เมื่อเวลา 10.00 น. (2 พ.ค.)ที่รัฐสภา มีการประชุมวุฒิสภา โดยมีนายนิคม ไวยรัชพานิช รองประธานวุฒิสภา ในฐานะผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานวุฒิสภา เป็นประธานในการประชุม โดยก่อนเข้าสู่วาระการประชุมนายนิคมได้แจ้งว่า คณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การสื่อสารและโทรคมนาคม มีมติเลือกนางนิลวรรณ เพชระบูรณิน ส.ว.สรรหา เป็นประธาน กมธ. และมีมติส่งนายดิเรก ถึงฝั่ง ส.ว.นนทบุรี เป็น กมธ.วิสามัญกิจการวุฒิสภา (วิปวุฒิฯ)
ทำให้ พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม ส.ว.สรรหา แคนดิเดตชิงตำแหน่งประธานคณะ กมธ.วิทยาศาสตร์ฯ ลุกขึ้นเสนอญัตติด่วนด้วยปากเปล่าตามข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา ข้อ 40 ให้ที่ประชุมพิจารณากรณีการเลือกประธานคณะ กมธ.วิทยาศาสตร์ฯ ซึ่งไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ โดยให้เหตุผลว่า การประชุมที่ลงมติเลือกนางนิลวรรณ เป็นประธานเป็นการดำเนินการไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญมาตรา 126 (5) และขัดข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา ข้อ 84 เพราะข้อบังคับกำหนดว่าหากการลงมติมีเสียงเท่ากัน ต้องใช้วิธีจับสลาก และให้ทำโดยวิธีลับ แต่นายพีระ มานะทัศน์ ส.ว.ลำปาง ประธานการประชุมชั่วคราวในขณะนั้น กลับให้มีการลงคะแนนโดยเปิดเผย และใช้อำนาจประธานที่ประชุมชี้ขาดให้นางนิลวรรณเป็นประธานฯ ดังนั้นนายพีระจึงทำการขัดต่อรัฐธรรมนูญและข้อบังคับการประชุมวุฒิสภาถึง 2 ขั้นตอน หากปล่อยให้เกิดเหตุเช่นนี้ต่อไปจะทำให้วุฒิสภาเสียหาย และจะสร้างบรรทัดฐานที่ไม่ถูกต้องในการเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานวุฒิสภาในอนาคต จึงขอให้ทบทวนการเลือกประธานคณะ กมธ.ชุดนี้ใหม่
ด้าน นายพีระชี้แจงว่า ที่ผ่านมาตนรู้สึกตกเป็นจำเลยสังคม คนอาจเห็นว่าใช้สิทธิ์ชี้ขาดเหมือนเข้าข้างกัน แต่ขอยืนยันว่ารับราชการมา 37 ปี เป็นผู้ว่าราชการหลายจังหวัด จนติดผู้ว่าฯซีอีโอ 1 ใน 5 ของประเทศ ได้รางวัลจากนายกฯ 3 ปีติดต่อกัน และไม่เคยถูกร้องเรียนใดๆ แม้ความเชี่ยวชาญด้านกฎหมายจะไม่เท่ากับ ส.ว.คนอื่น แต่ก็ใช้หลักรัฐศาสตร์วินิจฉัย การประชุม 3 ครั้งที่ไม่สามารถเลือกตำแหน่งประธานฯได้ จึงใช้ข้อบังคับการประชุมวุฒิสภาข้อ 84 ซึ่งกำหนดว่าให้นำข้อกำหนดว่าด้วยการประชุมวุฒิสภาที่เกี่ยวกับการควบคุมการประชุม มาใช้กับการประชุมกรรมาธิการด้วย ทั้งนางนิลวรรณและ พล.อ.สมเจตน์ ชอบธรรมที่จะเป็นประธานทั้งคู่ แต่เมื่อข้อบังคับการประชุมวุฒิสภากำหนดแบบนี้ จึงต้องดูรัฐธรรมนูญมาตรา 126 ซึ่งกำหนดว่าหากคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มอีก 1 เสียงเพื่อชี้ขาด ซึ่งนางนิลวรรณเคยทำงานใน กมธ.ชุดนี้มีผลงานชัดแจ้ง และเพื่อให้สตรีมีสัดส่วนเป็นประธานเพิ่มขึ้น เพราะขณะนี้มีเพียง 5-6 คน จาก 22 คณะ
ส่วนที่บอกว่าให้ใช้วิธีจับสลาก ตามข้อบังคับไม่ได้ครอบคลุมถึงการเลือกประธาน กมธ.จึงเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่ไม่ชัดเจน ฉะนั้นต่อไปควรแก้ข้อบังคับเพื่อให้เกิดความชัดเจนต่อไป นอกจากนี้ในคณะ กมธ.การศึกษา ก็มีปัญหาลักษณะเดียวกัน และวินิจฉัยในแบบเดียวกับตน ทั้งนี้เห็นว่าการจับสลากก็เป็นวิธีที่ดี แต่ถ้าเลือกวิธีนี้ ฝ่ายนางนิลวรรณคงไม่ยอม จึงตัดสินแบบนี้โดยไม่มีเจตนาอย่างอื่น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากนั้นนายนิคม วินิจฉัยว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องกิจการภายใน และที่ประชุมไม่สามารถลงมติในเรื่องนี้ได้ จึงขอให้ใช้ข้อบังคับการประชุมวุฒิสภาข้อ 35 เสนอเป็นหนังสือมาเพื่อหาทางแก้ไข และขอให้เข้าสู่วาระตามปกติ แต่นายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา และนายสิงห์ชัย ทุ่งทอง ส.ว.อุทัยธานี พยายามจะขออภิปราย แต่นายนิคม ไม่อนุญาตให้ใครพูดอีก ทำให้มีการโต้เถียงกันเล็กน้อยกับนายสมชาย สุดท้ายนายนิคม ยืนยันการวินิจฉัยว่า ถ้าอนุญาตคงพูดกันไปทั้ง 2 ฝ่าย แต่เรื่องนี้มีทางออกคือ ให้ทำหนังสือมาแล้วต่อไปอาจจะตั้ง กมธ.มาพิจารณาเรื่องนี้ แล้วตัดบทเข้าสู่วาระตามปกติต่อไป.
ทำให้ พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม ส.ว.สรรหา แคนดิเดตชิงตำแหน่งประธานคณะ กมธ.วิทยาศาสตร์ฯ ลุกขึ้นเสนอญัตติด่วนด้วยปากเปล่าตามข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา ข้อ 40 ให้ที่ประชุมพิจารณากรณีการเลือกประธานคณะ กมธ.วิทยาศาสตร์ฯ ซึ่งไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ โดยให้เหตุผลว่า การประชุมที่ลงมติเลือกนางนิลวรรณ เป็นประธานเป็นการดำเนินการไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญมาตรา 126 (5) และขัดข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา ข้อ 84 เพราะข้อบังคับกำหนดว่าหากการลงมติมีเสียงเท่ากัน ต้องใช้วิธีจับสลาก และให้ทำโดยวิธีลับ แต่นายพีระ มานะทัศน์ ส.ว.ลำปาง ประธานการประชุมชั่วคราวในขณะนั้น กลับให้มีการลงคะแนนโดยเปิดเผย และใช้อำนาจประธานที่ประชุมชี้ขาดให้นางนิลวรรณเป็นประธานฯ ดังนั้นนายพีระจึงทำการขัดต่อรัฐธรรมนูญและข้อบังคับการประชุมวุฒิสภาถึง 2 ขั้นตอน หากปล่อยให้เกิดเหตุเช่นนี้ต่อไปจะทำให้วุฒิสภาเสียหาย และจะสร้างบรรทัดฐานที่ไม่ถูกต้องในการเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานวุฒิสภาในอนาคต จึงขอให้ทบทวนการเลือกประธานคณะ กมธ.ชุดนี้ใหม่
ด้าน นายพีระชี้แจงว่า ที่ผ่านมาตนรู้สึกตกเป็นจำเลยสังคม คนอาจเห็นว่าใช้สิทธิ์ชี้ขาดเหมือนเข้าข้างกัน แต่ขอยืนยันว่ารับราชการมา 37 ปี เป็นผู้ว่าราชการหลายจังหวัด จนติดผู้ว่าฯซีอีโอ 1 ใน 5 ของประเทศ ได้รางวัลจากนายกฯ 3 ปีติดต่อกัน และไม่เคยถูกร้องเรียนใดๆ แม้ความเชี่ยวชาญด้านกฎหมายจะไม่เท่ากับ ส.ว.คนอื่น แต่ก็ใช้หลักรัฐศาสตร์วินิจฉัย การประชุม 3 ครั้งที่ไม่สามารถเลือกตำแหน่งประธานฯได้ จึงใช้ข้อบังคับการประชุมวุฒิสภาข้อ 84 ซึ่งกำหนดว่าให้นำข้อกำหนดว่าด้วยการประชุมวุฒิสภาที่เกี่ยวกับการควบคุมการประชุม มาใช้กับการประชุมกรรมาธิการด้วย ทั้งนางนิลวรรณและ พล.อ.สมเจตน์ ชอบธรรมที่จะเป็นประธานทั้งคู่ แต่เมื่อข้อบังคับการประชุมวุฒิสภากำหนดแบบนี้ จึงต้องดูรัฐธรรมนูญมาตรา 126 ซึ่งกำหนดว่าหากคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มอีก 1 เสียงเพื่อชี้ขาด ซึ่งนางนิลวรรณเคยทำงานใน กมธ.ชุดนี้มีผลงานชัดแจ้ง และเพื่อให้สตรีมีสัดส่วนเป็นประธานเพิ่มขึ้น เพราะขณะนี้มีเพียง 5-6 คน จาก 22 คณะ
ส่วนที่บอกว่าให้ใช้วิธีจับสลาก ตามข้อบังคับไม่ได้ครอบคลุมถึงการเลือกประธาน กมธ.จึงเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่ไม่ชัดเจน ฉะนั้นต่อไปควรแก้ข้อบังคับเพื่อให้เกิดความชัดเจนต่อไป นอกจากนี้ในคณะ กมธ.การศึกษา ก็มีปัญหาลักษณะเดียวกัน และวินิจฉัยในแบบเดียวกับตน ทั้งนี้เห็นว่าการจับสลากก็เป็นวิธีที่ดี แต่ถ้าเลือกวิธีนี้ ฝ่ายนางนิลวรรณคงไม่ยอม จึงตัดสินแบบนี้โดยไม่มีเจตนาอย่างอื่น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากนั้นนายนิคม วินิจฉัยว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องกิจการภายใน และที่ประชุมไม่สามารถลงมติในเรื่องนี้ได้ จึงขอให้ใช้ข้อบังคับการประชุมวุฒิสภาข้อ 35 เสนอเป็นหนังสือมาเพื่อหาทางแก้ไข และขอให้เข้าสู่วาระตามปกติ แต่นายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา และนายสิงห์ชัย ทุ่งทอง ส.ว.อุทัยธานี พยายามจะขออภิปราย แต่นายนิคม ไม่อนุญาตให้ใครพูดอีก ทำให้มีการโต้เถียงกันเล็กน้อยกับนายสมชาย สุดท้ายนายนิคม ยืนยันการวินิจฉัยว่า ถ้าอนุญาตคงพูดกันไปทั้ง 2 ฝ่าย แต่เรื่องนี้มีทางออกคือ ให้ทำหนังสือมาแล้วต่อไปอาจจะตั้ง กมธ.มาพิจารณาเรื่องนี้ แล้วตัดบทเข้าสู่วาระตามปกติต่อไป.