ASTVผู้จัดการรายวัน-ปชป.หาเสียงสุดๆ เคาะเสนอครม. ชดเชยราคาปุ๋ยเคมีให้ชาวนาโดยตรง หวังฮุบคะแนนเสียง 20 ล้านคน คาดใช้เงินไม่ต่ำกว่า 5-6 พันล้านบาท เริ่มฤดูนาปรังนี้เลย
รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล แจ้งว่า นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี ให้ดูแลปัญหาปุ๋ยเคมีราคาแพง ได้เตรียมเสนอแนวทางการแก้ปัญหาให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา ด้วยจะเสนอวิธีจ่ายเงินชดเชยให้เกษตรกรโดยตรง ในสูตร 46-0-0 ซึ่งเป็นสูตรที่เกษตรกรนิยมใช้ โดยมีส่วนต่างราคาเท่าใด ก็จะชดเชยให้เท่านั้นเพื่อเป็นการลดภาระต้นทุนช่วยเกษตรกร โดยจะมีการเร่งเสนอเข้าครม.วันนี้ (26 เม.ย.) หรืออย่างช้าภายในสัปดาห์หน้า ก่อนมีการยุบสภา
ทั้งนี้ แนวทางการชดเชย เช่น หากปุ๋ยเคมีปรับขึ้นตันละ 3,000 บาท ถ้าชาวนาครัวเรือนใดใช้ปุ๋ย 2 ตัน จะได้รับเงินชดเชย 6,000 บาท แต่หากน้อยกว่านั้นจะรับชดเชยลดหลั่นลงไป โดยแนวทางนี้คาดว่าหากให้ปุ๋ยปรับขึ้นราคาโดยตรงตามกลไกตลาดตันละ 3,000-4,000 บาท ทำให้รัฐบาลต้องใช้งบประมาณจ่ายเงินชดเชยช่วยชาวนาไม่ต่ำกว่า 5,000-6,000 ล้านบาท จากปริมาณปุ๋ยเคมีที่จะต้องใช้ประมาณ 1.6-1.7ล้านตัน
“รัฐบาลต้องการช่วยเหลือชาวนา เนื่องจากเป็นผู้มีต้นทุนใช้ปุ๋ยมาก และประสบปัญหาราคาข้าวเปลือกตกต่ำ ซึ่งตอนนี้กำลังให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เร่งสำรวจปริมาณการใช้ปุ๋ย และขนาดของพื้นที่เพาะปลูกของเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนในโครงการประกันรายได้ในช่วงที่ผ่านมา เพื่อนำมาเป็นฐานคำนวณจ่ายเงินชดเชยแบบเต็มจำนวน”รายงานข่าวระบุ
สำหรับแนวทางการชดเชยราคาปุ๋ยเคมี จะเริ่มตั้งแต่ฤดูกาลข้าวนาปรับที่จะเริ่มเดือนพ.ค.-มิ.ย.2554 นี้เป็นต้นไป โดยมีชาวนาที่ขึ้นทะเบียนผ่านโครงการประกันรายได้เกษตรกร 3.7 ล้านครัวเรือน หรือมีผู้ได้รับประโยชน์เกี่ยวเนื่องเกือบ 20 ล้านคน โดยวิธีการจ่ายชดเชยอาจพิจารณาเลือกจ่ายผ่านธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
รายงานข่าวแจ้งอีกว่า หากครม.เห็นด้วยกับแนวทางที่เสนอ ผู้ผลิตก็สามารถปรับขึ้นราคาจำหน่ายปุ๋ยเคมีในท้องตลาดได้ทันที เนื่องจากก่อนหน้านี้ คณะอนุกรรมการพิจารณาราคาปุ๋ยเคมีได้อนุมัติให้ผู้ผลิตปรับขึ้นราคาจำหน่ายไปแล้วตามต้นทุนปุ๋ยยูเรียในตลาดโลกที่สูงขึ้น โดยราคาจะปรับเพิ่มขึ้นเป็นตันละประมาณ 13,000-14,000 บาท สูงกว่าราคาขายปลีกที่กรมการค้าภายในกำหนดไว้ตันละ 11,000 บาท
สำหรับการปรับขึ้นราคาปุ๋ยยูเรียในช่วงที่ผ่านมา มีรายละเอียดดังนี้ สูตร 46-0-0 ราคาขาย ณ โรงงาน ปรับเพิ่มจากตันละ 11,000 บาท เป็น 13,410-14,210 บาท ขนาดถุง 50 กก.เพิ่มจาก 550 บาท เป็น 671-711 บาท ทำให้ราคาขายปลีกถุง 50 กก.ในกรุงเทพฯ เพิ่มเป็น 725-765 บาท ภาคเหนือ 762-866 บาท อีสาน 786-821 บาท และใต้ 807-864 บาท
ปุ๋ยยูเรีย สูตร 15-15-15 ราคาขาย ณ โรงงาน ปรับเพิ่มจากตันละ 14,000 บาท เป็น 15,671-16,342 บาท และชนิดถุงเพิ่มจาก 700 บาท เป็น 784-816 บาท ทำให้ราคาขายปลีกกรุงเทพฯ เพิ่มเป็น 838-870 บาท
ปุ๋ยยูเรีย สูตร 16-20-0 ราคาขาย ณ โรงงาน ปรับเพิ่มจากตันละ 11,500 บาท เป็น 12,345-13,836 บาท และชนิดถุงเพิ่มจาก 575 บาท เป็น 618-692 บาท ทำให้ราคาขายปลีกกรุงเทพฯ เพิ่มเป็นถุงละ 672-746 บาท
ปุ๋ยยูเรียสูตร 21-0-0 ราคาขาย ณ โรงงาน ปรับเพิ่มขึ้นจากตันละ 6,000 บาท เป็น 7,139-8,000 บาท และชนิดถุงเพิ่มจาก 300 บาท เป็น 357-400 บาท ทำให้ราคาขายปลีกกรุงเทพฯ เพิ่มเป็น 411-454 บาท
นายยรรยง พวงราช ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า กำลังให้เจ้าหน้าที่กรมการค้าภายในเร่งตรวจสต๊อกฟาร์มขนาดใหญ่ที่มี่ไก่ไข่ตั้งแต่ 5 หมื่น แจ้งสต๊อกเข้ามา เพื่อตรวจสอบปริมาณไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาด รวมทั้งจะเร่งกระจายไข่ไก่ธงฟ้าในราคาฟองละไม่เกิน 3.20 บาท (ไข่เบอร์ 3) ออกสู่พื้นที่ต่างๆ ได้ทั้งหมด ส่วนหมูเนื้อแดง ในสัปดาห์นี้กรมการค้าภายในสามารถนำเนื้อหมูธงฟ้าราคาถูกกก.ละ 110 บาท จำหน่ายให้กับประชาชนในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศได้เช่นเดียวกัน
นายวิชัย โภชนะกิจ รองอธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า ขณะนี้ราคาไข่ไก่ในท้องตลาดเริ่มอ่อนตัวลงแล้วจากสาเหตุหลัก 2 ประการ คือ 1.กรมฯ ได้ออกประกาศราคาแนะนำเมื่อ 22 เม.ย.ที่ผ่านมา กำหนดให้ตรึงราคาไข่คละหน้าฟาร์มฟองละ 3.10 บาทและ2.โครงการไข่ไก่ธงฟ้า สามารถกระจายตัวในเกือบทุกจังหวัดทั่วประเทศแล้วมีปริมาณไข่ไก่ที่เข้าร่วมโครงการประมาณ 5 แสนฟองแม้จะยังน้อยกว่าที่ตั้งเป้าไว้วันละ 1 ล้านฟอง คาดว่าจะช่วยลดความกดดันความต้องการลงได้ส่งผลให้ราคาค่อยๆ อ่อนตัวลง
รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล แจ้งว่า นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี ให้ดูแลปัญหาปุ๋ยเคมีราคาแพง ได้เตรียมเสนอแนวทางการแก้ปัญหาให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา ด้วยจะเสนอวิธีจ่ายเงินชดเชยให้เกษตรกรโดยตรง ในสูตร 46-0-0 ซึ่งเป็นสูตรที่เกษตรกรนิยมใช้ โดยมีส่วนต่างราคาเท่าใด ก็จะชดเชยให้เท่านั้นเพื่อเป็นการลดภาระต้นทุนช่วยเกษตรกร โดยจะมีการเร่งเสนอเข้าครม.วันนี้ (26 เม.ย.) หรืออย่างช้าภายในสัปดาห์หน้า ก่อนมีการยุบสภา
ทั้งนี้ แนวทางการชดเชย เช่น หากปุ๋ยเคมีปรับขึ้นตันละ 3,000 บาท ถ้าชาวนาครัวเรือนใดใช้ปุ๋ย 2 ตัน จะได้รับเงินชดเชย 6,000 บาท แต่หากน้อยกว่านั้นจะรับชดเชยลดหลั่นลงไป โดยแนวทางนี้คาดว่าหากให้ปุ๋ยปรับขึ้นราคาโดยตรงตามกลไกตลาดตันละ 3,000-4,000 บาท ทำให้รัฐบาลต้องใช้งบประมาณจ่ายเงินชดเชยช่วยชาวนาไม่ต่ำกว่า 5,000-6,000 ล้านบาท จากปริมาณปุ๋ยเคมีที่จะต้องใช้ประมาณ 1.6-1.7ล้านตัน
“รัฐบาลต้องการช่วยเหลือชาวนา เนื่องจากเป็นผู้มีต้นทุนใช้ปุ๋ยมาก และประสบปัญหาราคาข้าวเปลือกตกต่ำ ซึ่งตอนนี้กำลังให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เร่งสำรวจปริมาณการใช้ปุ๋ย และขนาดของพื้นที่เพาะปลูกของเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนในโครงการประกันรายได้ในช่วงที่ผ่านมา เพื่อนำมาเป็นฐานคำนวณจ่ายเงินชดเชยแบบเต็มจำนวน”รายงานข่าวระบุ
สำหรับแนวทางการชดเชยราคาปุ๋ยเคมี จะเริ่มตั้งแต่ฤดูกาลข้าวนาปรับที่จะเริ่มเดือนพ.ค.-มิ.ย.2554 นี้เป็นต้นไป โดยมีชาวนาที่ขึ้นทะเบียนผ่านโครงการประกันรายได้เกษตรกร 3.7 ล้านครัวเรือน หรือมีผู้ได้รับประโยชน์เกี่ยวเนื่องเกือบ 20 ล้านคน โดยวิธีการจ่ายชดเชยอาจพิจารณาเลือกจ่ายผ่านธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
รายงานข่าวแจ้งอีกว่า หากครม.เห็นด้วยกับแนวทางที่เสนอ ผู้ผลิตก็สามารถปรับขึ้นราคาจำหน่ายปุ๋ยเคมีในท้องตลาดได้ทันที เนื่องจากก่อนหน้านี้ คณะอนุกรรมการพิจารณาราคาปุ๋ยเคมีได้อนุมัติให้ผู้ผลิตปรับขึ้นราคาจำหน่ายไปแล้วตามต้นทุนปุ๋ยยูเรียในตลาดโลกที่สูงขึ้น โดยราคาจะปรับเพิ่มขึ้นเป็นตันละประมาณ 13,000-14,000 บาท สูงกว่าราคาขายปลีกที่กรมการค้าภายในกำหนดไว้ตันละ 11,000 บาท
สำหรับการปรับขึ้นราคาปุ๋ยยูเรียในช่วงที่ผ่านมา มีรายละเอียดดังนี้ สูตร 46-0-0 ราคาขาย ณ โรงงาน ปรับเพิ่มจากตันละ 11,000 บาท เป็น 13,410-14,210 บาท ขนาดถุง 50 กก.เพิ่มจาก 550 บาท เป็น 671-711 บาท ทำให้ราคาขายปลีกถุง 50 กก.ในกรุงเทพฯ เพิ่มเป็น 725-765 บาท ภาคเหนือ 762-866 บาท อีสาน 786-821 บาท และใต้ 807-864 บาท
ปุ๋ยยูเรีย สูตร 15-15-15 ราคาขาย ณ โรงงาน ปรับเพิ่มจากตันละ 14,000 บาท เป็น 15,671-16,342 บาท และชนิดถุงเพิ่มจาก 700 บาท เป็น 784-816 บาท ทำให้ราคาขายปลีกกรุงเทพฯ เพิ่มเป็น 838-870 บาท
ปุ๋ยยูเรีย สูตร 16-20-0 ราคาขาย ณ โรงงาน ปรับเพิ่มจากตันละ 11,500 บาท เป็น 12,345-13,836 บาท และชนิดถุงเพิ่มจาก 575 บาท เป็น 618-692 บาท ทำให้ราคาขายปลีกกรุงเทพฯ เพิ่มเป็นถุงละ 672-746 บาท
ปุ๋ยยูเรียสูตร 21-0-0 ราคาขาย ณ โรงงาน ปรับเพิ่มขึ้นจากตันละ 6,000 บาท เป็น 7,139-8,000 บาท และชนิดถุงเพิ่มจาก 300 บาท เป็น 357-400 บาท ทำให้ราคาขายปลีกกรุงเทพฯ เพิ่มเป็น 411-454 บาท
นายยรรยง พวงราช ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า กำลังให้เจ้าหน้าที่กรมการค้าภายในเร่งตรวจสต๊อกฟาร์มขนาดใหญ่ที่มี่ไก่ไข่ตั้งแต่ 5 หมื่น แจ้งสต๊อกเข้ามา เพื่อตรวจสอบปริมาณไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาด รวมทั้งจะเร่งกระจายไข่ไก่ธงฟ้าในราคาฟองละไม่เกิน 3.20 บาท (ไข่เบอร์ 3) ออกสู่พื้นที่ต่างๆ ได้ทั้งหมด ส่วนหมูเนื้อแดง ในสัปดาห์นี้กรมการค้าภายในสามารถนำเนื้อหมูธงฟ้าราคาถูกกก.ละ 110 บาท จำหน่ายให้กับประชาชนในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศได้เช่นเดียวกัน
นายวิชัย โภชนะกิจ รองอธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า ขณะนี้ราคาไข่ไก่ในท้องตลาดเริ่มอ่อนตัวลงแล้วจากสาเหตุหลัก 2 ประการ คือ 1.กรมฯ ได้ออกประกาศราคาแนะนำเมื่อ 22 เม.ย.ที่ผ่านมา กำหนดให้ตรึงราคาไข่คละหน้าฟาร์มฟองละ 3.10 บาทและ2.โครงการไข่ไก่ธงฟ้า สามารถกระจายตัวในเกือบทุกจังหวัดทั่วประเทศแล้วมีปริมาณไข่ไก่ที่เข้าร่วมโครงการประมาณ 5 แสนฟองแม้จะยังน้อยกว่าที่ตั้งเป้าไว้วันละ 1 ล้านฟอง คาดว่าจะช่วยลดความกดดันความต้องการลงได้ส่งผลให้ราคาค่อยๆ อ่อนตัวลง