นางสาวนฤมล อาจอำนวยวิภาส ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ หัวหน้าฝ่ายธุรกิจตราสารอนุพันธ์ บริษัทหลักทรัพย์ เคจีไอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)หรือ KGI เปิดเผยว่า ในปีที่ผ่านมา DW ได้รับความนิยมอย่างมากจากนักลงทุน สังเกตได้จากปริมาณการซื้อขายและจำนวน DW ที่ออกมาอย่างต่อเนื่อง
ดังนั้น บริษัทจึงมีแผนที่จะออกและเสนอขาย DW เพิ่มอีก 13 ตัว เพื่อตอบรับความต้องการของนักลงทุน โดยเปิดให้ซื้อขายวันแรกเริ่มตั้งแต่ 19-25 เม.ย. 54 ซึ่ง DW ทั้ง 13 ตัวใหม่ ได้แก่ ESSO13CA (19 เม.ย.), BANP13CD / TCAP13CC / TISC13CA (20 เม.ย.), BGH13CA / CPF13CA / DTAC13CA (21 เม.ย.), BAY13CB / STA13CB / THAI13CA (22 เม.ย.), PS13CB / PTT13CE / SCB13CA (25 เม.ย.) โดยภายหลังการออกและเสนอขาย DW ในครั้งนี้ จะทำให้ DW ที่ออกโดยเคจีไอ ครอบคลุมหุ้นอ้างอิงถึง 30 ตัว ซึ่งมีมูลค่า Market Cap ราวร้อยละ 90 ของดัชนี SET50 ซึ่งถือได้ว่ามากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ออก DW รายอื่น
ทั้งนี้ KGI ยังได้ฝากถึงนักลงทุนทั้งที่กำลังจะลงทุนใน DW ว่า นอกจากการดูแนวโน้มของหุ้นอ้างอิงและราคาของ DW แล้ว นักลงทุนควรพิจารณาข้อมูลอื่น ๆประกอบด้วย อาทิ (1) ปริมาณการซื้อขายของ DW ในรุ่นนั้น เนื่องจากปริมาณ Bid / Offer ที่น้อยเกินไป อาจทำให้นักลงทุนไม่สามารถซื้อขาย DW ตามราคาและจำนวนที่ต้องการ (2) ประวัติการทำหน้าที่ผู้ดูแลสภาพล่อง (Market Maker) ซึ่งคอยทำหน้าที่ดูแลมิให้ช่วงต่างระหว่างราคา Bid / Offer ห่างกันมากจนเกินไป และยังคอยสร้างสภาพคล่องให้กับ DW ดังนั้นจึงควรเลือกลงทุนใน DW ที่มีผู้ดูแลสภาพล่องที่มีประสบการณ์คอยดูแลอยู่ ซึ่งโดยส่วนมากผู้ออกและผู้ดูแลสภาพคล่องมักเป็นคน ๆ เดียวกัน (3) ความต่อเนื่องในการออกและเสนอขาย DW ของผู้ออก เนื่องจาก DW ที่ใกล้หมดอายุมักมีความเสี่ยงมากกว่า DW ที่ออกใหม่ เพราะมูลค่าทางเวลาที่ลดลงเร็วขึ้นในช่วงใกล้หมดอายุ ด้วยเหตุนี้ผู้ออกจึงควรมีการออก DW รุ่นใหม่ เพื่อเป็นทางเลือกให้นักลงทุน และทดแทน DW รุ่นเดิมที่ใกล้จะหมดอายุ
แม้ว่าในปัจจุบัน ราคาและปริมาณการซื้อขายของ DW ไม่หวือหวาเท่ากับช่วงเดือน ก.ย.-ต.ค. ปีที่แล้ว ซึ่งน่าจะเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความรู้ความเข้าใจของนักลงทุนต่อ DW ที่มากขึ้น ประกอบกับกฎเกณฑ์ของสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ (ASCO) เกี่ยวกับเกณฑ์ Cash Balance ที่ออกมาเพื่อช่วยดูแลนักลงทุนในการลงทุน DW ที่มีการซื้อขายผิดปกติ
" ในปี 54 นี้ คงเป็นปีแห่งการพัฒนา DW ทั้งในด้านของนักลงทุนที่ต้องปรับทัศนคติที่มีต่อการลงทุนในตัวผลิตภัณฑ์ และหมั่นศึกษาเรียนรู้ทำความเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ในการใช้งานผลิตภัณฑ์นั้นๆ ในขณะที่ผู้ออกเองก็ควรนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย และตอบสนองความต้องการลงทุนที่เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน "
ดังนั้น บริษัทจึงมีแผนที่จะออกและเสนอขาย DW เพิ่มอีก 13 ตัว เพื่อตอบรับความต้องการของนักลงทุน โดยเปิดให้ซื้อขายวันแรกเริ่มตั้งแต่ 19-25 เม.ย. 54 ซึ่ง DW ทั้ง 13 ตัวใหม่ ได้แก่ ESSO13CA (19 เม.ย.), BANP13CD / TCAP13CC / TISC13CA (20 เม.ย.), BGH13CA / CPF13CA / DTAC13CA (21 เม.ย.), BAY13CB / STA13CB / THAI13CA (22 เม.ย.), PS13CB / PTT13CE / SCB13CA (25 เม.ย.) โดยภายหลังการออกและเสนอขาย DW ในครั้งนี้ จะทำให้ DW ที่ออกโดยเคจีไอ ครอบคลุมหุ้นอ้างอิงถึง 30 ตัว ซึ่งมีมูลค่า Market Cap ราวร้อยละ 90 ของดัชนี SET50 ซึ่งถือได้ว่ามากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ออก DW รายอื่น
ทั้งนี้ KGI ยังได้ฝากถึงนักลงทุนทั้งที่กำลังจะลงทุนใน DW ว่า นอกจากการดูแนวโน้มของหุ้นอ้างอิงและราคาของ DW แล้ว นักลงทุนควรพิจารณาข้อมูลอื่น ๆประกอบด้วย อาทิ (1) ปริมาณการซื้อขายของ DW ในรุ่นนั้น เนื่องจากปริมาณ Bid / Offer ที่น้อยเกินไป อาจทำให้นักลงทุนไม่สามารถซื้อขาย DW ตามราคาและจำนวนที่ต้องการ (2) ประวัติการทำหน้าที่ผู้ดูแลสภาพล่อง (Market Maker) ซึ่งคอยทำหน้าที่ดูแลมิให้ช่วงต่างระหว่างราคา Bid / Offer ห่างกันมากจนเกินไป และยังคอยสร้างสภาพคล่องให้กับ DW ดังนั้นจึงควรเลือกลงทุนใน DW ที่มีผู้ดูแลสภาพล่องที่มีประสบการณ์คอยดูแลอยู่ ซึ่งโดยส่วนมากผู้ออกและผู้ดูแลสภาพคล่องมักเป็นคน ๆ เดียวกัน (3) ความต่อเนื่องในการออกและเสนอขาย DW ของผู้ออก เนื่องจาก DW ที่ใกล้หมดอายุมักมีความเสี่ยงมากกว่า DW ที่ออกใหม่ เพราะมูลค่าทางเวลาที่ลดลงเร็วขึ้นในช่วงใกล้หมดอายุ ด้วยเหตุนี้ผู้ออกจึงควรมีการออก DW รุ่นใหม่ เพื่อเป็นทางเลือกให้นักลงทุน และทดแทน DW รุ่นเดิมที่ใกล้จะหมดอายุ
แม้ว่าในปัจจุบัน ราคาและปริมาณการซื้อขายของ DW ไม่หวือหวาเท่ากับช่วงเดือน ก.ย.-ต.ค. ปีที่แล้ว ซึ่งน่าจะเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความรู้ความเข้าใจของนักลงทุนต่อ DW ที่มากขึ้น ประกอบกับกฎเกณฑ์ของสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ (ASCO) เกี่ยวกับเกณฑ์ Cash Balance ที่ออกมาเพื่อช่วยดูแลนักลงทุนในการลงทุน DW ที่มีการซื้อขายผิดปกติ
" ในปี 54 นี้ คงเป็นปีแห่งการพัฒนา DW ทั้งในด้านของนักลงทุนที่ต้องปรับทัศนคติที่มีต่อการลงทุนในตัวผลิตภัณฑ์ และหมั่นศึกษาเรียนรู้ทำความเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ในการใช้งานผลิตภัณฑ์นั้นๆ ในขณะที่ผู้ออกเองก็ควรนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย และตอบสนองความต้องการลงทุนที่เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน "