ศูนย์ข่าวขอนแก่น-แบงก์ชาติอีสาน คาดเหตุแผ่นดินไหวและสึนามิถล่มญี่ปุ่น ส่งผลดีต่อสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปของภาคอีสาน เหตุช่วงฟื้นฟูประเทศจะเกิดความต้องบริโภคสูง ทั้งข้าว น้ำตาล มันสำปะหลัง ยอมรับด้านการลงทุนจากทุนแดนปลาดิบอาจชะลอบ้าง แต่เชื่อสายการผลิตของบริษัทลูกในอีสานยังเดินหน้าผลิตรับคำสั่งซื้อต่อเนื่อง
นายเพิ่มสุข สุทธินุ่น ผู้อำนวยการอาวุโส ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ธปท.สภอ.) เปิดเผยว่า จากการติดตามถึงผลกระทบจากสถานการณ์เหตุแผ่นดินไหว และเกิดเหตุสึนามิถล่มประเทศญี่ปุ่นเมื่อ 11 มี.ค.ที่ผ่านมานั้น เป็นเหตุการณ์ที่หลายฝ่ายให้ความสำคัญ เนื่องจากประเทศญี่ปุ่นมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่อันดับต้นของโลก
ที่สำคัญญี่ปุ่นเป็นประเทศคู่ค้าอันดับหนึ่งของไทย โดยเฉพาะตลาดส่งออกไทยมีสัดส่วนมูลค่าการส่งออกถึงร้อยละ 40 และเป็นแหล่งนำเข้าวัตถุดิบมีสัดส่วนมูลค่านำเข้าสูงถึงร้อยละ 80 อีกทั้งญี่ปุ่นยังเป็นประเทศที่เข้ามาลงทุนมากที่สุดในไทยอีกด้วย
“แม้ว่า เศรษฐกิจโดยรวมของไทยจะเกี่ยวโยงกับญี่ปุ่นค่อนข้างสูง แต่ความเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจอีสานไม่มากนัก เนื่องจากการส่งออกและนำเข้าส่วนใหญ่เป็นสินค้าอุตสาหกรรม ขณะที่เศรษฐกิจอีสานพึ่งพาภาคเกษตรกรรม และอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตรเป็นหลัก ผลจากเหตุพิบัติภัยสึนามิ น่าจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจอีสาน โดยเฉพาะในช่วงระยะการฟื้นฟูเศรษฐกิจญี่ปุ่น จะเกิดความต้องการบริโภคสินค้าอาหารในประเทศญี่ปุ่นที่สูงขึ้น” ผู้อำนวยการ ธปท.สภอ. กล่าวและว่า
ทั้งนี้ จะส่งผลดีต่อสินค้าเกษตรแปรรูปที่สำคัญของภาคอีสาน โดยเฉพาะ ข้าว น้ำตาล และมันสำปะหลัง ทำให้ราคายังอยู่ในเกณฑ์ดีต่อไป จากตัวเลขการส่งออกสินค้าเกษตรและสินค้าเกษตรแปรรูปของไทยไปญี่ปุ่น พบว่า ปี 2553 มีมูลค่า 1,701.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 8.3 ของมูลค่าการส่งออกของไทยไปยังญี่ปุ่น โดยสินค้าสำคัญประกอบด้วย ยางพารา ,น้ำตาล , มันสำปะหลัง , และข้าว
ส่วนด้านการลงทุนจากญี่ปุ่นเข้ามาในพื้นที่ภาคอีสาน อาจได้รับผลกระทบชะลอตัวลงบ้าง ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดนครราชสีมา ปัจจุบันมีโรงงานของชาวญี่ปุ่นตั้งอยู่ประมาณ 30 แห่ง และในปี 2553 มีเงินลงทุนสูงถึงกว่า 3,000 ล้านบาท หรือสูงสุดในรอบ 5 ปี ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องจักร และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ แต่ยังคงมั่นใจว่า สายการผลิตยังคงดำเนินต่อไปได้ เพื่อให้บริษัทส่งมอบสินค้าได้ตามตามคำสั่งซื้อที่มีอยู่ อย่างไรก็ตาม ยังต้องติดตามสถานการณ์ปัญหาและความเร็วในการฟื้นฟูเศรษฐกิจญี่ปุ่นด้วย
สำหรับการส่งสินค้าออกไปประเทศญี่ปุ่น ที่เกิดความกังวลการขนส่งที่เกิดจากความเสียหายของท่าเรือ รวมถึงการปิดท่าเทียบเรือในประเทศญี่ปุ่น ทำให้เรือขนส่งสินค้า ทั้งที่เป็นวัตถุดิบและส่งสินค้าที่ผลิตแล้วไม่สามารถดำเนินการได้นั้น ได้มีการเปลี่ยนเส้นทางการขนส่งไปใช้ท่าเรือที่ใกล้ที่สุด ยังคงทำให้ภาคเกษตรของภาคอีสาน สามารถส่งออกสินค้าได้อย่างต่อเนื่อง
นายเพิ่มสุข สุทธินุ่น ผู้อำนวยการอาวุโส ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ธปท.สภอ.) เปิดเผยว่า จากการติดตามถึงผลกระทบจากสถานการณ์เหตุแผ่นดินไหว และเกิดเหตุสึนามิถล่มประเทศญี่ปุ่นเมื่อ 11 มี.ค.ที่ผ่านมานั้น เป็นเหตุการณ์ที่หลายฝ่ายให้ความสำคัญ เนื่องจากประเทศญี่ปุ่นมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่อันดับต้นของโลก
ที่สำคัญญี่ปุ่นเป็นประเทศคู่ค้าอันดับหนึ่งของไทย โดยเฉพาะตลาดส่งออกไทยมีสัดส่วนมูลค่าการส่งออกถึงร้อยละ 40 และเป็นแหล่งนำเข้าวัตถุดิบมีสัดส่วนมูลค่านำเข้าสูงถึงร้อยละ 80 อีกทั้งญี่ปุ่นยังเป็นประเทศที่เข้ามาลงทุนมากที่สุดในไทยอีกด้วย
“แม้ว่า เศรษฐกิจโดยรวมของไทยจะเกี่ยวโยงกับญี่ปุ่นค่อนข้างสูง แต่ความเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจอีสานไม่มากนัก เนื่องจากการส่งออกและนำเข้าส่วนใหญ่เป็นสินค้าอุตสาหกรรม ขณะที่เศรษฐกิจอีสานพึ่งพาภาคเกษตรกรรม และอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตรเป็นหลัก ผลจากเหตุพิบัติภัยสึนามิ น่าจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจอีสาน โดยเฉพาะในช่วงระยะการฟื้นฟูเศรษฐกิจญี่ปุ่น จะเกิดความต้องการบริโภคสินค้าอาหารในประเทศญี่ปุ่นที่สูงขึ้น” ผู้อำนวยการ ธปท.สภอ. กล่าวและว่า
ทั้งนี้ จะส่งผลดีต่อสินค้าเกษตรแปรรูปที่สำคัญของภาคอีสาน โดยเฉพาะ ข้าว น้ำตาล และมันสำปะหลัง ทำให้ราคายังอยู่ในเกณฑ์ดีต่อไป จากตัวเลขการส่งออกสินค้าเกษตรและสินค้าเกษตรแปรรูปของไทยไปญี่ปุ่น พบว่า ปี 2553 มีมูลค่า 1,701.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 8.3 ของมูลค่าการส่งออกของไทยไปยังญี่ปุ่น โดยสินค้าสำคัญประกอบด้วย ยางพารา ,น้ำตาล , มันสำปะหลัง , และข้าว
ส่วนด้านการลงทุนจากญี่ปุ่นเข้ามาในพื้นที่ภาคอีสาน อาจได้รับผลกระทบชะลอตัวลงบ้าง ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดนครราชสีมา ปัจจุบันมีโรงงานของชาวญี่ปุ่นตั้งอยู่ประมาณ 30 แห่ง และในปี 2553 มีเงินลงทุนสูงถึงกว่า 3,000 ล้านบาท หรือสูงสุดในรอบ 5 ปี ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องจักร และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ แต่ยังคงมั่นใจว่า สายการผลิตยังคงดำเนินต่อไปได้ เพื่อให้บริษัทส่งมอบสินค้าได้ตามตามคำสั่งซื้อที่มีอยู่ อย่างไรก็ตาม ยังต้องติดตามสถานการณ์ปัญหาและความเร็วในการฟื้นฟูเศรษฐกิจญี่ปุ่นด้วย
สำหรับการส่งสินค้าออกไปประเทศญี่ปุ่น ที่เกิดความกังวลการขนส่งที่เกิดจากความเสียหายของท่าเรือ รวมถึงการปิดท่าเทียบเรือในประเทศญี่ปุ่น ทำให้เรือขนส่งสินค้า ทั้งที่เป็นวัตถุดิบและส่งสินค้าที่ผลิตแล้วไม่สามารถดำเนินการได้นั้น ได้มีการเปลี่ยนเส้นทางการขนส่งไปใช้ท่าเรือที่ใกล้ที่สุด ยังคงทำให้ภาคเกษตรของภาคอีสาน สามารถส่งออกสินค้าได้อย่างต่อเนื่อง