กระทรวงพลังงาน เร่งขับเคลื่อนแผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปี (2554-2573) ระยะแรก 5 ปี ผุดโครงการลงทุนประหยัดพลังงานกว่า 2.95 หมื่นล้านบาท หวังลดค่าใช้จ่ายพลังงานปีละ 2.72 แสนล้านบาท จ่อคลอดกฎทั้งบังคับและการส่งเสริมและสนับสนุน
รายงานข่าวจากกระทรวงพลังงาน แจ้งว่า คณะกรรมการนโยบายพลังงาน (กพช.) ได้เห็นชอบแผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปี (2554-2573) แล้ว โดยการดำเนินงานจะมุ่งเน้นในระยะแรก 5 ปี (2554-2558 ) โดยกำหนดวงเงินลงทุนเพื่อการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานไว้ที่ 2.95 หมื่นล้านบาท มีเป้าหมายให้เกิดการประหยัดพลังงานสะสมเฉลี่ย 14,500 พันตัน เทียบเท่าน้ำมันดิบ/ปี หรือคิดเป็นมูลค่า 2.72 แสนล้านบาท/ปี และหลีกเลี่ยงการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สะสมเฉลี่ย 48 ล้านบาท/ปี
สำหรับงบลงทุนมาจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานแยกตามประเภทการใช้จ่าย ดังนี้ งบสำหรับอุดหนุนประหยัดพลังงานโดยตรง 20,000 ล้านบาท งบบริหารจัดการและประชาสัมพันธ์ 3,000 ล้านบาท งบพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรองรับมาตรการด้านมาตรฐานและฉลากประสิทธิภาพพลังงาน 1,500 ล้านบาท งบสนับสนุนวิจัย 3,500 ล้านบาท และงบพัฒนาบุคลากร 1,500 ล้านบาท
ทั้งนี้ ภายใต้การดำเนินงานต่างๆ จะมีการกำหนดมาตรการส่งเสริมสนับสนุนและรวมถึงมาตรการภาคบังคับ โดยในส่วนของมาตรการบังคับจะกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำ และฉลากประสิทธิภาพ ในขณะที่ภาคสนับสนุนจะให้เงินอุดหนุนเพื่อชดเชยการประหยัดพลังงานที่พิสูจน์ได้ และจะเน้นมาตรการที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทิศทางตลาดและพฤติกรรมของผู้ใช้พลังงาน
โดยการบังคับติดฉลากแสดงประสิทธิภาพพลังงานของอุปกรณ์ เครื่องใช้ อาคาร และยานยนต์ เพื่อให้ผู้บริโภคมีทางเลือก
“บางอย่างจะมีการปรับปรุงเช่นหน่วยธุรกิจขนาดใหญ่ เช่น ธุรกิจไฟฟ้า น้ำมันและก๊าซ ต้องดำเนินมาตรการส่งเสริมอนุรักษ์พลังงานให้กับผู้ใช้พลังงานตามมาตรฐาขั้นต่ำ แทนการดำเนินการด้วยความสมัครใจ” รายงานข่าวระบุ
สำหรับการจัดทำแผนอนุรักษ์ระยะยาว 20 ปี เนื่องจากเห็นว่าแนวโน้มการใช้พลังงานของไทยมีการขยายตัวต่อเนื่องเฉลี่ย ปีละ 4.4% หากไม่มีการจัดทำมาตรการประหยัดงานไว้ ในอนาคตความต้องการพลังงานจะเพิ่มขึ้นจาก 71,000 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ เป็น 151,000 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ ในปี 2573 หรือมีอัตราการใช้พลังงานเพิ่มขึ้น 2.1 เท่า เมื่อเทียบกับปัจจุบัน
แต่หากมีการดำเนินตามแผนอนุรักษ์ครั้งนี้ จะทำให้การใช้พลังานมีอัตราการขยายตัวเพียง 3%/ปี จนถึงปี 2573 หรือเพิ่มขึ้นเพียง 1.7 เท่าเมื่อเทียบกับของปัจจุบัน
รายงานข่าวจากกระทรวงพลังงาน แจ้งว่า คณะกรรมการนโยบายพลังงาน (กพช.) ได้เห็นชอบแผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปี (2554-2573) แล้ว โดยการดำเนินงานจะมุ่งเน้นในระยะแรก 5 ปี (2554-2558 ) โดยกำหนดวงเงินลงทุนเพื่อการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานไว้ที่ 2.95 หมื่นล้านบาท มีเป้าหมายให้เกิดการประหยัดพลังงานสะสมเฉลี่ย 14,500 พันตัน เทียบเท่าน้ำมันดิบ/ปี หรือคิดเป็นมูลค่า 2.72 แสนล้านบาท/ปี และหลีกเลี่ยงการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สะสมเฉลี่ย 48 ล้านบาท/ปี
สำหรับงบลงทุนมาจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานแยกตามประเภทการใช้จ่าย ดังนี้ งบสำหรับอุดหนุนประหยัดพลังงานโดยตรง 20,000 ล้านบาท งบบริหารจัดการและประชาสัมพันธ์ 3,000 ล้านบาท งบพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรองรับมาตรการด้านมาตรฐานและฉลากประสิทธิภาพพลังงาน 1,500 ล้านบาท งบสนับสนุนวิจัย 3,500 ล้านบาท และงบพัฒนาบุคลากร 1,500 ล้านบาท
ทั้งนี้ ภายใต้การดำเนินงานต่างๆ จะมีการกำหนดมาตรการส่งเสริมสนับสนุนและรวมถึงมาตรการภาคบังคับ โดยในส่วนของมาตรการบังคับจะกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำ และฉลากประสิทธิภาพ ในขณะที่ภาคสนับสนุนจะให้เงินอุดหนุนเพื่อชดเชยการประหยัดพลังงานที่พิสูจน์ได้ และจะเน้นมาตรการที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทิศทางตลาดและพฤติกรรมของผู้ใช้พลังงาน
โดยการบังคับติดฉลากแสดงประสิทธิภาพพลังงานของอุปกรณ์ เครื่องใช้ อาคาร และยานยนต์ เพื่อให้ผู้บริโภคมีทางเลือก
“บางอย่างจะมีการปรับปรุงเช่นหน่วยธุรกิจขนาดใหญ่ เช่น ธุรกิจไฟฟ้า น้ำมันและก๊าซ ต้องดำเนินมาตรการส่งเสริมอนุรักษ์พลังงานให้กับผู้ใช้พลังงานตามมาตรฐาขั้นต่ำ แทนการดำเนินการด้วยความสมัครใจ” รายงานข่าวระบุ
สำหรับการจัดทำแผนอนุรักษ์ระยะยาว 20 ปี เนื่องจากเห็นว่าแนวโน้มการใช้พลังงานของไทยมีการขยายตัวต่อเนื่องเฉลี่ย ปีละ 4.4% หากไม่มีการจัดทำมาตรการประหยัดงานไว้ ในอนาคตความต้องการพลังงานจะเพิ่มขึ้นจาก 71,000 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ เป็น 151,000 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ ในปี 2573 หรือมีอัตราการใช้พลังงานเพิ่มขึ้น 2.1 เท่า เมื่อเทียบกับปัจจุบัน
แต่หากมีการดำเนินตามแผนอนุรักษ์ครั้งนี้ จะทำให้การใช้พลังานมีอัตราการขยายตัวเพียง 3%/ปี จนถึงปี 2573 หรือเพิ่มขึ้นเพียง 1.7 เท่าเมื่อเทียบกับของปัจจุบัน