นายเอซ่า เฮสคาเน่น ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท โกลว์ พลังงาน จำกัด (มหาชน) หรือ GLOW แจ้งผลงานงวดสิ้นปี 53 ว่าบริษัทมีกำไรสุทธิ 5,715.51 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปี 52 ที่ทำไว้ 4,187.08 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 1,528.43 ล้านบาท คิดเป็น 36.50% ถือเป็นผลกำไรสูงสุดนับจากการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเมื่อปี 2548 เนื่องจากจากความต้องการกลุ่มลูกค้าอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นและอัตรากำไรที่ดี ขณะการเริ่มดำเนินการของโรงไฟฟ้าถ่านหินขนาด 115 เมกะวัตต์ถือเป็นก้าวแรกที่สำคัญของแผนการเติบโตของกลุ่มบริษัท ซึ่งงวดนี้กลุ่มมีกำไรก่อนดอกเบี้ยจ่ายภาษีเงินได้และค่าเสื่อมราคา (EBITDA) และกำไรสุทธิก่อนรวมกำไรหรือขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ยังไม่รับรู้ (NNP) เมื่อเปรียบเทียบกับปี 52 เพิ่มขึ้ 16% และ 19% ตามลำดับ
โดย ปัจจัยหลักที่ทำให้ EBITDA เพิ่มขึ้นมาจากการเติบโตของความต้องการด้านพลังงานของกลุ่มลูกค้าอุตสาหกรรมและอัตรากำไรจากการดำเนินงานที่ดี ทั้งนี้ความต้องการไฟฟ้าของลูกค้าอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นประมาณ 14 % จากปี 52 โดยปี 53 กลุ่มบริษัทมีอัตราผลกำไรจากการดำเนินงานอยู่ในระดับที่น่าพอใจและปรับเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับปี 52 จากอัตราค่าไฟที่มีเสถียรภาพและต้นทุนเชื้อเพลิงทั้งถ่านหินและก๊าซธรรมชาติที่ต่ำลง
" ผลประกอบการในปี 53 ดีขึ้นจากความต้องการของลูกค้าอุตสาหกรรมและอัตรากำไรจากการดำเนินงานที่น่าพอใจ การบันทึกรวมผลการดำเนินงานทั้งปีของบจ. ห้วยเหาะ พาวเวอร์ ในงบการเงินของบริษัท ที่บริษัทได้เข้าซื้อกิจการตั้งแต่กลางปี 52 รวมถึงการเพิ่มขึ้นของกำไรก่อนดอกเบี้ยจ่ายภาษีเงินได้และค่าเสื่อมราคา (EBITDA) แม้ว่าการแข็งค่าของเงินบาทโดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงครึ่งปีหลัง จะมีผลกระทบโดยตรงต่อรายได้จากการจำหน่ายไฟฟ้าให้แก่ กฟผ. แต่ผลกระทบดังกล่าวก็มีไม่มากนักเนื่องจากกลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงที่แข็งแกร่งของกลุ่มบริษัท "
นอกจากนี้ในอีก 12 เดือนข้างหน้ากลุ่มบริษัทยังมีแผนที่จะเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงขนาด 382 เมกะวัตต์ซึ่งจะเริ่มดำเนินการในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ ขณะโรงไฟฟ้า IPP ที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงขนาด 660 เมกะวัตต์ จะเปิดดำเนินการในไตรมาสแรกของปีถัดไป ซึ่งโรงไฟฟ้าขนาด 115 เมกะวัตต์ และโรงไฟฟ้าขนาด 382 เมกะวัตต์สร้างเพื่อรองรับความต้องการของกลุ่มลูกค้าอุตสาหกรรม ในขณะที่โรงไฟฟ้าขนาด 660 เมกะวัตต์จะจำหน่ายไฟฟ้าที่ผลิตได้ทั้งหมดให้แก่ กฟผ. แสดงให้เห็นว่าไม่เพียงแต่กำลังการผลิตของกลุ่มบริษัทที่จะเพิ่มขึ้นมากกว่า 50 % แต่รวมถึงความสมดุลของการเติบโตระหว่างธุรกิจ IPP และธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม ซึ่งจะเป็นการเพิ่มผลกำไรและความแข็งแกร่งทางธุรกิจให้แก่กลุ่มบริษัทต่อไป
สำหรับปี 53 กลุ่มบริษัทมีรายได้รวม 37,878.8 ล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้น 6.6 % หรือจาก 35,525.0 ล้านบาทในปี 52 บริษัทมีกำไรสุทธิก่อนรวมกำไรหรือขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ยังไม่รับรู้2 (ซึ่งใช้เป็นแนวทางกำหนดการจ่ายเงินปันผล) 4,513.7ล้านบาท เพิ่มขึ้น 19.2 % จากxu 52 ที่ทำไว้ 3,786.0 ล้านบาท ซึ่งผลงานปีนี้ได้รวมการบันทึกเพิ่มเติมเงินชดเชยการทำประกันภัยธุรกิจหยุดชะงักจากการหยุดซ่อมนอกแผนของหน่วยผลิตไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหิน 150 เมกะวัตต์ ในระหว่างเดือนพฤศจิกายน 51 ถึง มีนาคม 52และเงินชดเชยจากความล่าช้าของการก่อสร้างโครงการโรงไฟฟ้า CFB หน่วยที่ 3 ที่ได้ถูกบันทึกเป็นรายได้อื่น 16.6 ล้านบาทและ 293.2 ล้านบาทตามลำดับ
โดย ปัจจัยหลักที่ทำให้ EBITDA เพิ่มขึ้นมาจากการเติบโตของความต้องการด้านพลังงานของกลุ่มลูกค้าอุตสาหกรรมและอัตรากำไรจากการดำเนินงานที่ดี ทั้งนี้ความต้องการไฟฟ้าของลูกค้าอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นประมาณ 14 % จากปี 52 โดยปี 53 กลุ่มบริษัทมีอัตราผลกำไรจากการดำเนินงานอยู่ในระดับที่น่าพอใจและปรับเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับปี 52 จากอัตราค่าไฟที่มีเสถียรภาพและต้นทุนเชื้อเพลิงทั้งถ่านหินและก๊าซธรรมชาติที่ต่ำลง
" ผลประกอบการในปี 53 ดีขึ้นจากความต้องการของลูกค้าอุตสาหกรรมและอัตรากำไรจากการดำเนินงานที่น่าพอใจ การบันทึกรวมผลการดำเนินงานทั้งปีของบจ. ห้วยเหาะ พาวเวอร์ ในงบการเงินของบริษัท ที่บริษัทได้เข้าซื้อกิจการตั้งแต่กลางปี 52 รวมถึงการเพิ่มขึ้นของกำไรก่อนดอกเบี้ยจ่ายภาษีเงินได้และค่าเสื่อมราคา (EBITDA) แม้ว่าการแข็งค่าของเงินบาทโดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงครึ่งปีหลัง จะมีผลกระทบโดยตรงต่อรายได้จากการจำหน่ายไฟฟ้าให้แก่ กฟผ. แต่ผลกระทบดังกล่าวก็มีไม่มากนักเนื่องจากกลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงที่แข็งแกร่งของกลุ่มบริษัท "
นอกจากนี้ในอีก 12 เดือนข้างหน้ากลุ่มบริษัทยังมีแผนที่จะเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงขนาด 382 เมกะวัตต์ซึ่งจะเริ่มดำเนินการในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ ขณะโรงไฟฟ้า IPP ที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงขนาด 660 เมกะวัตต์ จะเปิดดำเนินการในไตรมาสแรกของปีถัดไป ซึ่งโรงไฟฟ้าขนาด 115 เมกะวัตต์ และโรงไฟฟ้าขนาด 382 เมกะวัตต์สร้างเพื่อรองรับความต้องการของกลุ่มลูกค้าอุตสาหกรรม ในขณะที่โรงไฟฟ้าขนาด 660 เมกะวัตต์จะจำหน่ายไฟฟ้าที่ผลิตได้ทั้งหมดให้แก่ กฟผ. แสดงให้เห็นว่าไม่เพียงแต่กำลังการผลิตของกลุ่มบริษัทที่จะเพิ่มขึ้นมากกว่า 50 % แต่รวมถึงความสมดุลของการเติบโตระหว่างธุรกิจ IPP และธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม ซึ่งจะเป็นการเพิ่มผลกำไรและความแข็งแกร่งทางธุรกิจให้แก่กลุ่มบริษัทต่อไป
สำหรับปี 53 กลุ่มบริษัทมีรายได้รวม 37,878.8 ล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้น 6.6 % หรือจาก 35,525.0 ล้านบาทในปี 52 บริษัทมีกำไรสุทธิก่อนรวมกำไรหรือขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ยังไม่รับรู้2 (ซึ่งใช้เป็นแนวทางกำหนดการจ่ายเงินปันผล) 4,513.7ล้านบาท เพิ่มขึ้น 19.2 % จากxu 52 ที่ทำไว้ 3,786.0 ล้านบาท ซึ่งผลงานปีนี้ได้รวมการบันทึกเพิ่มเติมเงินชดเชยการทำประกันภัยธุรกิจหยุดชะงักจากการหยุดซ่อมนอกแผนของหน่วยผลิตไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหิน 150 เมกะวัตต์ ในระหว่างเดือนพฤศจิกายน 51 ถึง มีนาคม 52และเงินชดเชยจากความล่าช้าของการก่อสร้างโครงการโรงไฟฟ้า CFB หน่วยที่ 3 ที่ได้ถูกบันทึกเป็นรายได้อื่น 16.6 ล้านบาทและ 293.2 ล้านบาทตามลำดับ