กรณีการบินไทยการตั้งคณะกรรมการสอบสวนพนักงานการบินไทย ระดับ ผอ.สำนักฯรายหนึ่ง กระทำการประพฤติมิชอบ กรณีอัพเกรดตั๋วที่นั่งสายการบินระหว่างประเทศ ที่ส่อไปในทางทุจริต ซึ่งภายหลังคณะกรรมการชุดดังกล่าว มีผลการพิจารณาว่าพนักงานรายนี้ผิดจริงทุกข้อกล่าวหา โดยมีโทษให้ตัดเงินเดือน 25 % เป็นระยะเวลา 3 เดือน ทำให้มีผู้กังขาถึงโทษที่ได้รับว่า เบาเกินไป จนมีการนำเรื่องร้องเรียนต่อกมธ.
นายวิลาศ จันทร์พิทักษ์ ส.ส.กทม.พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะประธาน กมธ.ป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ สภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยว่า ตนได้เชิญกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ดีดีการบินไทย มาชี้แจงถึงเรื่องนี้
เนื่องจากผลสอบของคณะกรรมการฯ ระบุว่า ผู้กระทำความผิด ผิดทุกข้อกล่าวหาจริง โดยมีข้อกล่าวหาว่า ผู้กระทำความผิดทำการโทรเลขไปยังสนามบินปลายทางในต่างประเทศ เพื่อแจ้งอัพเกรดตั๋วโดยสาร โดยอ้างเป็นคำสั่งของผู้ใหญ่ในการบินไทย ทั้งที่มีการแจ้งวอชเชอร์ นัมเบอร์ และไม่แจ้ง รวมถึงแจ้งซ้ำกันหลายที่นั่ง โดยการดำเนินการดังกล่าวปรากฏว่าการบินไทยกลับไม่ได้ผลประโยชน์จากค่าอัพเกรดแต่อย่างใด
นอกจากนี้ ยังมีการอัพเกรดที่นั่งให้ผู้โดยสารที่แลกตั๋วด้วยการสะสมไมล์ และตั๋วรางวัล ซึ่งระเบียบระบุที่ไม่มีสิทธิ์อัพเกรดถึง 7 ครั้ง โดยมีการใช้รหัสล็อกอิน แจ้งโทรเลขของพนักงานคนอื่นเข้าไปดำนินการ
นายวิลาศ กล่าวว่า ในการสอบสวนนั้น ตนได้เชิญดีดีการบินไทยมาชี้แจงถึง 3 ครั้ง แต่กลับมอบหมายให้บุคคลอื่นมาชี้แจงแทนตลอด อาทิ ผอ.ฝ่ายทรัพยากรบุคคล ประธานกรรมการสอบ ซึ่งก็ชี้แจงไม่ชัดเจน เหมือนช่วยปกปิดผู้กระทำผิด ซ้ำยังชี้แจงข้อความอันเป็นเท็จ และยังไม่ยอมมอบเอกสารให้กรรมาธิการอ้างว่าอยู่ระหว่างการอุทธรณ์
อีกทั้งยังพบว่า กรรมการสอบยังมีพฤติกรรมที่ส่อไปในทางช่วยเหลือผู้กระทำความผิด ด้วยการลงโทษเพียงการตัดเงินเดือน 25 เปอร์เซ็นต์ เป็นเวลา 3 เดือน ซึ่งไม่คุ้มค่ากับความเสียหายที่การบินไทยเสียไป และเงินเดือนที่ตัดนั้น คิดเป็นเงินเท่าไร เมื่อเทียบกับค่าเสียหายตลอดช่วงที่ผู้กระทำความผิดดำเนินการอัพเกรดตั๋วในช่วงระยะเวลา 4 เดือน ซึ่งตามหนังสือที่มีผู้ร้องเรียนมายังกรรมาธิการ ระบุค่าเสียหายในช่วง 4 เดือนไว้ถึง 1 ล้านบาท และเหตุใดจึงไม่มีการเอาผิดทางอาญาต่อ และทราบมาว่าผู้อำนวยการสำนักคนดังกล่าว มีเส้นสายพอสมควร และเมื่อผลสอบของกรรมการสอบออกมาก็มีการวิ่งเต้นกันไปถึงระดับ ดีดีการบินไทย
"แม้จะไม่ได้รับความร่วมมือ แต่มั่นใจว่าลำพังเท่าที่สอบมานี้ จะสามารถยื่นเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ดำเนินการสอบสวนได้ และเชื่อว่าหากร่าง พ.ร.บ.คำสั่งเรียกของกรรมาธิการ สภาฯ และวุฒิสภา มีผลบังคับใช้ การบินไทย จะต้องเป็นหน่วยงานแรกที่ต้องถูกกฎหมายนี้บังคับใช้" นายวิลาศ กล่าว
นายวิลาศ จันทร์พิทักษ์ ส.ส.กทม.พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะประธาน กมธ.ป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ สภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยว่า ตนได้เชิญกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ดีดีการบินไทย มาชี้แจงถึงเรื่องนี้
เนื่องจากผลสอบของคณะกรรมการฯ ระบุว่า ผู้กระทำความผิด ผิดทุกข้อกล่าวหาจริง โดยมีข้อกล่าวหาว่า ผู้กระทำความผิดทำการโทรเลขไปยังสนามบินปลายทางในต่างประเทศ เพื่อแจ้งอัพเกรดตั๋วโดยสาร โดยอ้างเป็นคำสั่งของผู้ใหญ่ในการบินไทย ทั้งที่มีการแจ้งวอชเชอร์ นัมเบอร์ และไม่แจ้ง รวมถึงแจ้งซ้ำกันหลายที่นั่ง โดยการดำเนินการดังกล่าวปรากฏว่าการบินไทยกลับไม่ได้ผลประโยชน์จากค่าอัพเกรดแต่อย่างใด
นอกจากนี้ ยังมีการอัพเกรดที่นั่งให้ผู้โดยสารที่แลกตั๋วด้วยการสะสมไมล์ และตั๋วรางวัล ซึ่งระเบียบระบุที่ไม่มีสิทธิ์อัพเกรดถึง 7 ครั้ง โดยมีการใช้รหัสล็อกอิน แจ้งโทรเลขของพนักงานคนอื่นเข้าไปดำนินการ
นายวิลาศ กล่าวว่า ในการสอบสวนนั้น ตนได้เชิญดีดีการบินไทยมาชี้แจงถึง 3 ครั้ง แต่กลับมอบหมายให้บุคคลอื่นมาชี้แจงแทนตลอด อาทิ ผอ.ฝ่ายทรัพยากรบุคคล ประธานกรรมการสอบ ซึ่งก็ชี้แจงไม่ชัดเจน เหมือนช่วยปกปิดผู้กระทำผิด ซ้ำยังชี้แจงข้อความอันเป็นเท็จ และยังไม่ยอมมอบเอกสารให้กรรมาธิการอ้างว่าอยู่ระหว่างการอุทธรณ์
อีกทั้งยังพบว่า กรรมการสอบยังมีพฤติกรรมที่ส่อไปในทางช่วยเหลือผู้กระทำความผิด ด้วยการลงโทษเพียงการตัดเงินเดือน 25 เปอร์เซ็นต์ เป็นเวลา 3 เดือน ซึ่งไม่คุ้มค่ากับความเสียหายที่การบินไทยเสียไป และเงินเดือนที่ตัดนั้น คิดเป็นเงินเท่าไร เมื่อเทียบกับค่าเสียหายตลอดช่วงที่ผู้กระทำความผิดดำเนินการอัพเกรดตั๋วในช่วงระยะเวลา 4 เดือน ซึ่งตามหนังสือที่มีผู้ร้องเรียนมายังกรรมาธิการ ระบุค่าเสียหายในช่วง 4 เดือนไว้ถึง 1 ล้านบาท และเหตุใดจึงไม่มีการเอาผิดทางอาญาต่อ และทราบมาว่าผู้อำนวยการสำนักคนดังกล่าว มีเส้นสายพอสมควร และเมื่อผลสอบของกรรมการสอบออกมาก็มีการวิ่งเต้นกันไปถึงระดับ ดีดีการบินไทย
"แม้จะไม่ได้รับความร่วมมือ แต่มั่นใจว่าลำพังเท่าที่สอบมานี้ จะสามารถยื่นเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ดำเนินการสอบสวนได้ และเชื่อว่าหากร่าง พ.ร.บ.คำสั่งเรียกของกรรมาธิการ สภาฯ และวุฒิสภา มีผลบังคับใช้ การบินไทย จะต้องเป็นหน่วยงานแรกที่ต้องถูกกฎหมายนี้บังคับใช้" นายวิลาศ กล่าว