ASTVผู้จัดการรายวัน-เงินเฟ้อเม.ย.ทะลุ 4% สูงสุดในรอบ 15 เดือน หลังราคาสินค้าพุ่งกระฉูด “พาณิชย์”บอกเป็นปกติ เพราะเข้าสู่หน้าร้อน ผลผลิตเกษตรเสียหายเลยแพงขึ้น เตรียมหาทางเพิ่มรายได้เกษตรกร ลดค่าครองชีพประชาชน หวังกดเงินเฟ้อไม่ให้ทะยานขึ้น
นายยรรยง พวงราช ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (เงินเฟ้อ) ของไทยเดือนเม.ย.2554 ดัชนีอยู่ที่ 112.01 สูงขึ้น 4.04% เมื่อเทียบกับเดือนเม.ย.2553 ถือว่าสูงสุดในรอบ 15 เดือนนับจากเดือนม.ค.2553 ที่ 4.1% แต่ยังถือว่าเหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจไทย เมื่อเทียบกับเดือนมี.ค.2554 สูงขึ้น 1.38% และดัชนีเฉลี่ย 4 เดือนปี 2554 (ม.ค.-เม.ย.) สูงขึ้น 3.27% ขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศ ที่หักรายการสินค้ากลุ่มอาหารสดและกลุ่มพลังงานออก อยู่ที่ 105.59 สูงขึ้น 2.07% เมื่อเทียบเดือนเม.ย.2553 แต่เมื่อเทียบเดือนมี.ค.2554 สูงขึ้นเพียง 0.73% ส่วนดัชนีเฉลี่ย 4 เดือน สูงขึ้น 1.62%
สาเหตุที่ทำให้ดัชนีเดือนเม.ย.2554 สูงขึ้นถึง 4.04% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน เพราะการสูงขึ้นของดัชนีราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่ม 8.59% จากการสูงขึ้นของดัชนีราคาหมวดข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์ 4.26% เนื้อสัตว์ เป็ด ไก่ และสัตว์น้ำ 8.86% ไข่และผลิตภัณฑ์นม 6.76% ผักและผลไม้ 20.61% เครื่องประกอบอาหาร 13.03% อาหารสำเร็จรูป 6.14% ขณะที่หมวดไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้น 1.35% จากการสูงขึ้นของหมวดพาหนะการขนส่ง และการสื่อสาร 2.45% หมวดเคหสถาน 0.62% เป็นต้น
ทั้งนี้ ในเดือนเม.ย.2554 มีสินค้าที่ขึ้นราคาไปแล้ว 198 รายการ ลดราคา 64 รายการ และราคาไม่เปลี่ยนแปลง 155 รายการ ส่วนสาเหตุที่ทำให้ดัชนีเดือนเม.ย.2554 สูงขึ้น 1.38% เทียบกับเดือนมี.ค.2554 เพราะการสูงขึ้นของดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่ม 3.12% จากการสูงขึ้นของผักและผลไม้ 6.49% เพราะเข้าสู่หน้าร้อน ผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย หลังจากเสียหายจากอากาศร้อน และน้ำท่วมในหลายพื้นที่ เนื้อสุกรสูงขึ้น 8.90% เพราะเกินโรคระบาด ทำให้ปริมาณสุกรลดลง ไข่ 10.93% ไก่สด 6.22% เพราะอากาศแปรปรวน แม่ไก่เติบโตช้า และให้ไข่ลดลง เครื่องประกอบอาหาร เช่น น้ำตาลทราย ขนมหวาน น้ำมันพืช กะทิ มะขามเปียก มะพร้าวขูด สูงขึ้น3.44% อาหารสำเร็จรูป 2.58% ขณะที่หมวดไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้น 0.30% จากราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงที่สูงขึ้น 1.96% ของใช้ส่วนบุคคล เช่น สบู่ถูตัว ยาสีมฟัน แชมพู ผลิตภัณฑ์ป้องและบำรุงผิว สูงขึ้น0.12%
“เงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นในเดือนเม.ย. เป็นเพราะการสูงขึ้นของราคาผักสด และผลไม้เป็นสำคัญ โดยปกติ ดัชนีเดือนเม.ย.จะสูงขึ้นอยู่แล้ว เพราะเป็นช่วงเปลี่ยนฤดูกาล เข้าสู่หน้าร้อน ผลผลิตสินค้าเกษตรมักจะเสียหาย ออกสู่ตลาดน้อย ไม่ใช่เรื่องน่าวิตกอะไร โดยเหตุผลดังกล่าว จะทำให้ดัชนีไตรมาส 2 สูงขึ้นมาอยู่ที่ 3.45% แต่เมื่อพ้นหน้าร้อน ดัชนีก็มีแนวโน้มลดลงและทั้งปีจะอยู่ตามกรอบเป้าหมายที่กระทรวงพาณิชย์คาดการณ์ที่ 3.2-3.7%” นายยรรยงกล่าว
นายยรรยงกล่าวว่า กระทรวงพาณิชย์จะหาทางเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร รวมถึงหามาตรการลดค่าครองชีพประชาชน เพื่อช่วยบรรเทาความเดือนร้อนในยุคที่เงินเฟ้อเพิ่มขึ้น ซึ่งส่วนหนึ่ง คือ การจัดโครงการธงฟ้าลดค่าครองชีพ เพื่อนำสินค้าราคาถูกขายตรงสู่ประชาชน ส่วนอาหารสำเร็จที่ราคาเพิ่มขึ้นนั้น ได้สั่งการให้กรมการค้าภายใน ร่วมมือกับผู้ค้าอาหารสำเร็จรูป จัดเมนูอาหารจานเดียวราคาถูกขายให้ประชาชน เช่น ข้าวไข่เจียว ข้าวพัดกระเพรา เป็นต้น
สำหรับการปรับขึ้นราคาสินค้าอุปโภคและบริโภค ขณะนี้ยังไม่อนุมัติให้ผู้ประกอบการสินค้าปรับขึ้นราคาเพิ่มเติมจากก่อนหน้านี้ที่อนุมัติให้ปรับขึ้นไปแล้ว คือ นม และน้ำมันถั่วเหลือง ส่วนชุดนักเรียน ยังไม่อนุมัติให้ปรับขึ้นได้ตามที่ขอมา เพราะประชาชนยังรู้สึกว่าค่าครองชีพสูง จึงไม่อยากอนุมัติให้ขึ้นราคาซ้ำเติมประชาชน ขณะที่สินค้าเหล็ก ผู้ค้าบางรายได้ขยับราคาขายปลีกบ้าง แต่ยังอยู่ในเพดานราคาควบคุม
นายยรรยง พวงราช ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (เงินเฟ้อ) ของไทยเดือนเม.ย.2554 ดัชนีอยู่ที่ 112.01 สูงขึ้น 4.04% เมื่อเทียบกับเดือนเม.ย.2553 ถือว่าสูงสุดในรอบ 15 เดือนนับจากเดือนม.ค.2553 ที่ 4.1% แต่ยังถือว่าเหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจไทย เมื่อเทียบกับเดือนมี.ค.2554 สูงขึ้น 1.38% และดัชนีเฉลี่ย 4 เดือนปี 2554 (ม.ค.-เม.ย.) สูงขึ้น 3.27% ขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศ ที่หักรายการสินค้ากลุ่มอาหารสดและกลุ่มพลังงานออก อยู่ที่ 105.59 สูงขึ้น 2.07% เมื่อเทียบเดือนเม.ย.2553 แต่เมื่อเทียบเดือนมี.ค.2554 สูงขึ้นเพียง 0.73% ส่วนดัชนีเฉลี่ย 4 เดือน สูงขึ้น 1.62%
สาเหตุที่ทำให้ดัชนีเดือนเม.ย.2554 สูงขึ้นถึง 4.04% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน เพราะการสูงขึ้นของดัชนีราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่ม 8.59% จากการสูงขึ้นของดัชนีราคาหมวดข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์ 4.26% เนื้อสัตว์ เป็ด ไก่ และสัตว์น้ำ 8.86% ไข่และผลิตภัณฑ์นม 6.76% ผักและผลไม้ 20.61% เครื่องประกอบอาหาร 13.03% อาหารสำเร็จรูป 6.14% ขณะที่หมวดไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้น 1.35% จากการสูงขึ้นของหมวดพาหนะการขนส่ง และการสื่อสาร 2.45% หมวดเคหสถาน 0.62% เป็นต้น
ทั้งนี้ ในเดือนเม.ย.2554 มีสินค้าที่ขึ้นราคาไปแล้ว 198 รายการ ลดราคา 64 รายการ และราคาไม่เปลี่ยนแปลง 155 รายการ ส่วนสาเหตุที่ทำให้ดัชนีเดือนเม.ย.2554 สูงขึ้น 1.38% เทียบกับเดือนมี.ค.2554 เพราะการสูงขึ้นของดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่ม 3.12% จากการสูงขึ้นของผักและผลไม้ 6.49% เพราะเข้าสู่หน้าร้อน ผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย หลังจากเสียหายจากอากาศร้อน และน้ำท่วมในหลายพื้นที่ เนื้อสุกรสูงขึ้น 8.90% เพราะเกินโรคระบาด ทำให้ปริมาณสุกรลดลง ไข่ 10.93% ไก่สด 6.22% เพราะอากาศแปรปรวน แม่ไก่เติบโตช้า และให้ไข่ลดลง เครื่องประกอบอาหาร เช่น น้ำตาลทราย ขนมหวาน น้ำมันพืช กะทิ มะขามเปียก มะพร้าวขูด สูงขึ้น3.44% อาหารสำเร็จรูป 2.58% ขณะที่หมวดไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้น 0.30% จากราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงที่สูงขึ้น 1.96% ของใช้ส่วนบุคคล เช่น สบู่ถูตัว ยาสีมฟัน แชมพู ผลิตภัณฑ์ป้องและบำรุงผิว สูงขึ้น0.12%
“เงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นในเดือนเม.ย. เป็นเพราะการสูงขึ้นของราคาผักสด และผลไม้เป็นสำคัญ โดยปกติ ดัชนีเดือนเม.ย.จะสูงขึ้นอยู่แล้ว เพราะเป็นช่วงเปลี่ยนฤดูกาล เข้าสู่หน้าร้อน ผลผลิตสินค้าเกษตรมักจะเสียหาย ออกสู่ตลาดน้อย ไม่ใช่เรื่องน่าวิตกอะไร โดยเหตุผลดังกล่าว จะทำให้ดัชนีไตรมาส 2 สูงขึ้นมาอยู่ที่ 3.45% แต่เมื่อพ้นหน้าร้อน ดัชนีก็มีแนวโน้มลดลงและทั้งปีจะอยู่ตามกรอบเป้าหมายที่กระทรวงพาณิชย์คาดการณ์ที่ 3.2-3.7%” นายยรรยงกล่าว
นายยรรยงกล่าวว่า กระทรวงพาณิชย์จะหาทางเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร รวมถึงหามาตรการลดค่าครองชีพประชาชน เพื่อช่วยบรรเทาความเดือนร้อนในยุคที่เงินเฟ้อเพิ่มขึ้น ซึ่งส่วนหนึ่ง คือ การจัดโครงการธงฟ้าลดค่าครองชีพ เพื่อนำสินค้าราคาถูกขายตรงสู่ประชาชน ส่วนอาหารสำเร็จที่ราคาเพิ่มขึ้นนั้น ได้สั่งการให้กรมการค้าภายใน ร่วมมือกับผู้ค้าอาหารสำเร็จรูป จัดเมนูอาหารจานเดียวราคาถูกขายให้ประชาชน เช่น ข้าวไข่เจียว ข้าวพัดกระเพรา เป็นต้น
สำหรับการปรับขึ้นราคาสินค้าอุปโภคและบริโภค ขณะนี้ยังไม่อนุมัติให้ผู้ประกอบการสินค้าปรับขึ้นราคาเพิ่มเติมจากก่อนหน้านี้ที่อนุมัติให้ปรับขึ้นไปแล้ว คือ นม และน้ำมันถั่วเหลือง ส่วนชุดนักเรียน ยังไม่อนุมัติให้ปรับขึ้นได้ตามที่ขอมา เพราะประชาชนยังรู้สึกว่าค่าครองชีพสูง จึงไม่อยากอนุมัติให้ขึ้นราคาซ้ำเติมประชาชน ขณะที่สินค้าเหล็ก ผู้ค้าบางรายได้ขยับราคาขายปลีกบ้าง แต่ยังอยู่ในเพดานราคาควบคุม