เอเอฟพี/รอยเตอร์ - ญี่ปุ่นประสบความสำเร็จเมื่อวานนี้ (6) ในการอุดรอยแตกที่กลายเป็นจุดรั่วไหลของน้ำปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสีระดับสูง ออกจากอาคารเตาปฏิกรณ์หมายเลข 2 ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ ไดอิจิ ลงสู่มหาสมุทรแปซิฟิก แต่ก็เกิดปัญหาใหม่แทรกซ้อนขึ้นมาทันทีทันควัน โดยบริษัทผู้ดำเนินการโรงไฟฟ้าแห่งนี้ แสดงความวิตกว่า ภายในอาคารเตาปฏิกรณ์หมายเลข 1 กำลังมีการสะสมตัวของก๊าซไฮโดรเจน ซึ่งอาจเป็นเหตุให้เกิดการระเบิดขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง
น้ำปนเปื้อนรังสีระดับสูงที่รั่วไหลออกมาจากรอยแตกดังกล่าว เป็นที่เข้าใจกันว่าคือต้นตอที่ไปทำให้ระดับกัมมันตภาพรังสีในมหาสมุทรแปซิฟิกบริเวณรอบๆ โรงไฟฟ้าแห่งนี้ เกิดพุ่งลิ่วขึ้นมา และเป็นเหตุให้ญี่ปุ่นต้องประกาศมาตรฐานความปลอดภัยด้านระดับรังสีปนเปื้อนในอาหารทะเลขึ้นมาเป็นครั้งแรกในวันอังคาร(5) เมื่อพบปลาทะเลซึ่งมีระดับการปนเปื้อนของกัมมันตภาพรังสีสูงมาก
บริษัทโตเกียว อิเล็กทริก เพาเวอร์ (เท็ปโก) ผู้ดำเนินการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากกรุงโตเกียวไปทางเหนือประมาณ 250 กิโลเมตรแห่งนี้ ได้ออกคำแถลงเมื่อวานนี้ว่า “เจ้าหน้าที่ของเรายืนยันไว้เมื่อเวลา 05.38 น. ว่าน้ำที่ไหลออกจากหลุมรอยแตกร้าวนั้น หยุดลงแล้ว” ก่อนหน้านี้ เท็ปโกได้ทดลองมาหลายวิธีเพื่อสกัดการรั่วไหล โดยไม่ประสบความสำเร็จ เป็นต้นว่า การยาด้วยซีเมนต์เพื่อปิดรอยรั่วร้าว ตลอดจนการใช้ขี้เลื่อยผสมสารโพลิเลอร์และซีเมนต์
ความสำเร็จในครั้งนี้ใช้วิธีการอุดรอยรั่วด้วยการอัดฉีดโซเดียม ซิลิเกต ซึ่งเป็นสารเคมีที่เรียกกันว่า “แก้วเหลว” เพื่อไปทำให้ดินบริเวณหลุมรั่วเกิดการแข็งตัวขึ้นมา และสกัดกั้นไม่ให้น้ำผ่านลงสู่มหาสมุทรแปซิฟิก
รอยรั่วร้าวดังกล่าวซึ่งมีขนาด 20 เซนติเมตร ปรากฏบนผนังของบ่อที่เชื่อมไปยังอาคารเตาปฏิกรณ์หมายเลข 2 ซึ่งเป็นหนึ่งในจุดเจ้าปัญหา เพราะระบบทำความเย็นเสียหายหลังเกิดเหตุภัยธรรมชาติแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิถล่มเมื่อวันที่ 11 มีนาคมที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม ขณะที่ข่าวดีนี้เพิ่งปรากฏออกมาหมาดๆ ความยุ่งยากซับซ้อนของการใช้พยายามเพื่อควบคุมภัยพิบัติทางนิวเคลียร์ครั้งร้ายแรงที่สุดของโลกในรอบระยะเวลา 25 ปีมานี้ ก็แสดงตัวออกมาให้เห็นอีก โดยพวกเจ้าหน้าที่ของเท็ปโกแถลงว่า พวกเขากำลังวิตกว่า ในบริเวณรอบๆ เตาปฏิกรณ์หมายเลข 1 กำลังเกิดการสะสมตัวของก๊าซไฮโดรเจน ซึ่งอาจจะเกิดปฏิกิริยาอย่างรุนแรงกับก๊าซออกซิเจน และก่อให้เกิดการระเบิดขึ้นมา
เพื่อหลีกเลี่ยงสภาพการณ์ดังกล่าว พวกเขาจึงกำลังวางแผนการที่จะเริ่มอัดฉีดก๊าซไนโตรเจนเข้าไปในหม้อควบคุมความดัน อันเป็นปราการปกป้องด่านสุดท้ายของแกนกลางของเตาปฏิกรณ์เครื่องดังกล่าว ด้วยความหวังว่ามันจะเข้าแทนที่ก๊าซออกซิเจน เนื่องจากไนโตรเจนเป็นก๊าซเฉื่อย จึงไม่ทำปฏิกิริยากับไฮโดรเจนจนทำให้เกิดการระเบิด
“เรากำลังตรองดูว่าจะใช้วิธีอัดฉีดก๊าซไนโตเจนเข้าไปในหม้อควบคุมความดันของเตาปฏิกรณ์หมายเลข 1 เพราะก๊าซไฮโดรเจนอาจไปสะสมตัวอยู่ในหม้อควบคุมได้” เจ้าหน้าที่ของเท็ปโกให้ข้อมูลไว้อย่างนั้น
ทางด้านสถานีโทรทัศน์เอ็นเอชเคของทางการญี่ปุ่นอ้างแหล่งข่าวที่ขอไม่เปิดเผยชื่อว่า เท็ปโกอาจจะเริ่มอัดฉีดไนโตเจนเข้าสู่เตาปฏิกรณ์หมายเลข 1 ตั้งแต่เย็นวานนี้ และพิจารณาที่จะทำกระบวนการทำนองนี้กับเตาปฏิกรณ์หมายเลข 2 และ 3 ด้วย
ในช่วงไม่กี่วันหลังเหตุแผ่นดินไหวและสึนามิถล่มโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ ได้เกิดเหตุระเบิดใหญ่ๆ หลายครั้งที่เตาปฏิกรณ์หมายเลข 1, 2, 3, และ 4 โดยเป็นผลจากการสะสมตัวของไฮโดรเจนใกล้เตาปฏิกรณ์ ส่งผลทำให้อาคารด้านนอกที่ห้อมล้อมปกป้องตัวเตาปฏิกรณ์ได้รับความเสียหาย
เมื่อวานนี้เท็ปโกยังดำเนินการระบายน้ำทะเลปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสีระดับต่ำลงสู่มหาสมุทรต่อไป โดยงานนี้ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่วันจันทร์ มีกำหนดจะเสร็จในวันศุกร์(8) ด้วยเป้าหมายที่จะระบายน้ำออกมาให้ได้ 11,500 ตัน
น้ำเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของน้ำจำนวนมากมายมหาศาลที่เท็ปโกและเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างๆ ระดมกันโปรยปรายอัดฉีดเข้าไปในเตาปฏิกรณ์ทั้ง 6 เครื่องของโรงไฟฟ้าฟูกูชิมะ ไดอิจิ หลังจากที่เหตุแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิ ทำให้ระบบหล่อเย็นภายในเตาปฏิกรณ์เสียหายใช้การไม่ได้ และอุณหภูมิของแท่งเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ทั้งที่อยู่ในแกนกลางเตาปฏิกรณ์ และพวกที่เป็นแท่งเชื้อเพลิงใช้แล้วซึ่งเก็บไว้ในสระน้ำที่อยู่ด้านนอกของหม้อควบคุมความดันของเตาปฏิกรณ์ กำลังเพิ่มสูงขึ้นจนหวั่นเกรงกันว่าจะเกิดการหลอมละลาย ซึ่งอาจจะทำให้มีกัมมันตภาพรังสีความเข้มข้นสูงแผ่กระจายออกมาภายนอก
แต่แม้น้ำพวกนี้จะช่วยทำให้อุณหภูมิของแท่งเชื้อเพลิงเหล่านี้เย็นตัวลง ทว่ามันก็ไหลนองอยู่ในอาคารเตาปฏิกรณ์ ตลอดจนเล็ดรอดไหลลงสู่มหาสมุทร เท็ปโกแถลงในวันจันทร์ว่ามีความจำเป็นที่จะต้องระบายน้ำส่วนที่ปนเปื้อนรังสีต่ำๆ ลงทะเล เพื่อให้มีที่ทางสำหรับเก็บกักน้ำที่ปนเปื้อนรังสีเข้มข้นสูง
การปล่อยน้ำปนเปื้อนรังสีลงมหาสมุทรเช่นนี้ สร้างความไม่พอใจให้แก่บรรดาชาวประมงในพื้นที่แถบนั้น ตลอดจนสร้างความวิตกให้แก่พวกประเทศเพื่อนบ้านอย่างเช่นเกาหลีใต้ และจีน
ชาวประมงบอกว่า พวกเขายังไม่หายกังวลใจถึงแม้ทางการจะให้การรับรองว่าหลังจากการปล่อยน้ำดังกล่าว ระดับรังสีในมหาสมุทรก็ยังคงอยู่ในระดับต่ำและมีความปลอดภัย
อิกุฮิโระ ฮัตโตริ ประธานสหกรณ์การประมงของญี่ปุ่น บอกกับโทรทัศน์เอ็นเอชเคว่า การกระทำเช่นนี้เป็นสิ่งที่ชาวประมงไม่สามารถให้อภัยได้ไม่ว่าในสถานการณ์ใดๆ ก็ตามที และต่อจากนี้ไป ชาวประมงจะไม่ร่วมมือหรือยอมรับการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานนิวเคลียร์อีกต่อไปแล้ว
ขณะที่ ฟูกิโอะ เอดาโนะ เลขาธิการคณะรัฐมนตรีและหัวหน้าโฆษกรัฐบาลญี่ปุ่น แถลงยอมรับเมื่อวานนี้ว่า ญี่ปุ่นควรที่จะต้องให้คำอธิบายเผยแพร่ข่าวสารให้มากกว่านี้ โดยเฉพาะการอธิบายต่อพวกประเทศเพื่อนบ้าน และเวลานี้รัฐบาลได้สั่งการให้กระทรวงพาณิชย์และกระทรวงการต่างประเทศรับผิดชอบงานด้านนี้แล้ว
บรรดาผู้เชี่ยวชาญในโลกตะวันตก เป็นต้นว่า ปราดิป เดบ อาจารย์อาวุโสผู้สอนวิชารังสีทางการแพทย์ แห่งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชสถาบันเทคโนโลยีเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย ก็แสดงความเห็นพ้องด้วยว่า การระบายน้ำปนเปื้อนรังสีระดับต่ำๆ ลงสู่มหาสมุทรเช่นนี้ จะไม่ก่ออันตรายต่อสุขภาพของประชาชน
น้ำปนเปื้อนรังสีระดับสูงที่รั่วไหลออกมาจากรอยแตกดังกล่าว เป็นที่เข้าใจกันว่าคือต้นตอที่ไปทำให้ระดับกัมมันตภาพรังสีในมหาสมุทรแปซิฟิกบริเวณรอบๆ โรงไฟฟ้าแห่งนี้ เกิดพุ่งลิ่วขึ้นมา และเป็นเหตุให้ญี่ปุ่นต้องประกาศมาตรฐานความปลอดภัยด้านระดับรังสีปนเปื้อนในอาหารทะเลขึ้นมาเป็นครั้งแรกในวันอังคาร(5) เมื่อพบปลาทะเลซึ่งมีระดับการปนเปื้อนของกัมมันตภาพรังสีสูงมาก
บริษัทโตเกียว อิเล็กทริก เพาเวอร์ (เท็ปโก) ผู้ดำเนินการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากกรุงโตเกียวไปทางเหนือประมาณ 250 กิโลเมตรแห่งนี้ ได้ออกคำแถลงเมื่อวานนี้ว่า “เจ้าหน้าที่ของเรายืนยันไว้เมื่อเวลา 05.38 น. ว่าน้ำที่ไหลออกจากหลุมรอยแตกร้าวนั้น หยุดลงแล้ว” ก่อนหน้านี้ เท็ปโกได้ทดลองมาหลายวิธีเพื่อสกัดการรั่วไหล โดยไม่ประสบความสำเร็จ เป็นต้นว่า การยาด้วยซีเมนต์เพื่อปิดรอยรั่วร้าว ตลอดจนการใช้ขี้เลื่อยผสมสารโพลิเลอร์และซีเมนต์
ความสำเร็จในครั้งนี้ใช้วิธีการอุดรอยรั่วด้วยการอัดฉีดโซเดียม ซิลิเกต ซึ่งเป็นสารเคมีที่เรียกกันว่า “แก้วเหลว” เพื่อไปทำให้ดินบริเวณหลุมรั่วเกิดการแข็งตัวขึ้นมา และสกัดกั้นไม่ให้น้ำผ่านลงสู่มหาสมุทรแปซิฟิก
รอยรั่วร้าวดังกล่าวซึ่งมีขนาด 20 เซนติเมตร ปรากฏบนผนังของบ่อที่เชื่อมไปยังอาคารเตาปฏิกรณ์หมายเลข 2 ซึ่งเป็นหนึ่งในจุดเจ้าปัญหา เพราะระบบทำความเย็นเสียหายหลังเกิดเหตุภัยธรรมชาติแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิถล่มเมื่อวันที่ 11 มีนาคมที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม ขณะที่ข่าวดีนี้เพิ่งปรากฏออกมาหมาดๆ ความยุ่งยากซับซ้อนของการใช้พยายามเพื่อควบคุมภัยพิบัติทางนิวเคลียร์ครั้งร้ายแรงที่สุดของโลกในรอบระยะเวลา 25 ปีมานี้ ก็แสดงตัวออกมาให้เห็นอีก โดยพวกเจ้าหน้าที่ของเท็ปโกแถลงว่า พวกเขากำลังวิตกว่า ในบริเวณรอบๆ เตาปฏิกรณ์หมายเลข 1 กำลังเกิดการสะสมตัวของก๊าซไฮโดรเจน ซึ่งอาจจะเกิดปฏิกิริยาอย่างรุนแรงกับก๊าซออกซิเจน และก่อให้เกิดการระเบิดขึ้นมา
เพื่อหลีกเลี่ยงสภาพการณ์ดังกล่าว พวกเขาจึงกำลังวางแผนการที่จะเริ่มอัดฉีดก๊าซไนโตรเจนเข้าไปในหม้อควบคุมความดัน อันเป็นปราการปกป้องด่านสุดท้ายของแกนกลางของเตาปฏิกรณ์เครื่องดังกล่าว ด้วยความหวังว่ามันจะเข้าแทนที่ก๊าซออกซิเจน เนื่องจากไนโตรเจนเป็นก๊าซเฉื่อย จึงไม่ทำปฏิกิริยากับไฮโดรเจนจนทำให้เกิดการระเบิด
“เรากำลังตรองดูว่าจะใช้วิธีอัดฉีดก๊าซไนโตเจนเข้าไปในหม้อควบคุมความดันของเตาปฏิกรณ์หมายเลข 1 เพราะก๊าซไฮโดรเจนอาจไปสะสมตัวอยู่ในหม้อควบคุมได้” เจ้าหน้าที่ของเท็ปโกให้ข้อมูลไว้อย่างนั้น
ทางด้านสถานีโทรทัศน์เอ็นเอชเคของทางการญี่ปุ่นอ้างแหล่งข่าวที่ขอไม่เปิดเผยชื่อว่า เท็ปโกอาจจะเริ่มอัดฉีดไนโตเจนเข้าสู่เตาปฏิกรณ์หมายเลข 1 ตั้งแต่เย็นวานนี้ และพิจารณาที่จะทำกระบวนการทำนองนี้กับเตาปฏิกรณ์หมายเลข 2 และ 3 ด้วย
ในช่วงไม่กี่วันหลังเหตุแผ่นดินไหวและสึนามิถล่มโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ ได้เกิดเหตุระเบิดใหญ่ๆ หลายครั้งที่เตาปฏิกรณ์หมายเลข 1, 2, 3, และ 4 โดยเป็นผลจากการสะสมตัวของไฮโดรเจนใกล้เตาปฏิกรณ์ ส่งผลทำให้อาคารด้านนอกที่ห้อมล้อมปกป้องตัวเตาปฏิกรณ์ได้รับความเสียหาย
เมื่อวานนี้เท็ปโกยังดำเนินการระบายน้ำทะเลปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสีระดับต่ำลงสู่มหาสมุทรต่อไป โดยงานนี้ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่วันจันทร์ มีกำหนดจะเสร็จในวันศุกร์(8) ด้วยเป้าหมายที่จะระบายน้ำออกมาให้ได้ 11,500 ตัน
น้ำเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของน้ำจำนวนมากมายมหาศาลที่เท็ปโกและเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างๆ ระดมกันโปรยปรายอัดฉีดเข้าไปในเตาปฏิกรณ์ทั้ง 6 เครื่องของโรงไฟฟ้าฟูกูชิมะ ไดอิจิ หลังจากที่เหตุแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิ ทำให้ระบบหล่อเย็นภายในเตาปฏิกรณ์เสียหายใช้การไม่ได้ และอุณหภูมิของแท่งเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ทั้งที่อยู่ในแกนกลางเตาปฏิกรณ์ และพวกที่เป็นแท่งเชื้อเพลิงใช้แล้วซึ่งเก็บไว้ในสระน้ำที่อยู่ด้านนอกของหม้อควบคุมความดันของเตาปฏิกรณ์ กำลังเพิ่มสูงขึ้นจนหวั่นเกรงกันว่าจะเกิดการหลอมละลาย ซึ่งอาจจะทำให้มีกัมมันตภาพรังสีความเข้มข้นสูงแผ่กระจายออกมาภายนอก
แต่แม้น้ำพวกนี้จะช่วยทำให้อุณหภูมิของแท่งเชื้อเพลิงเหล่านี้เย็นตัวลง ทว่ามันก็ไหลนองอยู่ในอาคารเตาปฏิกรณ์ ตลอดจนเล็ดรอดไหลลงสู่มหาสมุทร เท็ปโกแถลงในวันจันทร์ว่ามีความจำเป็นที่จะต้องระบายน้ำส่วนที่ปนเปื้อนรังสีต่ำๆ ลงทะเล เพื่อให้มีที่ทางสำหรับเก็บกักน้ำที่ปนเปื้อนรังสีเข้มข้นสูง
การปล่อยน้ำปนเปื้อนรังสีลงมหาสมุทรเช่นนี้ สร้างความไม่พอใจให้แก่บรรดาชาวประมงในพื้นที่แถบนั้น ตลอดจนสร้างความวิตกให้แก่พวกประเทศเพื่อนบ้านอย่างเช่นเกาหลีใต้ และจีน
ชาวประมงบอกว่า พวกเขายังไม่หายกังวลใจถึงแม้ทางการจะให้การรับรองว่าหลังจากการปล่อยน้ำดังกล่าว ระดับรังสีในมหาสมุทรก็ยังคงอยู่ในระดับต่ำและมีความปลอดภัย
อิกุฮิโระ ฮัตโตริ ประธานสหกรณ์การประมงของญี่ปุ่น บอกกับโทรทัศน์เอ็นเอชเคว่า การกระทำเช่นนี้เป็นสิ่งที่ชาวประมงไม่สามารถให้อภัยได้ไม่ว่าในสถานการณ์ใดๆ ก็ตามที และต่อจากนี้ไป ชาวประมงจะไม่ร่วมมือหรือยอมรับการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานนิวเคลียร์อีกต่อไปแล้ว
ขณะที่ ฟูกิโอะ เอดาโนะ เลขาธิการคณะรัฐมนตรีและหัวหน้าโฆษกรัฐบาลญี่ปุ่น แถลงยอมรับเมื่อวานนี้ว่า ญี่ปุ่นควรที่จะต้องให้คำอธิบายเผยแพร่ข่าวสารให้มากกว่านี้ โดยเฉพาะการอธิบายต่อพวกประเทศเพื่อนบ้าน และเวลานี้รัฐบาลได้สั่งการให้กระทรวงพาณิชย์และกระทรวงการต่างประเทศรับผิดชอบงานด้านนี้แล้ว
บรรดาผู้เชี่ยวชาญในโลกตะวันตก เป็นต้นว่า ปราดิป เดบ อาจารย์อาวุโสผู้สอนวิชารังสีทางการแพทย์ แห่งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชสถาบันเทคโนโลยีเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย ก็แสดงความเห็นพ้องด้วยว่า การระบายน้ำปนเปื้อนรังสีระดับต่ำๆ ลงสู่มหาสมุทรเช่นนี้ จะไม่ก่ออันตรายต่อสุขภาพของประชาชน