ASTVผู้จัดการรายวัน- ลงทุนญี่ปุ่นไม่ชะลอหลังแผ่นดินไหว 3 เดือนแรกยังไหลเข้าไทยต่อเนื่อง “อมตะ”การันตีโชว์ตัวเลขยอดขายที่ดินพ่งแล้ว 200 ไร่ คาดแผ่นดินไหวทำให้ญี่ปุ่นจ่อย้ายฐานผลิตด้านไฮเทคเข้าไทยเพิ่ม “บีโอไอ”บุกอูกันดา-เคนยาดูลู่ทางตลาดใหม่
นายวิบูลย์ กรมดิษฐ์ กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำกัด(มหาชน) เปิดเผยว่า กรณีแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่นขณะนี้ยังไม่มีผลกระทบต่อการลงทุนโดยตรง(FDI) ที่เข้ามายังไทยแต่อย่างใดโดยล่าสุดกลุ่มลูกค้าใหม่ที่มีการเซ็นสัญญาการซื้อที่ดินเพื่อขยายกำลังการผลิตจากญี่ปุ่นไปแล้วกว่า 70 รายในกลุ่มชิ้นส่วนยานยนต์ ชิ้นส่วนโลหะและอหารกว่า 200 ไร่คาดว่าหากปัญหาที่ญี่ปุ่นคลี่คลายการลงทุนจะไหลเข้ามาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเนื่องจากญี่ปุ่นเริ่มมองการย้ายฐานการผลิตออกนอกประเทศมากขึ้นเพื่อลดความเสี่ยงหลังเกิดแผ่นดินไหว
“การย้ายฐานการผลิตของนักลงทุนจากต่างประเทศโดยเฉพาะญี่ปุ่นจนถึงขณะนี้แม้ว่าจะเกิดแผ่นดินไหวแต่ก็ไม่ได้มีการชะลอการลงทุนอย่างที่หลายฝ่ายกังวลนัก โดยแนวโน้มการเข้ามาลงทุนของนักลงทุนจากต่างประเทศในช่วง 3 เดือนแรก ยังคงได้รับความสนใจในการลงทุนอย่างต่อเนื่อง”นายวิบูลย์กล่าว
ทั้งนี้การลงทุนระยะยาวเชื่อว่าจะมีการย้ายฐานการผลิตจากญี่ปุ่นออกไปผลิตในต่างประเทศมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอุตสาหกรรมไฮเทคที่เกี่ยวข้องกับยานยนต์และอิเลคทรอนิกส์ ที่เดิมมีการย้ายฐานการผลิตออกนอกญี่ปุ่นไม่มากนัก จึงน่าจะเป็นโอกาสของประเทศไทยที่เป็นไปได้ว่าญี่ปุ่นจะตัดสินใจเข้ามาขยายฐานการผลิตเพื่อส่งชิ้นส่วนไปยังประเทศต่างๆ เพราะไทยเป็นฐานผลิตอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ครบวงจรอยู่แล้ว
นางอรรชกา สีบุญเรือง เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ( บีโอไอ ) กล่าวว่า ระหว่างวันที่ 24 – 30 เมษายน 2554 บีโอไอจะเดินทางไปศึกษาลู่ทางการลงทุน ณ สาธารณรัฐยูกันดา และสาธารณรัฐเคนยา หลังจากวิเคราะห์โอกาสและลู่ทางการลงทุนกลุ่มประเทศตลาดใหม่ในทวีปแอฟริกาตะวันออก พบว่าอุตสาหกรรมเกษตร อาหาร อุตสาหกรรมก่อสร้าง เครื่องจักรกลการเกษตร เป็นอุตสาหกรรมที่ยูกันดาและเคนยาต้องการ จึงเป็นโอกาสดีของนักลงทุนไทยที่จะเข้าไปลงทุน
นายวิบูลย์ กรมดิษฐ์ กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำกัด(มหาชน) เปิดเผยว่า กรณีแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่นขณะนี้ยังไม่มีผลกระทบต่อการลงทุนโดยตรง(FDI) ที่เข้ามายังไทยแต่อย่างใดโดยล่าสุดกลุ่มลูกค้าใหม่ที่มีการเซ็นสัญญาการซื้อที่ดินเพื่อขยายกำลังการผลิตจากญี่ปุ่นไปแล้วกว่า 70 รายในกลุ่มชิ้นส่วนยานยนต์ ชิ้นส่วนโลหะและอหารกว่า 200 ไร่คาดว่าหากปัญหาที่ญี่ปุ่นคลี่คลายการลงทุนจะไหลเข้ามาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเนื่องจากญี่ปุ่นเริ่มมองการย้ายฐานการผลิตออกนอกประเทศมากขึ้นเพื่อลดความเสี่ยงหลังเกิดแผ่นดินไหว
“การย้ายฐานการผลิตของนักลงทุนจากต่างประเทศโดยเฉพาะญี่ปุ่นจนถึงขณะนี้แม้ว่าจะเกิดแผ่นดินไหวแต่ก็ไม่ได้มีการชะลอการลงทุนอย่างที่หลายฝ่ายกังวลนัก โดยแนวโน้มการเข้ามาลงทุนของนักลงทุนจากต่างประเทศในช่วง 3 เดือนแรก ยังคงได้รับความสนใจในการลงทุนอย่างต่อเนื่อง”นายวิบูลย์กล่าว
ทั้งนี้การลงทุนระยะยาวเชื่อว่าจะมีการย้ายฐานการผลิตจากญี่ปุ่นออกไปผลิตในต่างประเทศมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอุตสาหกรรมไฮเทคที่เกี่ยวข้องกับยานยนต์และอิเลคทรอนิกส์ ที่เดิมมีการย้ายฐานการผลิตออกนอกญี่ปุ่นไม่มากนัก จึงน่าจะเป็นโอกาสของประเทศไทยที่เป็นไปได้ว่าญี่ปุ่นจะตัดสินใจเข้ามาขยายฐานการผลิตเพื่อส่งชิ้นส่วนไปยังประเทศต่างๆ เพราะไทยเป็นฐานผลิตอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ครบวงจรอยู่แล้ว
นางอรรชกา สีบุญเรือง เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ( บีโอไอ ) กล่าวว่า ระหว่างวันที่ 24 – 30 เมษายน 2554 บีโอไอจะเดินทางไปศึกษาลู่ทางการลงทุน ณ สาธารณรัฐยูกันดา และสาธารณรัฐเคนยา หลังจากวิเคราะห์โอกาสและลู่ทางการลงทุนกลุ่มประเทศตลาดใหม่ในทวีปแอฟริกาตะวันออก พบว่าอุตสาหกรรมเกษตร อาหาร อุตสาหกรรมก่อสร้าง เครื่องจักรกลการเกษตร เป็นอุตสาหกรรมที่ยูกันดาและเคนยาต้องการ จึงเป็นโอกาสดีของนักลงทุนไทยที่จะเข้าไปลงทุน