ASTVผู้จัดการรายวัน - รัฐบาลจัดเต็ม! ละเลงงบอีก 6.8 พันล้าน อุ้มราคาปุ๋ยทั้งระบบ 1.6-1.7 ล้านตัน อ้างช่วยชาวนา ด้านราคาข้าวเปลือกขยับ “พาณิชย์” คุยทะลุตันละ 9 พันบาทแล้ว
นายยรรยง พวงราช ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองนายกรัฐมนตรี มอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องศึกษาแนวทางชดเชยราคาปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 ทั้งระบบกว่า 1.6-1.7 ล้านตัน เพื่อแก้ปัญหาปุ๋ยแพงและลดภาระต้นทุนการเพาะปลูกแก่เกษตรกร โดยคาดว่าจะใช้ระยะเวลาศึกษาไม่เกิน 2 สัปดาห์ เพื่อให้ดำเนินการได้ทันก่อนที่รัฐบาลจะยุบสภา และทันกับฤดูกาลปลูกข้าวนาปรังปี 2554 ที่จะเริ่มเดือนพ.ค.-มิ.ย.นี้
“แนวคิดของรองนายกฯ เป็นแนวทางเพิ่มเติมจากข้อเสนอของกระทรวงพาณิชย์ ที่ก่อนหน้านี้เคยเสนอให้ทำปุ๋ยธงฟ้า 1 แสนตันตันละ 1.1 หมื่นบาท และอีก 3.8 แสนตันให้รัฐชดเชยให้ 50% ของราคาที่ปรับเพิ่มขึ้น ซึ่งคาดว่าจะใช้เงินประมาณ 570 ล้านบาท แต่แนวทางใหม่จะให้ชดเชยราคาปุ๋ยสูตร 46-0-0 เช่นกัน แตกต่างตรงที่จะชดเชยทั้งระบบให้กับเกษตรกรทุกราย
ส่วนงบประมาณวิธีเดิมจะให้ขอจากคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) แต่ตอนนี้ถ้าการชดเชยเพิ่มขึ้น อาจต้องใช้งบประมาณพิเศษจากรัฐบาลแทน ซึ่งจะมีการเร่งสรุปและเสนอให้ครม.พิจารณา”นายยรรยงกล่าว
อย่างไรก็ตาม แม้จะชดเชยราคาปุ๋ยทั้งระบบ แต่จะกำหนดเงื่อนไขเกษตรกรซื้อปุ๋ยได้ปริมาณเท่าที่จำเป็นเท่านั้น ดังนั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะเป็นผู้ศึกษาการความต้องการใช้ปุ๋ยของเกษตรกรแต่ละพื้นที่ก่อน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการแจ้งปริมาณใช้ปุ๋ยเกินจริง ส่วนการปรับขึ้นราคาปุ๋ยเคมีตามที่คณะอนุกรรมการพิจารณาราคาปุ๋ยเคมีได้พิจารณาปรับขึ้น จะมีผลทันทีเมื่อรัฐบาลอนุมัติแนวทางการช่วยเหลือเกษตรกรเสร็จสิ้นแล้ว
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า แนวทางการชดเชยราคาปุ๋ยทั้งระบบ คาดว่าจะใช้งบประมาณไม่ต่ำกว่า 6,800 ล้านบาท โดยคำนวณจากวงเงินชดเชยส่วนต่างราคาปุ๋ยที่เพิ่มเป็น 1.7 ล้านตัน
วันเดียวกันนี้ นายยรรยงได้เป็นประธานกล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่อง “ทิศทางค้าข้าวไทยในตลาดโลก” จัดโดยตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า (เอเฟท) โดยระบุว่า ปีนี้ไทยจะส่งออกข้าวมากกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ 9.5 ล้านตัน และเป็นการส่งออกสูงขึ้นทั้งปริมาณและราคา เนื่องจากการส่งออกข้าว 3 เดือนแรก ทำได้แล้ว 3.05 ล้านตัน ขณะที่ราคาข้าวในประเทศปรับตัวขึ้นมาจากตันละ 6,000 บาท มาอยู่ที่ตันละ 8,200-8,900 บาท และมีแนวโน้มจะขึ้นไปสูงถึงตันละ 9,000 บาท
สำหรับราคาข้าวในประเทศไม่น่าจะลดลง แม้จะมีข้าวฤดูกาลใหม่ที่จะออกมาในเดือนพ.ค. ปริมาณ 4 ล้านตัน และเดือนมิ.ย.อีก 1.4 ล้านตัน อย่างไรก็ตาม หากในพื้นที่ใดชาวนาขายข้าวได้ต่ำกว่าราคาอ้างอิงรัฐบาลจะเข้าไปตั้งโต๊ะรับซื้อเพื่อพยุงราคาข้าวไม่ให้ลดลง ส่วนการกำหนดแผนส่งออกข้าวจะเน้นการแยกมาตรฐานและตลาดข้าวให้ชัดเจน ทั้งข้าวหอมมะลิ ข้าวขาว
เพื่อป้องกันปัญหาปลอมปน และเพิ่มมูลค่าให้กับข้าวไทย.
นายยรรยง พวงราช ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองนายกรัฐมนตรี มอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องศึกษาแนวทางชดเชยราคาปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 ทั้งระบบกว่า 1.6-1.7 ล้านตัน เพื่อแก้ปัญหาปุ๋ยแพงและลดภาระต้นทุนการเพาะปลูกแก่เกษตรกร โดยคาดว่าจะใช้ระยะเวลาศึกษาไม่เกิน 2 สัปดาห์ เพื่อให้ดำเนินการได้ทันก่อนที่รัฐบาลจะยุบสภา และทันกับฤดูกาลปลูกข้าวนาปรังปี 2554 ที่จะเริ่มเดือนพ.ค.-มิ.ย.นี้
“แนวคิดของรองนายกฯ เป็นแนวทางเพิ่มเติมจากข้อเสนอของกระทรวงพาณิชย์ ที่ก่อนหน้านี้เคยเสนอให้ทำปุ๋ยธงฟ้า 1 แสนตันตันละ 1.1 หมื่นบาท และอีก 3.8 แสนตันให้รัฐชดเชยให้ 50% ของราคาที่ปรับเพิ่มขึ้น ซึ่งคาดว่าจะใช้เงินประมาณ 570 ล้านบาท แต่แนวทางใหม่จะให้ชดเชยราคาปุ๋ยสูตร 46-0-0 เช่นกัน แตกต่างตรงที่จะชดเชยทั้งระบบให้กับเกษตรกรทุกราย
ส่วนงบประมาณวิธีเดิมจะให้ขอจากคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) แต่ตอนนี้ถ้าการชดเชยเพิ่มขึ้น อาจต้องใช้งบประมาณพิเศษจากรัฐบาลแทน ซึ่งจะมีการเร่งสรุปและเสนอให้ครม.พิจารณา”นายยรรยงกล่าว
อย่างไรก็ตาม แม้จะชดเชยราคาปุ๋ยทั้งระบบ แต่จะกำหนดเงื่อนไขเกษตรกรซื้อปุ๋ยได้ปริมาณเท่าที่จำเป็นเท่านั้น ดังนั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะเป็นผู้ศึกษาการความต้องการใช้ปุ๋ยของเกษตรกรแต่ละพื้นที่ก่อน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการแจ้งปริมาณใช้ปุ๋ยเกินจริง ส่วนการปรับขึ้นราคาปุ๋ยเคมีตามที่คณะอนุกรรมการพิจารณาราคาปุ๋ยเคมีได้พิจารณาปรับขึ้น จะมีผลทันทีเมื่อรัฐบาลอนุมัติแนวทางการช่วยเหลือเกษตรกรเสร็จสิ้นแล้ว
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า แนวทางการชดเชยราคาปุ๋ยทั้งระบบ คาดว่าจะใช้งบประมาณไม่ต่ำกว่า 6,800 ล้านบาท โดยคำนวณจากวงเงินชดเชยส่วนต่างราคาปุ๋ยที่เพิ่มเป็น 1.7 ล้านตัน
วันเดียวกันนี้ นายยรรยงได้เป็นประธานกล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่อง “ทิศทางค้าข้าวไทยในตลาดโลก” จัดโดยตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า (เอเฟท) โดยระบุว่า ปีนี้ไทยจะส่งออกข้าวมากกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ 9.5 ล้านตัน และเป็นการส่งออกสูงขึ้นทั้งปริมาณและราคา เนื่องจากการส่งออกข้าว 3 เดือนแรก ทำได้แล้ว 3.05 ล้านตัน ขณะที่ราคาข้าวในประเทศปรับตัวขึ้นมาจากตันละ 6,000 บาท มาอยู่ที่ตันละ 8,200-8,900 บาท และมีแนวโน้มจะขึ้นไปสูงถึงตันละ 9,000 บาท
สำหรับราคาข้าวในประเทศไม่น่าจะลดลง แม้จะมีข้าวฤดูกาลใหม่ที่จะออกมาในเดือนพ.ค. ปริมาณ 4 ล้านตัน และเดือนมิ.ย.อีก 1.4 ล้านตัน อย่างไรก็ตาม หากในพื้นที่ใดชาวนาขายข้าวได้ต่ำกว่าราคาอ้างอิงรัฐบาลจะเข้าไปตั้งโต๊ะรับซื้อเพื่อพยุงราคาข้าวไม่ให้ลดลง ส่วนการกำหนดแผนส่งออกข้าวจะเน้นการแยกมาตรฐานและตลาดข้าวให้ชัดเจน ทั้งข้าวหอมมะลิ ข้าวขาว
เพื่อป้องกันปัญหาปลอมปน และเพิ่มมูลค่าให้กับข้าวไทย.