คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) จัดสัมมนาเตรียมความพร้อมการจัดทำแผนแม่บทโทรคมนาคมแห่งชาติ เพื่อรองรับการจัดตั้งคณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)
พ.อ.นที ศุกลรัตน์ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ในฐานะปฏิบัติงานแทน กสทช. กล่าวว่า ขณะนี้มี 4แนวทางของแผนแม่บทโทรคมนาคมแล้ว ประกอบด้วย ทำอย่างไรจะเพิ่มการขยายตัวของบรอดแบนด์ ตามนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ ทำอย่างไรให้ค่าบริการบรอดแบนด์ลดลงอย่างเหมาะสมที่ประชาชนสามารถใช้ได้ ทำอย่างไรให้มีบริการโทรคมนาคมทั่วถึง และให้ผู้บริโภคได้รับการคุ้มครองและผู้ให้บริการอยู่รอดได้
พ.อ.นที กล่าวด้วยว่า จะนำร่างแผนแม่บทจัดระดมความคิดเห็นอีกครั้งในเดือนกุมภาพันธ์นี้ และคาดว่า จะแล้วเสร็จเดือนพฤษภาคม เพื่อเตรียมเสนอคณะกรรมการ กสทช.ชุดใหม่ ที่กำลังจะแต่งตั้ง โดยในส่วนของแผนแม่บทคลื่นความถี่ครอบคลุมถึงวิทยุและโทรทัศน์ได้ดำเนินการควบคู่กัน ผ่านคณะกรรมการอีกชุดที่มี นายพนา ทองมีอาคม กรรมการ กทช. เป็นผู้ดูแล
ทั้งนี้ การจัดทำแผนแม่บทใหม่เท่ากับเป็นการทำแผนประมูล 3 จีใหม่ด้วย เริ่มตั้งแต่การศึกษาจำนวนใบอนุญาต หลังจากที่การประมูลครั้งที่แล้วสะดุด อย่างไรก็ตาม ส่วนของสัมปทานจะผ่านรัฐวิสาหกิจ ทั้งบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) นั้น ต้องดำเนินการต่อไป โดยไม่ผ่าน กทช.
พ.อ.นที ศุกลรัตน์ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ในฐานะปฏิบัติงานแทน กสทช. กล่าวว่า ขณะนี้มี 4แนวทางของแผนแม่บทโทรคมนาคมแล้ว ประกอบด้วย ทำอย่างไรจะเพิ่มการขยายตัวของบรอดแบนด์ ตามนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ ทำอย่างไรให้ค่าบริการบรอดแบนด์ลดลงอย่างเหมาะสมที่ประชาชนสามารถใช้ได้ ทำอย่างไรให้มีบริการโทรคมนาคมทั่วถึง และให้ผู้บริโภคได้รับการคุ้มครองและผู้ให้บริการอยู่รอดได้
พ.อ.นที กล่าวด้วยว่า จะนำร่างแผนแม่บทจัดระดมความคิดเห็นอีกครั้งในเดือนกุมภาพันธ์นี้ และคาดว่า จะแล้วเสร็จเดือนพฤษภาคม เพื่อเตรียมเสนอคณะกรรมการ กสทช.ชุดใหม่ ที่กำลังจะแต่งตั้ง โดยในส่วนของแผนแม่บทคลื่นความถี่ครอบคลุมถึงวิทยุและโทรทัศน์ได้ดำเนินการควบคู่กัน ผ่านคณะกรรมการอีกชุดที่มี นายพนา ทองมีอาคม กรรมการ กทช. เป็นผู้ดูแล
ทั้งนี้ การจัดทำแผนแม่บทใหม่เท่ากับเป็นการทำแผนประมูล 3 จีใหม่ด้วย เริ่มตั้งแต่การศึกษาจำนวนใบอนุญาต หลังจากที่การประมูลครั้งที่แล้วสะดุด อย่างไรก็ตาม ส่วนของสัมปทานจะผ่านรัฐวิสาหกิจ ทั้งบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) นั้น ต้องดำเนินการต่อไป โดยไม่ผ่าน กทช.