ทุกคนที่เป็นคนใต้ หรือแม้มิใช่คนใต้แต่คุ้นเคยกับภาคใต้ จะรู้ดีว่าภาคใต้เป็นดินแดนที่มีเพียงฤดูฝนกับฤดูร้อน และฤดูฝนยาวนานที่สุดถึงกับมีคำเรียกดินแดนแห่งนี้ว่า ดินแดนฝน 8 แดด 4 คือมีฝนตก 8 เดือน และฤดูร้อนเพียง 4 เดือน และคำกล่าวนี้ไม่ผิดแผกไปจากความเป็นจริง ถ้านำมาคิดเปรียบเทียบจากสภาพภูมิอากาศที่เป็นอยู่ในจำนวน 12 เดือน
เริ่มด้วยภาคใต้ฝั่งตะวันตก ฝนจะตกหนักหรือเรียกได้ว่าเป็นฤดูฝน จะเริ่มจากพฤษภาคม และไปสิ้นสุดลงประมาณตุลาคม จากเดือนตุลาคมไปถึงเดือนเมษายนจะเป็นช่วงฤดูร้อน แต่ฤดูร้อนที่ว่านี้ใช่ว่าจะมีอากาศร้อนจัด และไม่มีฝน ตรงกันข้ามจะมีฝนแต่น้อยกว่าในช่วงแรกเท่านั้น ดังนั้น เดือนตุลาคม-เมษายนจึงเป็นโอกาสทองของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในภาคใต้ฝั่งตะวันตก
ส่วนภาคใต้ฝั่งตะวันออกหรือฝั่งอ่าวไทย ฤดูฝนจะเริ่มมีฝนตกหนักตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนไปจนถึงกุมภาพันธ์ แต่จะมีฝนตกมากและมีน้ำท่วมในช่วงธันวาคม-มกราคมของทุกปี และจะค่อยๆ ลดลงไปเรื่อยๆ เมื่อถึงเดือนกุมภาพันธ์จนปลายเดือนแทบจะไม่มีฝนตกหนักแล้ว ส่วนในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน จะเป็นหน้าร้อน ในทำนองเดียวกันกับฝั่งตะวันตกในช่วงพฤษภาคม-ตุลาคม ถึงแม้จะเป็นช่วงที่มีอากาศร้อนแต่ก็มีฝนเป็นระยะๆ เพียงแต่ไม่หนักเหมือนช่วงเดือนเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์เท่านั้น จากสภาวะอากาศที่ว่ามานี้ จึงสอดคล้องกับคำว่า ฝน 8 แดด 4 อย่างเห็นได้ชัดเจน
แต่เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมาภาคใต้ได้พบกับความเปลี่ยนแปลงของดินฟ้าอากาศช่วงเดือนมีนาคมทุกๆ ปีที่ผ่านมานับร้อยปี หรือมากกว่านั้นจากการสอบถามผู้เฒ่าผู้แก่ที่มีอายุ 70-80 ปีขึ้นไปล้วนแล้วแต่บอกเป็นเสียงเดียวกันว่าไม่เคยเห็นฝนตกหนัก และมีน้ำท่วมใหญ่เช่นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ดังนั้นจึงพูดได้ว่าฝนตกและน้ำท่วมภาคใต้เมื่อเดือนมีนาคมจึงเป็นเรื่องผิดปกติของธรรมชาติ
นอกจากฝนตกและมีน้ำท่วมบ้านเรือน เรือกสวนไร่นาเสียหายแล้ว ยังมีเหตุการณ์ดินโคลนถล่มบ้านเรือน และทำให้คนเสียชีวิตรวมแล้วหลายสิบราย อันถือได้ว่าเป็นเหตุการณ์ร้ายแรงที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเดือนมีนาคม
จริงอยู่ถ้านับถอยหลังไปประมาณ 20 กว่าปี เหตุการณ์ดินโคลนถล่มและทับถมบ้านเรือน รวมไปถึงชีวิตคนและสัตว์เลี้ยงเสียหายเกิดขึ้นมาแล้วครั้งหนึ่งที่กะทูน แต่ในครั้งนั้นเป็นเพียงบริเวณแคบเมื่อเทียบกับครั้งนี้
โดยปกติเหตุการณ์น้ำท่วมขังในฤดูฝนเป็นเรื่องที่ไม่เหนือความคาดหมายของผู้คนที่อยู่ในจังหวัดภาคใต้ โดยเฉพาะแถบที่อยู่ใกล้ทะเลสาบสงขลา และทะเลสาบพัทลุง หรือที่เรียกว่า ทะเลน้อย และจากการที่มีน้ำท่วมขังทุกปี และปีละเดือนสองเดือนเป็นประจำ จึงทำให้ผู้คนในแถบนี้มีการเตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับน้ำท่วมเป็นอย่างดี จะเห็นได้จากการสร้างบ้านใต้ถุนสูง และเตรียมทำโคกให้สูงพอหนีน้ำท่วมได้เพื่อให้สัตว์เลี้ยง เช่น วัว ควาย รวมไปถึงสุกรและไก่ได้อาศัยหนีน้ำ รวมถึงการเตรียมเรือไว้ใช้สัญจรในฤดูฝนเมื่อมีน้ำท่วมขังด้วย จึงไม่เดือดร้อนเฉกเช่นผู้คนที่อยู่ในที่สูง และน้ำไม่เคยท่วม
อะไรคือเหตุให้เกิดภาวะน้ำท่วม และดินถล่มในภาคใต้ และจะมีวิธีการแก้ไขป้องกันอย่างไร?
เพื่อให้มองเห็นประเด็นแห่งปัญหา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหตุแห่งการเกิดปัญหา จึงใคร่ขอย้อนไปดูถึงสภาพความมี และความเป็นแห่งวิถีชีวิตของคนภาคใต้ ซึ่งสอดคล้องกับภูมิอากาศของภาคนี้ในฐานะเป็นดินแดนแห่งฝน 8 แดด 4 นั่นก็คือ การปลูกพืชเศรษฐกิจที่ภูมิอากาศอำนวยอย่างยางพารา และปาล์มน้ำมัน เริ่มด้วยการปลูกยางพารา และตามมาด้วยปาล์มในยุคต่อมา แต่ในระยะแรกของการปลูกไม่เป็นที่แพร่หลายมากนักเพราะราคายาง และน้ำมันปาล์มไม่จูงใจให้คนนิยม แต่เมื่อราคายางแพงขึ้นถึงกิโลกรัมละ 100 บาท และในบางช่วงมากกว่า 100 บาทด้วยซ้ำ ทำให้มีการขยายพื้นที่เพิ่มขึ้น และเมื่อราคาน้ำมันเชื้อเพลิงแพง ประกอบกับรัฐมีนโยบายชัดเจนในการผลิตไบโอดีเซลโดยใช้น้ำมันปาล์มมาผสมกับน้ำมันดีเซลจากการนำน้ำมันดิบมากลั่น จึงทำให้ราคาน้ำมันปาล์มแพงขึ้น
และนี่เองคือเหตุจูงใจให้ผู้คนในภาคใต้หันมาทำสวนยางพารา และสวนปาล์มน้ำมันเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และแน่นอน การเพิ่มขึ้นของพื้นที่ปลูกยาง และปาล์มน้ำมันหนีไม่พ้นการบุกรุกป่าสงวนอันเป็นพื้นที่ลาดชันบนไหล่เขา เมื่อป่าถูกทำลาย ระบบนิเวศที่หลากหลาย มีต้นไม้มากชนิดขึ้นอย่างสมดุล และอุ้มน้ำไว้ได้ถูกทำลายเพื่อปลูกพืชเชิงเดี่ยวเพื่อหวังผลทางเศรษฐกิจ จึงทำให้การดูดซับน้ำไว้ไม่ดีเช่นแต่ก่อน และนี่คือสาเหตุประการหนึ่งของการที่ทำให้เกิดแผ่นดินถล่ม และสาเหตุนี้ก็สืบเนื่องมาจากความเห็นแก่ได้ของมนุษย์นั่นเอง
ส่วนสาเหตุอีกประการหนึ่งก็คือ ฝนที่ตกลงมาอย่างหนัก และผิดฤดูกาล ทำให้ผู้คนที่อยู่อาศัยในพื้นที่นั้นตั้งตัวไม่ทันจนเกิดการสูญเสียทั้งชีวิต และทรัพย์สินตามมา
กล่าวโดยสรุป ความหายนะของภาคใต้ในครั้งนี้เกิดจาก 2 สาเหตุใหญ่ คือ
1. ความเห็นแก่ได้ของคนในพื้นที่ที่มุ่งทำลายป่าไม้ และปลูกพืชเศรษฐกิจคือปาล์มน้ำมัน และยางพาราแทน รวมไปถึงการบุกรุกของกลุ่มทุนที่ทำรีสอร์ตด้วย
2. ฝนที่ตกหนักกว่าปกติ และเกิดขึ้นในช่วงที่คนไม่คาดคิดว่าจะเกิด จึงไม่ทันป้อนกันตัว
วิธีการป้องกันที่ควรจะดำเนินการก็คือ หยุดทำลายป่า และหันมาใส่ใจการอนุรักษ์ให้มากขึ้น รวมไปถึงการปรับปรุงการปลูกสร้างบ้านให้สอดคล้องกับดินฟ้าอากาศ คือปลูกบ้านใต้ถุนสูง และเตรียมเรือไว้ใช้ในทุกครัวเรือนเช่นคนโบราณทำมา ก็จะช่วยให้เกิดความเสียหายน้อยกว่านี้
เริ่มด้วยภาคใต้ฝั่งตะวันตก ฝนจะตกหนักหรือเรียกได้ว่าเป็นฤดูฝน จะเริ่มจากพฤษภาคม และไปสิ้นสุดลงประมาณตุลาคม จากเดือนตุลาคมไปถึงเดือนเมษายนจะเป็นช่วงฤดูร้อน แต่ฤดูร้อนที่ว่านี้ใช่ว่าจะมีอากาศร้อนจัด และไม่มีฝน ตรงกันข้ามจะมีฝนแต่น้อยกว่าในช่วงแรกเท่านั้น ดังนั้น เดือนตุลาคม-เมษายนจึงเป็นโอกาสทองของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในภาคใต้ฝั่งตะวันตก
ส่วนภาคใต้ฝั่งตะวันออกหรือฝั่งอ่าวไทย ฤดูฝนจะเริ่มมีฝนตกหนักตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนไปจนถึงกุมภาพันธ์ แต่จะมีฝนตกมากและมีน้ำท่วมในช่วงธันวาคม-มกราคมของทุกปี และจะค่อยๆ ลดลงไปเรื่อยๆ เมื่อถึงเดือนกุมภาพันธ์จนปลายเดือนแทบจะไม่มีฝนตกหนักแล้ว ส่วนในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน จะเป็นหน้าร้อน ในทำนองเดียวกันกับฝั่งตะวันตกในช่วงพฤษภาคม-ตุลาคม ถึงแม้จะเป็นช่วงที่มีอากาศร้อนแต่ก็มีฝนเป็นระยะๆ เพียงแต่ไม่หนักเหมือนช่วงเดือนเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์เท่านั้น จากสภาวะอากาศที่ว่ามานี้ จึงสอดคล้องกับคำว่า ฝน 8 แดด 4 อย่างเห็นได้ชัดเจน
แต่เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมาภาคใต้ได้พบกับความเปลี่ยนแปลงของดินฟ้าอากาศช่วงเดือนมีนาคมทุกๆ ปีที่ผ่านมานับร้อยปี หรือมากกว่านั้นจากการสอบถามผู้เฒ่าผู้แก่ที่มีอายุ 70-80 ปีขึ้นไปล้วนแล้วแต่บอกเป็นเสียงเดียวกันว่าไม่เคยเห็นฝนตกหนัก และมีน้ำท่วมใหญ่เช่นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ดังนั้นจึงพูดได้ว่าฝนตกและน้ำท่วมภาคใต้เมื่อเดือนมีนาคมจึงเป็นเรื่องผิดปกติของธรรมชาติ
นอกจากฝนตกและมีน้ำท่วมบ้านเรือน เรือกสวนไร่นาเสียหายแล้ว ยังมีเหตุการณ์ดินโคลนถล่มบ้านเรือน และทำให้คนเสียชีวิตรวมแล้วหลายสิบราย อันถือได้ว่าเป็นเหตุการณ์ร้ายแรงที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเดือนมีนาคม
จริงอยู่ถ้านับถอยหลังไปประมาณ 20 กว่าปี เหตุการณ์ดินโคลนถล่มและทับถมบ้านเรือน รวมไปถึงชีวิตคนและสัตว์เลี้ยงเสียหายเกิดขึ้นมาแล้วครั้งหนึ่งที่กะทูน แต่ในครั้งนั้นเป็นเพียงบริเวณแคบเมื่อเทียบกับครั้งนี้
โดยปกติเหตุการณ์น้ำท่วมขังในฤดูฝนเป็นเรื่องที่ไม่เหนือความคาดหมายของผู้คนที่อยู่ในจังหวัดภาคใต้ โดยเฉพาะแถบที่อยู่ใกล้ทะเลสาบสงขลา และทะเลสาบพัทลุง หรือที่เรียกว่า ทะเลน้อย และจากการที่มีน้ำท่วมขังทุกปี และปีละเดือนสองเดือนเป็นประจำ จึงทำให้ผู้คนในแถบนี้มีการเตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับน้ำท่วมเป็นอย่างดี จะเห็นได้จากการสร้างบ้านใต้ถุนสูง และเตรียมทำโคกให้สูงพอหนีน้ำท่วมได้เพื่อให้สัตว์เลี้ยง เช่น วัว ควาย รวมไปถึงสุกรและไก่ได้อาศัยหนีน้ำ รวมถึงการเตรียมเรือไว้ใช้สัญจรในฤดูฝนเมื่อมีน้ำท่วมขังด้วย จึงไม่เดือดร้อนเฉกเช่นผู้คนที่อยู่ในที่สูง และน้ำไม่เคยท่วม
อะไรคือเหตุให้เกิดภาวะน้ำท่วม และดินถล่มในภาคใต้ และจะมีวิธีการแก้ไขป้องกันอย่างไร?
เพื่อให้มองเห็นประเด็นแห่งปัญหา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหตุแห่งการเกิดปัญหา จึงใคร่ขอย้อนไปดูถึงสภาพความมี และความเป็นแห่งวิถีชีวิตของคนภาคใต้ ซึ่งสอดคล้องกับภูมิอากาศของภาคนี้ในฐานะเป็นดินแดนแห่งฝน 8 แดด 4 นั่นก็คือ การปลูกพืชเศรษฐกิจที่ภูมิอากาศอำนวยอย่างยางพารา และปาล์มน้ำมัน เริ่มด้วยการปลูกยางพารา และตามมาด้วยปาล์มในยุคต่อมา แต่ในระยะแรกของการปลูกไม่เป็นที่แพร่หลายมากนักเพราะราคายาง และน้ำมันปาล์มไม่จูงใจให้คนนิยม แต่เมื่อราคายางแพงขึ้นถึงกิโลกรัมละ 100 บาท และในบางช่วงมากกว่า 100 บาทด้วยซ้ำ ทำให้มีการขยายพื้นที่เพิ่มขึ้น และเมื่อราคาน้ำมันเชื้อเพลิงแพง ประกอบกับรัฐมีนโยบายชัดเจนในการผลิตไบโอดีเซลโดยใช้น้ำมันปาล์มมาผสมกับน้ำมันดีเซลจากการนำน้ำมันดิบมากลั่น จึงทำให้ราคาน้ำมันปาล์มแพงขึ้น
และนี่เองคือเหตุจูงใจให้ผู้คนในภาคใต้หันมาทำสวนยางพารา และสวนปาล์มน้ำมันเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และแน่นอน การเพิ่มขึ้นของพื้นที่ปลูกยาง และปาล์มน้ำมันหนีไม่พ้นการบุกรุกป่าสงวนอันเป็นพื้นที่ลาดชันบนไหล่เขา เมื่อป่าถูกทำลาย ระบบนิเวศที่หลากหลาย มีต้นไม้มากชนิดขึ้นอย่างสมดุล และอุ้มน้ำไว้ได้ถูกทำลายเพื่อปลูกพืชเชิงเดี่ยวเพื่อหวังผลทางเศรษฐกิจ จึงทำให้การดูดซับน้ำไว้ไม่ดีเช่นแต่ก่อน และนี่คือสาเหตุประการหนึ่งของการที่ทำให้เกิดแผ่นดินถล่ม และสาเหตุนี้ก็สืบเนื่องมาจากความเห็นแก่ได้ของมนุษย์นั่นเอง
ส่วนสาเหตุอีกประการหนึ่งก็คือ ฝนที่ตกลงมาอย่างหนัก และผิดฤดูกาล ทำให้ผู้คนที่อยู่อาศัยในพื้นที่นั้นตั้งตัวไม่ทันจนเกิดการสูญเสียทั้งชีวิต และทรัพย์สินตามมา
กล่าวโดยสรุป ความหายนะของภาคใต้ในครั้งนี้เกิดจาก 2 สาเหตุใหญ่ คือ
1. ความเห็นแก่ได้ของคนในพื้นที่ที่มุ่งทำลายป่าไม้ และปลูกพืชเศรษฐกิจคือปาล์มน้ำมัน และยางพาราแทน รวมไปถึงการบุกรุกของกลุ่มทุนที่ทำรีสอร์ตด้วย
2. ฝนที่ตกหนักกว่าปกติ และเกิดขึ้นในช่วงที่คนไม่คาดคิดว่าจะเกิด จึงไม่ทันป้อนกันตัว
วิธีการป้องกันที่ควรจะดำเนินการก็คือ หยุดทำลายป่า และหันมาใส่ใจการอนุรักษ์ให้มากขึ้น รวมไปถึงการปรับปรุงการปลูกสร้างบ้านให้สอดคล้องกับดินฟ้าอากาศ คือปลูกบ้านใต้ถุนสูง และเตรียมเรือไว้ใช้ในทุกครัวเรือนเช่นคนโบราณทำมา ก็จะช่วยให้เกิดความเสียหายน้อยกว่านี้