ASTVผู้จัดการรายวัน - “วิสุทธิ์” ประธานบอร์ด กสท ทิ้งเก้าอี้ ก่อนหมดวาระพ.ค.นี้ อ้างติดภารกิจ ขณะที่ “จิรายุทธ” ยันไม่ กระทบแผนธุรกิจ ไม่เกี่ยวกับสัญญาการให้บริการถือรูปแบบใหม่กับทรู รวมถึงการตั้งคำถามจากสตง. ขณะที่บอร์ดอนุมัติแผนธุรกิจ 3G ลงทุน 5 ปี 1.2 หมื่นล้าน และร่วมมือกับ อสมท ทำเคเบิล ทีวี บอร์ดแบนด์ ไวร์เลส
นายจิรายุทธ รุ่งศรีทอง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ กสท กล่าวหลังการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) เมื่อวันที่ 21 เม.ย.ว่า ได้แจ้งต่อที่ประชุมถึงการยื่นหนังสือลาออกของนายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ ประธานบอร์ด กสท ซึ่งมีผลอย่างเป็นทางการในวันที่ 21 เม.ย.นี้ โดยเหตุผลของการลาออกนายวิสุทธิ์แจ้งว่าติดภารกิจ ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้
การทิ้งเก้าอี้ประธานบอร์ด กสท ของนายวิสุทธิ์ได้มีการยื่นใบลาออกเมื่อวันที่ 18 เม.ย.ที่ผ่านมา เป็นการชิงลาออกก่อนที่จะหมดวาระตามระเบียบบริษัทในการประชุมผู้ถือหุ้นใหญ่ประจำปี ที่จะมีขึ้นในเดือนพฤษภาคมที่จะถึงนี้ โดยระเบียบการของบริษัทระบุไว้ว่า กรรมการที่อยู่ในตำแหน่งนานที่สุดจะต้องหมดวาระลง
สำหรับกรรมการที่จะหมดวาระ ประกอบด้วยนายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ นายธานีรัตน์ ศิริปะชะนะ นางสาววลัยรัตน์ ศรีอรุณ และนายวีรชัย คล้ายทอง ซึ่งในการประชุมประจำปีกรรมการที่หมดวาระลงสามารถกลับเข้ามาทำหน้าที่ใหม่ได้ ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของผู้ถือหุ้น ดังนั้น การประชุมบอร์ดในวันที่ 20 พ.ค.ที่จะถึงนี้ จะมีคณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งใหม่ 4 คนเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งอาจจะเป็นคนเดิมก็ได้
นายจิรายุทธกล่าวว่า การลาออกของนายวิสุทธิ์จะไม่กระทบกับการดำเนินธุรกิจของ กสท เพราะขณะนี้ไม่มีโครงการสำคัญที่ต้องพิจารณาอนุมัติ และไม่เกี่ยวกับการที่ กสท เซ็นสัญญาร่วมดำเนินธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่รูปแบบใหม่กับบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือทรู รวมไปถึงข้อสังเกตของสำนักตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ตั้งคำถามถึงการเซ็นสัญญาดังกล่าวด้วย ซึ่งข้อสงสัยดังกล่าว กสท ได้ชี้แจงกลับไปยังสตง.แล้ว
ส่วนการประเมินการทำงานของกรรมการผู้จัดการใหญ่ กสท นั้น นายจิรายุทธยืนยันว่า ยังไม่ได้รับแจ้งจากคณะกรรมการประเมิน และยังคงปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ
พร้อมกันนี้ ที่ประชุมยังได้พิจารณาอนุมัติแผนธุรกิจการให้บริการ 3G บนคลื่นความถี่ 850 เมกะเฮิรตซ์ ด้วยเทคโนโลยี HSPA ร่วมกับกลุ่มทรูด้วยงบประมาณ 1.2 หมื่นล้านบาท ระยะเวลาลงทุนราว 5 ปี ตลอดอายุสัญญา 14 ปี 6 เดือน ซึ่งการลงทุนส่วนใหญ่จะเป็นอุปกรณ์แอ็คเซ็ส ระบบสื่อสัญญาณ (ทรานสมิตชัน) และโครงข่ายหลัก การลงทุนด้วยวงเงินดังกล่าวจะสามารถรองรับการใช้งานของลูกค้าได้ 30 ล้านเลขหมาย และจะเสนอแผนดังกล่าวต่อกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กับสำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) พิจารณาในสัปดาห์หน้า ก่อนเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)
ขณะเดียวกันบอร์ด กสท ยังได้เสนอแผนธุรกิจร่วมกับบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) เพื่อให้บริการโทรทัศน์ระบบบอกรับสมาชิก (เคเบิล ทีวี) แบบไร้สาย (บรอดแบนด์ ไวร์เลส แอ็คเซ็ส) บนคลื่นความถี่ 2.6-2.7 กิกะเฮิรตซ์ ที่ อสมท ได้รับการจัดสรรก่อนมีคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ด้วยเทคโนโลยี LTE โดย กสท จะเป็นผู้ให้บริการโครงข่าย เบื้องต้นจะใช้งบลงทุนโครงการดังกล่าว 500 ล้านบาท ส่วน อสมทจะเป็นผู้ผลิตรายการ คาดว่าภายใน 3 เดือนจากนี้จะสามารถให้บริการเฟสแรกในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลได้ ส่วนจะมีการขยายบริการมากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับการตอบรับของตลาด
นายจิรายุทธ รุ่งศรีทอง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ กสท กล่าวหลังการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) เมื่อวันที่ 21 เม.ย.ว่า ได้แจ้งต่อที่ประชุมถึงการยื่นหนังสือลาออกของนายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ ประธานบอร์ด กสท ซึ่งมีผลอย่างเป็นทางการในวันที่ 21 เม.ย.นี้ โดยเหตุผลของการลาออกนายวิสุทธิ์แจ้งว่าติดภารกิจ ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้
การทิ้งเก้าอี้ประธานบอร์ด กสท ของนายวิสุทธิ์ได้มีการยื่นใบลาออกเมื่อวันที่ 18 เม.ย.ที่ผ่านมา เป็นการชิงลาออกก่อนที่จะหมดวาระตามระเบียบบริษัทในการประชุมผู้ถือหุ้นใหญ่ประจำปี ที่จะมีขึ้นในเดือนพฤษภาคมที่จะถึงนี้ โดยระเบียบการของบริษัทระบุไว้ว่า กรรมการที่อยู่ในตำแหน่งนานที่สุดจะต้องหมดวาระลง
สำหรับกรรมการที่จะหมดวาระ ประกอบด้วยนายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ นายธานีรัตน์ ศิริปะชะนะ นางสาววลัยรัตน์ ศรีอรุณ และนายวีรชัย คล้ายทอง ซึ่งในการประชุมประจำปีกรรมการที่หมดวาระลงสามารถกลับเข้ามาทำหน้าที่ใหม่ได้ ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของผู้ถือหุ้น ดังนั้น การประชุมบอร์ดในวันที่ 20 พ.ค.ที่จะถึงนี้ จะมีคณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งใหม่ 4 คนเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งอาจจะเป็นคนเดิมก็ได้
นายจิรายุทธกล่าวว่า การลาออกของนายวิสุทธิ์จะไม่กระทบกับการดำเนินธุรกิจของ กสท เพราะขณะนี้ไม่มีโครงการสำคัญที่ต้องพิจารณาอนุมัติ และไม่เกี่ยวกับการที่ กสท เซ็นสัญญาร่วมดำเนินธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่รูปแบบใหม่กับบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือทรู รวมไปถึงข้อสังเกตของสำนักตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ตั้งคำถามถึงการเซ็นสัญญาดังกล่าวด้วย ซึ่งข้อสงสัยดังกล่าว กสท ได้ชี้แจงกลับไปยังสตง.แล้ว
ส่วนการประเมินการทำงานของกรรมการผู้จัดการใหญ่ กสท นั้น นายจิรายุทธยืนยันว่า ยังไม่ได้รับแจ้งจากคณะกรรมการประเมิน และยังคงปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ
พร้อมกันนี้ ที่ประชุมยังได้พิจารณาอนุมัติแผนธุรกิจการให้บริการ 3G บนคลื่นความถี่ 850 เมกะเฮิรตซ์ ด้วยเทคโนโลยี HSPA ร่วมกับกลุ่มทรูด้วยงบประมาณ 1.2 หมื่นล้านบาท ระยะเวลาลงทุนราว 5 ปี ตลอดอายุสัญญา 14 ปี 6 เดือน ซึ่งการลงทุนส่วนใหญ่จะเป็นอุปกรณ์แอ็คเซ็ส ระบบสื่อสัญญาณ (ทรานสมิตชัน) และโครงข่ายหลัก การลงทุนด้วยวงเงินดังกล่าวจะสามารถรองรับการใช้งานของลูกค้าได้ 30 ล้านเลขหมาย และจะเสนอแผนดังกล่าวต่อกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กับสำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) พิจารณาในสัปดาห์หน้า ก่อนเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)
ขณะเดียวกันบอร์ด กสท ยังได้เสนอแผนธุรกิจร่วมกับบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) เพื่อให้บริการโทรทัศน์ระบบบอกรับสมาชิก (เคเบิล ทีวี) แบบไร้สาย (บรอดแบนด์ ไวร์เลส แอ็คเซ็ส) บนคลื่นความถี่ 2.6-2.7 กิกะเฮิรตซ์ ที่ อสมท ได้รับการจัดสรรก่อนมีคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ด้วยเทคโนโลยี LTE โดย กสท จะเป็นผู้ให้บริการโครงข่าย เบื้องต้นจะใช้งบลงทุนโครงการดังกล่าว 500 ล้านบาท ส่วน อสมทจะเป็นผู้ผลิตรายการ คาดว่าภายใน 3 เดือนจากนี้จะสามารถให้บริการเฟสแรกในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลได้ ส่วนจะมีการขยายบริการมากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับการตอบรับของตลาด