xs
xsm
sm
md
lg

ปชป.จัดตัวประกบพท. คุยกวาด25ที่นั่งในกทม.

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ภายหลังจากที่พรรคเพื่อไทย ได้ทำการเปิดตัวว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.เขตในพื้นที่กทม. ทั้ง 33 เขตไปแล้ว ในส่วนความเคลื่อนไหวของพรรคประชาธิปัตย์ จากการหารือของคณะกรรมการบริหารพรรค (กก.บห.)ในนัดแรกค่อนข้างลงตัวแล้ว เหลือเพียง 2 เขต ที่ยังมีปัญหา คือ เขต 2 ที่ต้องรอให้ตัดสินระหว่าง มล.อภิมงคล โสณกุล กับ นางอรอนงค์ กาญจนชูศักดิ์ ขณะที่มีรายงานข่าวว่า งานนี้มีการขอมาจากนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรค ให้ มล.อภิมงคล ลงเลือกตั้งในเขตนี้ และ เขต 19 ระหว่าง นายวสันต์ มีวงศ์ ที่ปรึกษาผู้ว่าฯ กทม. กับ นางเบญจาภา เกษประดิษฐ์ ซึ่งจะมีการทำโพลสำรวจอีกครั้ง หากใครชนะ ก็ได้ลงทันที
ทั้งนี้ รายชื่อผู้สมัครทั้ง 33 เขต ของพรรคประชาธิปัตย์ ประกอบด้วย
เขต 1 พระนคร ป้อมปราบ สัมพันธวงศ์ นางเจิมมาศ จึงเลิศศิริ พรรคปะชาธิปัตย์ จะเจอกับ พล.ต.ต.รุ่งโรจน์ เภกะนันท์ พรรคเพื่อไทย
เขต 2 ปทุมวัน บางรัก สาทร นางอรอนงค์ กาญจนชูศักดิ์ หรือ มล.อภิมงคล โสณกุล โดยมีมล. ณัฎฐพล เทวกุล พรรคเพื่อไทย เป็นคู่ต่อสู้สำคัญ
เขต 3 บางคอแหลม ยานนาวา นายสุกิจ ก้องธรนินทร์ แข่งกับ นายพงษ์พิสุทธิ์ จินตโสภณ พรรคเพื่อไทย
เขต 4 คลองเตย วัฒนา นายอนุชา บูรพชัยศรี พบกับนายวรพงษ์ ตันติเวชยานนท์ พรรคเพื่อไทย
เขต 5 ดุสิต ราชเทวี น.ส.จิตร์ภัส ภิรมย์ภักดี เชิดฉิ่งกับ น.ส.ลีลาวดี วัชโรบล พรรคเพื่อไทย
เขต 6 ดินแดง พญาไท นายธนา ชีรวินิจ พรรคประชาธิปัตย์ เจอกับ นายกวี ณ ลำปาง พรรคเพื่อไทย
เขต 7 ห้วยขวาง วังทองหลาง นายพุทธิพงษ์ ปุณณกัณฑ์ พรรคประชาธิปัตย์ บี้กับ น.ส.อุตตมา อมรวิวัฒน์ พรรคเพื่อไทย
เขต 8 ลาดพร้าว วังทองหลาง นายสรรเสริญ สะมะลาภา พรรคประชาธิปัตย์ กับ ดร. สิงห์ทอง บัวชุม พรรคเพื่อไทย
เขต 9 จตุจักร นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี พรรคประชาธิปัตย์ ต้องเจอกับ น.ส.วิลาวัลย์ ธรรมชาติ พรรคเพื่อไทย
เขต10 บางซื่อ นายชื่นชอบ คงอุดม พรรคประชาธิปัตย์ มีคู่ต่อสู้คือ นายเฉลิมชัย จีนะวิจารณะ พรรคเพื่อไทย
เขต 11 หลักสี่ นายสกลธี ภัทธิยกุล พรรคประชาธิปัตย์ จะต้องเจอทั้ง นายสุรชาติ เทียนทอง พรรคเพื่อไทย และน.ส.ศุภมาส อิสระภักดี จากพรรคภูมิใจไทย
เขต 12 ดอนเมือง นายแทนคุณ จิตต์อิสระ พรรคประชาธิปัตย์ ต้องสู้กับ"จอมถีบ" นายการุณ โหสกุล พรรคเพื่อไทย
เขต 13 สายไหม นายก้องศักดิ์ ยอดมณี พรรคประชาธิปัตย์ พบกับ น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ พรรคเพื่อไทย
เขต 14 บางเขน นายวิทเยนทร์ มุตตามระ พรรคประชาธิปัตย์ แข่งกับ นายอนุสรณ์ ปั้นทอง พรรคเพื่อไทย
เขต 15 บางกระปิ นายณัฐ บรรทัดฐาน พรรคประชาธิปัตย์ แข่งกับ นายภักดีหาญส์ หิมะทองคำ พรรคเพื่อไทย
เขต16 บึงกุ่ม นายพนิช วิกิตเศรษฐ์ พรรคประชาธิปัตย์ แข่งกับ พล.ท.พลถูมิ วิภัติภูมิประเทศ พรรคเพื่อไทย
เขต 17 มีนบุรี คันนายาว นายชาญวิทย์ วิภูศิริ พรรคประชาธิปัตย์ แข่งขันกับนายวิชาญ มีนชัยนันท์ พรรคเพื่อไทย
เขต18 คลองสามวา นายสมัย เจริญช่าง พรรคประชาธิปัตย์ ลงแข่งกับ นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ พรรคเพื่อไทย
เขต 19 หนองจอก นายวสันต์ มีวงศ์ หรือ นางเบญจาภา เกษประดิษฐ์ พรรคประชาธิปัตย์ แข่งกับนายไพโรจน์ อิสระเสรีพงษ์ พรรคเพื่อไทย
เขต 20 ลาดกระบัง นางสลวยเลิศ กิมสูนจันทร์ พรรคประชาธิปัตย์ ปะทะกับ น.ส.ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ พรรคเพื่อไทย
เขต 21 สะพานสูง ประเวศ นางนาตยา เบญจศิริวรรณ พรรคประชาธิปัตย์ แข่งกับ นายเอกพจน์ วงศ์อารยะ พรรคเพื่อไทย
เขต 22 สวนหลวง ประเวศ นายสามารถ มะลูลีม พรรคประชาธิปัตย์ สูกับ นายภัทรศักดิ์ โอสถานุเคราะห์ พรรคเพื่อไทย
เขต 23 พระโขนง บางนา นายสุทธิ ปัญญาสกุลวงศ์ พรรคประชาธิปัตย์ พบกับนายวัฒนา เซ่งไพเราะ พรรคเพื่อไทย
เขต 24 ธนบุรี คลองสาน นพ.สุรันต์ จันทรพิทักษ์ พรรคประธิปัตย์ แข่งกับ นายเอนก หุตังคบดี
เขต 25 จอมทอง ธนบุรี นางนันทพร วีรกุลสุนทร พรรคประชาธิปัตย์ แข่งกับ นายสุวัฒน์ ม่วงศิริ พรรคเพื่อไทย
เขต 26 ราษฏร์บูรณะ ทุ่งครุ นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ พรรคประชาธิปัตย์ แข่งกับ น.ส.นพสรัญ วรรณศิริกุล พรรคเพื่อไทย
เขต 27 บางขุนเทียน นายสากล ม่วงศิริ พรรคประชาธิปัตย์ แข่งกับนายพิพัฒน์ชัย ไพบูลย์ พรรคเพื่อไทย
เขต 28 บางบอน หนองแขม พ.ต.อ.นพ.สามารถ ม่วงศิริ พรรคประชาธิปัตย์ แข่งกับ นายวัน อยู่บำรุง พรรคเพื่อไทย
เขต 29 ทวีวัฒนา หนองแขม นายเอกณัฐ พร้อมพันธุ์ พรรคประชาธิปัตย์ แข่งกับ นายแสวง กฤษ์จรัล พรรคเพื่อไทย
เขต 30 บางแค นางอรอนงค์ คล้ายนก พรรคประชาธิปัตย์ แข่งกับ ร.ท.หญิง สุณิศา เลิศภควัต พรรคเพื่อไทย
เขต 31 ภาษีเจริญ บางกอกใหญ่ นายวิลาศ จันทรพิทักษ์ พรรคประชาธิปัตย์ แข่งกับนายมานะ คงวุฒิปัญญา พรรคเพื่อไทย
เขต 32 ตลิ่งชัน บางกอกน้อย นายชนินทร์ รุ่งแสง พรรคประชาธิปัตย์ แข่งกับนายปิติพงษ์ เต็มเจริญ พรรคเพื่อไทย
เขต 33 บางพลัด บางกอกน้อย น.ส.รัชดา ธนาดิเรก พรรคประชาธิปัตย์ แข่งกับ นายพงศ์พันธ์ ยอดเจริญเมือง พรรคเพื่อไทย
แหล่งข่าวกล่าวว่า พรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้จัดทำโพลในสนามเลือกตั้งกทม. เพราะยังมั่นใจในฐานเสียง และคะแนนนิยมของพรรคว่ายังมีอยู่ และมากพอที่จะชนะคู่แข่งได้มากกว่า 25 เขต

**"อัญชลี"เว้นวรรคไม่ลงส.ส.

สำหรับรายชื่อผู้สมัคร ส.ส.ในส่วนภาคใต้ จัดทำเสร็จแล้วประมาณ 80 เปอร์เซนต์ โดยใน จ.นครศรีธรรมราช จากจำนวน ส.ส.เดิม 10 คน ลดลงเหลือ 9 คน โดยนายสัมพันธ์ ทองสมัคร ขึ้นปาร์ตี้ลิสต์ เช่นเดียวกับ จ.พังงา เดิมมี ส.ส.2 คน ลดลงเหลือ 1 คน พรรคส่งนางกันตวรรณ ตันเถียร ลงส.ส.เขต และให้นายจุฤทธิ์ ลักษณวิศิษฏ์ น้องชาย นายจุรินทร์ ขึ้นปาร์ตี้ลิสต์
ส่วนจังหวัดอื่นๆ ผู้สมัครจะเป็นส.ส.เดิม มีเพียง จ.ภูเก็ต และจ.ละยา ที่ยังไม่ลงตัว โดยเฉพาะ จ.ภูเก็ต ซึ่งเดิมเป็นพื้นที่ของพรรคประชาธิปัตย์ทั้งหมด คือมีส.ส.เขต 2 คน คือ นายทศพร เทพบุตร และ นายเรวัตร อารีรอบ แต่ครั้งนี้เกิดปัญหา คือนายทศพร จะไม่ขอลงสมัครในเขต 1 เพราะไม่มั่นใจในฐานเสียง เนื่องจากไม่ค่อยได้ทำงานในพื้นที่ จึงขอลงปาร์ตี้ลิสต์แทน ขณะที่นางอัญชลี วานิช เทพบุตร ก็ไม่ขอลงเลือกตั้งในครั้งนี้ จึงอยู่ระหว่างการตัดสินใจว่า จะให้นายเรวัตร ไปลงในเขต 1 และให้ น.ส.เฉลิมลักษ์ เก็บทรัพย์ ซึ่งเดิมเป็น ส.ส.ปาร์ตีลิสต์ มาลงในเขต 2
ขณะที่ จ.ยะลา ซึ่งเดิมมีส.ส. 2 คน ครั้งนี้มีว่าที่ผู้สมัครแล้วทั้ง3 เขต โดยเป็น ส.ส.เดิม 2 คน และ อีกหนึ่งคนเป็นอดีตผู้สมัคร แต่ยังรอการตรวจสอบคุณสมบัติ และฐานคะแนนเสียงจากกรรมการบริหารพรรค

**สวน"แม้ว"160 ที่นั่งแค่ส.ส.เขต

นายเทพไท เสนพงศ์ โฆษกประจำตัวหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) กล่าวกรณีพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ระบุว่าพรรคประชาธิปัตย์ จะได้ส.ส.160 ที่นั่งว่า พ.ต.ท.ทักษิณคงจะดูผลโพลผิดไป เพราะตัวเลขดังกล่าวอาจยังไม่รวม ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ เนื่องจากถ้ารวมแล้วคงจะได้ส.ส.กว่า 200 ที่นั่ง ตามที่ผลสำรวจที่พรรคทำไว้
ส่วนที่อ้างว่าพรรคประชาธิปัตย์จะชนะเฉพาะในเขตพื้นที่ กทม.ชั้นใน คงเป็นเพราะพรรคเพื่อไทยรู้ดีว่า คนกทม.ยังหวาดกลัวกับสถานการณ์ เมื่อปื 2553 ที่ผ่านมา ที่ความเป็นจริง ประชาชนทุกพื้นที่รับรู้เหมือนกันหมด
ส่วนที่ พ.ต.ท.ทักษิณ เสนอนโยบายป้องกันน้ำท่วมโดยทำเขื่อนลึกลงไปในทะเล 10 ก.ม. โดยถมทะเลให้เป็นพื้นที่สร้างเมืองใหม่นั้น เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ในทางปฏิบัติ เพราะองค์กรด้านสิ่งแวดล้อมจะคัดค้านเหมือนกรณีเสนอสะพานข้ามทะเลบริเวณแหลมผักเบี้ย ที่ล้มลงอย่างไม่เป็นท่า รวมไปถึงการหลอกเกษตรกร เรื่องการให้บัตรเครดิตเป็นเรื่องการสร้างความหวังให้เกษตรกรเป็นหนี้เป็นสิน

** ปชป.ชูดอนเมืองสนามบินโลว์คอสต์
นพ.บุรณัชย์ สมุทรักษ์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงนโยบายของพรรคประชาธิปัตย์ ในส่วนพื้นที่กรุงเทพฯว่า ขณะนี้ผ่านความเห็นชอบจาก นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ในฐานะคณะทำงานยุทธศาสตร์พรรคในพื้นที่กรุงเทพฯ โดยเตรียมจะเปิดตัวผู้สมัครส.ส.ทั้ง 33 เขต และนโยบายในส่วนนี้อย่างเป็นทางการ ภายหลังจากที่มีประกาศพระราชกฤษฎีการยุบสภาแล้ว
ทั้งนี้นโยบายของพรรคประชาธิปัตย์ในส่วนของกรุงเทพฯ อาทิ การเพิ่มเส้นทางรถไฟฟ้าบีทีเอส รถไฟใต้ดิน การปรับปรุงสถานที่ชุมชนแออัดให้เป็นพื้นที่สีเขียว โดยไม่กระทบเรื่องที่อยู่อาศัยในพื้นที่เขตคลองเตย การพัฒนาสนามบินดอนเมืองให้เป็นสนามบินโลว์คอสต์ แอร์ไลน์ ทั้งในและต่างประเทศ เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม พรรคประชาธิปัตย์มองว่า นโยบายที่พรรคเพื่อไทยประกาศเมื่อวันที่ 4พฤษภาคม ที่ผ่านมาไม่น่าทำได้จริง แตกต่างจากรัฐบาลปัจจุบันที่ทำนโยบายโดยการต่อยอดจากสิ่งที่รัฐบาลดำเนินการ และเป็นรูปธรรมแล้ว
นพ.บุรณัชย์ ยังกล่าวถึงกรณี ที่พรรคเพื่อไทยอ้างผลสำรวจของพรรคจะได้ ส.ส.กทม. ถึง 15 ที่นั่ง ว่า ในเวลานี้ไม่มีใครรู้ว่าผลการเลือกตั้งครั้งหน้าจะเป็นเช่นไร แต่ส่วนตัวเชื่อว่าไม่น่าจะเป็นอย่างที่พรรคเพื่อไทยกล่าวอ้าง เพราะประชาชนจะตัดสินใจเลือกระหว่างประชาธิปัตย์ ที่จะพาประเทศเดินไปข้างหน้า กับพรรคเพื่อไทย ที่เน้นแก้ปัญหาการเมืองกับการนิรโทษกรรมให้กับพ.ต.ท.ทักษิณเท่านั้น

**แฉจัดงานใช้สมาคมไทย-จีน บังหน้า
นพ.บุรณัชย์ กล่าวถึงกรณีพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร วีดีโอลิงค์ เข้ามาในการจัดงานเสวนา เรื่องนโยบายแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ซึ่งจัดโดยผู้แทนการค้าไทย-จีน ว่า จากการตรวจสอบงานดังกล่าวจัดในนามส่วนตัว ที่ประธานผู้จัดเตรียมลงลงสมัครส.ส.ในนามพรรคเพื่อไทย ไม่ใช่จัดโดยสมาคมไทย-จีน และนโยบายที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ระบุผ่านการสัมมนานั้น เน้นไปที่การบอกว่า จะกลับบ้านภายในสิ้นปี การแก้ไขปัญหาของคนเสื้อแดง แนวทางที่จะทำให้ตัวเองกลับเข้าสู่อำนาจ ดังนั้นจึงไม่น่าจะเป็นไปเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ แต่เป็นการแก้ไขของตัวเองที่จะไม่ถูกตัดสิน หรือรับผิดชอบต่อความผิดที่ก่อขึ้น
นพ.บุรณัชย์ ยังกล่าวกรณีรายงานองค์กรสิทธิมนุษยชนสากล ( ฮิวแมนไรท์ วอทช์ ) ที่ออกหนังสือรายงานสถานการณ์ความขัดแย้งในประเทศไทย ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมานี้ว่า กำลังถูกแกนนำคนเสื้อแดงนำไปบิดเบือนผ่านสื่อในเครือข่าย โดยมีการระบุว่า รัฐบาลได้ทำร้ายประชาชนที่ไม่มีอาวุธในเหตุการณ์สลายการชุมนุม เมื่อพฤษภาคม 2553 ทั้งๆ ที่ในรายงานมีการระบุชัดเจนว่า ในเหตุการณ์ดังกล่าวมีกองกำลังติดอาวุธไม่ทราบฝ่ายแฝงอยู่ และการตรวจสอบจากองค์กรอิสระ ยังไม่ได้ข้อยุติ ดังนั้นการที่เครือข่ายของคนเสื้อแดง มีการหยิบข้อมูลด้านเดียวเพื่อบิดเบือน จึงเป็นความต้องการที่จะให้ประเทศเกิดความขัดแย้ง
กำลังโหลดความคิดเห็น