ส.การค้าส่ง-ปลีกไทย ระบุให้จับตาสินค้าปรับกลยุทธ์แก้เกี้ยว ต้นทุนพุ่งแต่ขยับราคาขึ้นไม่ได้ “แชมพู สบู่ กาแฟผงสำเร็จรูป” แห่ลดปริมาณแทนขึ้นราคา ส.การตลาด ชี้ 8 เดือน จับตาราคาน้ำมันปรับกระทบต้นทุน สินค้ามีสิทธิ์แห่ขอปรับราคาขึ้นอีกระลอก วอนภาครัฐปล่อยตามกลไกตลาด อย่าแทรกแซงราคา
นายสมชาย พรรัตนเจริญ นายกสมาคมการค้าส่ง-ปลีกไทย เปิดเผยถึงสถานการณ์สินค้าว่า ในช่วงต้นเดือนเมษายน ที่ผ่านมา มีสินค้าหลายรายการที่ปรับราคาขึ้น โดยได้รับการอนุมัติจากกรมการค้าภายใน เช่น น้ำมันถั่วเหลือง และนมพร้อมดื่มยูเอชที แต่มีสินค้าอีกหลายรายการซึ่งกรมการค้าภายในขอความร่วมมือในการตรึงราคาสินค้า อาทิ สบู่ แชมพู และสินค้ากลุ่มซักล้าง ฯลฯ ล่าสุดพบว่า แชมพูซันซิล ของบริษัท ยูนิลีเวอร์ไทย เทรดดิ้ง ได้ใช้กลยุทธ์ลดปริมาณ แต่จำหน่ายราคาเดิมแทน โดยลดปริมาณจาก 100มล. มาเหลือเป็น 80มล.
ขณะที่สบู่ลักส์ ล่าสุดมีการแจ้งเกี่ยวกับการลดปริมาณลงมายังผู้ประกอบการค้าส่งแล้ว หรือกระทั่งกาแฟผงสำเร็จรูปได้ลดปริมาณจากมีการบรรจุ 30ซอง เหลือเป็น 27ซอง ทั้งนี้การใช้กลยุทธ์ดังกล่าว มีผลดีในแง่ทางด้านจิตวิทยาของผู้บริโภค โดยทำให้รู้สึกว่าไม่ต้องควักเงินเพิ่ม ส่วนราคาน้ำมันปาล์ม ก่อนหน้านี้ที่ปรับราคาขึ้นไป 47บาทต่อขวด ล่าสุดน้ำมันปาล์มบรรจุถุงที่จำหน่ายปลีกในตลาด เริ่มมีราคาปรับลดลงเหลือ 40บาทต่อลิตร ส่วนน้ำมันปาล์มบรรจุขวดยังคงจำหน่ายราคาเดิม คือ 47 บาทต่อขวด
“ที่ผ่านมาผลพวงจากต้นทุนการผลิตที่ปรับเพิ่มขึ้นมาก ซึ่งหากราคาวัตถุดิบที่ปรับเพิ่มขึ้นสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง ก็ควรปล่อยให้สินค้าขึ้นราคา หรือเป็นไปตามกลไกของตลาด แม้ว่าราคาสินค้าจะปรับเพิ่มขึ้นมาแล้ว 1เดือน แต่ก็ไม่ได้มีผลทำให้ผู้บริโภคชะลอการซื้อสินค้า เพราะเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์ต้นทุนที่เพิ่มขึ้น”
นายตุลย์ วงศ์ศุภสวัสดิ์ นายกสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย กล่าวเสริมถึงกลยุทธ์การตลาดว่า กรณีที่สินค้าปรับราคาขึ้น เนื่องจากไม่สามารถแบกรับต้นทุนที่สูงขึ้นได้นั้น ผู้ประกอบการควรมีการเปิดตัวแคมเปญการตลาดใหม่ หรือการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้ามากขึ้น เพื่อให้ผู้บริโภครู้สึกว่าคุ้มค่ากับการที่ต้องจ่ายเงินเพิ่มมากขึ้น ในทางกลับกันสินค้าที่ปรับราคาเพิ่มขึ้น แต่ไม่ได้ทำให้ผู้บริโภครู้สึกว่าทำไมต้องจ่ายเงินเพิ่มขึ้น อาจทำให้หันไปซื้อสินค้าแบรนด์คู่แข่งที่ไม่ได้มีการปรับราคาสินค้าขึ้น และแบรนด์นั้นอาจสูญเสียส่วนแบ่งตลาดในที่สุด
“สินค้าที่ถือว่าเป็นโมเดลในการทำตลาดที่ดี คือ แชมพูซันซิล ซึ่งมีการรีลอนช์หรือปรับโฉมผลิตภัณฑ์และสูตร รวมทั้งปรับราคาสินค้าเพิ่มขึ้นไปพร้อมกัน แต่ผู้บริโภคก็ยอมจ่ายเงินซื้อ เพราะรู้สึกว่าได้สินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ซันซิลเป็นแชมพูที่ยังครองความเป็นผู้นำตลาดมาอย่างต่อเนื่อง”
อย่างไรก็ตามแนวโน้ม 8 เดือนข้างหน้านี้ หากสินค้าจะปรับราคาขึ้นคงมีปัจจัยมาจากราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มขึ้น ซึ่งรัฐบาลควรปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาด และไม่ควรบิดเบือนราคาสินค้า เพราะในขณะนี้ผู้บริโภคเข้าใจดีกว่าสินค้าต้องปรับขึ้นราคาตามต้นทุนที่สูงขึ้น ส่วนภาพตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคปีนี้คาดว่าจะเติบโตดี แต่ไม่เกิน 10% โดยสูงกว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย (จีดีพี) ที่คาดว่าจะเติบโต 5% อย่างแน่นอน ทั้งนี้สินค้าที่น่าจับตามองและมาแรงในปีนี้ คือ ฟังก์ชันนัลดริงก์ กลุ่มผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และสินค้าเพื่อสุขภาพ ฯลฯ
นายสมชาย พรรัตนเจริญ นายกสมาคมการค้าส่ง-ปลีกไทย เปิดเผยถึงสถานการณ์สินค้าว่า ในช่วงต้นเดือนเมษายน ที่ผ่านมา มีสินค้าหลายรายการที่ปรับราคาขึ้น โดยได้รับการอนุมัติจากกรมการค้าภายใน เช่น น้ำมันถั่วเหลือง และนมพร้อมดื่มยูเอชที แต่มีสินค้าอีกหลายรายการซึ่งกรมการค้าภายในขอความร่วมมือในการตรึงราคาสินค้า อาทิ สบู่ แชมพู และสินค้ากลุ่มซักล้าง ฯลฯ ล่าสุดพบว่า แชมพูซันซิล ของบริษัท ยูนิลีเวอร์ไทย เทรดดิ้ง ได้ใช้กลยุทธ์ลดปริมาณ แต่จำหน่ายราคาเดิมแทน โดยลดปริมาณจาก 100มล. มาเหลือเป็น 80มล.
ขณะที่สบู่ลักส์ ล่าสุดมีการแจ้งเกี่ยวกับการลดปริมาณลงมายังผู้ประกอบการค้าส่งแล้ว หรือกระทั่งกาแฟผงสำเร็จรูปได้ลดปริมาณจากมีการบรรจุ 30ซอง เหลือเป็น 27ซอง ทั้งนี้การใช้กลยุทธ์ดังกล่าว มีผลดีในแง่ทางด้านจิตวิทยาของผู้บริโภค โดยทำให้รู้สึกว่าไม่ต้องควักเงินเพิ่ม ส่วนราคาน้ำมันปาล์ม ก่อนหน้านี้ที่ปรับราคาขึ้นไป 47บาทต่อขวด ล่าสุดน้ำมันปาล์มบรรจุถุงที่จำหน่ายปลีกในตลาด เริ่มมีราคาปรับลดลงเหลือ 40บาทต่อลิตร ส่วนน้ำมันปาล์มบรรจุขวดยังคงจำหน่ายราคาเดิม คือ 47 บาทต่อขวด
“ที่ผ่านมาผลพวงจากต้นทุนการผลิตที่ปรับเพิ่มขึ้นมาก ซึ่งหากราคาวัตถุดิบที่ปรับเพิ่มขึ้นสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง ก็ควรปล่อยให้สินค้าขึ้นราคา หรือเป็นไปตามกลไกของตลาด แม้ว่าราคาสินค้าจะปรับเพิ่มขึ้นมาแล้ว 1เดือน แต่ก็ไม่ได้มีผลทำให้ผู้บริโภคชะลอการซื้อสินค้า เพราะเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์ต้นทุนที่เพิ่มขึ้น”
นายตุลย์ วงศ์ศุภสวัสดิ์ นายกสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย กล่าวเสริมถึงกลยุทธ์การตลาดว่า กรณีที่สินค้าปรับราคาขึ้น เนื่องจากไม่สามารถแบกรับต้นทุนที่สูงขึ้นได้นั้น ผู้ประกอบการควรมีการเปิดตัวแคมเปญการตลาดใหม่ หรือการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้ามากขึ้น เพื่อให้ผู้บริโภครู้สึกว่าคุ้มค่ากับการที่ต้องจ่ายเงินเพิ่มมากขึ้น ในทางกลับกันสินค้าที่ปรับราคาเพิ่มขึ้น แต่ไม่ได้ทำให้ผู้บริโภครู้สึกว่าทำไมต้องจ่ายเงินเพิ่มขึ้น อาจทำให้หันไปซื้อสินค้าแบรนด์คู่แข่งที่ไม่ได้มีการปรับราคาสินค้าขึ้น และแบรนด์นั้นอาจสูญเสียส่วนแบ่งตลาดในที่สุด
“สินค้าที่ถือว่าเป็นโมเดลในการทำตลาดที่ดี คือ แชมพูซันซิล ซึ่งมีการรีลอนช์หรือปรับโฉมผลิตภัณฑ์และสูตร รวมทั้งปรับราคาสินค้าเพิ่มขึ้นไปพร้อมกัน แต่ผู้บริโภคก็ยอมจ่ายเงินซื้อ เพราะรู้สึกว่าได้สินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ซันซิลเป็นแชมพูที่ยังครองความเป็นผู้นำตลาดมาอย่างต่อเนื่อง”
อย่างไรก็ตามแนวโน้ม 8 เดือนข้างหน้านี้ หากสินค้าจะปรับราคาขึ้นคงมีปัจจัยมาจากราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มขึ้น ซึ่งรัฐบาลควรปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาด และไม่ควรบิดเบือนราคาสินค้า เพราะในขณะนี้ผู้บริโภคเข้าใจดีกว่าสินค้าต้องปรับขึ้นราคาตามต้นทุนที่สูงขึ้น ส่วนภาพตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคปีนี้คาดว่าจะเติบโตดี แต่ไม่เกิน 10% โดยสูงกว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย (จีดีพี) ที่คาดว่าจะเติบโต 5% อย่างแน่นอน ทั้งนี้สินค้าที่น่าจับตามองและมาแรงในปีนี้ คือ ฟังก์ชันนัลดริงก์ กลุ่มผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และสินค้าเพื่อสุขภาพ ฯลฯ