วานนี้(4 พ.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับการอนุมัติงบกลางรายการสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นรวมทั้งสิ้น 13,745.0939 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น 1. กระทรวงแรงงาน จำนวน 262.0800 ล้านบาท โดยคุ้มครองประกันสินทรัพย์ 95 ล้านบาท โครงการจ้างงานเร่งด่วนและพัฒนาอาชีพเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนด้านอาชีพ 67.08 ล้านบาท โครงการศูนย์ข้อมูลแรงงานแห่งชาติ 100 ล้านบาท 2.ศอบต.จำนวน 190.1880 ล้านบาท แบ่งเป็นโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนหมู่บ้านชายแดนภาคใต้ 180.6880 การปฏิบัติงานด้านการข่าวในจังหวัดชายแดนใต้ 9.5000 ล้านบาท 3.กระทรวงมหาดไทย จำนวน 237.0059 ล้านบาท การช่วยเหลือเยียวยาส่วนราชการที่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมทางการเมือง จำนวน 212.6559 ล้านบาท การช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบเหตุการณ์ชุมนุม พื้นที่กทม.5.5000 ล้านบาท โครงการประชาวิวัฒน์ผู้หาบเร่แผลลอย 18.8500 ล้านบาท
4.กระทรวงการคลัง จำนวน 740 ล้านบาท แบ่งเป็น โครงการบ้านธอส.เพื่อที่อยู่อาศัยแห่งแรก 500 ล้านบาท มาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยปี 2553 และ 2554 เพิ่มเติม 240 ล้านบาท 5. สปน.จำนวน 149.5000 เป็นค่าใช้จ่ายส่งเสริมการจัดการศพผู้สูงอายุ 6.กระทรวงวัฒนธรรมจำนวน 72.3500 เป็นค่าบูรณะ/ซ่อมแซมโบราณสถานที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย
7.สตช. จำนวน 171.1800 แบ่งเป็น โครงการกรุงเทพเมืองปลอดภัย (ประชาวิวัฒน์) 123.6800 ล้านบาท โครงการเช่ารถภารกิจถวายความปลอดภัย 7.5000 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายในการจัดหาที่พักอาศัย 40 ล้านบาท 8.คชอ.ค่าใช้จ่ายในการฟื้นฟูความเสียหายจากอุทกภัย จำนวน 1385.6000 ล้านบาท
9.กระทรวงสาธารณสุข ค่าตอบแทนกำลังคนด้านสาธารณสุข จำนวน 4200 ล้านบาท 10.กระทรวงพาณิชย์ โครงการมหกรรมลดค่าครองชีพ 169 ล้านบาท 11.กระทรวงกลาโหม จำนวน 1806 ล้านบาท แบ่งเป็นการปรับค่าเบี้ยเลี้ยงทหารพราน 172 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายในการป้องกันชายแดนไทย-กัมพูชา จำนวนn359 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายในการจัดหากระสุนสำรองคงคลัง 920 ล้านบาท
12,กกต.ค่าใช้จ่ายในการจัดการเลือกตั้ง 3164.8000 ล้านบาท 13.กระทรวงเกษตรฯ จำนวน 1166.3900 ล้านบาท แบ่งเป็นค่าใช้จ่ายในการชดเชยราษฎรโครงการเขื่อนน้ำอูน จำนวน 86.7000 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายช่วยเหลือเกษตรกรประสบภัยศัตรูพืช 439.3300 (โรคไหม้คอรวง) แนวทางควบคุมการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล 385 ล้านบาท และการช่วยเหลือเมล็ดพันธุ์ข้าวแก่เกษตรกรผู้ประสบอุทกภัย 2553 จำนวน 255.3600
**แบ่งเคก ปชป.รับมากที่สุด
ขณะที่กระทรวงที่พรรคประชาธิปัตย์ กำกับได้รับงบประมาณไปทั้งสิ้นกว่า 28,701 ล้านบาท กระทรวงที่พรรคภูมิใจไทย กำกับได้รับงบประมาณกว่า 46,816 ล้านบาท กระทรวงที่พรรคชาติไทยพัฒนา กำกับ ได้รับจัดสรรงบฯกว่า 2,023 ล้านบาท ส่วนที่พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน กำกับ ได้งบกว่า 2,470 ล้านบาท
** มาร์ค”นายแน่มาก!
นายภูมิธรรม เวชยชัย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และ อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย ได้ทวิตข้อความผ่านเวบไซต์ www.twitter.com เป็นวันที่ 2 ติดต่อกัน โดยในวันนี้เป็นการโจมตีเรื่องการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 พ.ค. ทีผ่านมา ซึ่งมีการผ่านวาระและอนุมัติงบประมาณเป็นจำนวนมาก โดยนายภูมิธรรมระบุว่า "นายกฯ พูดรายการเชื่อมั่นปท.ไทย ครม.จะไม่มีการทิ้งทวน..ผลการประชุมนัดสุดท้ายเมื่อวาน ชี้ชัดว่า..เชื่อมั่นปท.ไทยได้ แต่เชื่อมั่นนายกไม่ได้ครับ ครม.นัดสั่งลาวานนี้..ช่างกล้าหาญจริงๆ เทกระจาด 206 วาระ กว่าแสนล้าน ใช้เวลาประชุมนาน10กว่าชั่วโมง แจกจ่ายกันทั่วถึง พูดได้คำเดียว..นายแน่มาก นี่ไม่นับรวม การประชุมครม.ก่อนหน้านี้ 2นัด อนุมัติไปล่วงหน้าก่อน 457,000กว่าล้านบาท ให้ซื้อเครื่องบินโดยไม่มีรายละเอียดโครงการเลย ยังกล้าทำส่วนนัดที่แล้วอนุมัติทั้งหมดไป66,113ล้านบาท และรวมการประชุมนัด มาราธอนวานนี้ อีก1แสน2หมื่นกว่าล้านบาท..รวม3นัด เป็นเงินกว่า6แสน5หมื่นล้านบาท อย่างนี้ไม่เรียกทิ้งทวน แล้วจะเรียกอะไรดีครับ ...พูดได้คำเดียว..นายแน่มาก นายกล้ามาก..กล้าแจกจ่ายอย่างทั่วถึง กล้าทำโดยไม่กลัวอะไรเลย"
**เลขาฯสมัยชวน จับตาระวัง!
นายสุรัศม์พรรณ ดุลยจินดา อดีตรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สมัยนายชวน หลีกภัยให้ความเห็นว่า มติ ครม.เหล่านี้ สามารถแก้ไขได้ในครม.ชุดต่อไป แต่หากพรรคร่วมรัฐบาลเปลี่ยนใจ โดยไม่อยู่กับพรรคประชาธิปัตย์ต่อในการเลือกตั้งครั้งหน้า ก็อาจจะมีปัญหา ในงบประมาณที่ครม.อนุมัติ ขณะเดียวกันก็แปลกใจว่า งบประมาณจะต้องนำไปรายงานในงบประมาณรายจ่าปี 2555 แต่กลับมาการอนุมัติมหาศาล
** สว.อัดเยอะ!เล็งตั้งกมธ.สอบ
ที่รัฐสภา นายจิตติพจน์ วิริยะโรจน์ ส.ว.ศรีสะเกษ ประธานคณะกรรมาธิการกิจการองค์กรตามรัฐธรรมนูญและติดตามการบริหารงบประมาณ วุฒิสภา กล่าวว่า การมาอนุมัติก่อนยุบสภาไม่กี่วันถือว่าไม่เหมาะสม ดังนั้น คณะกรรมาธิการจะยกเรื่องนี้ขึ้นมาพิจารณาเพื่อตรวจสอบรัฐบาลต่อไป
** พธม.จวก! น่าเกลียดผิดประเพณี
นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โฆษกพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กล่าวว่า ถือเป็นเรื่องที่น่าเกลียดและกระทำผิดประเพณี เสมือนเป็นการเร่งรีบทิ้งทวนในการอนุมัติงบประมาณแผ่นดินในช่วงสุดท้าย เป็นการกระทำที่ลุแก่อำนาจ ขาดความรอบคอบในการพิจารณา ซึ่งผิดปกติจากมนุษย์ทั่วไปที่จะพิจารณา
**งบกลาง1.3หมื่นล้านไม่ใช่แสนล้าน
ขณะที่ฟากรัฐบาล นายปณิธาน วัฒนายากร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า การประชุมครม.ใช้เวลารวมทั้งสิ้น 15ชั่วโมง มีวาระเพื่อพิจารณา 155 วาระ โดยเป็นวาระจร 53 วาระ ซี่งไม่ได้ถือว่าเป็นวาระที่มากจนผิดปกติ เอกสารที่รัฐมนตรีไม่ค่อยได้เห็นเพราะเป็นวาระจรนั้นก็ไม่มาก แต่วาระปกติที่พิจารณาจะมากคือ 102 วาระ ซึ่งก็ถือเป็นครม.อนุมัติในหลักการค่อนข้างมาก เห็นเอกสารล่วงหน้า
“อย่างเรื่อง งบพัฒนารัฐวิสาหกิจที่อนุมัติล่วงหน้าไป 4 แสนกว่าล้าน และบางตัวเป็นงบผูกพัน งบประจำปี ในช่วงเวลาขณะนี้ส่วนใหญ่จะขอผูกพันไปยันปีหน้า และอาจจะกลับเข้ามา ส่วนที่อนุมัติในหลักการไปหลายโครงการแล้วนั้น เป็นการบวกตัวเลขที่ซ้ำซ้อนทำให้ตัวเลขโดยรวมดูเหมือนจะสูงเป็นแสนล้านและทางสำนักงบประมาณได้ยืนยันตัวเลข มาว่าของบกลางในรายการสำรองจ่ายฉุกเฉินเพื่อกรณี จำเป็นเร่งด่วนมีหลายโครงการ โดยตัวเลขอยู่ที่ 13,745.0939 ล้านบาท ไม่ใช่เป็นแสนล้านตามที่เป็นข่าว” นายปณิธาน กล่าว
**อ้างเพื่อความต่เนื่องของรัฐบาล
ในการประชุมครม.เมื่อ วันทื่ 3 พ.ค.ที่ผ่านมา รัฐบาลตั้งใจที่จะให้เกิดความต่อเนื่องในการที่จะดำเนินงานที่ได้แถลงไป และมีนโยบายไปชัดเจน และไม่อยากให้โครงการเร่งด่วนหายโครงการที่เป็นโครงการช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบภัยโครงการที่แก้ปัญหาตามแนวชายแดนไทยกัมพูชา และค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งซึ่งเป็นหนึ่งในค่าใช้จ่ายที่สูงมากเป็นลำดับที่ 2 ในงบกลางประมาณ 3พันกว่าล้านบาทไม่ควรที่จะต้องมาสะดุด และเป็นเรื่องที่จำเป็นที่จะต้องมีการอนุมัติ และหากจำเป็นก็สามารถขออนุมัติจากคณะกรรมการการเลือกตั้งได้ในบางช่วงที่เห็นว่าเป็นเรื่องจำเป็นเร่งด่วน เพราะกฎหมายเลือกตั้ง อนุญาตให้รัฐบาลไปขอให้ กกต.มีการอนุมัติเพิ่มเติม หากเห็นว่าจำเป็น แต่ในชั้นนี้ทางรัฐบาลเองก็ไม่อยากรบกวน กกต. อยากให้โครงการต่างๆเดินหน้า
“รัฐบาลจริงๆทางกฎหมายยังถือว่าเป็นรัฐบาล ภาษากฎหมายที่คณะกรรมการกฤษฎีกาได้แจ้งให้ครม.ทราบ ไม่ได้เรียกว่า รัฐบาลรักษาการ เป็นรัฐบาลที่ยังมีอำนาจเต็ม แต่มีบางอย่างที่ไม่สามารถทำได้ ตามกฎหมายเลือกตั้ง บางอย่างอาจจะเป็นเรื่องของประเพณีปฏิบัติ ในแง่ความต่อเนื่อง เมื่อวานชัดเจนว่าครม.ต้องการเห็นความต่อเนื่องต้องการเห็นการแก้ไขปัญหาโดยเฉพาะปัญหาเร่งด่วน” นายปณิธานกล่าว
**มาร์คอ้างไม่อนุมัติก็ต้องรออีก 3 เดือน
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ระหว่างการบันทึกเทปก่อนการเดินทางไปประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ที่ประเทศอินโดนีเซีย ระหว่างวันที่ 6- 8 พ.ค.นี้ ว่า เนื่องจากรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ว่า หากยุบสภาแล้วห้ามมีการพิจารณาเรื่องที่จะ มีผลผูกพันต่อรัฐบาลชุดต่อไป ดังนั้นจะดำเนินการอะไรไม่ได้ เพราะยังมีเรื่องงบประมาณเกี่ยวกับการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ภัยแล้ง ที่ต้องเร่งอนุมัติ หากไม่อนุมัติในการประชุมครม.ครั้งนี้ ก็ต้องรอไปอีก 3 เดือน
ทั้งนี้ งบประมาณที่อนุมัติไป ส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่อยู่ในแผนเดิมอยู่แล้ว เช่น เรื่องของเงินเดือน ค่าตอบแทน ของครูและแพทย์ พยาบาล หากไม่ดำเนินการในขณะนี้ อีก 2 เดือน ก็ต้องอนุมัติ เพราะเป็นค่าตอบแทนที่ต้องทำ
ดังนั้นที่วิจารณ์กันว่า เป็นการอนุมัติงบมากมายนั้น มันเป็นเรื่องที่อยู่ในแผนอยู่แล้ว กว่า แสนล้านบาท ในส่วนของกระทรวงกลาโหมที่อนุมัติก็เป็นเรื่องเก่า ยกเว้นปัญหาชายแดน
**โบ้ย!โครงการเยียวยาเยอะ
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง กล่าวว่า ในช่วงที่ยุบสภา รัฐมนตรี ครม.ไม่สามารถจะอนุมัติโครงการ และอนุมัติการใช้จ่ายเงินงบประมาณได้ จะทำให้ช่วงรักษาการอยู่ประมาณ 2 เดือน ในระหว่างกำลังหาเสียง จนถึงวันเลือกตั้ง บวกกับอีกประมาณ 1 เดือน กว่าจะมีครม.ชุดใหม่เข้ามารับหน้าที่
ฉะนั้น 3 เดือน หรือ 90 วันเต็มๆ ที่การบริหารราชการบ้านเมืองจะเกิดอาการชะงักงันได้ กระทรวง ทบวงกรมต่างๆ จึงจำเป็นที่จะต้องรีบทำเรื่องเสนอขอนุมัติ ขอความเห็นชอบในโครงการสำคัญๆ ที่ต้องดำเนินการ เช่น เรื่องการช่วยหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ครม. ก็ต้องเอาโครงการทั้งหมดที่จะเข้ามาช่วยฟื้นฟูเยียวยา หากหลังจากนี้ จะทำไม่ได้ เรื่องจากทุกระทรวงเมื่อประดังเข้ามาพร้อมๆ กันก็ทำให้วาระการประชุมจึงมีตั้งร้อยกว่าเรื่อง
**เสนอแก้กม.ห้ามยัดโครงการ
นายพูนทรัพย์ ปิยะอนันต์ อดีตผ.อ.สำนักงบประมาณ เปิดเผยว่า รู้สึกตกใจที่เห็นคณะรัฐมนตรี อนุมัติงบประมาณแสนล้าน ในเวลา 15 ชั่วโมง ตั้งแต่ตนทำงานสำนักงบฯมาก็ไม่เคยเห็นแบบนี้ถือว่าเป็นประวัติศาสตร์ การยัดวาระเข้ามาทีเดียวนับร้อยแล้วพิจารณากันแบบจานด่วน สะท้อนให้เห็นว่ารัฐบาลไม่มีแผนการใช้งบประมาณที่ดีพอ ถามว่าโครงการต่างๆเร่งด่วนขนาดไหนถึงต้องรีบร้อนอนุมัติ ถ้าเป็นภัยธรรมชาติ หรือสงคราม ก็พออนุโลม แต่การเช่ารถตรวจการณ์ของกระทรวงมหาดไทย 22 ล้านบาท ถามว่าสำคัญขนาดไหน มีการวางแผนการใช้งบประมาณกันบ้างหรือไม่ ถ้าวางแผนดีจะไม่มีทางมีจานด่วน โดยเฉพาะเรื่องที่จะก่อหนี้ผูกพันในอนาคตเป็นภาระให้กับรัฐบาลหน้า หรือเรื่องใหญ่ๆที่ต้องใช้งบประมาณกว่า 1.5 หมื่นล้าน อย่างแผนการปฎิรูปการศึกษา มีการพิจารณากันรอบด้านก่อนจะอนุมัติหรือไม่
การพิจารณา 200 วาระกันแบบทั้งวันทั้งคืน ไม่มีมนุษย์คนไหน ทำได้ สมัยตนเป็นผ.อ.สำนักงบฯ เรื่องที่ได้เข้าครม.ต้องสำคัญที่สุด และต้องกลั่นกรองก่อนเป็นสัปดาห์น่าเห็นใจข้าราชการประจำ เพราะเขาต้องรับผิดชอบจะทำอย่างลวกๆไม่ได้ ตนไปดูงานมาหลายประเทศ ที่ประชุมครม.เขาไม่จำเป็นต้องมีทุกสัปดาห์ แต่จะใช้เป็นที่ถกเถียงแก้ปัญหาประเทศ มีแต่ประเทศไทยที่การประชุมครม.มีแต่ขอเงิน
**เลิกประชุมครม.ทุกสัปดาห์
“การแก้ปัญหาครม.จานด่วน คือต้องแก้พ.ร.บ.วิธีการใช้งบประมาณ ให้รัฐต้องวางแผนการใช้งบประมาณล่วงหน้า เหมือนในหลายประเทศเมื่อรัฐบาลเข้ามาก็จะประกาศว่าจะมีแผนอย่างไร ใช้งบประมาณเท่าไหร่ จากนั้นก็เดินตามแผน ไม่มีการยัดจานด่วนเข้ามาระหว่างทาง นอกจากประเทศประสบภาวะวิกฤตเท่านั้น ซึ่งในความจริงแล้วหากเกิดวิกฤตภัยธรรมชาติหรือสงคราม เราก็มีงบกลางใช้ได้อยู่แล้วไม่จำเป็นต้องมาเสนอโครงการกันแบบนี้”อดีตผ.อ.สำนักงบประมาณ กล่าว
4.กระทรวงการคลัง จำนวน 740 ล้านบาท แบ่งเป็น โครงการบ้านธอส.เพื่อที่อยู่อาศัยแห่งแรก 500 ล้านบาท มาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยปี 2553 และ 2554 เพิ่มเติม 240 ล้านบาท 5. สปน.จำนวน 149.5000 เป็นค่าใช้จ่ายส่งเสริมการจัดการศพผู้สูงอายุ 6.กระทรวงวัฒนธรรมจำนวน 72.3500 เป็นค่าบูรณะ/ซ่อมแซมโบราณสถานที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย
7.สตช. จำนวน 171.1800 แบ่งเป็น โครงการกรุงเทพเมืองปลอดภัย (ประชาวิวัฒน์) 123.6800 ล้านบาท โครงการเช่ารถภารกิจถวายความปลอดภัย 7.5000 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายในการจัดหาที่พักอาศัย 40 ล้านบาท 8.คชอ.ค่าใช้จ่ายในการฟื้นฟูความเสียหายจากอุทกภัย จำนวน 1385.6000 ล้านบาท
9.กระทรวงสาธารณสุข ค่าตอบแทนกำลังคนด้านสาธารณสุข จำนวน 4200 ล้านบาท 10.กระทรวงพาณิชย์ โครงการมหกรรมลดค่าครองชีพ 169 ล้านบาท 11.กระทรวงกลาโหม จำนวน 1806 ล้านบาท แบ่งเป็นการปรับค่าเบี้ยเลี้ยงทหารพราน 172 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายในการป้องกันชายแดนไทย-กัมพูชา จำนวนn359 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายในการจัดหากระสุนสำรองคงคลัง 920 ล้านบาท
12,กกต.ค่าใช้จ่ายในการจัดการเลือกตั้ง 3164.8000 ล้านบาท 13.กระทรวงเกษตรฯ จำนวน 1166.3900 ล้านบาท แบ่งเป็นค่าใช้จ่ายในการชดเชยราษฎรโครงการเขื่อนน้ำอูน จำนวน 86.7000 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายช่วยเหลือเกษตรกรประสบภัยศัตรูพืช 439.3300 (โรคไหม้คอรวง) แนวทางควบคุมการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล 385 ล้านบาท และการช่วยเหลือเมล็ดพันธุ์ข้าวแก่เกษตรกรผู้ประสบอุทกภัย 2553 จำนวน 255.3600
**แบ่งเคก ปชป.รับมากที่สุด
ขณะที่กระทรวงที่พรรคประชาธิปัตย์ กำกับได้รับงบประมาณไปทั้งสิ้นกว่า 28,701 ล้านบาท กระทรวงที่พรรคภูมิใจไทย กำกับได้รับงบประมาณกว่า 46,816 ล้านบาท กระทรวงที่พรรคชาติไทยพัฒนา กำกับ ได้รับจัดสรรงบฯกว่า 2,023 ล้านบาท ส่วนที่พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน กำกับ ได้งบกว่า 2,470 ล้านบาท
** มาร์ค”นายแน่มาก!
นายภูมิธรรม เวชยชัย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และ อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย ได้ทวิตข้อความผ่านเวบไซต์ www.twitter.com เป็นวันที่ 2 ติดต่อกัน โดยในวันนี้เป็นการโจมตีเรื่องการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 พ.ค. ทีผ่านมา ซึ่งมีการผ่านวาระและอนุมัติงบประมาณเป็นจำนวนมาก โดยนายภูมิธรรมระบุว่า "นายกฯ พูดรายการเชื่อมั่นปท.ไทย ครม.จะไม่มีการทิ้งทวน..ผลการประชุมนัดสุดท้ายเมื่อวาน ชี้ชัดว่า..เชื่อมั่นปท.ไทยได้ แต่เชื่อมั่นนายกไม่ได้ครับ ครม.นัดสั่งลาวานนี้..ช่างกล้าหาญจริงๆ เทกระจาด 206 วาระ กว่าแสนล้าน ใช้เวลาประชุมนาน10กว่าชั่วโมง แจกจ่ายกันทั่วถึง พูดได้คำเดียว..นายแน่มาก นี่ไม่นับรวม การประชุมครม.ก่อนหน้านี้ 2นัด อนุมัติไปล่วงหน้าก่อน 457,000กว่าล้านบาท ให้ซื้อเครื่องบินโดยไม่มีรายละเอียดโครงการเลย ยังกล้าทำส่วนนัดที่แล้วอนุมัติทั้งหมดไป66,113ล้านบาท และรวมการประชุมนัด มาราธอนวานนี้ อีก1แสน2หมื่นกว่าล้านบาท..รวม3นัด เป็นเงินกว่า6แสน5หมื่นล้านบาท อย่างนี้ไม่เรียกทิ้งทวน แล้วจะเรียกอะไรดีครับ ...พูดได้คำเดียว..นายแน่มาก นายกล้ามาก..กล้าแจกจ่ายอย่างทั่วถึง กล้าทำโดยไม่กลัวอะไรเลย"
**เลขาฯสมัยชวน จับตาระวัง!
นายสุรัศม์พรรณ ดุลยจินดา อดีตรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สมัยนายชวน หลีกภัยให้ความเห็นว่า มติ ครม.เหล่านี้ สามารถแก้ไขได้ในครม.ชุดต่อไป แต่หากพรรคร่วมรัฐบาลเปลี่ยนใจ โดยไม่อยู่กับพรรคประชาธิปัตย์ต่อในการเลือกตั้งครั้งหน้า ก็อาจจะมีปัญหา ในงบประมาณที่ครม.อนุมัติ ขณะเดียวกันก็แปลกใจว่า งบประมาณจะต้องนำไปรายงานในงบประมาณรายจ่าปี 2555 แต่กลับมาการอนุมัติมหาศาล
** สว.อัดเยอะ!เล็งตั้งกมธ.สอบ
ที่รัฐสภา นายจิตติพจน์ วิริยะโรจน์ ส.ว.ศรีสะเกษ ประธานคณะกรรมาธิการกิจการองค์กรตามรัฐธรรมนูญและติดตามการบริหารงบประมาณ วุฒิสภา กล่าวว่า การมาอนุมัติก่อนยุบสภาไม่กี่วันถือว่าไม่เหมาะสม ดังนั้น คณะกรรมาธิการจะยกเรื่องนี้ขึ้นมาพิจารณาเพื่อตรวจสอบรัฐบาลต่อไป
** พธม.จวก! น่าเกลียดผิดประเพณี
นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โฆษกพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กล่าวว่า ถือเป็นเรื่องที่น่าเกลียดและกระทำผิดประเพณี เสมือนเป็นการเร่งรีบทิ้งทวนในการอนุมัติงบประมาณแผ่นดินในช่วงสุดท้าย เป็นการกระทำที่ลุแก่อำนาจ ขาดความรอบคอบในการพิจารณา ซึ่งผิดปกติจากมนุษย์ทั่วไปที่จะพิจารณา
**งบกลาง1.3หมื่นล้านไม่ใช่แสนล้าน
ขณะที่ฟากรัฐบาล นายปณิธาน วัฒนายากร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า การประชุมครม.ใช้เวลารวมทั้งสิ้น 15ชั่วโมง มีวาระเพื่อพิจารณา 155 วาระ โดยเป็นวาระจร 53 วาระ ซี่งไม่ได้ถือว่าเป็นวาระที่มากจนผิดปกติ เอกสารที่รัฐมนตรีไม่ค่อยได้เห็นเพราะเป็นวาระจรนั้นก็ไม่มาก แต่วาระปกติที่พิจารณาจะมากคือ 102 วาระ ซึ่งก็ถือเป็นครม.อนุมัติในหลักการค่อนข้างมาก เห็นเอกสารล่วงหน้า
“อย่างเรื่อง งบพัฒนารัฐวิสาหกิจที่อนุมัติล่วงหน้าไป 4 แสนกว่าล้าน และบางตัวเป็นงบผูกพัน งบประจำปี ในช่วงเวลาขณะนี้ส่วนใหญ่จะขอผูกพันไปยันปีหน้า และอาจจะกลับเข้ามา ส่วนที่อนุมัติในหลักการไปหลายโครงการแล้วนั้น เป็นการบวกตัวเลขที่ซ้ำซ้อนทำให้ตัวเลขโดยรวมดูเหมือนจะสูงเป็นแสนล้านและทางสำนักงบประมาณได้ยืนยันตัวเลข มาว่าของบกลางในรายการสำรองจ่ายฉุกเฉินเพื่อกรณี จำเป็นเร่งด่วนมีหลายโครงการ โดยตัวเลขอยู่ที่ 13,745.0939 ล้านบาท ไม่ใช่เป็นแสนล้านตามที่เป็นข่าว” นายปณิธาน กล่าว
**อ้างเพื่อความต่เนื่องของรัฐบาล
ในการประชุมครม.เมื่อ วันทื่ 3 พ.ค.ที่ผ่านมา รัฐบาลตั้งใจที่จะให้เกิดความต่อเนื่องในการที่จะดำเนินงานที่ได้แถลงไป และมีนโยบายไปชัดเจน และไม่อยากให้โครงการเร่งด่วนหายโครงการที่เป็นโครงการช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบภัยโครงการที่แก้ปัญหาตามแนวชายแดนไทยกัมพูชา และค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งซึ่งเป็นหนึ่งในค่าใช้จ่ายที่สูงมากเป็นลำดับที่ 2 ในงบกลางประมาณ 3พันกว่าล้านบาทไม่ควรที่จะต้องมาสะดุด และเป็นเรื่องที่จำเป็นที่จะต้องมีการอนุมัติ และหากจำเป็นก็สามารถขออนุมัติจากคณะกรรมการการเลือกตั้งได้ในบางช่วงที่เห็นว่าเป็นเรื่องจำเป็นเร่งด่วน เพราะกฎหมายเลือกตั้ง อนุญาตให้รัฐบาลไปขอให้ กกต.มีการอนุมัติเพิ่มเติม หากเห็นว่าจำเป็น แต่ในชั้นนี้ทางรัฐบาลเองก็ไม่อยากรบกวน กกต. อยากให้โครงการต่างๆเดินหน้า
“รัฐบาลจริงๆทางกฎหมายยังถือว่าเป็นรัฐบาล ภาษากฎหมายที่คณะกรรมการกฤษฎีกาได้แจ้งให้ครม.ทราบ ไม่ได้เรียกว่า รัฐบาลรักษาการ เป็นรัฐบาลที่ยังมีอำนาจเต็ม แต่มีบางอย่างที่ไม่สามารถทำได้ ตามกฎหมายเลือกตั้ง บางอย่างอาจจะเป็นเรื่องของประเพณีปฏิบัติ ในแง่ความต่อเนื่อง เมื่อวานชัดเจนว่าครม.ต้องการเห็นความต่อเนื่องต้องการเห็นการแก้ไขปัญหาโดยเฉพาะปัญหาเร่งด่วน” นายปณิธานกล่าว
**มาร์คอ้างไม่อนุมัติก็ต้องรออีก 3 เดือน
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ระหว่างการบันทึกเทปก่อนการเดินทางไปประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ที่ประเทศอินโดนีเซีย ระหว่างวันที่ 6- 8 พ.ค.นี้ ว่า เนื่องจากรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ว่า หากยุบสภาแล้วห้ามมีการพิจารณาเรื่องที่จะ มีผลผูกพันต่อรัฐบาลชุดต่อไป ดังนั้นจะดำเนินการอะไรไม่ได้ เพราะยังมีเรื่องงบประมาณเกี่ยวกับการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ภัยแล้ง ที่ต้องเร่งอนุมัติ หากไม่อนุมัติในการประชุมครม.ครั้งนี้ ก็ต้องรอไปอีก 3 เดือน
ทั้งนี้ งบประมาณที่อนุมัติไป ส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่อยู่ในแผนเดิมอยู่แล้ว เช่น เรื่องของเงินเดือน ค่าตอบแทน ของครูและแพทย์ พยาบาล หากไม่ดำเนินการในขณะนี้ อีก 2 เดือน ก็ต้องอนุมัติ เพราะเป็นค่าตอบแทนที่ต้องทำ
ดังนั้นที่วิจารณ์กันว่า เป็นการอนุมัติงบมากมายนั้น มันเป็นเรื่องที่อยู่ในแผนอยู่แล้ว กว่า แสนล้านบาท ในส่วนของกระทรวงกลาโหมที่อนุมัติก็เป็นเรื่องเก่า ยกเว้นปัญหาชายแดน
**โบ้ย!โครงการเยียวยาเยอะ
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง กล่าวว่า ในช่วงที่ยุบสภา รัฐมนตรี ครม.ไม่สามารถจะอนุมัติโครงการ และอนุมัติการใช้จ่ายเงินงบประมาณได้ จะทำให้ช่วงรักษาการอยู่ประมาณ 2 เดือน ในระหว่างกำลังหาเสียง จนถึงวันเลือกตั้ง บวกกับอีกประมาณ 1 เดือน กว่าจะมีครม.ชุดใหม่เข้ามารับหน้าที่
ฉะนั้น 3 เดือน หรือ 90 วันเต็มๆ ที่การบริหารราชการบ้านเมืองจะเกิดอาการชะงักงันได้ กระทรวง ทบวงกรมต่างๆ จึงจำเป็นที่จะต้องรีบทำเรื่องเสนอขอนุมัติ ขอความเห็นชอบในโครงการสำคัญๆ ที่ต้องดำเนินการ เช่น เรื่องการช่วยหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ครม. ก็ต้องเอาโครงการทั้งหมดที่จะเข้ามาช่วยฟื้นฟูเยียวยา หากหลังจากนี้ จะทำไม่ได้ เรื่องจากทุกระทรวงเมื่อประดังเข้ามาพร้อมๆ กันก็ทำให้วาระการประชุมจึงมีตั้งร้อยกว่าเรื่อง
**เสนอแก้กม.ห้ามยัดโครงการ
นายพูนทรัพย์ ปิยะอนันต์ อดีตผ.อ.สำนักงบประมาณ เปิดเผยว่า รู้สึกตกใจที่เห็นคณะรัฐมนตรี อนุมัติงบประมาณแสนล้าน ในเวลา 15 ชั่วโมง ตั้งแต่ตนทำงานสำนักงบฯมาก็ไม่เคยเห็นแบบนี้ถือว่าเป็นประวัติศาสตร์ การยัดวาระเข้ามาทีเดียวนับร้อยแล้วพิจารณากันแบบจานด่วน สะท้อนให้เห็นว่ารัฐบาลไม่มีแผนการใช้งบประมาณที่ดีพอ ถามว่าโครงการต่างๆเร่งด่วนขนาดไหนถึงต้องรีบร้อนอนุมัติ ถ้าเป็นภัยธรรมชาติ หรือสงคราม ก็พออนุโลม แต่การเช่ารถตรวจการณ์ของกระทรวงมหาดไทย 22 ล้านบาท ถามว่าสำคัญขนาดไหน มีการวางแผนการใช้งบประมาณกันบ้างหรือไม่ ถ้าวางแผนดีจะไม่มีทางมีจานด่วน โดยเฉพาะเรื่องที่จะก่อหนี้ผูกพันในอนาคตเป็นภาระให้กับรัฐบาลหน้า หรือเรื่องใหญ่ๆที่ต้องใช้งบประมาณกว่า 1.5 หมื่นล้าน อย่างแผนการปฎิรูปการศึกษา มีการพิจารณากันรอบด้านก่อนจะอนุมัติหรือไม่
การพิจารณา 200 วาระกันแบบทั้งวันทั้งคืน ไม่มีมนุษย์คนไหน ทำได้ สมัยตนเป็นผ.อ.สำนักงบฯ เรื่องที่ได้เข้าครม.ต้องสำคัญที่สุด และต้องกลั่นกรองก่อนเป็นสัปดาห์น่าเห็นใจข้าราชการประจำ เพราะเขาต้องรับผิดชอบจะทำอย่างลวกๆไม่ได้ ตนไปดูงานมาหลายประเทศ ที่ประชุมครม.เขาไม่จำเป็นต้องมีทุกสัปดาห์ แต่จะใช้เป็นที่ถกเถียงแก้ปัญหาประเทศ มีแต่ประเทศไทยที่การประชุมครม.มีแต่ขอเงิน
**เลิกประชุมครม.ทุกสัปดาห์
“การแก้ปัญหาครม.จานด่วน คือต้องแก้พ.ร.บ.วิธีการใช้งบประมาณ ให้รัฐต้องวางแผนการใช้งบประมาณล่วงหน้า เหมือนในหลายประเทศเมื่อรัฐบาลเข้ามาก็จะประกาศว่าจะมีแผนอย่างไร ใช้งบประมาณเท่าไหร่ จากนั้นก็เดินตามแผน ไม่มีการยัดจานด่วนเข้ามาระหว่างทาง นอกจากประเทศประสบภาวะวิกฤตเท่านั้น ซึ่งในความจริงแล้วหากเกิดวิกฤตภัยธรรมชาติหรือสงคราม เราก็มีงบกลางใช้ได้อยู่แล้วไม่จำเป็นต้องมาเสนอโครงการกันแบบนี้”อดีตผ.อ.สำนักงบประมาณ กล่าว