ASTVผู้จัดการรายวัน - ธปท.ประเมินไตรมาส 2 สินเชื่อยังรุ่ง เน้นปล่อยให้ธุรกิจเอสเอ็มอี ขณะที่สินเชื่อที่อยู่อาศัยชะลอลงจากปีก่อน จับตาราคาสินค้า-วัตถุดิบมีแนวโน้มสูงขึ้น เสถียรภาพการเมืองและความไม่แน่นอนกฎเกณฑ์ของนโยบายต่างๆ กดดันธุรกิจภาคเอกชน ด้านแบงก์ออกแคมเปญระดมเงินฝากอีกระลอก
รายงานจากธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) แจ้งว่า ธปท.ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของภาคเอกชนในสาขาต่างๆ ทั่วประเทศจำนวน 282 ราย พบว่า ในช่วงไตรมาส 2 ของปีนี้ ความต้องการสินเชื่อธุรกิจและครัวเรือนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทำให้เริ่มเห็นสัญญาณที่ธนาคารพาณิชย์เร่งระดมเงินฝากด้วยอัตราดอกเบี้ยพิเศษต่างๆ เพื่อรองรับความต้องการสินเชื่อเพิ่มขึ้น และเป็นการล็อกต้นทุนดอกเบี้ยเงินฝากคงที่ต่อเนื่องได้ระยะหนึ่ง ในช่วงอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น
ทั้งนี้ ภาพรวมการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์จะวางแผนเชิงรุกในการปล่อยสินเชื่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(เอสเอ็มอี)มากขึ้น ขณะที่สินเชื่อบริษัทขนาดใหญ่จะมีการกระจายความเสี่ยงด้วยการให้วงเงินกู้ร่วมหลายสถาบันการเงิน ส่วนปัญหาภัยพิบัติในญี่ปุ่นส่งผลให้เกิดการขาดแคลนชิ้นส่วน ทำให้ยอดจำหน่ายรถยนต์ในช่วงไตรมาส 2 อาจจะน้อยลงซึ่งเรื่องดังกล่าวมีผลต่อการปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ต้องเลื่อนออกไป
ธนาคารพาณิชย์ประเมินว่าสินเชื่อที่อยู่อาศัยอาจจะชะลอลงจากปีก่อน หลังจากหมดอายุมาตรการที่อยู่อาศัยของภาครัฐ และส่วนใหญ่หันมาพัฒนาตลาดที่อยู่อาศัยแนวราบ เพราะสามารถปรับจำนวนหน่วยก่อสร้างได้ง่ายกว่าอาคารชุด อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการยังเห็นว่าในปี 54 อุปสงค์ในประเทศด้านที่อยู่อาศัยยังมีมาต่อเนื่อง ทำให้แผนการลงทุนยังสามารถดำเนินการต่อไปได้ทั้งการสร้างโรงงานเพื่อผลิตวัสดุก่อสร้างสำเร็จรูปแห่งใหม่ในต่างจังหวัด เพื่อรองรับการก่อสร้างของภูมิภาคที่จะขยายตัวเพิ่มขึ้น อีกทั้งมองว่าความต้องการของต่างชาติยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เพราะผลตอบแทนต่อราคาอสังหาริมทรัพย์ของไทยยังอยู่ระดับที่น่าพอใจ
"มาตรการกำกับดูแลสินเชื่อที่อยู่อาศัยของธปท.ที่ออกมาบังคับใช้กับอาคารชุดในเดือนม.ค.54 ส่งผลต่อยอดขายอาคารชุดชะลอลงบ้าง ซึ่งสัดส่วนลูกค้าที่ถูกปฏิเสธคำขอสินเชื่อเพิ่มขึ้นบ้าง แต่ไม่มีผลกระทบต่อการซื้อขายในตลาดมากนัก และเห็นว่าผู้เล่นทุกฝ่ายในตลาดมีความระมัดระวังมากขึ้นแล้ว ฉะนั้น ทางการไม่ควรออกมาตรการกำกับอื่นเพิ่มเติม"
แบบสำรวจดังกล่าวยังระบุว่า การลงทุนไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้ประกอบการญี่ปุ่นอาจเร่งตัดสินใจย้ายฐานการผลิตมายังไทยเร็วขึ้นและเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มเอสเอ็มอีในธุรกิจยานยนต์และชิ้นส่วน เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เช่นเดียวกับการย้ายการลงทุนจากจีนมาไทยมากขึ้นเช่นกัน เพราะปัจจุบันอัตราค่าจ้างของจีนสูงกว่าไทย ประกอบกับสินค้าบางประเภทของจีนถูกกีดกันทางการค้าด้วยประเด็นการทุ่มตลาดมากขึ้น เช่น ยางรถยนต์ จึงเห็นว่าผู้ประกอบการไทยควรออกไปลงทุนในต่างประเทศและเตรียมความพร้อมเพิ่มเติม
อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการคาดว่าช่วงไตรมาส 2 ราคาสินค้าและวัตถุดิบมีแนวโน้มสูงขึ้นต่อเนื่อง เพราะความต้องการทั้งในและต่างประเทศ แต่การปรับราคาสินค้าค่อนข้างยากด้วยเหตุผลการแข่งขันสูงและการควบคุมราคาสินค้าของทางการ อีกทั้งปัญหาขาดแคลนแรงงานจะเพิ่มความรุนแรงทั้งแง่ปริมาณและคุณภาพ นอกจากนี้เสถียรภาพการเมืองและความไม่แน่นอนกฎเกณฑ์ของนโยบายต่างๆ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินธุรกิจระยะต่อไป
**แบงก์โหมแคมเปญชิงเงินฝาก**
นายประพันธ์ อนุพงษ์องอาจ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ธนาคารธนชาต และธนาคารนครหลวงไทยออกเงินฝากประจำพิเศษ SUPER GROW UP10 เดือน และตั๋วแลกเงินพิเศษ SUPER GROW UP 10 เดือน ซึ่งผลิตภัณฑ์ทั้ง 2 ชนิดนี้ ให้ดอกเบี้ยเฉลี่ยสูงกว่าเงินฝากประจำ 12 เดือนในตลาดในขณะนี้ ซึ่งเป็นไปตามทิศทางดอกเบี้ยนโยบายที่อยู่ในช่วงขาขึ้น
เงินฝากประจำพิเศษ SUPER GROW UP 10 เดือน เป็นเงินฝากที่ให้ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาการฝากคือ เดือนที่ 1-6 อัตราดอกเบี้ย 2.00% ต่อปี เดือนที่ 7-8 อัตราดอกเบี้ย 2.50% ต่อปี เดือนที่ 9-10 อัตราดอกเบี้ย 7% ต่อปี หรืออัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3.10% ต่อปี สำหรับ ตั๋วแลกเงินพิเศษ SUPER GROW UP 10 เดือน ให้ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาการฝาก ดังนี้ เดือนที่ 1-6 อัตราดอกเบี้ย 2.20% ต่อปี เดือนที่ 7-8 อัตราดอกเบี้ย 2.70% ต่อปี เดือนที่ 9-10 อัตราดอกเบี้ย 7.20% ต่อปี หรืออัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3.30% ต่อปี ซึ่งผลิตภัณฑ์ทั้ง 2 ชนิดนี้ ให้ดอกเบี้ยเฉลี่ยสูงกว่าเงินฝากประจำ 12 เดือน ในตลาดในขณะนี้ที่ให้ดอกเบี้ยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 2.00-2.50% ต่อปี
โดยผลิตภัณฑ์ทั้ง 2 ประเภทนี้ ฝากหรือลงทุนเริ่มต้นเพียง 10,000 บาท และจะให้ดอกเบี้ยในเดือนที่ 6, 8 และ 10 ในกรณีถอนก่อน 6 เดือน จะไม่ได้รับดอกเบี้ย ส่วนกรณีฝากหรือลงทุนตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป แต่ไม่ครบกำหนด ธนาคารจะคิดดอกเบี้ยให้ทุกวันตามจริงจนถึงวันที่ถอน
**ibankร่วมวงระดมเงินฝาก**
ด้านนายธีรศักดิ์ สุวรรณยศ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ibank) เปิดเผยว่าในเดือนพฤษภาคมนี้ ไอแบงก์ได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์เงินฝาก "Big Bonus" ที่มีทั้งเงินฝากประจำ และเงินฝากออมทรัพย์ ที่ให้อัตราผลตอบแทนสูง เพื่อเพิ่มทางเลือกให้กับลูกค้าเงินฝากได้เลือกใช้บริการตามความต้องการ
ทั้งนี้ เงินรับฝากประจำ Big Bonus เป็นเงินฝากประจำ 9 เดือน เปิดบัญชีขั้นต่ำ 10,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 20 ล้านบาท ซึ่งลูกค้าจะได้รับเงินปันผลระหว่างลูกค้าและธนาคาร ในสัดส่วน 46 ต่อ 54 หรือคิดเป็นอัตราผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับที่ 3.25% โดยธนาคารจะจ่ายผลตอบแทนทุก 3 เดือน เริ่มเปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม – 31 พฤษภาคม 2554 เท่านั้น ส่วนเงินฝากออมทรัพย์ Big Bonus เปิดบัญชีขั้นต่ำ 50,000 บาท ลูกค้าจะได้รับเงินปันผลระหว่างลูกค้าและธนาคาร ในสัดส่วน 32 ต่อ 68 หรือคิดเป็นอัตราผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับที่ 2.25% ตลอดระยะเวลาการฝากเงิน เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม – 31ธันวาคม 2554 ซึ่งธนาคารตั้งเป้าเงินฝากออมทรัพย์ 9 เดือน ครั้งนี้ไว้ที่ 10,000 ล้านบาท
รายงานจากธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) แจ้งว่า ธปท.ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของภาคเอกชนในสาขาต่างๆ ทั่วประเทศจำนวน 282 ราย พบว่า ในช่วงไตรมาส 2 ของปีนี้ ความต้องการสินเชื่อธุรกิจและครัวเรือนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทำให้เริ่มเห็นสัญญาณที่ธนาคารพาณิชย์เร่งระดมเงินฝากด้วยอัตราดอกเบี้ยพิเศษต่างๆ เพื่อรองรับความต้องการสินเชื่อเพิ่มขึ้น และเป็นการล็อกต้นทุนดอกเบี้ยเงินฝากคงที่ต่อเนื่องได้ระยะหนึ่ง ในช่วงอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น
ทั้งนี้ ภาพรวมการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์จะวางแผนเชิงรุกในการปล่อยสินเชื่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(เอสเอ็มอี)มากขึ้น ขณะที่สินเชื่อบริษัทขนาดใหญ่จะมีการกระจายความเสี่ยงด้วยการให้วงเงินกู้ร่วมหลายสถาบันการเงิน ส่วนปัญหาภัยพิบัติในญี่ปุ่นส่งผลให้เกิดการขาดแคลนชิ้นส่วน ทำให้ยอดจำหน่ายรถยนต์ในช่วงไตรมาส 2 อาจจะน้อยลงซึ่งเรื่องดังกล่าวมีผลต่อการปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ต้องเลื่อนออกไป
ธนาคารพาณิชย์ประเมินว่าสินเชื่อที่อยู่อาศัยอาจจะชะลอลงจากปีก่อน หลังจากหมดอายุมาตรการที่อยู่อาศัยของภาครัฐ และส่วนใหญ่หันมาพัฒนาตลาดที่อยู่อาศัยแนวราบ เพราะสามารถปรับจำนวนหน่วยก่อสร้างได้ง่ายกว่าอาคารชุด อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการยังเห็นว่าในปี 54 อุปสงค์ในประเทศด้านที่อยู่อาศัยยังมีมาต่อเนื่อง ทำให้แผนการลงทุนยังสามารถดำเนินการต่อไปได้ทั้งการสร้างโรงงานเพื่อผลิตวัสดุก่อสร้างสำเร็จรูปแห่งใหม่ในต่างจังหวัด เพื่อรองรับการก่อสร้างของภูมิภาคที่จะขยายตัวเพิ่มขึ้น อีกทั้งมองว่าความต้องการของต่างชาติยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เพราะผลตอบแทนต่อราคาอสังหาริมทรัพย์ของไทยยังอยู่ระดับที่น่าพอใจ
"มาตรการกำกับดูแลสินเชื่อที่อยู่อาศัยของธปท.ที่ออกมาบังคับใช้กับอาคารชุดในเดือนม.ค.54 ส่งผลต่อยอดขายอาคารชุดชะลอลงบ้าง ซึ่งสัดส่วนลูกค้าที่ถูกปฏิเสธคำขอสินเชื่อเพิ่มขึ้นบ้าง แต่ไม่มีผลกระทบต่อการซื้อขายในตลาดมากนัก และเห็นว่าผู้เล่นทุกฝ่ายในตลาดมีความระมัดระวังมากขึ้นแล้ว ฉะนั้น ทางการไม่ควรออกมาตรการกำกับอื่นเพิ่มเติม"
แบบสำรวจดังกล่าวยังระบุว่า การลงทุนไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้ประกอบการญี่ปุ่นอาจเร่งตัดสินใจย้ายฐานการผลิตมายังไทยเร็วขึ้นและเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มเอสเอ็มอีในธุรกิจยานยนต์และชิ้นส่วน เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เช่นเดียวกับการย้ายการลงทุนจากจีนมาไทยมากขึ้นเช่นกัน เพราะปัจจุบันอัตราค่าจ้างของจีนสูงกว่าไทย ประกอบกับสินค้าบางประเภทของจีนถูกกีดกันทางการค้าด้วยประเด็นการทุ่มตลาดมากขึ้น เช่น ยางรถยนต์ จึงเห็นว่าผู้ประกอบการไทยควรออกไปลงทุนในต่างประเทศและเตรียมความพร้อมเพิ่มเติม
อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการคาดว่าช่วงไตรมาส 2 ราคาสินค้าและวัตถุดิบมีแนวโน้มสูงขึ้นต่อเนื่อง เพราะความต้องการทั้งในและต่างประเทศ แต่การปรับราคาสินค้าค่อนข้างยากด้วยเหตุผลการแข่งขันสูงและการควบคุมราคาสินค้าของทางการ อีกทั้งปัญหาขาดแคลนแรงงานจะเพิ่มความรุนแรงทั้งแง่ปริมาณและคุณภาพ นอกจากนี้เสถียรภาพการเมืองและความไม่แน่นอนกฎเกณฑ์ของนโยบายต่างๆ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินธุรกิจระยะต่อไป
**แบงก์โหมแคมเปญชิงเงินฝาก**
นายประพันธ์ อนุพงษ์องอาจ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ธนาคารธนชาต และธนาคารนครหลวงไทยออกเงินฝากประจำพิเศษ SUPER GROW UP10 เดือน และตั๋วแลกเงินพิเศษ SUPER GROW UP 10 เดือน ซึ่งผลิตภัณฑ์ทั้ง 2 ชนิดนี้ ให้ดอกเบี้ยเฉลี่ยสูงกว่าเงินฝากประจำ 12 เดือนในตลาดในขณะนี้ ซึ่งเป็นไปตามทิศทางดอกเบี้ยนโยบายที่อยู่ในช่วงขาขึ้น
เงินฝากประจำพิเศษ SUPER GROW UP 10 เดือน เป็นเงินฝากที่ให้ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาการฝากคือ เดือนที่ 1-6 อัตราดอกเบี้ย 2.00% ต่อปี เดือนที่ 7-8 อัตราดอกเบี้ย 2.50% ต่อปี เดือนที่ 9-10 อัตราดอกเบี้ย 7% ต่อปี หรืออัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3.10% ต่อปี สำหรับ ตั๋วแลกเงินพิเศษ SUPER GROW UP 10 เดือน ให้ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาการฝาก ดังนี้ เดือนที่ 1-6 อัตราดอกเบี้ย 2.20% ต่อปี เดือนที่ 7-8 อัตราดอกเบี้ย 2.70% ต่อปี เดือนที่ 9-10 อัตราดอกเบี้ย 7.20% ต่อปี หรืออัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3.30% ต่อปี ซึ่งผลิตภัณฑ์ทั้ง 2 ชนิดนี้ ให้ดอกเบี้ยเฉลี่ยสูงกว่าเงินฝากประจำ 12 เดือน ในตลาดในขณะนี้ที่ให้ดอกเบี้ยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 2.00-2.50% ต่อปี
โดยผลิตภัณฑ์ทั้ง 2 ประเภทนี้ ฝากหรือลงทุนเริ่มต้นเพียง 10,000 บาท และจะให้ดอกเบี้ยในเดือนที่ 6, 8 และ 10 ในกรณีถอนก่อน 6 เดือน จะไม่ได้รับดอกเบี้ย ส่วนกรณีฝากหรือลงทุนตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป แต่ไม่ครบกำหนด ธนาคารจะคิดดอกเบี้ยให้ทุกวันตามจริงจนถึงวันที่ถอน
**ibankร่วมวงระดมเงินฝาก**
ด้านนายธีรศักดิ์ สุวรรณยศ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ibank) เปิดเผยว่าในเดือนพฤษภาคมนี้ ไอแบงก์ได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์เงินฝาก "Big Bonus" ที่มีทั้งเงินฝากประจำ และเงินฝากออมทรัพย์ ที่ให้อัตราผลตอบแทนสูง เพื่อเพิ่มทางเลือกให้กับลูกค้าเงินฝากได้เลือกใช้บริการตามความต้องการ
ทั้งนี้ เงินรับฝากประจำ Big Bonus เป็นเงินฝากประจำ 9 เดือน เปิดบัญชีขั้นต่ำ 10,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 20 ล้านบาท ซึ่งลูกค้าจะได้รับเงินปันผลระหว่างลูกค้าและธนาคาร ในสัดส่วน 46 ต่อ 54 หรือคิดเป็นอัตราผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับที่ 3.25% โดยธนาคารจะจ่ายผลตอบแทนทุก 3 เดือน เริ่มเปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม – 31 พฤษภาคม 2554 เท่านั้น ส่วนเงินฝากออมทรัพย์ Big Bonus เปิดบัญชีขั้นต่ำ 50,000 บาท ลูกค้าจะได้รับเงินปันผลระหว่างลูกค้าและธนาคาร ในสัดส่วน 32 ต่อ 68 หรือคิดเป็นอัตราผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับที่ 2.25% ตลอดระยะเวลาการฝากเงิน เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม – 31ธันวาคม 2554 ซึ่งธนาคารตั้งเป้าเงินฝากออมทรัพย์ 9 เดือน ครั้งนี้ไว้ที่ 10,000 ล้านบาท