปสงค์ในการทำเครื่องประดับในจีนไม่สามารถก้าวขึ้นมาแทนที่อินเดียได้เหมือนอย่างที่เคยมีการคาดการณ์กันไว้ในตอนแรก โดยอินเดียยังคงเป็นประเทศที่ใช้ทองมากที่สุดในโลก
นายแคลปวิจ์คกล่าวว่า "ถึงแม้เราคาดการณ์ว่าอุปสงค์ทองในจีนอาจจะแข็งแกร่งขึ้นในปีนี้ แต่เราก็ยังคงมีความกังวลต่อแนวโน้มในอินเดีย และปัจจัยนี้ก็ส่งผลให้ราคาทองมีแนวรับที่อ่อนแอลงเล็กน้อย แทนที่จะมีแนวรับที่สูงขึ้น"
ธนาคารกลางทั่วโลกได้เปลี่ยนจากสถานะผู้ขายทองสุทธิมาเป็นผู้ซื้อทองสุทธิในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เนื่องจากธนาคารกลางพยายามกระจายทุนสำรองของตนเอง และเป็นที่คาดกันว่าอุปสงค์ทองจากธนาคารกลางจะยังคงทรงตัวในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ โดยอาจอยู่ที่ 280 ตัน เทียบกับ 277 ตันในช่วงครึ่งแรกของปี 2012
GFMS ระบุว่า คำสั่งซื้อทองจากภาครัฐพุ่งขึ้น 79 ตัน สู่ 536 ตันในปี 2012 ซึ่งเป็นจุดสูงสุดในรอบ 48 ปี
เป็นที่คาดกันว่า ภาคเหมืองแร่อาจผลิตทองเพิ่มขึ้น 1.5 % สู่ 1,389 ตันในช่วงครึ่งแรกของปีนี้
การนำเศษทองกลับมาใช้ใหม่มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้น 7.5 % โดยอุปทานเศษทองมีแนวโน้มพุ่งขึ้นในภูมิภาคตะวันออกกลาง, เอเชียตะวันออก และอินเดียแต่มีแนวโน้มลดลงในยุโรป และทรงตัวในอเมริกาเหนือ
คาดกันว่าอุปทานเศษทองจากตะวันออกกลางอาจพุ่งขึ้นเกือบ 18 %สู่ 192 ตัน ส่วนอุปทานจากอนุทวีปอินเดียอาจทะยานขึ้นเกือบ 18 % สู่ 91 ตัน
นักวิเคราะห์คาดราคาทองเฉลี่ยแตะระดับสูงเป็นประวัติการณ์ปีนี้,ปีหน้า
ราคาทองอาจแตะระดับเฉลี่ยสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในปีนี้และปีหน้าแต่สถิติการพุ่งขึ้น 12 ปีอาจถึงจุดอิ่มตัว ขณะที่ราคาจะบวกน้อยลงจากการคาดการณ์นโยบายการเงินเพื่อสร้างเสถียรภาพในสหรัฐและประเทศสำคัญอื่นๆ
ส่วนราคาพัลลาเดียมคาดว่าจะแตะระดับเฉลี่ยสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในปีนี้ และราคาพลาตินั่มจะปรับตัวขึ้นมากที่สุดในรอบ 2 ปี ขณะที่ปัญหาด้านอุปทานในแอฟริกาใต้ย่ำแย่ลง และวัฏจักรเศรษฐกิจเริ่มที่จะส่งผลดีต่อโลหะอุตสาหกรรม
นักวิเคราะห์คาดการณ์ราคาทองจากปัจจัยสำคัญๆที่จะผลักดันราคา ดังนี้:-
ราคาเฉลี่ยปี 2013 ราคาเฉลี่ยปี 2014
ค่าเฉลี่ย 1788.95 1839.45
ค่ากลาง 1775.00 1780.00
สูงสุด 2250.00 3000.00
ต่ำสุด 1587.50 1420.00
จำนวนนักวิเคราะห์ 37 33
ราคาตลาดทองเอเชียทรงตัวใกล้นิวไฮ 1 เดือนเช้านี้รับมาตรการบีโอเจ
ราคาทองสปอตทรงตัวเช้านี้ใกล้ระดับสูงสุดในรอบ 1 เดือนที่ทำไว้เมื่อวานนี้ หลังจากได้แรงหนุนในฐานะสินทรัพย์ประกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อเมื่อธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) ได้ประกาศมาตรการกระตุ้นทางการเงิน
แบบเชิงรุก
บีโอเจประกาศว่าจะใช้มาตรการซื้อสินทรัพย์แบบไม่กำหนดเวลาสิ้นสุดโครงการ โดยเริ่มตั้งแต่ปีหน้า และจะเพิ่มเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อขึ้นเป็น 2%ซึ่งถือเป็นความพยายามที่มีความมุ่งมั่นมากที่สุดของบีโอเจเพื่อยุติภาวะเศรษฐกิจชะงักงันมานานหลายปี
ราคาโลหะเงินสปอตทรงตัวที่ 32.22 ดอลลาร์/ออนซ์ หลังจากพุ่งขึ้น7 วันติดต่อกัน ซึ่งเป็นสถิติช่วงขาขึ้นยาวนานที่สุดที่เคยทำไว้ในเดือนส.ค.2011
ผลสำรวจของรอยเตอร์พบว่า ราคาทองอาจพุ่งขึ้นแตะระดับเฉลี่ยสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในปีนี้และปีหน้า แต่สถิติการพุ่งขึ้น 12 ปีอาจถึงจุดอิ่มตัว ขณะที่ราคาจะบวกน้อยลงจากการคาดการณ์นโยบายการเงินเพื่อสร้างเสถียรภาพในสหรัฐและประเทศสำคัญอื่นๆ
การเจรจาเรื่องเพดานหนี้ของสหรัฐมีสัญญาณความคืบหน้า เมื่อทำเนียบขาวได้ขานรับท่าทีของผู้นำพรรครีพับลิกันในสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐที่ว่า พวกเขาจะให้ความเห็นชอบต่อการขยายเพดานหนี้สหรัฐออกไปอีกราว 4 เดือน
Pacific Group Hedge Fund ได้เปลี่ยนสินทรัพย์ที่ถือเป็นทองคำจำนวน 1 ใน 3 ของสินทรัพย์รวมของกองทุน ขณะที่ธนาคารขนาดใหญ่ของโลก (Big Bank) 8 แห่ง ลดการถือครองสัญญาขายล่างหน้าลงจาก 58% ลงสู่ 54.3%
(ข้อมูลจาก สำนักข่าว รอยเตอร์, บลูมเบิร์ก, CME Group)
T.Thammasak