รายงานข่าวจากวุฒิสภา แจ้งว่า วานนี้(20 เม.ย.) การขอเสียงสนับสนุนชิงประธานวุฒิสภา ที่จะมีการประชุมเลือกในวันที่ 22 เม.ย.นี้ หลังจากเหลือคู่ชิงเพียงนายนิคม ไวยรัชพานิช ส.ว.ฉะเชิงเทรา รองประธานวุฒิสภาคนที่ 1 และพล.อ.ธีรเดช มีเพียร สว.สรรหา หลังจากมีกระแสข่าว สว.เลือกตั้ง พยายามขอเสียงสนับสนุนจากสว.สรรหา โดยจะเสนอตำแหน่งรองประธานฯคนที่ 1 ให้ หากช่วยผลักดันนายนิคมได้สำเร็จ โดยได้มาประมาณ 10 เสียง ซึ่งมีชื่อนายอนุรักษ์ นิยมเวช ที่แสดงความต้องการเป็นรองฯตั้งแต่สมัยแรก แต่ไม่ได้รับการยอมรับ ประกอบกับ สว.เลือกตั้งยังไม่สามารถหาผู้ที่เหมาะสมและดึงเสียงจากส.ว.สรรหาได้มากพอ นอกจาก 10เสียงแล้วยังอาจได้เสียงจากกลุ่มที่สนับสนุนนายดิเรก ถึงฝั่ง ส.ว.นนทบุรี เพิ่มเติม แต่บางส่วนก็เห็นว่า พล.อ.ธีรเดช มีความเหมาะสมกว่า
นายตวง อันทไชย ส.ว.สรรหา กลุ่ม 40 ส.ว. เปิดเผยว่า จะเสนอชื่อ พล.อ.ธีรเดช ลงแข่งขัน แต่ก็เชื่อว่านายนิคมจะได้รับเลือกเพราะเป็นผู้ที่มีสายสัมพันธ์กับ ส.ว.สรรหาหลายคน และหากสามารถคุมเสียง ส.ว.เลือกตั้งได้ ทั้ง 72 คน โอกาสที่จะได้รับเลือกก็มีสูง ดังนั้น ตามที่เคยได้ตกลงกันไว้ รองประธานวุฒิสภาคนที่ 1 ต้องเป็นของ ส.ว.สรรหา
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า อีกด้านหนึ่ง หลังจากมีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาส.ว.เข้าทำงานในคณะกรรมาธิการ(กมธ.)สามัญประจำวุฒิสภา 22 คณะ โดยเปิดให้ส.ว. แสดงความจำนง ได้ 2 คณะ ซึ่งมีการจับสลากในวันที่ 20 เม.ย. ปรากฏว่า อันดับ 1 ที่ส.ว.สนใจมากที่สุดคือ กมธ.วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การสื่อสาร และโทรคมนาคม มีผู้ลงชื่อเลือกอันดับ 1 ถึง 32 คน เนื่องจากจะต้องรับผิดชอบการตรวจสอบกระบวนการคัดเลือกบุคคลที่เสนอตัวชิงตำแหน่งกรรมการกสทช.และตรวจสอบการบริหารงานขององค์กรดังกล่าวที่จะเข้ามาดูแลระบบโทรคมนาคม และวิทยุโทรทัศน์ที่มีมูลค่ากว่าแสนล้านบาท
ขณะเดียวกันก็มีการแบ่งขั้วชิงตำแหน่งประธานระหว่าง สว.สรรหา นำโดย พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม และสว.เลือกตั้ง นำโดยนายประสิทธิ์ โพธสุธน ส.ว.สุพรรณบุรี ที่เป็นประธานคนเดิม ซึ่งมีการระดมแนวร่วม จนต้องมีการจับฉลากปรากฏว่านายประสิทธิ์ จับสลากไม่ได้ ขณะที่ พล.อ.สมเจตน์จับได้ แต่เมื่อแยกจำนวน กมธ.แล้วปรากฏว่าฝ่ายของนายประสิทธิ์ยังมีมากกว่า พล.อ.สมเจตน์ 8 ต่อ 7 ทันที่ที่รู้ผลว่าไม่ได้ นายประสิทธิ์ถึงกับหน้าเสีย ส่วนกมธ.อื่นที่มีการล็อบบี้ชิงงประธานอย่างดุเดือดเช่นกัน ทั้งนี้ จะมีการประชุมเพื่อเลือกประธานกมธ.ในวันที่ 22 เม.ย. แล้วส่งให้ที่ประชุมวุฒิสภารับรองในวันที่ 25 เม.ย.ต่อไป
วันเดียวกันมีการจัดสัมมนาเพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับ ส.ว.สรรหาชุดใหม่ โดยจะได้เงินประจำตำแหน่ง 71,230 บาท เงินเพิ่มเติม 42,330 บาท รวมเงินที่ได้รับ 113,560 บาทต่อเดือน นอกจากสามารถตั้งผู้ทำงานช่วย ส.ว.ได้อีก 6 คน แบ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญประจำตัว ส.ว. 1 คน ได้รับเงินเดือน เดือนละ 20,000 บาท ผู้ปฏิบัติงานให้ ส.ว. 5 คน ได้เงินเดือน เดือนละ 10,000 บาท แต่จะต้องส่งรายการแสดงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน ต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ภายใน 30 วัน.
นายตวง อันทไชย ส.ว.สรรหา กลุ่ม 40 ส.ว. เปิดเผยว่า จะเสนอชื่อ พล.อ.ธีรเดช ลงแข่งขัน แต่ก็เชื่อว่านายนิคมจะได้รับเลือกเพราะเป็นผู้ที่มีสายสัมพันธ์กับ ส.ว.สรรหาหลายคน และหากสามารถคุมเสียง ส.ว.เลือกตั้งได้ ทั้ง 72 คน โอกาสที่จะได้รับเลือกก็มีสูง ดังนั้น ตามที่เคยได้ตกลงกันไว้ รองประธานวุฒิสภาคนที่ 1 ต้องเป็นของ ส.ว.สรรหา
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า อีกด้านหนึ่ง หลังจากมีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาส.ว.เข้าทำงานในคณะกรรมาธิการ(กมธ.)สามัญประจำวุฒิสภา 22 คณะ โดยเปิดให้ส.ว. แสดงความจำนง ได้ 2 คณะ ซึ่งมีการจับสลากในวันที่ 20 เม.ย. ปรากฏว่า อันดับ 1 ที่ส.ว.สนใจมากที่สุดคือ กมธ.วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การสื่อสาร และโทรคมนาคม มีผู้ลงชื่อเลือกอันดับ 1 ถึง 32 คน เนื่องจากจะต้องรับผิดชอบการตรวจสอบกระบวนการคัดเลือกบุคคลที่เสนอตัวชิงตำแหน่งกรรมการกสทช.และตรวจสอบการบริหารงานขององค์กรดังกล่าวที่จะเข้ามาดูแลระบบโทรคมนาคม และวิทยุโทรทัศน์ที่มีมูลค่ากว่าแสนล้านบาท
ขณะเดียวกันก็มีการแบ่งขั้วชิงตำแหน่งประธานระหว่าง สว.สรรหา นำโดย พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม และสว.เลือกตั้ง นำโดยนายประสิทธิ์ โพธสุธน ส.ว.สุพรรณบุรี ที่เป็นประธานคนเดิม ซึ่งมีการระดมแนวร่วม จนต้องมีการจับฉลากปรากฏว่านายประสิทธิ์ จับสลากไม่ได้ ขณะที่ พล.อ.สมเจตน์จับได้ แต่เมื่อแยกจำนวน กมธ.แล้วปรากฏว่าฝ่ายของนายประสิทธิ์ยังมีมากกว่า พล.อ.สมเจตน์ 8 ต่อ 7 ทันที่ที่รู้ผลว่าไม่ได้ นายประสิทธิ์ถึงกับหน้าเสีย ส่วนกมธ.อื่นที่มีการล็อบบี้ชิงงประธานอย่างดุเดือดเช่นกัน ทั้งนี้ จะมีการประชุมเพื่อเลือกประธานกมธ.ในวันที่ 22 เม.ย. แล้วส่งให้ที่ประชุมวุฒิสภารับรองในวันที่ 25 เม.ย.ต่อไป
วันเดียวกันมีการจัดสัมมนาเพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับ ส.ว.สรรหาชุดใหม่ โดยจะได้เงินประจำตำแหน่ง 71,230 บาท เงินเพิ่มเติม 42,330 บาท รวมเงินที่ได้รับ 113,560 บาทต่อเดือน นอกจากสามารถตั้งผู้ทำงานช่วย ส.ว.ได้อีก 6 คน แบ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญประจำตัว ส.ว. 1 คน ได้รับเงินเดือน เดือนละ 20,000 บาท ผู้ปฏิบัติงานให้ ส.ว. 5 คน ได้เงินเดือน เดือนละ 10,000 บาท แต่จะต้องส่งรายการแสดงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน ต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ภายใน 30 วัน.