นายณัฐพรรษ ดันบุญเอก ผู้อำนวยการฝ่ายการเงินและนักลงทุนสัมพันธ์ บริษัท โกลว์พลังงาน จำกัด (มหาชน) หรือ GLOW แจ้งผลงานไตรมาสแรกปีนี้ว่า บริษัทมีกำไรสุทธิ 951.76 ล้านบาท ลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 1,667.27 ล้านบาท หรือลดลง 43% เนื่องจากไตรมาสนี้บริษัทมีผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน 73 ล้านบาท ขณะที่งวดเดียวกันของปีก่อนมีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน 381 ล้านบาท
โดยไตรมาสนี้ GLOW มีรายได้จากการขายและบริการลดลงกว่า 5% หรือจาก 9,439 ล้านบาทในไตรมาสแรกปี 53 เป็น 8,957 ล้านบาทในไตรมาสนี้ปี 54 อันเป็นผลมาจากยอดขายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยหรือ กฟผ. ภายใต้สัญญาผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ หรือ ไอพีพี 2,715 ล้านบาท ลดลง 9% เนื่องจากการแข็งค่าของเงินบาทและรายได้ของโรงไฟฟ้าห้วยเหาะที่ปริมาณน้ำฝนต่ำกว่าปี 53 ขณะที่ยอดขายไฟฟ้าภายใต้สัญญาซื้อขายไฟฟ้าผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก หรือเอสพีพี ลดลงจากการแข็งค่าของเงินบาทและปริมาณไฟฟ้าที่จัดส่งลดลง สวนทางกับยอดขายไฟฟ้าให้กับลูกค้า
อุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้น 12% คิดเป็นเงิน 2,638 ล้านบาทเนื่องจากปริมาณและราคาจำหน่ายที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งยอดจำหน่ายไอน้ำให้กับลูกค้าอุตสาหกรรมล้วนเพิ่มขึ้น
สำหรับต้นทุนขายปรับตัวเพิ่มขึ้น 3.7% หรือจาก 7,038 ล้านบาท ในไตรมาสแรกปี 53 เป็น 7,297 ล้านบาท ในช่วงเดียวกันของปี 54 ซึ่งเป็นผลจากปัจจัยหลักของต้นทุนค่าเชื้อเพลิง ซึ่งต้นทุนเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติธุรกิจไอพีอี 1,901 ล้านบาท ลดลง 6.2% เนื่องจากปริมาณการจำหน่ายไฟฟ้าให้แก่ กฟผ. ที่ลดลงแม้ว่าต้นทุนค่าก๊าซธรรมชาติปีรับสูงขึ้น ขณะที่ต้นทุนเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติของโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมและไอน้ำ 3,233 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณก๊าซธรรมชาติที่ใช้ในการผลิตลดลงแม้ว่าต้นทุนก๊าซธรรมชาติจะเพิ่มสูงขึ้น และต้นทุนเชื้อเพลิงถ่านหินของโรงผลิตไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมและไอน้ำ 753 ล้านบาท ซึ่งปรับตัวเพิ่มขึ้น 64% เพราะต้นทุนค่าถ่านหินและปริมาณถ่านหินที่้ใช้ในการผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากการเดินเครื่องของโรงไฟฟ้า CFB หน่วยที่ 3 ในไตรมาสแรกของปี 54
โดยไตรมาสนี้ GLOW มีรายได้จากการขายและบริการลดลงกว่า 5% หรือจาก 9,439 ล้านบาทในไตรมาสแรกปี 53 เป็น 8,957 ล้านบาทในไตรมาสนี้ปี 54 อันเป็นผลมาจากยอดขายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยหรือ กฟผ. ภายใต้สัญญาผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ หรือ ไอพีพี 2,715 ล้านบาท ลดลง 9% เนื่องจากการแข็งค่าของเงินบาทและรายได้ของโรงไฟฟ้าห้วยเหาะที่ปริมาณน้ำฝนต่ำกว่าปี 53 ขณะที่ยอดขายไฟฟ้าภายใต้สัญญาซื้อขายไฟฟ้าผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก หรือเอสพีพี ลดลงจากการแข็งค่าของเงินบาทและปริมาณไฟฟ้าที่จัดส่งลดลง สวนทางกับยอดขายไฟฟ้าให้กับลูกค้า
อุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้น 12% คิดเป็นเงิน 2,638 ล้านบาทเนื่องจากปริมาณและราคาจำหน่ายที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งยอดจำหน่ายไอน้ำให้กับลูกค้าอุตสาหกรรมล้วนเพิ่มขึ้น
สำหรับต้นทุนขายปรับตัวเพิ่มขึ้น 3.7% หรือจาก 7,038 ล้านบาท ในไตรมาสแรกปี 53 เป็น 7,297 ล้านบาท ในช่วงเดียวกันของปี 54 ซึ่งเป็นผลจากปัจจัยหลักของต้นทุนค่าเชื้อเพลิง ซึ่งต้นทุนเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติธุรกิจไอพีอี 1,901 ล้านบาท ลดลง 6.2% เนื่องจากปริมาณการจำหน่ายไฟฟ้าให้แก่ กฟผ. ที่ลดลงแม้ว่าต้นทุนค่าก๊าซธรรมชาติปีรับสูงขึ้น ขณะที่ต้นทุนเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติของโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมและไอน้ำ 3,233 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณก๊าซธรรมชาติที่ใช้ในการผลิตลดลงแม้ว่าต้นทุนก๊าซธรรมชาติจะเพิ่มสูงขึ้น และต้นทุนเชื้อเพลิงถ่านหินของโรงผลิตไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมและไอน้ำ 753 ล้านบาท ซึ่งปรับตัวเพิ่มขึ้น 64% เพราะต้นทุนค่าถ่านหินและปริมาณถ่านหินที่้ใช้ในการผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากการเดินเครื่องของโรงไฟฟ้า CFB หน่วยที่ 3 ในไตรมาสแรกของปี 54