รอยเตอร์/เอเอฟพี - พบน้ำที่ปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสีระดับเข้มข้นสูงลิ่วถึง 5 ล้านเท่าของขีดสูงสุดที่กฎหมายอนุญาต ภายในเตาปฏิกรณ์แห่งหนึ่งของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ ไดอิจิ ตามการแถลงเมื่อวานนี้ ของบริษัทโตเกียว อิเล็กทริก เพาเวอร์ (เท็ปโก) ผู้ดำเนินการโรงไฟฟ้าแห่งนี้ ภายหลังได้ใช้ความพยายามอย่างยังไม่ค่อยประสบผลสำเร็จมาเป็นสัปดาห์ที่ 4 แล้ว ในการควบคุมภัยวิบัติทางนิวเคลียร์ครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 25 ปีของโลกคราวนี้ ขณะที่ไทยประกาศคุมเข้มสินค้านำเข้าจากญี่ปุ่นเพิ่มเป็น 12จังหวัด
เท็ปโกบอกว่า จากการตรวจสอบน้ำที่อยู่ใกล้ๆ กับประตูน้ำของเตาปฏิกรณ์หมายเลข 2 ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งนี้ พบสารกัมมันตรังสีไอโอดีน-131 ปนเปื้อนในระดับสูงถึง 7.5 ล้านเท่าของขีดสูงสุดที่กฎหมายอนุญาตด้วยซ้ำไปเมื่อวันเสาร์(2)ที่ผ่านมา ก่อนที่มันจะลดลงสู่ระดับ 5 ล้านเท่าในวันจันทร์(4) อย่างไรก็ตาม น้ำเหล่านี้ไม่ได้มีการระบายออกสู่มหาสมุทร
พวกวิศวกรที่โรงไฟฟ้าแห่งนี้ทราบมาหลายวันแล้วว่า น้ำปนเปื้อนรังสีในระดับสูงมากได้ไหลซึมออกมาจากบริเวณบ่อน้ำที่เป็นเส้นทางนำไปสู่แนวอุโมงค์ด้านนอกของเตาปฏิกรณ์หมายเลข 2 แต่ก็ยังหาวิธีอุดรอยรั่วไม่สำเร็จ ตลอดจนยังหาไม่พบจุดที่เกิดการแตกร้าวอันทำให้รังสีรั่วซึมออกมาปนเปื้อนน้ำ
ฮิเดฮิโกะ นิชิยามะ รองผู้อำนวยการใหญ่สำนักงานความปลอดภัยทางนิวเคลียร์และอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น (NISA) บอกว่า ความพยายามก่อนหน้านี้ด้วยการนำเอาขี้เลื่อย, หนังสือพิมพ์, โพลิเมอร์, และคอนกรีตผสมกัน แล้วเทลงไปทางด้านข้างของบ่อดังกล่าว ดูจะไม่ได้ทำให้ของผสมดังกล่าวนี้ไหลเข้าไปอุดรอยร้าวรอยรั่ว ดังนั้นเมื่อวานนี้ พวกเขาจึงทดลองใช้ “แก้วที่อยู่ในรูปของเหลว” (liquid glass) ซึ่งก็ยังไม่ทราบว่าจะได้ผลแค่ไหน
ขณะที่ตำแหน่งของรอยรั่วร้าวนั้น เท็ปโกระบุว่าสงสัยว่าอาจจะอยู่ตรงแนวก้อนหินก้อนเล็กๆ ที่อยู่ใต้แนวคันคูซึ่งตรงมายังบ่อของเตาปฏิกรณ์หมายเลข 2 แต่จะต้องตรวจสอบให้ชัดเจน อีกทั้งยังอาจเป็นไปได้ด้วยว่า รอยรั่วร้าวอาจจะมีมากกว่ารอยเดียว
บรรดาวิศวกรยังกำลังวางแผนการสร้าง “ฉากกั้นโคลนเลน” ขนาดยักษ์ที่ทำจากสารโพลิเอสเตอร์ เพื่อคอยสกัดกั้นไม่ให้สารปนเปื้อนจากโรงไฟฟ้าเข้าไปปนกับโคลนเลนใต้สมุทรที่อยู่ใกล้ๆ
ขณะที่พวกคนงานก็ยังคงพยายามหาทางเปิดระบบปั๊มหล่อเย็น (ซึ่งจะทำให้น้ำเกิดการรีไซเคิลขึ้นมา) ของเตาปฏิกรณ์ที่ได้รับความเสียหายไปถึง 4 หน่วยขึ้นมาใหม่
หากยังไม่สามารถซ่อมแซมระบบนี้ได้ คนงานก็ยังต้องใช้วิธีสูบน้ำจากภายนอกมาปล่อยเข้าไปในเตาปฏิกรณ์ เพื่อไม่ให้พวกแท่งเชื้อเพลิงนิวเคลียร์เกิดร้อนจัดและหลอมละลาย โดยที่ในกระบวนการดังกล่าว ก็ทำให้เกิดน้ำปนเปื้อนรังสีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งจะต้องมีการสูบน้ำเหล่านี้ออกมาแล้วนำไปเก็บกักในที่ใดที่หนึ่ง หรือไม่ก็ปล่อยลงสู่ทะเล
ประมาณการกันว่า ตั้งแต่ที่คนงานใช้น้ำทะเลจำนวนมหาศาลเข้ามาป้องกันไม่ให้เตาปฏิกรณ์เกิดการหลอมละลาย ภายหลังเกิดเหตุแผ่นดินไหวใหญ่และคลื่นยักษ์สึนามิถล่มเมื่อวันที่ 11 มีนาคม เวลานี้ในโรงไฟฟ้าแห่งนี้มีน้ำปนเปื้อนรังสีระดับสูงอยู่ทั้งสิ้นราวๆ 60,000 ตัน
ตั้งแต่วันจันทร์ (4 เม.ย.) เท็ปโกได้เริ่มระบายน้ำทะเลที่มีระดับรังสีต่ำๆ ประมาณ 11,500 ตันลงสู่ทะเล ภายหลังไม่มีที่ทางจะเก็บน้ำซึ่งมีระดับรังสีสูงๆ อีกแล้ว การระบายน้ำเหล่านี้น่าจะเสร็จสิ้นในวันศุกร์(8เม.ย.)
สื่อมวลชนของรัสเซียรายงานว่า ญี่ปุ่นยังได้ขอให้รัสเซียจัดส่งโรงบำบัดสารกัมมันตภาพรังสีชนิดลอยน้ำได้มาช่วยเหลือ ทั้งนี้รัสเซียใช้โรงบำบัดชนิดนี้กับพวกเรือดำน้ำนิวเคลียร์ที่ปลดประจำการแล้วของตน เห็นกันว่าอุปกรณ์ชนิดนี้น่าจะสามารถช่วยกำจัดน้ำเสียปนเปื้อนรังสีที่ออกมาจากโรงไฟฟ้าฟูกูชิมะ ไดอิจิ ได้
เมื่อวานนี้ ยังเป็นครั้งแรกที่รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศระดับรังสีสูงสุดที่อนุญาตให้มีในอาหารทะเลได้ โดยที่ ยูกิโอะ เอดาโนะ เลขาธิการคณะรัฐมนตรีและหัวหน้าโฆษกรัฐบาลญี่ปุ่นแถลงว่า ขีดสูงสุดดังกล่าวคือ 2,000 เบกเคอเรลต่อกิโลกรัม สำหรับปริมาณสารกัมมันตรังสีไอโอดีน
“เนื่องจากยังไม่เคยมีการกำหนดขีดจำกัดที่อนุญาตให้มีสารกัมมันตรังสีไอโออีนในอาหารจำพวกปลา รัฐบาลจึงตัดสินใจนำเอาขีดจำกัดเดียวกับที่ใช้อยู่แล้วกับอาหารพวกผัก มาใช้กับปลาด้วยเป็นการชั่วคราว” เขากล่าว
ความเคลื่อนไหวคราวนี้บังเกิดขึ้น ภายหลังได้พบว่าปลาตัวเล็กๆ ที่รู้จักกันในชื่อว่า โคนาโงะ (Kanago) ซึ่งจับได้นอกชายฝั่งจังหวัดอิบารางิ ทางด้านใต้ของโรงไฟฟ้าฟูกูชิมะ ไดอิจิ มีสารกัมมันตรังสีไอโออีนอยู่มากกว่า 4,000 เบกเคอเรลต่อกิโลกรัม
การค้นพบคราวนี้ ทำให้ต้องยุติการจับปลาชนิดนี้ไปเลยในท้องที่บริเวณดังกล่าว ทว่ายังไม่มีการออกประกาศห้ามในขอบเขตที่กว้างขวางกว่านั้น
เวลานี้ได้มีการค้นพบกัมมันตรังสีไอโอดีนเกินกว่าขีดสูงสุดที่กฎหมายกำหนดแล้วทั้งในผัก, ผลิตภัณฑ์นม, และเห็ด จนเป็นเหตุให้มีคำสั่งห้ามการขนส่งผลิตภัณฑ์เหล่านี้ออกจากเขตจังหวัดใกล้ๆ โรงไฟฟ้า ทว่าที่ผ่านมาพวกเจ้าหน้าที่มักบอกว่า พวกอาหารทะเลมีความเสี่ยงน้อยกว่าอาหารที่ผลิตบนบก เนื่องจากกระแสน้ำในมหาสมุทรและคลื่นลมจะทำให้พวกไอโซโทปอันตรายทั้งหลายเจือจางลงไป
อย่างไรก็ตาม การที่เท็ปโกตัดสินใจปล่อยน้ำปนเปื้อนรังสีลงสู่ทะเลโดยตรงเป็นจำนวนกว่าหมื่นตัน ทำให้ชาวประมงในท้องถิ่นโกรธกริ้วมาก พวกเขาบอกว่าไม่เคยมีใครมาปรึกษาหารือกับพวกเขาก่อนเลย
ทางด้านเกาหลีใต้ซึ่งมีน่านน้ำติดกับญี่ปุ่นก็แสดงความข้องใจต่อการตัดสินใจคราวนี้เช่นกัน
ที่ประเทศไทย ยังมีความเคลื่อนไหวในการตรวจสอบสินค้านำเข้าจากญี่ปุ่น โดยนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้สั่งการให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ออกระเบียบอย.ว่าด้วยมาตรการการเฝ้าระวังการปนเปื้อนของสารกัมมันตรังสี กำหนดให้อาหารที่มีต้นกำเนิดหรือส่งผ่านมาจากจังหวัดฟูกุชิมะ กุนมะ อิบารากิ โตชิกิ มิยากิ ยามากาตะ นิอิกาตะ นากาโนะ ยามานาชิ ไซตามะ โตเกียว และชิบะ ที่นำเข้ามาในประเทศไทยต้องมีการแสดงผลวิเคราะห์ปริมาณการปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี โดยต้องไม่เกินเกณฑ์ที่อย. กำหนด พร้อมกับต้องมีหนังสือรับรองจากห้องปฏิบัติการของรัฐหรือห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองไอเอสโอ 17025 (ISO17025) โดยแจ้งด่านนำเข้าล่วงหน้าอย่างน้อย 1 วัน
ส่วนอาหารที่นำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น นอกจากพื้นที่ที่ได้ประกาศไป 12 จังหวัด ต้องมีหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดของสินค้า ประเภทผัก ผลไม้ ธัญพืช ผลิตภัณฑ์จากนม และเนื้อสัตว์ ที่มีการเพาะปลูกและเพาะเลี้ยงในเขตดังกล่าวจากรัฐบาลท้องถิ่นของประเทศญี่ปุ่นที่ได้มีการเฝ้าระวัง และมีการประกาศว่ามีการปนเปื้อนอยู่ในระดับต่ำ
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีใบรับรองผลการตรวจจากประเทศญี่ปุ่นแล้ว ก็จะต้องมีการสุ่มตรวจอาหารนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่นต่อไป โดยมาตรการใหม่นี้จะเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันพรุ่งนี้เป็นต้นไป
สำหรับการเฝ้าระวังอาหารที่นำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น โดยได้เก็บอาหารส่งตรวจตั้งแต่ 16 มี.ค.-4 เม.ย.2554 ส่งตรวจ 204 ตัวอย่าง ได้รับผลแล้ว 141 ตัวอย่าง ส่วนใหญ่ที่ส่งตรวจเป็นปลาสดมากที่สุด 115 ตัวอย่าง ได้รับผล 89 ตัวอย่าง รอผล 26 ตัวอย่าง ที่เหลือเป็นกุ้ง หอย ปลาหมึก สาหร่าย และสตรอเบอร์รี่
เท็ปโกบอกว่า จากการตรวจสอบน้ำที่อยู่ใกล้ๆ กับประตูน้ำของเตาปฏิกรณ์หมายเลข 2 ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งนี้ พบสารกัมมันตรังสีไอโอดีน-131 ปนเปื้อนในระดับสูงถึง 7.5 ล้านเท่าของขีดสูงสุดที่กฎหมายอนุญาตด้วยซ้ำไปเมื่อวันเสาร์(2)ที่ผ่านมา ก่อนที่มันจะลดลงสู่ระดับ 5 ล้านเท่าในวันจันทร์(4) อย่างไรก็ตาม น้ำเหล่านี้ไม่ได้มีการระบายออกสู่มหาสมุทร
พวกวิศวกรที่โรงไฟฟ้าแห่งนี้ทราบมาหลายวันแล้วว่า น้ำปนเปื้อนรังสีในระดับสูงมากได้ไหลซึมออกมาจากบริเวณบ่อน้ำที่เป็นเส้นทางนำไปสู่แนวอุโมงค์ด้านนอกของเตาปฏิกรณ์หมายเลข 2 แต่ก็ยังหาวิธีอุดรอยรั่วไม่สำเร็จ ตลอดจนยังหาไม่พบจุดที่เกิดการแตกร้าวอันทำให้รังสีรั่วซึมออกมาปนเปื้อนน้ำ
ฮิเดฮิโกะ นิชิยามะ รองผู้อำนวยการใหญ่สำนักงานความปลอดภัยทางนิวเคลียร์และอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น (NISA) บอกว่า ความพยายามก่อนหน้านี้ด้วยการนำเอาขี้เลื่อย, หนังสือพิมพ์, โพลิเมอร์, และคอนกรีตผสมกัน แล้วเทลงไปทางด้านข้างของบ่อดังกล่าว ดูจะไม่ได้ทำให้ของผสมดังกล่าวนี้ไหลเข้าไปอุดรอยร้าวรอยรั่ว ดังนั้นเมื่อวานนี้ พวกเขาจึงทดลองใช้ “แก้วที่อยู่ในรูปของเหลว” (liquid glass) ซึ่งก็ยังไม่ทราบว่าจะได้ผลแค่ไหน
ขณะที่ตำแหน่งของรอยรั่วร้าวนั้น เท็ปโกระบุว่าสงสัยว่าอาจจะอยู่ตรงแนวก้อนหินก้อนเล็กๆ ที่อยู่ใต้แนวคันคูซึ่งตรงมายังบ่อของเตาปฏิกรณ์หมายเลข 2 แต่จะต้องตรวจสอบให้ชัดเจน อีกทั้งยังอาจเป็นไปได้ด้วยว่า รอยรั่วร้าวอาจจะมีมากกว่ารอยเดียว
บรรดาวิศวกรยังกำลังวางแผนการสร้าง “ฉากกั้นโคลนเลน” ขนาดยักษ์ที่ทำจากสารโพลิเอสเตอร์ เพื่อคอยสกัดกั้นไม่ให้สารปนเปื้อนจากโรงไฟฟ้าเข้าไปปนกับโคลนเลนใต้สมุทรที่อยู่ใกล้ๆ
ขณะที่พวกคนงานก็ยังคงพยายามหาทางเปิดระบบปั๊มหล่อเย็น (ซึ่งจะทำให้น้ำเกิดการรีไซเคิลขึ้นมา) ของเตาปฏิกรณ์ที่ได้รับความเสียหายไปถึง 4 หน่วยขึ้นมาใหม่
หากยังไม่สามารถซ่อมแซมระบบนี้ได้ คนงานก็ยังต้องใช้วิธีสูบน้ำจากภายนอกมาปล่อยเข้าไปในเตาปฏิกรณ์ เพื่อไม่ให้พวกแท่งเชื้อเพลิงนิวเคลียร์เกิดร้อนจัดและหลอมละลาย โดยที่ในกระบวนการดังกล่าว ก็ทำให้เกิดน้ำปนเปื้อนรังสีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งจะต้องมีการสูบน้ำเหล่านี้ออกมาแล้วนำไปเก็บกักในที่ใดที่หนึ่ง หรือไม่ก็ปล่อยลงสู่ทะเล
ประมาณการกันว่า ตั้งแต่ที่คนงานใช้น้ำทะเลจำนวนมหาศาลเข้ามาป้องกันไม่ให้เตาปฏิกรณ์เกิดการหลอมละลาย ภายหลังเกิดเหตุแผ่นดินไหวใหญ่และคลื่นยักษ์สึนามิถล่มเมื่อวันที่ 11 มีนาคม เวลานี้ในโรงไฟฟ้าแห่งนี้มีน้ำปนเปื้อนรังสีระดับสูงอยู่ทั้งสิ้นราวๆ 60,000 ตัน
ตั้งแต่วันจันทร์ (4 เม.ย.) เท็ปโกได้เริ่มระบายน้ำทะเลที่มีระดับรังสีต่ำๆ ประมาณ 11,500 ตันลงสู่ทะเล ภายหลังไม่มีที่ทางจะเก็บน้ำซึ่งมีระดับรังสีสูงๆ อีกแล้ว การระบายน้ำเหล่านี้น่าจะเสร็จสิ้นในวันศุกร์(8เม.ย.)
สื่อมวลชนของรัสเซียรายงานว่า ญี่ปุ่นยังได้ขอให้รัสเซียจัดส่งโรงบำบัดสารกัมมันตภาพรังสีชนิดลอยน้ำได้มาช่วยเหลือ ทั้งนี้รัสเซียใช้โรงบำบัดชนิดนี้กับพวกเรือดำน้ำนิวเคลียร์ที่ปลดประจำการแล้วของตน เห็นกันว่าอุปกรณ์ชนิดนี้น่าจะสามารถช่วยกำจัดน้ำเสียปนเปื้อนรังสีที่ออกมาจากโรงไฟฟ้าฟูกูชิมะ ไดอิจิ ได้
เมื่อวานนี้ ยังเป็นครั้งแรกที่รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศระดับรังสีสูงสุดที่อนุญาตให้มีในอาหารทะเลได้ โดยที่ ยูกิโอะ เอดาโนะ เลขาธิการคณะรัฐมนตรีและหัวหน้าโฆษกรัฐบาลญี่ปุ่นแถลงว่า ขีดสูงสุดดังกล่าวคือ 2,000 เบกเคอเรลต่อกิโลกรัม สำหรับปริมาณสารกัมมันตรังสีไอโอดีน
“เนื่องจากยังไม่เคยมีการกำหนดขีดจำกัดที่อนุญาตให้มีสารกัมมันตรังสีไอโออีนในอาหารจำพวกปลา รัฐบาลจึงตัดสินใจนำเอาขีดจำกัดเดียวกับที่ใช้อยู่แล้วกับอาหารพวกผัก มาใช้กับปลาด้วยเป็นการชั่วคราว” เขากล่าว
ความเคลื่อนไหวคราวนี้บังเกิดขึ้น ภายหลังได้พบว่าปลาตัวเล็กๆ ที่รู้จักกันในชื่อว่า โคนาโงะ (Kanago) ซึ่งจับได้นอกชายฝั่งจังหวัดอิบารางิ ทางด้านใต้ของโรงไฟฟ้าฟูกูชิมะ ไดอิจิ มีสารกัมมันตรังสีไอโออีนอยู่มากกว่า 4,000 เบกเคอเรลต่อกิโลกรัม
การค้นพบคราวนี้ ทำให้ต้องยุติการจับปลาชนิดนี้ไปเลยในท้องที่บริเวณดังกล่าว ทว่ายังไม่มีการออกประกาศห้ามในขอบเขตที่กว้างขวางกว่านั้น
เวลานี้ได้มีการค้นพบกัมมันตรังสีไอโอดีนเกินกว่าขีดสูงสุดที่กฎหมายกำหนดแล้วทั้งในผัก, ผลิตภัณฑ์นม, และเห็ด จนเป็นเหตุให้มีคำสั่งห้ามการขนส่งผลิตภัณฑ์เหล่านี้ออกจากเขตจังหวัดใกล้ๆ โรงไฟฟ้า ทว่าที่ผ่านมาพวกเจ้าหน้าที่มักบอกว่า พวกอาหารทะเลมีความเสี่ยงน้อยกว่าอาหารที่ผลิตบนบก เนื่องจากกระแสน้ำในมหาสมุทรและคลื่นลมจะทำให้พวกไอโซโทปอันตรายทั้งหลายเจือจางลงไป
อย่างไรก็ตาม การที่เท็ปโกตัดสินใจปล่อยน้ำปนเปื้อนรังสีลงสู่ทะเลโดยตรงเป็นจำนวนกว่าหมื่นตัน ทำให้ชาวประมงในท้องถิ่นโกรธกริ้วมาก พวกเขาบอกว่าไม่เคยมีใครมาปรึกษาหารือกับพวกเขาก่อนเลย
ทางด้านเกาหลีใต้ซึ่งมีน่านน้ำติดกับญี่ปุ่นก็แสดงความข้องใจต่อการตัดสินใจคราวนี้เช่นกัน
ที่ประเทศไทย ยังมีความเคลื่อนไหวในการตรวจสอบสินค้านำเข้าจากญี่ปุ่น โดยนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้สั่งการให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ออกระเบียบอย.ว่าด้วยมาตรการการเฝ้าระวังการปนเปื้อนของสารกัมมันตรังสี กำหนดให้อาหารที่มีต้นกำเนิดหรือส่งผ่านมาจากจังหวัดฟูกุชิมะ กุนมะ อิบารากิ โตชิกิ มิยากิ ยามากาตะ นิอิกาตะ นากาโนะ ยามานาชิ ไซตามะ โตเกียว และชิบะ ที่นำเข้ามาในประเทศไทยต้องมีการแสดงผลวิเคราะห์ปริมาณการปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี โดยต้องไม่เกินเกณฑ์ที่อย. กำหนด พร้อมกับต้องมีหนังสือรับรองจากห้องปฏิบัติการของรัฐหรือห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองไอเอสโอ 17025 (ISO17025) โดยแจ้งด่านนำเข้าล่วงหน้าอย่างน้อย 1 วัน
ส่วนอาหารที่นำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น นอกจากพื้นที่ที่ได้ประกาศไป 12 จังหวัด ต้องมีหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดของสินค้า ประเภทผัก ผลไม้ ธัญพืช ผลิตภัณฑ์จากนม และเนื้อสัตว์ ที่มีการเพาะปลูกและเพาะเลี้ยงในเขตดังกล่าวจากรัฐบาลท้องถิ่นของประเทศญี่ปุ่นที่ได้มีการเฝ้าระวัง และมีการประกาศว่ามีการปนเปื้อนอยู่ในระดับต่ำ
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีใบรับรองผลการตรวจจากประเทศญี่ปุ่นแล้ว ก็จะต้องมีการสุ่มตรวจอาหารนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่นต่อไป โดยมาตรการใหม่นี้จะเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันพรุ่งนี้เป็นต้นไป
สำหรับการเฝ้าระวังอาหารที่นำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น โดยได้เก็บอาหารส่งตรวจตั้งแต่ 16 มี.ค.-4 เม.ย.2554 ส่งตรวจ 204 ตัวอย่าง ได้รับผลแล้ว 141 ตัวอย่าง ส่วนใหญ่ที่ส่งตรวจเป็นปลาสดมากที่สุด 115 ตัวอย่าง ได้รับผล 89 ตัวอย่าง รอผล 26 ตัวอย่าง ที่เหลือเป็นกุ้ง หอย ปลาหมึก สาหร่าย และสตรอเบอร์รี่