ASTVผู้จัดการรายวัน-อัยการยังไม่สรุปยื่นถอนประกัน 9 แดงหมิ่นเบื้องสูงแบบยกพวง หรือเฉพาะบางคน อ้าง อสส.ให้ความสำคัญกับคดีนี้ ขณะที่ ดีเอสไอ ส่งสำนวน“สุภรณ์-พายัพ-ชินวัฒน์”ผิดก่อการร้าย พร้อมถอนประกัน แต่อัยการกลับให้ประกันตัว ระหว่างรอฟังคำสั่งคดี 19 พ.ค.นี้
วานนี้(25 เม.ย.)ที่สำนักงานอัยการสูงสุด สนามหลวง นายธนพิชญ์ มูลพฤกษ์ อธิบดีอัยการฝ่ายคดีพิเศษ นายภาณุพงษ์ โชติสิน รองอธิบดีอัยการฝ่ายคดีพิเศษ และนายรุจ เขื่อนสุวรรณ อัยการพิเศษฝ่ายคดีพิเศษ 1 เข้าพบ นายจุลสิงห์ วสันตสิงห์ อัยการสูงสุด (อสส.) เพื่อปรึกษาหารือการพิจารณาคำร้องที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ ขอให้อัยการยื่นคำร้องต่อศาลอาญา มีคำสั่งเพิกถอนการประกันตัวของ นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วนพรรคเพื่อไทย แกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.)กับพวกแกนนำและแนวร่วมรวม 9 คน จำเลยในคดีร่วมกันก่อการร้าย ที่กระทำผิดเงื่อนไขประกันตัว โดยขึ้นปราศรัยบนเวทีการชุมนุมของกลุ่ม นปช.เมื่อวันที่ 7 และ 10 เม.ย.ที่ผ่านมา อันเป็นการกระทำผิดตาม ป.อาญา มาตรา 112 ฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท
ภายหลัง นายธนพิชญ์ กล่าวว่า ขณะนี้กำลังเร่งพิจารณาพยานหลักฐาน ซึ่งยังไม่ได้ข้อยุติ จึงยังตอบไม่ได้ว่าจะยื่นคำร้องขอถอนประกันตัวพวกจำเลยทั้งหมด หรือจำเลยเพียงบางส่วนหรือไม่อย่างไร โดยอัยการจะต้องตรวจสอบพยานหลักฐานเพิ่มเติมก่อน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า อัยการสูงสุดได้ให้ความสำคัญคดีนี้ จึงได้เรียกผู้บริหารอัยการฝ่ายคดีเศษ และอัยการเจ้าของสำนวนเข้าสอบถาม ซึ่งยังไม่ได้ข้อสรุปว่าจะยื่นถอนประกันพวกจำเลยทั้ง 9 คน หรือยื่นคำร้องถอนประกันแค่เพียงจำเลยบางส่วนที่ขึ้นปราศรัยบนเวที นปช. และมีการพูดพาดพิงหมิ่นเบื้องสูง เพราะจำเลยบางคนก็เพียงเข้าร่วมชุมนุมและสนับสนุนจำเลยที่ขึ้นพูดปราศรัยเท่านั้น และยังต้องพิจารณาต่อไปว่าการพูดพาดพิงหมิ่นเบื้องสูงนั้นเป็นการผิดเงื่อนไขประกันตัวในคดีก่อการร้ายหรือไม่ หรือจะต้องแยกเนินคดีในความผิดฐานหมิ่นเบื้องสูงอีกคดี
**ส่งสำนวน“สุภรณ์-พายัพ-ชินวัฒน์”
วันเดียวกันเวลา 10.30 น.ที่สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีพิเศษ 1 พ.ต.ท.ถวัลย์ มั่งคั่ง ผอ.สำนักคดีอาญาพิเศษ 2 กรมสอบสวนคดีพิเศษ นำสำนวนการสอบสวนพร้อมความเห็นสมควรสั่งฟ้อง นายสุภรณ์ อัตถาวงศ์ นายพายัพ ปั้นเกตุ และนายชินวัฒน์ หาบุญพาด แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ผู้ต้องหาในคดีความผิดฐานร่วมกันก่อการร้าย ร่วมกันกระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา อันมิใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญเพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน มั่วสุมกันตั้งแต่สิบคนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้ายขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายหรือกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง โดยผู้กระทำความผิดคนหนึ่งคนใดมีอาวุธ เมื่อเจ้าพนักงานสั่งให้เลิกแล้วไม่เลิกร่วมกันชุมนุมหรือมั่วสุม ณ ที่ใดตั้งแต่ห้าคนขึ้นไปในท้องที่ผู้รับผิดชอบประกาศกำหนด อันเป็นการฝ่าฝืนข้อกำหนดที่ออกตามความในมาตรา 9 แห่ง พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ส่งให้พนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษเพื่อพิจารณาสั่งคดี
ขณะเดียวกัน พนักงานสอบสวนดีเอสไอได้ถอนประกันผู้ต้องหาทั้งสาม เนื่องจากกระทำผิดเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในชั้นพนักงานสอบสวน เมื่อทั้งสามร่วมชุนนุมกับแกนนำ นปช.ในวันที่ 7 และ 10 เม.ย.ที่ผ่านมา
โดยผู้ต้องหาทั้งสามเดินทางมาพบพนักงานอัยการ พร้อมด้วยนางธิดา ถาวรเศรษฐ์ ประธาน นปช. นพ.เหวง โตจิราการ แกนนำ นปช. นอกจากนี้ยังมีมวลชนคนเสื้อแดงจำนวนหนึ่งเดินทางไปให้กำลังใจด้วย
ขณะที่ นายวิญญัติ ชาติมนตรี ทนายความของผู้ต้องหาทั้งสามได้ยื่นคำร้องขอความเป็นธรรม พร้อมยื่นหลักทรัพย์เดิมในขั้นพนักงานสอบสวนที่นายสุภรณ์ และนายพายัพ ได้รับประกันตัวคนละ 6 แสนบาท และนายชินวัฒน์ได้รับการปล่อยตัว โดยไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ยื่นประกันตัวต่อพนักงานอัยการด้วย
**อัยการให้ประกัน-ยังไม่ฟ้อง
โดย นายสุภรณ์กล่าวว่า พวกตนยินดีเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม จึงเดินทางมาพบอัยการตามนัดหมาย อีกทั้งการชุมนุมของ นปช.เป็นการระลึกถึงวีรชนที่เสียชีวิตไปมีการกำหนดวันเริ่มและเลิกชุมนุมชัดเจน ซึ่งไม่เหมือนการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่มีกลุ่มคนเพียงนิดเดียวแต่ปิดถนนทั้งเส้น แต่ไม่มีเจ้าหน้าที่รัฐไปดำเนินการแต่อย่างใด พร้อมยืนยันในเรื่องความจงรักภักดีต่อสถาบัน โดยขออย่าให้รัฐบาลนำประเด็นความจงรักภักดีไปโจมตีกับกลุ่มคนที่ไม่เห็นด้วย
ต่อมาพนักงานอัยการพิจารณาคำร้องเรื่องประกันตัวพร้อมหลักทรัพย์ของผู้ต้องหาทั้งสามแล้ว มีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัวได้ พร้อมกำหนดเงื่อนไข ห้ามร่วมชุนนุมโดยผิดกฎหมาย ห้ามยุยงปลุกปั่นประชาชนให้กระทำผิดกฎหมาย ห้ามยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน และห้ามออกนอกราชอาณาจักรก่อนได้รับอนุญาต พร้อมนัดฟังคำสั่งว่าจะฟ้องหรือไม่ในวันที่ 19 พ.ค.นี้ เวลา 10.00 น.
วานนี้(25 เม.ย.)ที่สำนักงานอัยการสูงสุด สนามหลวง นายธนพิชญ์ มูลพฤกษ์ อธิบดีอัยการฝ่ายคดีพิเศษ นายภาณุพงษ์ โชติสิน รองอธิบดีอัยการฝ่ายคดีพิเศษ และนายรุจ เขื่อนสุวรรณ อัยการพิเศษฝ่ายคดีพิเศษ 1 เข้าพบ นายจุลสิงห์ วสันตสิงห์ อัยการสูงสุด (อสส.) เพื่อปรึกษาหารือการพิจารณาคำร้องที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ ขอให้อัยการยื่นคำร้องต่อศาลอาญา มีคำสั่งเพิกถอนการประกันตัวของ นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วนพรรคเพื่อไทย แกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.)กับพวกแกนนำและแนวร่วมรวม 9 คน จำเลยในคดีร่วมกันก่อการร้าย ที่กระทำผิดเงื่อนไขประกันตัว โดยขึ้นปราศรัยบนเวทีการชุมนุมของกลุ่ม นปช.เมื่อวันที่ 7 และ 10 เม.ย.ที่ผ่านมา อันเป็นการกระทำผิดตาม ป.อาญา มาตรา 112 ฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท
ภายหลัง นายธนพิชญ์ กล่าวว่า ขณะนี้กำลังเร่งพิจารณาพยานหลักฐาน ซึ่งยังไม่ได้ข้อยุติ จึงยังตอบไม่ได้ว่าจะยื่นคำร้องขอถอนประกันตัวพวกจำเลยทั้งหมด หรือจำเลยเพียงบางส่วนหรือไม่อย่างไร โดยอัยการจะต้องตรวจสอบพยานหลักฐานเพิ่มเติมก่อน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า อัยการสูงสุดได้ให้ความสำคัญคดีนี้ จึงได้เรียกผู้บริหารอัยการฝ่ายคดีเศษ และอัยการเจ้าของสำนวนเข้าสอบถาม ซึ่งยังไม่ได้ข้อสรุปว่าจะยื่นถอนประกันพวกจำเลยทั้ง 9 คน หรือยื่นคำร้องถอนประกันแค่เพียงจำเลยบางส่วนที่ขึ้นปราศรัยบนเวที นปช. และมีการพูดพาดพิงหมิ่นเบื้องสูง เพราะจำเลยบางคนก็เพียงเข้าร่วมชุมนุมและสนับสนุนจำเลยที่ขึ้นพูดปราศรัยเท่านั้น และยังต้องพิจารณาต่อไปว่าการพูดพาดพิงหมิ่นเบื้องสูงนั้นเป็นการผิดเงื่อนไขประกันตัวในคดีก่อการร้ายหรือไม่ หรือจะต้องแยกเนินคดีในความผิดฐานหมิ่นเบื้องสูงอีกคดี
**ส่งสำนวน“สุภรณ์-พายัพ-ชินวัฒน์”
วันเดียวกันเวลา 10.30 น.ที่สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีพิเศษ 1 พ.ต.ท.ถวัลย์ มั่งคั่ง ผอ.สำนักคดีอาญาพิเศษ 2 กรมสอบสวนคดีพิเศษ นำสำนวนการสอบสวนพร้อมความเห็นสมควรสั่งฟ้อง นายสุภรณ์ อัตถาวงศ์ นายพายัพ ปั้นเกตุ และนายชินวัฒน์ หาบุญพาด แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ผู้ต้องหาในคดีความผิดฐานร่วมกันก่อการร้าย ร่วมกันกระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา อันมิใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญเพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน มั่วสุมกันตั้งแต่สิบคนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้ายขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายหรือกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง โดยผู้กระทำความผิดคนหนึ่งคนใดมีอาวุธ เมื่อเจ้าพนักงานสั่งให้เลิกแล้วไม่เลิกร่วมกันชุมนุมหรือมั่วสุม ณ ที่ใดตั้งแต่ห้าคนขึ้นไปในท้องที่ผู้รับผิดชอบประกาศกำหนด อันเป็นการฝ่าฝืนข้อกำหนดที่ออกตามความในมาตรา 9 แห่ง พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ส่งให้พนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษเพื่อพิจารณาสั่งคดี
ขณะเดียวกัน พนักงานสอบสวนดีเอสไอได้ถอนประกันผู้ต้องหาทั้งสาม เนื่องจากกระทำผิดเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในชั้นพนักงานสอบสวน เมื่อทั้งสามร่วมชุนนุมกับแกนนำ นปช.ในวันที่ 7 และ 10 เม.ย.ที่ผ่านมา
โดยผู้ต้องหาทั้งสามเดินทางมาพบพนักงานอัยการ พร้อมด้วยนางธิดา ถาวรเศรษฐ์ ประธาน นปช. นพ.เหวง โตจิราการ แกนนำ นปช. นอกจากนี้ยังมีมวลชนคนเสื้อแดงจำนวนหนึ่งเดินทางไปให้กำลังใจด้วย
ขณะที่ นายวิญญัติ ชาติมนตรี ทนายความของผู้ต้องหาทั้งสามได้ยื่นคำร้องขอความเป็นธรรม พร้อมยื่นหลักทรัพย์เดิมในขั้นพนักงานสอบสวนที่นายสุภรณ์ และนายพายัพ ได้รับประกันตัวคนละ 6 แสนบาท และนายชินวัฒน์ได้รับการปล่อยตัว โดยไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ยื่นประกันตัวต่อพนักงานอัยการด้วย
**อัยการให้ประกัน-ยังไม่ฟ้อง
โดย นายสุภรณ์กล่าวว่า พวกตนยินดีเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม จึงเดินทางมาพบอัยการตามนัดหมาย อีกทั้งการชุมนุมของ นปช.เป็นการระลึกถึงวีรชนที่เสียชีวิตไปมีการกำหนดวันเริ่มและเลิกชุมนุมชัดเจน ซึ่งไม่เหมือนการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่มีกลุ่มคนเพียงนิดเดียวแต่ปิดถนนทั้งเส้น แต่ไม่มีเจ้าหน้าที่รัฐไปดำเนินการแต่อย่างใด พร้อมยืนยันในเรื่องความจงรักภักดีต่อสถาบัน โดยขออย่าให้รัฐบาลนำประเด็นความจงรักภักดีไปโจมตีกับกลุ่มคนที่ไม่เห็นด้วย
ต่อมาพนักงานอัยการพิจารณาคำร้องเรื่องประกันตัวพร้อมหลักทรัพย์ของผู้ต้องหาทั้งสามแล้ว มีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัวได้ พร้อมกำหนดเงื่อนไข ห้ามร่วมชุนนุมโดยผิดกฎหมาย ห้ามยุยงปลุกปั่นประชาชนให้กระทำผิดกฎหมาย ห้ามยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน และห้ามออกนอกราชอาณาจักรก่อนได้รับอนุญาต พร้อมนัดฟังคำสั่งว่าจะฟ้องหรือไม่ในวันที่ 19 พ.ค.นี้ เวลา 10.00 น.