ASTVผู้จัดการรายวัน - ปฏิบัติหน้าที่แทน กสทช. ยกร่างแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ และตารางกำหนดคลื่นความถี่แห่งชาติรอคณะกรรมการ กสทช. ตัวจริง หวังคลอด 3G บนความความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ได้ทันปลายปี 54 ขณะที่ MVNO ถ้าทำแค่รับซิมการ์ดมาขายแทนเจ้าของไลเซนส์ทำได้ทันที ส่วนกรณีสัญญาระหว่าง กสท กับกลุ่มทรูยันไม่ได้เกียร์ว่าง อ้างรายละเอียดกฎหมายมีมาก
พ.อ.นที ศุกลรัตน์ กรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ปฎิบัติหน้าที่แทนกรรมการกิจการโทรทัศน์ กิจการวิทยุกระจายเสียง และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า การยกร่างแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ และตารางกำหนดคลื่นความถี่แห่งชาติ มีจุดประสงค์เพื่อให้แนวทางการพัฒนาโทรคมนาคมไทยเป็นรูปธรรมมากขึ้น เพื่อให้การจัดสรรการใช้งานคลื่นความถี่ซึ่งเป็นทรัพยากรสาธารณะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และโปร่งใสเป็นธรรมกับทุกฝ่าย
ร่างฯ แผนแม่บททั้ง 2 ฉบับ จะต้องดำเนินการสอดคล้องกับพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 ซึ่งการจัดทำแผนแม่บทดังกล่าว จะต้องเป็นไปในแนวทางเดียวกับแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ คาดว่า คณะอนุกรรมการ กทช. จะจัดทำร่างแผนแม่บททั้ง 2 ฉบับ น่าจะแล้วเสร็จในช่วงเวลาเดียวกับที่การสรรหาคณะกรรมการ กสทช. ประมาณเดือนพฤษภาคมที่จะถึงนี้
พ.อ.นทีกล่าวว่า หากมีการจัดทำร่างฯ แผนแม่บทเสร็จแล้ว จะนำส่งให้กับคณะกรรมการกสทช.ชุดใหม่ทันที หากรับตามแผนนี้ทั้งหมดก็จะมีการจัดรับฟังความเห็นสาธารณะ (ประชาพิจารณ์) จากประชาชน บุคคลภายนอก และนักวิชาการ จะใช้เวลาประมาณ 1-2 เดือน จากนั้นอาจจะมีการแก้ไขรายละเอียด ซึ่งน่าจะใช้เวลาทั้งหมดประมาณ 3 เดือน จึงจะสามารถนำไปประกาศลงในราชกิจจานุเษกษาได้
เมื่อร่างแผนแม่บทแห่งชาติลงประกาศในราชกิจจานุเษกษา เชื่อว่า จะมีการจัดประมูลใบอนุญาต (ไลเซนส์) 3G บนคลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ได้ปลายปี 2554 ซึ่งจะถือเป็นการสร้างการแข่งขันที่เสรีกับผู้ประกอบการทุกราย และยกระดับการให้บริการด้านโทรคมนาคม เพิ่มขีดความสามาารถในการแข่งขันกับประเทศอื่นได้มากขึ้น
“จุดประสงค์ของการออกใบอนุญาต 3G ไม่ใช่เพียงแค่จำกัดอยู่ในการบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เท่านั้น แต้ยังเพิ่มสัดส่วนและปริมาณการใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง หรือบรอดแบนด์ มากขึ้นด้วย"
ทั้งนี้ ร่างกรอบแนวทางของแผนแม่บทกิจการโทรคมนาคมฉบับนี้ ได้กำหนดเป้าหมายการพัฒนากิจการโทรคมนาคมในระยะ 5 ปีเอาไว้ด้วย คือ กระจายบริการบรอดแบนด์ด้วยความเร็วไม่ต่ำกว่า 100 เมกะบิตต่อวินาที ครอบคลุมประชากรที่อาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ที่เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของภูมิภาคไม่ต่ำกว่า 15% ของจำนวนประชากร การให้บริการบรอดแบนด็์ระดับความเร็ว 10 เมกะบิตต่อวินาที ครอบคลุมประชากรที่อาศัยในเขตเมืองและชานเมืองมากกว่า 50% ของประชากรในประเทศ และในระดับความเร็ว 2 เมกะบิตต่อวินาที ครอบคลุมประชากรส่วนใหญ่ของประเทศไม่น้อยกว่า 90% ของประชากรทั้งหมด
นอกจากนี้ ยังมีแผนที่กำหนดอัตราค่าบริการโทรคมนาคมเฉลี่ยในตลาดขายส่งและขายต่อบริการ (โฮลเซลล์-รีเทล) ทุกตลาด จะต้องลดลงไม่น้อยกว่า 28% และปัญหาข้อร้องเรียนในเรื่องคุณภาพของบริการ และการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม ต้องได้รับการแก้ไขให้แล้วเสร็จเกินกว่า 85% และได้กำหนดยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนากิจการโทรคมนาคมใน 4 ยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์กระจายบริการบรอดแบนด์ ยุทธศาสตร์บริการโทรคมคมนาคมอย่างทั่วถึง ยุทธศาสตร์อัตราค่าบริการโทรคมนาคมลดลง และยุทธศาสตร์คุณภาพการให้บริการและคุ้มครองผู้บริโภค
พ.อ.นทีกล่าวถึงกรณีสัญญาระหว่าง กสท โทรคมนาคมกับบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ว่า คณะกรรมการ กทช. ทุกคนไม่ได้เกียร์ว่างเกี่ยวกับการสอบสัญญาการเปิดให้บริการโทรศัพท์มือถือ 3G ในรูปแบบการอัปเกรดมือถือบนคลื่นความถี่ 850 เมกะเฮิรตซ์เดิมด้วยเทคโนโลยี HSPA ระหว่าง กสท และทรู แต่ประการใดเพียงแต่ข้อมูลและรายละเอียดด้านกฎหมายมีมาก และทางสำนักงาน กทช. ยังไม่สรุปเรื่องดังกล่าวเข้ามายังที่ประชุม จึงไม่สามารถสรุปอะไรที่เป็นทางการออกมาได้
“ความเห็นส่วนตัวผมการทำสัญญาร่วมกันระหว่าง กสท กับกลุ่มทรู ที่เป็นการให้บริการขายส่งและขายต่อบริการนั้น ต้องพิจารณาในประเด็นการเป็นผู้ให้บริการขายส่งบริการ หรือ MVNO ซึ่งจะต้องคำนึงถึงมาตรา 46 ตาม พ.ร.บ.กสทช.ด้วย ว่าสามารถดำเนินการได้หรือไม่ หากเป็นในลักษณะ Thin MVNO คือแค่รับซิมการ์ดมาจำหน่ายแทนก็สามารถดำเนินได้ทันที
แต่หากเป็นในลักษณะอื่นอาจจะต้องมีการตีความอีกครั้ง”
พ.อ.นที ศุกลรัตน์ กรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ปฎิบัติหน้าที่แทนกรรมการกิจการโทรทัศน์ กิจการวิทยุกระจายเสียง และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า การยกร่างแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ และตารางกำหนดคลื่นความถี่แห่งชาติ มีจุดประสงค์เพื่อให้แนวทางการพัฒนาโทรคมนาคมไทยเป็นรูปธรรมมากขึ้น เพื่อให้การจัดสรรการใช้งานคลื่นความถี่ซึ่งเป็นทรัพยากรสาธารณะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และโปร่งใสเป็นธรรมกับทุกฝ่าย
ร่างฯ แผนแม่บททั้ง 2 ฉบับ จะต้องดำเนินการสอดคล้องกับพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 ซึ่งการจัดทำแผนแม่บทดังกล่าว จะต้องเป็นไปในแนวทางเดียวกับแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ คาดว่า คณะอนุกรรมการ กทช. จะจัดทำร่างแผนแม่บททั้ง 2 ฉบับ น่าจะแล้วเสร็จในช่วงเวลาเดียวกับที่การสรรหาคณะกรรมการ กสทช. ประมาณเดือนพฤษภาคมที่จะถึงนี้
พ.อ.นทีกล่าวว่า หากมีการจัดทำร่างฯ แผนแม่บทเสร็จแล้ว จะนำส่งให้กับคณะกรรมการกสทช.ชุดใหม่ทันที หากรับตามแผนนี้ทั้งหมดก็จะมีการจัดรับฟังความเห็นสาธารณะ (ประชาพิจารณ์) จากประชาชน บุคคลภายนอก และนักวิชาการ จะใช้เวลาประมาณ 1-2 เดือน จากนั้นอาจจะมีการแก้ไขรายละเอียด ซึ่งน่าจะใช้เวลาทั้งหมดประมาณ 3 เดือน จึงจะสามารถนำไปประกาศลงในราชกิจจานุเษกษาได้
เมื่อร่างแผนแม่บทแห่งชาติลงประกาศในราชกิจจานุเษกษา เชื่อว่า จะมีการจัดประมูลใบอนุญาต (ไลเซนส์) 3G บนคลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ได้ปลายปี 2554 ซึ่งจะถือเป็นการสร้างการแข่งขันที่เสรีกับผู้ประกอบการทุกราย และยกระดับการให้บริการด้านโทรคมนาคม เพิ่มขีดความสามาารถในการแข่งขันกับประเทศอื่นได้มากขึ้น
“จุดประสงค์ของการออกใบอนุญาต 3G ไม่ใช่เพียงแค่จำกัดอยู่ในการบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เท่านั้น แต้ยังเพิ่มสัดส่วนและปริมาณการใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง หรือบรอดแบนด์ มากขึ้นด้วย"
ทั้งนี้ ร่างกรอบแนวทางของแผนแม่บทกิจการโทรคมนาคมฉบับนี้ ได้กำหนดเป้าหมายการพัฒนากิจการโทรคมนาคมในระยะ 5 ปีเอาไว้ด้วย คือ กระจายบริการบรอดแบนด์ด้วยความเร็วไม่ต่ำกว่า 100 เมกะบิตต่อวินาที ครอบคลุมประชากรที่อาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ที่เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของภูมิภาคไม่ต่ำกว่า 15% ของจำนวนประชากร การให้บริการบรอดแบนด็์ระดับความเร็ว 10 เมกะบิตต่อวินาที ครอบคลุมประชากรที่อาศัยในเขตเมืองและชานเมืองมากกว่า 50% ของประชากรในประเทศ และในระดับความเร็ว 2 เมกะบิตต่อวินาที ครอบคลุมประชากรส่วนใหญ่ของประเทศไม่น้อยกว่า 90% ของประชากรทั้งหมด
นอกจากนี้ ยังมีแผนที่กำหนดอัตราค่าบริการโทรคมนาคมเฉลี่ยในตลาดขายส่งและขายต่อบริการ (โฮลเซลล์-รีเทล) ทุกตลาด จะต้องลดลงไม่น้อยกว่า 28% และปัญหาข้อร้องเรียนในเรื่องคุณภาพของบริการ และการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม ต้องได้รับการแก้ไขให้แล้วเสร็จเกินกว่า 85% และได้กำหนดยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนากิจการโทรคมนาคมใน 4 ยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์กระจายบริการบรอดแบนด์ ยุทธศาสตร์บริการโทรคมคมนาคมอย่างทั่วถึง ยุทธศาสตร์อัตราค่าบริการโทรคมนาคมลดลง และยุทธศาสตร์คุณภาพการให้บริการและคุ้มครองผู้บริโภค
พ.อ.นทีกล่าวถึงกรณีสัญญาระหว่าง กสท โทรคมนาคมกับบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ว่า คณะกรรมการ กทช. ทุกคนไม่ได้เกียร์ว่างเกี่ยวกับการสอบสัญญาการเปิดให้บริการโทรศัพท์มือถือ 3G ในรูปแบบการอัปเกรดมือถือบนคลื่นความถี่ 850 เมกะเฮิรตซ์เดิมด้วยเทคโนโลยี HSPA ระหว่าง กสท และทรู แต่ประการใดเพียงแต่ข้อมูลและรายละเอียดด้านกฎหมายมีมาก และทางสำนักงาน กทช. ยังไม่สรุปเรื่องดังกล่าวเข้ามายังที่ประชุม จึงไม่สามารถสรุปอะไรที่เป็นทางการออกมาได้
“ความเห็นส่วนตัวผมการทำสัญญาร่วมกันระหว่าง กสท กับกลุ่มทรู ที่เป็นการให้บริการขายส่งและขายต่อบริการนั้น ต้องพิจารณาในประเด็นการเป็นผู้ให้บริการขายส่งบริการ หรือ MVNO ซึ่งจะต้องคำนึงถึงมาตรา 46 ตาม พ.ร.บ.กสทช.ด้วย ว่าสามารถดำเนินการได้หรือไม่ หากเป็นในลักษณะ Thin MVNO คือแค่รับซิมการ์ดมาจำหน่ายแทนก็สามารถดำเนินได้ทันที
แต่หากเป็นในลักษณะอื่นอาจจะต้องมีการตีความอีกครั้ง”