เอเอฟพี/รอยเตอร์ - ญี่ปุ่นหาทางใหม่คลี่คลายวิกฤตนิวเคลียร์ ทั้งการฉีดพ่นยางเรซินตามพื้นโรงไฟฟ้าฟูกูชิมะ ไดอิจิ เพื่อดักจับอนุภาคกัมมันตรังสี, ใช้สิ่งทอทำจากวัสดุพิเศษมาห่อหุ้มเตาปฏิกรณ์ที่กำลังปล่อยรังสีออกมา, ส่งหุ่นยนต์ทหารเข้าไปทำงานที่เสี่ยงอันตราย รัฐบาลไม่รู้ว่าจะควบคุมสถานการณ์ได้เมื่อใด ตรวจพบน้ำทะเลใกล้โรงไฟฟ้ามีสารกัมมันตรังสีไอโอดีนพุ่งสูงกว่ากฎหมายกำหนด 3,355 เท่า ไทยตรวจรังสีอาหการนำเข้าจากญี่ปุ่นส่วนใหญ่ อยู่ในเกณฑ์ “ปกติ”
แรงกดดันกำลังเพิ่มทวีขึ้นเรื่อยๆ ให้ต้องมีการขบคิดสร้างสรรค์วิธีการใหม่ๆ แบบออกมานอกกรอบ ขณะที่ ยูกิโอะ เอดาโนะ เลขาธิการคณะรัฐมนตรีและหัวหน้าโฆษกรัฐบาล ตลอดจนบริษัทโตเกียว อิเล็กทริก เพาเวอร์ (เท็ปโก) ผู้ดำเนินการโรงไฟฟ้าฟูกูชิมะ ไดอิจิ ที่อยู่ในสภาพอัมพาตภายหลังเหตุแผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์สึนามิในวันที่ 11 เดือนนี้ ต่างออกมายอมรับว่า ไม่ทราบเลยว่าเมื่อใดจึงจะสามารถควบคุมวิกฤตนิวเคลียร์คราวนี้ได้
“เรายังไม่ทราบข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยสำคัญๆ หลายๆ ประการ เป็นต้นว่า เหตุนิวเคลียร์ที่เกิดขึ้นจะยุติลงได้ด้วยวิธีไหน … พูดง่ายๆ ก็คือ คาดหมายได้ว่าสถานการณ์อันยากลำบากมากๆ เช่นในเวลานี้จะยังคงดำเนินต่อไป” สึเนฮิซะ คัตสึมาตะ ประธานของเท็ปโกแถลงต่อผู้สื่อข่าว
ขณะที่สื่อมวลชนญี่ปุ่นรายงานว่า มาตรการอย่างใหม่ๆ ที่มีการพิจารณาจะนำเอามาใช้ประการหนึ่งได้แก่ การนำเอานำสิ่งทอทำจากวัสดุพิเศษมาคลุมด้านนอกของอาคารเตาปฏิกรณ์จำนวน 3 เครื่องที่ได้รับความเสียหายอย่างหนัก และติดตั้งเครื่องกรองอากาศเพื่อจำกัดกัมมันตภาพรังสีที่ออกมาสู่ภายนอก
ส่วนอีกแผนการหนึ่งนั้นจะนำเอาเรือบรรทุกน้ำมันที่ไม่ได้บรรทุกอะไร ไปจอดทอดสมอที่ใกล้ๆ กับเตาปฏิกรณ์หมายเลข 2 แล้วให้คนงานสูบเอาน้ำปนเปื้อนรังสีเข้มข้นสูงที่มีปริมาณมากเท่ากับสระว่ายน้ำโอลิมปิกหลายๆ สระ ออกมาบรรจุไว้ในเรือ
แต่วิธีการใหม่ๆ ที่จะมีการนำมาปฏิบัติอย่างแน่นอนแล้ว ก็คือ ตั้งแต่วันนี้(31) คนงานจะเริ่มฉีดพ่นยางเรซินสังเคราะห์ตามพื้นประมาณ 2 ใน 3 ส่วนของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งนี้ เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ฝุ่นกัมมันตภาพรังสีปลิวขึ้นสู่อากาศ หรือถูกชะล้างลงมหาสมุทรแปซิฟิกที่อยู่ใกล้ๆ ทั้งนี้ยางเรซินสังเคราะห์นั้นละลายน้ำได้ ครั้นเมื่อน้ำระเหยเหือดแห้งลง มันก็จะกลายเป็นกองสารเหนียวๆ และสามารถจับฝุ่นรังสีเอาไว้
เจ้าหน้าที่ผู้หนึ่งของสำนักงานความปลอดภัยด้านนิวเคลียร์ กล่าวกับเอเอฟพีว่า “เราอยู่ในสถานการณ์ชนิดที่ไม่เคยพบเห็นกันมาก่อน ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องขบคิดเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ที่แตกต่างออกไป ต้องไปให้พ้นจากการขบคิดด้วยวิธีปกติทั่วไป”
ขณะที่ เอดาโนะ หัวหน้าโฆษกรัฐบาลก็แถลงว่า รัฐบาลและพวกผู้เชี่ยวชาญด้านนิวเคลียร์กำลังหารือกันถึง “ความเป็นไปได้ทุกๆ อย่าง รวมทั้งพวกวิธีการที่มีเอ่ยเอาไว้ในสื่อมวลชนด้วย”
เขายอมรับด้วยว่า “เราไม่ได้อยู่ในสถานการณ์ซึ่งเราสามารถพูดได้ว่า เราจะทำให้เรื่องนี้กลับมาอยู่ในความควบคุมได้ในเวลาเมื่อนั้นเมื่อนี้”
มีรายงานด้วยว่า สหรัฐฯได้ส่งหุ่นยนต์จำนวนหนึ่งมาให้ญี่ปุ่นยืมใช้ หุ่นยนต์เหล่านี้สร้างขึ้นตามแบบจำลองที่ใช้ทดสอบทำสงครามในอิรักและอัฟกานิสถาน โดยพวกเมันสามารถที่จะเคลื่อนที่ไปตามทิศทางที่กำหนด, ถ่ายภาพ, และเก็บกวาดซากปรักหักพังต่างๆ ภายในอาคารเตาปฏิกรณ์ซึ่งได้รับความเสียหายได้ ภายในอาคารเหล่านี้หลายๆ บริเวณมีน้ำปนเปื้อนรังสีความเข้มข้นสูง ตลอดจนอาจจะมีฝุ่นรังสีอยู่ในอากาศ จนมีความเสี่ยงเกินกว่าที่จะส่งมนุษย์เข้าไปทำงานได้
ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ของสหรัฐฯ ยังให้คำมั่นสัญญาที่จะช่วยเหลือในเรื่องอื่นๆ อีก ขณะที่เขาหารือกับนายกรัฐมนตรีนาโอโตะ คัง ของญี่ปุ่นเป็นครั้งที่ 3 นับแต่ที่เกิดภัยพิบัติคราวนี้ ซึ่งได้คร่าชีวิตผู้คนที่ได้รับการยืนยันอย่างเป็นทางการแล้ว เป็นจำนวนกว่า 11,000 คน แล้วยังมีอีกกว่า 16,000 คนที่ถูกขึ้นบัญชีเป็นผู้สูญหาย
ขณะเดียวกัน ทีมผู้เชี่ยวชาญจาก อาเรวา รัฐวิสาหกิจฝรั่งเศสที่เป็นผู้ผลิตเตาปฏิกรณ์ ก็มาถึงญี่ปุ่นแล้ววานนี้เพื่อให้คำปรึกษาหารือแก่ทีมผู้เชี่ยวชาญของฝ่ายญี่ปุ่น
เมื่อวานนี้ยังเกิดเหตุที่ทำให้หวาดหวั่นขวัญระทึกเพิ่มขึ้นอีกเป็นช่วงระยะสั้นๆ นั่นคือได้มีควันลอยออกมาจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ ไดนิ ซึ่งดำเนินการโดยเท็ปโกเช่นกัน และตั้งอยู่ห่างจากฟูกูชิมะ ไดอิจิ ประมาณ 10 กิโลเมตร ทั้งนี้ ฟูกูชิมะ ไดนิ ได้รับความเสียหายจากเหตุแผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์สึนามิเหมือนกัน แต่ข่าวก่อนหน้านี้ระบุว่าสามารถควบคุมสถานการณ์ได้หลายวันแล้ว
ในเวลาต่อมา เท็ปโกแถลงว่า ควันที่เห็นลอยออกมานั้น มาจากแผงสวิตช์จ่ายไฟฟ้า และไม่ได้มีสาเหตุจากการเกิดเพลิงไหม้แต่อย่างใด
ก่อนหน้านั้น เจ้าหน้าที่หลายรายแจ้งว่า ได้มีการตรวจพบว่า สารกัมมันตรังสี ไอโอดีน-131 ในน้ำของมหาสมุทรแปซิฟิกบริเวณใกล้ๆ โรงไฟฟ้าฟูกูชิมะ ไดอิจิ มีระดับเข้มข้นพุ่งพรวดขึ้นไปอยู่ที่ 3,355 เท่าของขีดสูงสุดที่กฎหมายอนุญาต โดยที่ก่อนหน้านั้นไม่กี่วัน ระดับรังสีบริเวณนี้ยังวัดได้ที่ 1,850 เท่าของขีดสูงสุดที่กฎหมายยินยอม
“ตัวเลขนี้กำลังเพิ่มมากขึ้นอีก” ฮิเดฮิโกะ นิชิยามะ โฆษกของสำนักงานความปลอดภัยด้านนิวเคลียร์ของญี่ปุ่นแถลง “เราจำเป็นต้องค้นหาให้พบโดยเร็วที่สุดว่ามันมีสาหตุมาจากอะไร และหยุดยั้งไม่ให้มันเพิ่มขึ้นไปกว่านี้”
ความตึงเครียดจากวิกฤตนิวเคลียร์คราวนี้ที่โถมทับเข้ามาเรื่อยๆ เหมือนไม่รู้สิ้นสุด ดูเหมือนจะส่งผลกระทบกระเทือนต่อ มาซาทากะ ชิมิซุ ประธานกรรมการบริหารวัย 66 ปีของเท็ปโก โดยมีรายงานว่าเขาถูกนำตัวเข้าโรงพยาบาลในคืนวันอังคาร(29) ด้วยอาการความดันเลือดสูง และคลื่นไส้อาเจียน ทั้งนี้เขาไม่ได้ปรากฏตัวต่อสาธารณชนมาเป็นเวลากว่า 2 สัปดาห์แล้ว
คัตสึมาตะ ประธานของเท็ปโกซึ่งออกมาแสดงบทบาทเพิ่มมากขึ้น กล่าวยอมรับวานนี้ว่า เขาคิดว่าแทบไม่มีโอกาสเอาเลยที่เตาปฏิกรณ์ 4 เครื่องจากจำนวน 6 เครื่องของโรงไฟฟ้าฟูกูชิมะ ไดอิจิ ซึ่งได้รับความเสียหายหนักมาก จะสามารถกลับมาใช้งานได้อีก และคงจะต้องปิดไป
อนึ่ง ทางด้านกระทรวงพาณิชย์ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบดูแลการดำเนินงานโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ได้ออกคำสั่งวานนี้เพิ่มมาตรการด้านความปลอดภัยของโรงงานประเภทนี้ โดยให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเดือนเมษายน
ครั้งนี้เป็นครั้งแรกตั้งแต่เกิดวิกฤตนิวเคลียร์เป็นต้นมา ที่รัฐบาลญี่ปุ่นแสดงการยอมรับว่า มาตรฐานการรักษาความปลอดภัยของโรงไฟฟ้าที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน ยังบกพร่องไม่เพียงพอ สำหรับมาตรการใหม่ๆ ที่เพิ่มเติมขึ้น มีดังเช่น ต้องมีไฟฟ้าสำรองเตรียมไว้ในกรณีกระแสไฟฟ้าตามปกติดับลง, มีรถดับเพลิงพร้อมสายฉีดที่ใช้งานได้ทันทีพร้อมเอาไว้ตลอดเวลา, ต้องทำให้มั่นใจว่าระบบหล่อเย็นของเตาปฏิกรณ์ทำงานได้อย่างแน่นอน
ไทยลุ้นผลตรวจทูน่าจากญี่ปุ่น
นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า จากการเก็บตัวอย่าง อาหารทะเล ผักผลไม้
ที่นำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น ตั้งแต่วันที่ 16 มี.ค.เป็นต้นมา จำนวน 122 ตัวอย่าง ทางสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติตรวจ
หาสารกัมมันตรังสีแล้ว ล่าสุดเมื่อวานนี้ (30 มี.ค. ) จำนวน 103 ตัวอย่าง ทุกตัวอย่างอยู่ในเกณฑ์ “ปกติ”และเมื่อ
วันที่ 29 มี.ค.เก็บตัวอย่างเพิ่ม 19 ตัวอย่าง ได้แก่ อาหารทะเล จำนวน 11 ตัวอย่าง แป้ง จำนวน 5 ตัวอย่าง ผัก
จำนวน 2 ตัวอย่าง และถั่ว จำนวน 1 ตัวอย่าง ทั้งนี้ ขอผู้บริโภควางใจในการดำเนินงานของ อย. ซึ่งจะเฝ้าระวังและ
ติดตามข้อมูลจากทั้งในและต่างประเทศ โดย อย.จะเก็บตัวอย่างทุกรายการ และขอให้ผู้นำเข้าชะลอการ
จำหน่าย/กระจายสินค้าเหล่านี้ จนกว่าจะได้รับผลตรวจแจ้งจาก อย. สำหรับอาหารทะเล อย. จะสุ่มตัวอย่างเพิ่มมาก
ขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ด้าน เภสัชกร ชาญชัย เอื้อชัยกุล ผู้อำนวยการสำนักด่านอาหารและยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) กล่าว
ถึงการตรวจหาสารกัมมันตรังสีในปลาทูน่าสคิ๊ปแจ๊ค ที่นำเข้ามาทางเรือ ที่ด่านศุลกากรตรวจสินค้าลาดกระบัง คาดว่าจะทราบผลภายในเย็นวันนี้ (31 มี.ค.)
ด้าน นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เผยผลการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิตแก่คน
ไทยที่เดินทางกลับจากประเทศญี่ปุ่น ที่สนามบินสุวรรณภูมิเมื่อวันที่ 29 มี.ค. คัดกรอง 20 ราย พบผู้มีปัญหาความ
เครียดสูง 3 ราย ได้ให้คำปรึกษาเพื่อลดความวิตกกังวล และแนะนำให้ใช้บริการที่สถานบริการใกล้บ้านหากอาการ
ยังไม่ดีขึ้น
แรงกดดันกำลังเพิ่มทวีขึ้นเรื่อยๆ ให้ต้องมีการขบคิดสร้างสรรค์วิธีการใหม่ๆ แบบออกมานอกกรอบ ขณะที่ ยูกิโอะ เอดาโนะ เลขาธิการคณะรัฐมนตรีและหัวหน้าโฆษกรัฐบาล ตลอดจนบริษัทโตเกียว อิเล็กทริก เพาเวอร์ (เท็ปโก) ผู้ดำเนินการโรงไฟฟ้าฟูกูชิมะ ไดอิจิ ที่อยู่ในสภาพอัมพาตภายหลังเหตุแผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์สึนามิในวันที่ 11 เดือนนี้ ต่างออกมายอมรับว่า ไม่ทราบเลยว่าเมื่อใดจึงจะสามารถควบคุมวิกฤตนิวเคลียร์คราวนี้ได้
“เรายังไม่ทราบข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยสำคัญๆ หลายๆ ประการ เป็นต้นว่า เหตุนิวเคลียร์ที่เกิดขึ้นจะยุติลงได้ด้วยวิธีไหน … พูดง่ายๆ ก็คือ คาดหมายได้ว่าสถานการณ์อันยากลำบากมากๆ เช่นในเวลานี้จะยังคงดำเนินต่อไป” สึเนฮิซะ คัตสึมาตะ ประธานของเท็ปโกแถลงต่อผู้สื่อข่าว
ขณะที่สื่อมวลชนญี่ปุ่นรายงานว่า มาตรการอย่างใหม่ๆ ที่มีการพิจารณาจะนำเอามาใช้ประการหนึ่งได้แก่ การนำเอานำสิ่งทอทำจากวัสดุพิเศษมาคลุมด้านนอกของอาคารเตาปฏิกรณ์จำนวน 3 เครื่องที่ได้รับความเสียหายอย่างหนัก และติดตั้งเครื่องกรองอากาศเพื่อจำกัดกัมมันตภาพรังสีที่ออกมาสู่ภายนอก
ส่วนอีกแผนการหนึ่งนั้นจะนำเอาเรือบรรทุกน้ำมันที่ไม่ได้บรรทุกอะไร ไปจอดทอดสมอที่ใกล้ๆ กับเตาปฏิกรณ์หมายเลข 2 แล้วให้คนงานสูบเอาน้ำปนเปื้อนรังสีเข้มข้นสูงที่มีปริมาณมากเท่ากับสระว่ายน้ำโอลิมปิกหลายๆ สระ ออกมาบรรจุไว้ในเรือ
แต่วิธีการใหม่ๆ ที่จะมีการนำมาปฏิบัติอย่างแน่นอนแล้ว ก็คือ ตั้งแต่วันนี้(31) คนงานจะเริ่มฉีดพ่นยางเรซินสังเคราะห์ตามพื้นประมาณ 2 ใน 3 ส่วนของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งนี้ เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ฝุ่นกัมมันตภาพรังสีปลิวขึ้นสู่อากาศ หรือถูกชะล้างลงมหาสมุทรแปซิฟิกที่อยู่ใกล้ๆ ทั้งนี้ยางเรซินสังเคราะห์นั้นละลายน้ำได้ ครั้นเมื่อน้ำระเหยเหือดแห้งลง มันก็จะกลายเป็นกองสารเหนียวๆ และสามารถจับฝุ่นรังสีเอาไว้
เจ้าหน้าที่ผู้หนึ่งของสำนักงานความปลอดภัยด้านนิวเคลียร์ กล่าวกับเอเอฟพีว่า “เราอยู่ในสถานการณ์ชนิดที่ไม่เคยพบเห็นกันมาก่อน ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องขบคิดเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ที่แตกต่างออกไป ต้องไปให้พ้นจากการขบคิดด้วยวิธีปกติทั่วไป”
ขณะที่ เอดาโนะ หัวหน้าโฆษกรัฐบาลก็แถลงว่า รัฐบาลและพวกผู้เชี่ยวชาญด้านนิวเคลียร์กำลังหารือกันถึง “ความเป็นไปได้ทุกๆ อย่าง รวมทั้งพวกวิธีการที่มีเอ่ยเอาไว้ในสื่อมวลชนด้วย”
เขายอมรับด้วยว่า “เราไม่ได้อยู่ในสถานการณ์ซึ่งเราสามารถพูดได้ว่า เราจะทำให้เรื่องนี้กลับมาอยู่ในความควบคุมได้ในเวลาเมื่อนั้นเมื่อนี้”
มีรายงานด้วยว่า สหรัฐฯได้ส่งหุ่นยนต์จำนวนหนึ่งมาให้ญี่ปุ่นยืมใช้ หุ่นยนต์เหล่านี้สร้างขึ้นตามแบบจำลองที่ใช้ทดสอบทำสงครามในอิรักและอัฟกานิสถาน โดยพวกเมันสามารถที่จะเคลื่อนที่ไปตามทิศทางที่กำหนด, ถ่ายภาพ, และเก็บกวาดซากปรักหักพังต่างๆ ภายในอาคารเตาปฏิกรณ์ซึ่งได้รับความเสียหายได้ ภายในอาคารเหล่านี้หลายๆ บริเวณมีน้ำปนเปื้อนรังสีความเข้มข้นสูง ตลอดจนอาจจะมีฝุ่นรังสีอยู่ในอากาศ จนมีความเสี่ยงเกินกว่าที่จะส่งมนุษย์เข้าไปทำงานได้
ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ของสหรัฐฯ ยังให้คำมั่นสัญญาที่จะช่วยเหลือในเรื่องอื่นๆ อีก ขณะที่เขาหารือกับนายกรัฐมนตรีนาโอโตะ คัง ของญี่ปุ่นเป็นครั้งที่ 3 นับแต่ที่เกิดภัยพิบัติคราวนี้ ซึ่งได้คร่าชีวิตผู้คนที่ได้รับการยืนยันอย่างเป็นทางการแล้ว เป็นจำนวนกว่า 11,000 คน แล้วยังมีอีกกว่า 16,000 คนที่ถูกขึ้นบัญชีเป็นผู้สูญหาย
ขณะเดียวกัน ทีมผู้เชี่ยวชาญจาก อาเรวา รัฐวิสาหกิจฝรั่งเศสที่เป็นผู้ผลิตเตาปฏิกรณ์ ก็มาถึงญี่ปุ่นแล้ววานนี้เพื่อให้คำปรึกษาหารือแก่ทีมผู้เชี่ยวชาญของฝ่ายญี่ปุ่น
เมื่อวานนี้ยังเกิดเหตุที่ทำให้หวาดหวั่นขวัญระทึกเพิ่มขึ้นอีกเป็นช่วงระยะสั้นๆ นั่นคือได้มีควันลอยออกมาจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ ไดนิ ซึ่งดำเนินการโดยเท็ปโกเช่นกัน และตั้งอยู่ห่างจากฟูกูชิมะ ไดอิจิ ประมาณ 10 กิโลเมตร ทั้งนี้ ฟูกูชิมะ ไดนิ ได้รับความเสียหายจากเหตุแผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์สึนามิเหมือนกัน แต่ข่าวก่อนหน้านี้ระบุว่าสามารถควบคุมสถานการณ์ได้หลายวันแล้ว
ในเวลาต่อมา เท็ปโกแถลงว่า ควันที่เห็นลอยออกมานั้น มาจากแผงสวิตช์จ่ายไฟฟ้า และไม่ได้มีสาเหตุจากการเกิดเพลิงไหม้แต่อย่างใด
ก่อนหน้านั้น เจ้าหน้าที่หลายรายแจ้งว่า ได้มีการตรวจพบว่า สารกัมมันตรังสี ไอโอดีน-131 ในน้ำของมหาสมุทรแปซิฟิกบริเวณใกล้ๆ โรงไฟฟ้าฟูกูชิมะ ไดอิจิ มีระดับเข้มข้นพุ่งพรวดขึ้นไปอยู่ที่ 3,355 เท่าของขีดสูงสุดที่กฎหมายอนุญาต โดยที่ก่อนหน้านั้นไม่กี่วัน ระดับรังสีบริเวณนี้ยังวัดได้ที่ 1,850 เท่าของขีดสูงสุดที่กฎหมายยินยอม
“ตัวเลขนี้กำลังเพิ่มมากขึ้นอีก” ฮิเดฮิโกะ นิชิยามะ โฆษกของสำนักงานความปลอดภัยด้านนิวเคลียร์ของญี่ปุ่นแถลง “เราจำเป็นต้องค้นหาให้พบโดยเร็วที่สุดว่ามันมีสาหตุมาจากอะไร และหยุดยั้งไม่ให้มันเพิ่มขึ้นไปกว่านี้”
ความตึงเครียดจากวิกฤตนิวเคลียร์คราวนี้ที่โถมทับเข้ามาเรื่อยๆ เหมือนไม่รู้สิ้นสุด ดูเหมือนจะส่งผลกระทบกระเทือนต่อ มาซาทากะ ชิมิซุ ประธานกรรมการบริหารวัย 66 ปีของเท็ปโก โดยมีรายงานว่าเขาถูกนำตัวเข้าโรงพยาบาลในคืนวันอังคาร(29) ด้วยอาการความดันเลือดสูง และคลื่นไส้อาเจียน ทั้งนี้เขาไม่ได้ปรากฏตัวต่อสาธารณชนมาเป็นเวลากว่า 2 สัปดาห์แล้ว
คัตสึมาตะ ประธานของเท็ปโกซึ่งออกมาแสดงบทบาทเพิ่มมากขึ้น กล่าวยอมรับวานนี้ว่า เขาคิดว่าแทบไม่มีโอกาสเอาเลยที่เตาปฏิกรณ์ 4 เครื่องจากจำนวน 6 เครื่องของโรงไฟฟ้าฟูกูชิมะ ไดอิจิ ซึ่งได้รับความเสียหายหนักมาก จะสามารถกลับมาใช้งานได้อีก และคงจะต้องปิดไป
อนึ่ง ทางด้านกระทรวงพาณิชย์ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบดูแลการดำเนินงานโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ได้ออกคำสั่งวานนี้เพิ่มมาตรการด้านความปลอดภัยของโรงงานประเภทนี้ โดยให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเดือนเมษายน
ครั้งนี้เป็นครั้งแรกตั้งแต่เกิดวิกฤตนิวเคลียร์เป็นต้นมา ที่รัฐบาลญี่ปุ่นแสดงการยอมรับว่า มาตรฐานการรักษาความปลอดภัยของโรงไฟฟ้าที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน ยังบกพร่องไม่เพียงพอ สำหรับมาตรการใหม่ๆ ที่เพิ่มเติมขึ้น มีดังเช่น ต้องมีไฟฟ้าสำรองเตรียมไว้ในกรณีกระแสไฟฟ้าตามปกติดับลง, มีรถดับเพลิงพร้อมสายฉีดที่ใช้งานได้ทันทีพร้อมเอาไว้ตลอดเวลา, ต้องทำให้มั่นใจว่าระบบหล่อเย็นของเตาปฏิกรณ์ทำงานได้อย่างแน่นอน
ไทยลุ้นผลตรวจทูน่าจากญี่ปุ่น
นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า จากการเก็บตัวอย่าง อาหารทะเล ผักผลไม้
ที่นำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น ตั้งแต่วันที่ 16 มี.ค.เป็นต้นมา จำนวน 122 ตัวอย่าง ทางสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติตรวจ
หาสารกัมมันตรังสีแล้ว ล่าสุดเมื่อวานนี้ (30 มี.ค. ) จำนวน 103 ตัวอย่าง ทุกตัวอย่างอยู่ในเกณฑ์ “ปกติ”และเมื่อ
วันที่ 29 มี.ค.เก็บตัวอย่างเพิ่ม 19 ตัวอย่าง ได้แก่ อาหารทะเล จำนวน 11 ตัวอย่าง แป้ง จำนวน 5 ตัวอย่าง ผัก
จำนวน 2 ตัวอย่าง และถั่ว จำนวน 1 ตัวอย่าง ทั้งนี้ ขอผู้บริโภควางใจในการดำเนินงานของ อย. ซึ่งจะเฝ้าระวังและ
ติดตามข้อมูลจากทั้งในและต่างประเทศ โดย อย.จะเก็บตัวอย่างทุกรายการ และขอให้ผู้นำเข้าชะลอการ
จำหน่าย/กระจายสินค้าเหล่านี้ จนกว่าจะได้รับผลตรวจแจ้งจาก อย. สำหรับอาหารทะเล อย. จะสุ่มตัวอย่างเพิ่มมาก
ขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ด้าน เภสัชกร ชาญชัย เอื้อชัยกุล ผู้อำนวยการสำนักด่านอาหารและยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) กล่าว
ถึงการตรวจหาสารกัมมันตรังสีในปลาทูน่าสคิ๊ปแจ๊ค ที่นำเข้ามาทางเรือ ที่ด่านศุลกากรตรวจสินค้าลาดกระบัง คาดว่าจะทราบผลภายในเย็นวันนี้ (31 มี.ค.)
ด้าน นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เผยผลการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิตแก่คน
ไทยที่เดินทางกลับจากประเทศญี่ปุ่น ที่สนามบินสุวรรณภูมิเมื่อวันที่ 29 มี.ค. คัดกรอง 20 ราย พบผู้มีปัญหาความ
เครียดสูง 3 ราย ได้ให้คำปรึกษาเพื่อลดความวิตกกังวล และแนะนำให้ใช้บริการที่สถานบริการใกล้บ้านหากอาการ
ยังไม่ดีขึ้น