วานนี้(25 เม.ย.) พ.อ.ธนาธิป สว่างแสง โฆษกกระทรวงกลาโหม แถลงผลการประชุมสภากลาโหมที่มี
พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหมเป็นประธาน ว่า ที่ประชุมรับทราบโครงการจัดซื้อเรือดำน้ำ ของกองทัพเรือ
ที่ใช้เวลา 1ชั่วโมง 40 นาที ถือว่ายาวนานที่สุด โดยกองทัพเรือจะสรุปโครงการมายังสภากลาโหมอีกครั้ง ทั้งนี้
เหตุผลความจำเป็นในการจัดซื้อเพื่อรักษาผลประโยชน์ทางทะเล และของชาติ รวมถึงเเสริมสร้างขีดความสามารถ
ของเรือดำน้ำในประเทศอาเซียน ที่สำคัญเป็นการรักษาความสมดุลทางทหาร เพราะในทุกประเทศในแถบอาเซียนมี
เรือดำน้ำใช้งานอยู่แล้ว
“ได้รับรายงานว่า กัมพูชาก็กำลังจะมีเรือดำน้ำ แม้ที่ได้จัดหาจะเป็นเรือเก่า แต่ก็สอดคล้องต่อสภาพทะเล
ในพื้นที่แถบอันดามัน ความลึกและความขุ่นของน้ำไม่ได้เป็นผลต่อปัจจัยในการใช้งานแต่อย่างใด ประกอบกับเรือ
ดำน้ำของประเทศเยอรมัน มีหัวใจที่สำคัญ คือ ระบบอินทริเกต ในเรื่องของอาวุธยุทโธปกรณ์ให้สอดรับกันทั้งหมด
ในการปรับระบบนำร่องของขีปนาวุธต่างๆ ส่วนเหล็กก็มีความคงทนสามารถตอบสนองเรื่องของพื้นที่ในประเทศ
เราได้ และสามารถตรวจจับได้ยากจากเรดาห์ต่างๆ”
ทั้งนี้กองทัพเรือ ชี้แจงว่า การจัดหาเรือดำน้ำ ใช้เวลาน้อยกว่าปกติจากเดิม 10 ปี น่าจะเหลือประมาณ 5
ปี ส่วนการเข้าประจำการคาดว่า ประมาณ 2 ปี ราวเดือน ก.ย.ปี 2556 โดยจะนำโครงการเสนอสภากลาโหมอีกครั้ง
และจะเชิญสื่อมวลชนเข้ามาร่วมรับฟังในทุกประเด็น ทั้งการจัดซื้อเรือเก่า การใช้งบประมาณจากเดิม 4 หมื่นล้านบาท
เป็นต้น”โฆษกกลาโหมกล่าว
“จากเดิมที่เคยตั้งเป้าไว้ 4 หมื่นกว่าล้าน ซื้อเพียงได้ 2 ลำ แต่ครั้งนี้เราใช้งบประมาณ 7 พันกว่าล้าน ได้
เรือ 6 ลำ และยังมีเรื่องระบบการส่งกำลัง ซึ่งจะพยายามนำเรื่องเข้าคณะรัฐมนตรี(ครม.)ให้เร็วที่สุด”
รายงานข่าวแจ้งว่า สภากลาโหม ได้รับทราบความจำเป็นในการซื้อเรือดำน้ำ6ลำ จากเยอรมัน แต่ที่
ประชุมจะขอรับทราบรายละเอียดโครงการอีกครั้งในเดือนหน้า โดยเฉพาะให้เปรียบเทียบความคุ้มค่าของเรือUboot
Klasse 206A(U 206A) ของเยอรมัน 6 ลำราคา 7.6 พันล้านบาทแต่เป็นเรือเก่า กับเรือดำน้ำ U209 ของเกาหลีใต้
2 ลำ ราคา 4 หมื่นล้านบาทเศษ โดยเร่งให้เสนอครม. ให้ทันก่อนยุบสภา
ภายหลังจากประชุมพล.ร.อ.กำธร พุ่มหิรัญ ผบ.ทร. แสดงสีหน้าไม่สู้ดี โดยปฏิเสธที่จะให้สัมภาษณ์
พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหมเป็นประธาน ว่า ที่ประชุมรับทราบโครงการจัดซื้อเรือดำน้ำ ของกองทัพเรือ
ที่ใช้เวลา 1ชั่วโมง 40 นาที ถือว่ายาวนานที่สุด โดยกองทัพเรือจะสรุปโครงการมายังสภากลาโหมอีกครั้ง ทั้งนี้
เหตุผลความจำเป็นในการจัดซื้อเพื่อรักษาผลประโยชน์ทางทะเล และของชาติ รวมถึงเเสริมสร้างขีดความสามารถ
ของเรือดำน้ำในประเทศอาเซียน ที่สำคัญเป็นการรักษาความสมดุลทางทหาร เพราะในทุกประเทศในแถบอาเซียนมี
เรือดำน้ำใช้งานอยู่แล้ว
“ได้รับรายงานว่า กัมพูชาก็กำลังจะมีเรือดำน้ำ แม้ที่ได้จัดหาจะเป็นเรือเก่า แต่ก็สอดคล้องต่อสภาพทะเล
ในพื้นที่แถบอันดามัน ความลึกและความขุ่นของน้ำไม่ได้เป็นผลต่อปัจจัยในการใช้งานแต่อย่างใด ประกอบกับเรือ
ดำน้ำของประเทศเยอรมัน มีหัวใจที่สำคัญ คือ ระบบอินทริเกต ในเรื่องของอาวุธยุทโธปกรณ์ให้สอดรับกันทั้งหมด
ในการปรับระบบนำร่องของขีปนาวุธต่างๆ ส่วนเหล็กก็มีความคงทนสามารถตอบสนองเรื่องของพื้นที่ในประเทศ
เราได้ และสามารถตรวจจับได้ยากจากเรดาห์ต่างๆ”
ทั้งนี้กองทัพเรือ ชี้แจงว่า การจัดหาเรือดำน้ำ ใช้เวลาน้อยกว่าปกติจากเดิม 10 ปี น่าจะเหลือประมาณ 5
ปี ส่วนการเข้าประจำการคาดว่า ประมาณ 2 ปี ราวเดือน ก.ย.ปี 2556 โดยจะนำโครงการเสนอสภากลาโหมอีกครั้ง
และจะเชิญสื่อมวลชนเข้ามาร่วมรับฟังในทุกประเด็น ทั้งการจัดซื้อเรือเก่า การใช้งบประมาณจากเดิม 4 หมื่นล้านบาท
เป็นต้น”โฆษกกลาโหมกล่าว
“จากเดิมที่เคยตั้งเป้าไว้ 4 หมื่นกว่าล้าน ซื้อเพียงได้ 2 ลำ แต่ครั้งนี้เราใช้งบประมาณ 7 พันกว่าล้าน ได้
เรือ 6 ลำ และยังมีเรื่องระบบการส่งกำลัง ซึ่งจะพยายามนำเรื่องเข้าคณะรัฐมนตรี(ครม.)ให้เร็วที่สุด”
รายงานข่าวแจ้งว่า สภากลาโหม ได้รับทราบความจำเป็นในการซื้อเรือดำน้ำ6ลำ จากเยอรมัน แต่ที่
ประชุมจะขอรับทราบรายละเอียดโครงการอีกครั้งในเดือนหน้า โดยเฉพาะให้เปรียบเทียบความคุ้มค่าของเรือUboot
Klasse 206A(U 206A) ของเยอรมัน 6 ลำราคา 7.6 พันล้านบาทแต่เป็นเรือเก่า กับเรือดำน้ำ U209 ของเกาหลีใต้
2 ลำ ราคา 4 หมื่นล้านบาทเศษ โดยเร่งให้เสนอครม. ให้ทันก่อนยุบสภา
ภายหลังจากประชุมพล.ร.อ.กำธร พุ่มหิรัญ ผบ.ทร. แสดงสีหน้าไม่สู้ดี โดยปฏิเสธที่จะให้สัมภาษณ์