ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้(6 เม.ย.)“นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ สำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “ความพึงพอใจต่อผลงานรัฐบาลและนายกรัฐมนตรี” ช่วงระยะเวลาในการสำรวจวันที่ 28 – 29 มีนาคม 2554 จากประชาชน 1,207 หน่วยตัวอย่าง กระจายทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ จากทุกระดับการศึกษา และทุกกลุ่มอาชีพ ผลการศึกษาครั้งนี้เปรียบเทียบกับผลการศึกษา 7 ครั้งที่ผ่านมา เป็นดังต่อไปนี้
1. คะแนนผลงานโดยรวมของรัฐบาล การสำรวจในเดือนมีนาคม 2554 คะแนนเฉลี่ยของระดับความพึงพอใจต่อผลงานโดยรวมของรัฐบาล เท่ากับ 5.35 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 โดยมีคะแนนตามรายภูมิภาค เป็นดังนี้ คะแนนรัฐบาลโดยรวมต่ำที่สุดตั้งแต่ดำเนินการสำรวจ คือ เท่ากับ 5.35 คะแนนจากคะแนนเต็ม 10 รัฐบาลสอบตกในภาคใต้ ซึ่งเคยมีคะแนนสูงกว่าภูมิภาคอื่น ๆ เสมอ การสำรวจครั้งนี้ ภาคใต้ให้คะแนนรัฐบาลเพียง 4.97 คะแนน ต่ำกว่าภูมิภาคอื่น ๆ และเป็นคะแนนต่ำที่สุดเท่าที่เคยสำรวจมา
2. ความพึงพอใจต่อผลงานของรัฐบาลในด้านต่าง ๆ ไม่มีผลงานของรัฐบาลด้านใดเลย ที่ประชาชนพึงพอใจมากกว่าครึ่ง และความพึงพอใจของประชาชนลดลงทุกด้าน ผลงานรัฐบาลด้านการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ/ปากท้องของประชาชนที่เคยเป็นด้านเดียวที่ประชาชนพึงพอใจมากว่าครึ่ง การสำรวจครั้งนี้ มีประชาชน 37.2% ที่พึงพอใจด้านการแก้ปัญหาเศรษฐกิจฯ ลดลงจากครั้งที่แล้วถึง 21.53%
3. ความพึงพอใจของประชาชนต่อตัวนายกรัฐมนตรี “นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ความนิยมในตัวนายกรัฐมนตรี ลดลงทุกภูมิภาค ยกเว้นภาคเหนือ แต่ความนิยมในตัวนายกฯ ก็ยังนับว่าสูง ภาคใต้ยังเป็นภูมิภาคที่มีความนิยมในตัวนายกรัฐมนตรี มากกว่าภูมิภาคอื่น แม้จะมีสัดส่วนลดลงบ้าง ผลการสำรวจ สัญญาณบ่งชี้รัฐบาล-อภิสิทธิ์ต้องเร่งเครื่อง ก่อนหมดวาระผลสำรวจพบประชาชนพอใจผลงานรัฐบาลและตัวนายกฯ ลดลง ประชาชนทั่วประเทศ ให้คะแนนความพึงพอใจผลการทำงานของรัฐบาลลดลงเฉลี่ย 0.58 คะแนนเมื่อเปรียบเทียบกับ ช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาโดยเฉพาะภาคใต้ ลดลงมากที่สุด ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือสวนกระแสพอใจเพิ่มขึ้น 0.60 คะแนน
ในขณะที่ตัวนายกฯ อภิสิทธิ์ ได้คะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจจากประชาชนทั่วประเทศลดลงร้อยละ 8.58 ยกเว้นภาคเหนือกลับเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.88 ซึ่งเมื่อพิจารณาการแก้ไขเป็นเรื่องๆ พบว่า ความพึงพอใจต่อปัญหาเศรษฐกิจ และปากท้อง มีคะแนนลดลงมากที่สุดถึงร้อยละ 21.53 รองลงมาเป็นการแก้ไขปัญหา 3 จังหวัดชายแดนและปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง ตามลำดับ
นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) กล่าวว่า “ช่วงที่สำรวจอาจมีปัจจัยเรื่องภัยน้ำท่วมภาคใต้เกิดขึ้น ซึ่งมีผลต่อคะแนนความพึงพอใจของประชาชนภาคใต้ ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีคะแนนความพึงพอใจมากขึ้น เป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก ต้องติดตามตรวจสอบกันต่อไปว่าเพราะเหตุใด ทั้งๆ ที่ รัฐบาลต้องเผชิญกับปัญหาเศรษฐกิจ เรื่องของปากท้อง ราคาน้ำมัน และยังพบกับภัยธรรมชาติ”
“หลายเรื่องรัฐบาลควรจะทำได้ดีกว่านี้ โดยเฉพาะเรื่องของราคาสินค้า เช่น น้ำมันปาล์ม รัฐบาลเข้าไปจัดการช้าเกินไป เรื่องที่เปราะบางหรือส่งกระทบกับประชาชนอย่างรวดเร็ว รัฐบาลต้องรีบเข้าไปจัดการแก้ไข มิเช่นนั้นก็จะส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของรัฐบาล เช่น ปัญหาภัยพิบัติ ระยะหลังๆ ประเทศไทยประสบกับปัญหาเหล่านี้มากขึ้น แต่หน่วยงานของรัฐยังขาดความพร้อมทำให้การเข้าไปช่วยเหลือไม่ทันท่วงที ซึ่งควรจะต้องไม่เกิน 72 ชั่วโมง หากช้ากว่านี้ผู้ประสบภัยจะคิดว่าไม่ได้รับการเอาใจใส่จากรัฐ เป็นเหตุให้ไม่พอใจ และความน่าเชื่อถือก็จะลดลง”
สำหรับ คะแนนความพึงพอใจในตัวนายอภิสิทธิ์ ที่ลดลงว่า “เป็นการส่งสัญญาณให้รัฐบาลต้องเตรียมพร้อม โดยเฉพาะในการเลือกตั้งที่จะมาถึง รัฐบาลคงต้องทำงานหนักมากขึ้น ส่วนภาคเหนือที่คะแนนกลับเพิ่มขึ้น เป็นเรื่องที่น่าสนใจ ที่ควรคิดตามดูว่าสาเหตุมาจากอะไร ทั้งๆ ที่นโยบายของนายกฯ ก็ครอบคลุมทั่วประเทศ ส่วนคนภาคกลางหรือกรุงเทพฯ คะแนนความนิยม ลดลงมากกว่าภาคอื่นๆ น่าจะเป็นเพราะ การได้รับข้อมูลข่าวสารที่รวดเร็วและหลากหลาย จากการนำเสนอข้อวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง อย่างไรก็ตามความรู้สึกของประชาชนสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา และรวดเร็ว จึงจำเป็นต้องติดตามกันอย่างใกล้ชิด สัปดาห์ต่อสัปดาห์”.
1. คะแนนผลงานโดยรวมของรัฐบาล การสำรวจในเดือนมีนาคม 2554 คะแนนเฉลี่ยของระดับความพึงพอใจต่อผลงานโดยรวมของรัฐบาล เท่ากับ 5.35 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 โดยมีคะแนนตามรายภูมิภาค เป็นดังนี้ คะแนนรัฐบาลโดยรวมต่ำที่สุดตั้งแต่ดำเนินการสำรวจ คือ เท่ากับ 5.35 คะแนนจากคะแนนเต็ม 10 รัฐบาลสอบตกในภาคใต้ ซึ่งเคยมีคะแนนสูงกว่าภูมิภาคอื่น ๆ เสมอ การสำรวจครั้งนี้ ภาคใต้ให้คะแนนรัฐบาลเพียง 4.97 คะแนน ต่ำกว่าภูมิภาคอื่น ๆ และเป็นคะแนนต่ำที่สุดเท่าที่เคยสำรวจมา
2. ความพึงพอใจต่อผลงานของรัฐบาลในด้านต่าง ๆ ไม่มีผลงานของรัฐบาลด้านใดเลย ที่ประชาชนพึงพอใจมากกว่าครึ่ง และความพึงพอใจของประชาชนลดลงทุกด้าน ผลงานรัฐบาลด้านการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ/ปากท้องของประชาชนที่เคยเป็นด้านเดียวที่ประชาชนพึงพอใจมากว่าครึ่ง การสำรวจครั้งนี้ มีประชาชน 37.2% ที่พึงพอใจด้านการแก้ปัญหาเศรษฐกิจฯ ลดลงจากครั้งที่แล้วถึง 21.53%
3. ความพึงพอใจของประชาชนต่อตัวนายกรัฐมนตรี “นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ความนิยมในตัวนายกรัฐมนตรี ลดลงทุกภูมิภาค ยกเว้นภาคเหนือ แต่ความนิยมในตัวนายกฯ ก็ยังนับว่าสูง ภาคใต้ยังเป็นภูมิภาคที่มีความนิยมในตัวนายกรัฐมนตรี มากกว่าภูมิภาคอื่น แม้จะมีสัดส่วนลดลงบ้าง ผลการสำรวจ สัญญาณบ่งชี้รัฐบาล-อภิสิทธิ์ต้องเร่งเครื่อง ก่อนหมดวาระผลสำรวจพบประชาชนพอใจผลงานรัฐบาลและตัวนายกฯ ลดลง ประชาชนทั่วประเทศ ให้คะแนนความพึงพอใจผลการทำงานของรัฐบาลลดลงเฉลี่ย 0.58 คะแนนเมื่อเปรียบเทียบกับ ช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาโดยเฉพาะภาคใต้ ลดลงมากที่สุด ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือสวนกระแสพอใจเพิ่มขึ้น 0.60 คะแนน
ในขณะที่ตัวนายกฯ อภิสิทธิ์ ได้คะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจจากประชาชนทั่วประเทศลดลงร้อยละ 8.58 ยกเว้นภาคเหนือกลับเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.88 ซึ่งเมื่อพิจารณาการแก้ไขเป็นเรื่องๆ พบว่า ความพึงพอใจต่อปัญหาเศรษฐกิจ และปากท้อง มีคะแนนลดลงมากที่สุดถึงร้อยละ 21.53 รองลงมาเป็นการแก้ไขปัญหา 3 จังหวัดชายแดนและปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง ตามลำดับ
นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) กล่าวว่า “ช่วงที่สำรวจอาจมีปัจจัยเรื่องภัยน้ำท่วมภาคใต้เกิดขึ้น ซึ่งมีผลต่อคะแนนความพึงพอใจของประชาชนภาคใต้ ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีคะแนนความพึงพอใจมากขึ้น เป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก ต้องติดตามตรวจสอบกันต่อไปว่าเพราะเหตุใด ทั้งๆ ที่ รัฐบาลต้องเผชิญกับปัญหาเศรษฐกิจ เรื่องของปากท้อง ราคาน้ำมัน และยังพบกับภัยธรรมชาติ”
“หลายเรื่องรัฐบาลควรจะทำได้ดีกว่านี้ โดยเฉพาะเรื่องของราคาสินค้า เช่น น้ำมันปาล์ม รัฐบาลเข้าไปจัดการช้าเกินไป เรื่องที่เปราะบางหรือส่งกระทบกับประชาชนอย่างรวดเร็ว รัฐบาลต้องรีบเข้าไปจัดการแก้ไข มิเช่นนั้นก็จะส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของรัฐบาล เช่น ปัญหาภัยพิบัติ ระยะหลังๆ ประเทศไทยประสบกับปัญหาเหล่านี้มากขึ้น แต่หน่วยงานของรัฐยังขาดความพร้อมทำให้การเข้าไปช่วยเหลือไม่ทันท่วงที ซึ่งควรจะต้องไม่เกิน 72 ชั่วโมง หากช้ากว่านี้ผู้ประสบภัยจะคิดว่าไม่ได้รับการเอาใจใส่จากรัฐ เป็นเหตุให้ไม่พอใจ และความน่าเชื่อถือก็จะลดลง”
สำหรับ คะแนนความพึงพอใจในตัวนายอภิสิทธิ์ ที่ลดลงว่า “เป็นการส่งสัญญาณให้รัฐบาลต้องเตรียมพร้อม โดยเฉพาะในการเลือกตั้งที่จะมาถึง รัฐบาลคงต้องทำงานหนักมากขึ้น ส่วนภาคเหนือที่คะแนนกลับเพิ่มขึ้น เป็นเรื่องที่น่าสนใจ ที่ควรคิดตามดูว่าสาเหตุมาจากอะไร ทั้งๆ ที่นโยบายของนายกฯ ก็ครอบคลุมทั่วประเทศ ส่วนคนภาคกลางหรือกรุงเทพฯ คะแนนความนิยม ลดลงมากกว่าภาคอื่นๆ น่าจะเป็นเพราะ การได้รับข้อมูลข่าวสารที่รวดเร็วและหลากหลาย จากการนำเสนอข้อวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง อย่างไรก็ตามความรู้สึกของประชาชนสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา และรวดเร็ว จึงจำเป็นต้องติดตามกันอย่างใกล้ชิด สัปดาห์ต่อสัปดาห์”.