เอเอฟพี - ผู้อพยพมาจากพื้นที่ประสบภัยปรมาณูของญี่ปุ่น กำลังถูกเชิญให้ออกจากศูนย์ผู้ประสบภัย เนื่องจากเกิดความหวาดวิตกเกินไปกว่าเหตุว่า คนจากบริเวณรอบๆ โรงไฟฟ้าฟูกูชิมะ ไดอิจิ อาจนำกัมมันตภาพรังสีมาปนเปื้อนคนอื่นๆ ได้
ชาวญี่ปุ่นที่กลายเป็นคนไร้บ้านจากการประกาศเขตอพยพพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าฟูกูชิมะ ต้องการให้รัฐบาลออกใบรับรอง เพื่อยืนยันว่า พวกเขาไม่ได้ปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสี ก่อนที่จะได้รับอนุญาตให้สามารถเดินเข้าไปยังศูนย์ผู้ลี้ภัยได้
ทั้งนี้ มีการติดตั้งอุปกรณ์ตรวจสอบกัมมันตภาพรังสี ซึ่งได้กลายเป็นด่านตรวจที่จะพิจารณาว่า บุคคลนั้นๆ สามารถเข้าไปยังสถานที่ต่างๆ ได้หรือไม่ แม้ผู้เชี่ยวชาญเคยระบุว่า ผู้อพยพจากพื้นที่รอบโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไม่เป็นอันตรายต่อผู้อื่น
โคซูเกะ ยามางิชิ เจ้าหน้าที่แพทย์ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ ไดอิจิ กล่าวว่า “ประชาชนตื่นตระหนกเกินไป และน่าเศร้าที่มันอาจนำไปสู่การเลือกปฏิบัติ”
หนังสือพิมพ์ไมนิจิ รายงานว่า มีเด็กหญิงวัย 8 ปีคนหนึ่งจากเมืองมินามิโซมะ ถูกโรงพยาบาลในเมืองฟูกูชิมะปฏิเสธการรักษาโรคผิวหนัง เนื่องจากหนูน้อยคนนี้ไม่มีใบรับรองกัมมันตภาพรังสี โดยทากายูกิ โอกามูระ ผู้เป็นบิดาเปิดใจกับหนังสือฉบับนี้ว่า “ผมกังวลกับชีวิตการเป็นผู้อพยพอยู่แล้ว นี่ยังต้องมาสะเทือนใจกับการถูกปฏิเสธนัด (ของลูกสาว) อีก”
เจ้าหน้าที่ศูนย์อพยพในเมืองฟูกูชิมะระบุว่า ผู้อพยพจากพื้นที่รัศมี 30 กิโลเมตรจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ จำเป็นต้องได้รับใบรับรองกัมมันตภาพรังสี หากไม่มี พวกเขาก็สามารถเข้ารับการสแกนตามศูนย์ต่างๆ ใบรับรองกัมมันตภาพรังสีดังกล่าวออกโดยรัฐบาลท้องถิ่นของจังหวัดฟูกูชิมะ ซึ่งระบุว่า อาจเป็นหนทางเดียวที่ช่วยให้ผู้ประสบภัยคนอื่นๆ สบายใจขึ้น
อนึ่ง ประชาชนจำนวนหลายพันคนต้องทิ้งบ้านทิ้งช่อง หลังจากกัมมันตภาพรังสีจากโรงไฟฟ้าฟูกูชิมะ ไดอิจิ เกิดการรั่วไหลและแพร่กระจายสู่อากาศ น้ำทะเล และดิน เกิดการปนเปื้อนรังสีในผลิตภัณฑ์นานาชนิด รวมทั้งน้ำประปา
เมื่อวันจันทร์ (11) รัฐบาลประกาศขยายเขตอพยพขึ้นเป็น 30 กิโลเมตร เพราะความกังวลถึงผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในระยะยาว
เจ้าหน้าที่เมืองมินามิโซมะ หนึ่งในพื้นที่อพยพเพิ่มเติมซึ่งประกาศเมื่อวันจันทร์ เปิดเผยว่า แม้แต่เด็กเล็กๆ และผู้ด้อยโอกาส ก็ได้รับผลกระทบจากการเลือกปฏิบัตินี้ หากไม่มีใบรับรองกัมมันตภาพรังสี
“เด็กๆ ถูกศูนย์อพยพปฏิเสธ มันน่าเศร้ามากที่พวกเขาได้ยินว่า ‘อย่าเข้ามาใกล้ อย่าเข้ามาใกล้’” ซาดายาซุ อาเบะ เลขานุการนายกเทศมนตรีเมืองมินามิโซมะ
สตรีชาวจังหวัดฟูกูชิมะ ซึ่งตัดสินใจอพยพครอบครัวไปยังทางเหนือของกรุงโตเกียว ได้เขียนระบายความรู้สึกไว้บนบล็อกของเธอว่า โรงแรมแห่งหนึ่งในจังหวัดไซตามะปฏิเสธไม่ยอมให้เธอเข้าพัก
“แม้ฉันอธิบายแล้วว่ามาจากพื้นที่นอกเขตอพยพพนักงานโรงแรมกลับตอบว่า ‘คุณพักที่นี่ไม่ได้ ถ้าคุณไม่ได้รับการตรวจสอบ และพิสูจน์ว่าคุณไม่ได้เป็น ฮิบากุชะ’” อนึ่งคำว่า ฮิบากุชะ หมายถึงผู้รอดชีวิตจากระเบิดปรมาณูที่ฮิโรชิมะและนางาซากิ ซึ่งถูกคนอื่นๆ หนีห่าง เนื่องจากกังวลว่า อาจนำรังสีมาปนเปื้อน.
ชาวญี่ปุ่นที่กลายเป็นคนไร้บ้านจากการประกาศเขตอพยพพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าฟูกูชิมะ ต้องการให้รัฐบาลออกใบรับรอง เพื่อยืนยันว่า พวกเขาไม่ได้ปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสี ก่อนที่จะได้รับอนุญาตให้สามารถเดินเข้าไปยังศูนย์ผู้ลี้ภัยได้
ทั้งนี้ มีการติดตั้งอุปกรณ์ตรวจสอบกัมมันตภาพรังสี ซึ่งได้กลายเป็นด่านตรวจที่จะพิจารณาว่า บุคคลนั้นๆ สามารถเข้าไปยังสถานที่ต่างๆ ได้หรือไม่ แม้ผู้เชี่ยวชาญเคยระบุว่า ผู้อพยพจากพื้นที่รอบโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไม่เป็นอันตรายต่อผู้อื่น
โคซูเกะ ยามางิชิ เจ้าหน้าที่แพทย์ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ ไดอิจิ กล่าวว่า “ประชาชนตื่นตระหนกเกินไป และน่าเศร้าที่มันอาจนำไปสู่การเลือกปฏิบัติ”
หนังสือพิมพ์ไมนิจิ รายงานว่า มีเด็กหญิงวัย 8 ปีคนหนึ่งจากเมืองมินามิโซมะ ถูกโรงพยาบาลในเมืองฟูกูชิมะปฏิเสธการรักษาโรคผิวหนัง เนื่องจากหนูน้อยคนนี้ไม่มีใบรับรองกัมมันตภาพรังสี โดยทากายูกิ โอกามูระ ผู้เป็นบิดาเปิดใจกับหนังสือฉบับนี้ว่า “ผมกังวลกับชีวิตการเป็นผู้อพยพอยู่แล้ว นี่ยังต้องมาสะเทือนใจกับการถูกปฏิเสธนัด (ของลูกสาว) อีก”
เจ้าหน้าที่ศูนย์อพยพในเมืองฟูกูชิมะระบุว่า ผู้อพยพจากพื้นที่รัศมี 30 กิโลเมตรจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ จำเป็นต้องได้รับใบรับรองกัมมันตภาพรังสี หากไม่มี พวกเขาก็สามารถเข้ารับการสแกนตามศูนย์ต่างๆ ใบรับรองกัมมันตภาพรังสีดังกล่าวออกโดยรัฐบาลท้องถิ่นของจังหวัดฟูกูชิมะ ซึ่งระบุว่า อาจเป็นหนทางเดียวที่ช่วยให้ผู้ประสบภัยคนอื่นๆ สบายใจขึ้น
อนึ่ง ประชาชนจำนวนหลายพันคนต้องทิ้งบ้านทิ้งช่อง หลังจากกัมมันตภาพรังสีจากโรงไฟฟ้าฟูกูชิมะ ไดอิจิ เกิดการรั่วไหลและแพร่กระจายสู่อากาศ น้ำทะเล และดิน เกิดการปนเปื้อนรังสีในผลิตภัณฑ์นานาชนิด รวมทั้งน้ำประปา
เมื่อวันจันทร์ (11) รัฐบาลประกาศขยายเขตอพยพขึ้นเป็น 30 กิโลเมตร เพราะความกังวลถึงผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในระยะยาว
เจ้าหน้าที่เมืองมินามิโซมะ หนึ่งในพื้นที่อพยพเพิ่มเติมซึ่งประกาศเมื่อวันจันทร์ เปิดเผยว่า แม้แต่เด็กเล็กๆ และผู้ด้อยโอกาส ก็ได้รับผลกระทบจากการเลือกปฏิบัตินี้ หากไม่มีใบรับรองกัมมันตภาพรังสี
“เด็กๆ ถูกศูนย์อพยพปฏิเสธ มันน่าเศร้ามากที่พวกเขาได้ยินว่า ‘อย่าเข้ามาใกล้ อย่าเข้ามาใกล้’” ซาดายาซุ อาเบะ เลขานุการนายกเทศมนตรีเมืองมินามิโซมะ
สตรีชาวจังหวัดฟูกูชิมะ ซึ่งตัดสินใจอพยพครอบครัวไปยังทางเหนือของกรุงโตเกียว ได้เขียนระบายความรู้สึกไว้บนบล็อกของเธอว่า โรงแรมแห่งหนึ่งในจังหวัดไซตามะปฏิเสธไม่ยอมให้เธอเข้าพัก
“แม้ฉันอธิบายแล้วว่ามาจากพื้นที่นอกเขตอพยพพนักงานโรงแรมกลับตอบว่า ‘คุณพักที่นี่ไม่ได้ ถ้าคุณไม่ได้รับการตรวจสอบ และพิสูจน์ว่าคุณไม่ได้เป็น ฮิบากุชะ’” อนึ่งคำว่า ฮิบากุชะ หมายถึงผู้รอดชีวิตจากระเบิดปรมาณูที่ฮิโรชิมะและนางาซากิ ซึ่งถูกคนอื่นๆ หนีห่าง เนื่องจากกังวลว่า อาจนำรังสีมาปนเปื้อน.