สำหรับเด็กๆ ชีวิตมีแต่ความสนุกสนาน สำหรับหนุ่มสาวและผู้ใหญ่เต็มตัว ชีวิตคือทุกข์ สุขสลับกันไป แต่สำหรับคนที่ผ่านโลกมากว่าครึ่งศตวรรษอย่างผม ชีวิตคือ อนิจจัง คือความไม่แน่นอน และไม่อาจควบคุมบงการได้ อย่างมากที่สุดที่ตัวเราจะทำได้ก็คือ “ปรองดอง” ตัวเองให้เข้ากับ “ชีวิต” ในความหมายที่ใหญ่ และกว้างที่สุดเท่าที่ตัวเราจะนิยามมันได้เท่านั้น
ปัจจุบันคุณสามารถ “ปรองดอง” กับ “ชีวิต” ของคุณได้มากแค่ไหน? ลองอ่านข้อความต่อไปนี้อย่างพินิจไตร่ตรอง และลองประเมินตนเองอย่างเที่ยงตรงที่สุด
(1) ฉันไม่รู้สึกเศร้าโศก หรือเป็นทุกข์อย่างจมจ่อมอยู่กับมันเป็นเวลานานๆ เลย พอฉันรู้สึกทุกข์ขึ้นมาทีไร ฉันมักจะรู้สึกตัวขึ้นมาได้บ่อยๆ และรู้ทัน หรือเห็นตัวทุกข์นั้นที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไปได้เสมอ
(2) ฉันไม่เคยรู้สึกท้อถอย หรือท้อแท้เกี่ยวกับอนาคตของฉัน ฉันไม่เคยรู้สึกสิ้นหวังกับชีวิต และเชื่อมั่นว่าฉันสามารถทำให้ชีวิตฉันดีขึ้นได้
(3) ฉันไม่คิดว่าฉันเป็นคนที่ล้มเหลวในชีวิต
(4) ฉันมีความพอใจกับทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิตเสมอมา และฉันสามารถรื่นรมย์กับชีวิตได้เสมอ
(5) ฉันไม่เคยรู้สึกผิดไม่ว่าในเรื่องใดๆ ที่ผ่านมา เพราะฉันได้ทำทุกสิ่งทุกเรื่องอย่างทุ่มเทและจริงใจเสมอ
(6) ฉันไม่เคยรู้สึกว่าฉันไม่ได้รับความไม่เป็นธรรมในชีวิต และไม่เคยรู้สึกว่าชีวิตคือการถูกลงทัณฑ์
(7) ฉันไม่เคยรู้สึกผิดหวังในตัวเอง
(8) ฉันนอนหลับได้เป็นปกติ รับประทานได้ตามปกติ ฉันไม่เคยอ่อนเพลียอย่างผิดปกติ และฉันไม่ได้หงุดหงิดรำคาญโดยผิดปกติ
(9) ฉันใส่ใจคนรอบข้าง ฉันสามารถตัดสินใจเกี่ยวกับทุกอย่างได้ดีเหมือนเคย และยังคงทำอะไรต่ออะไรได้ดีเป็นปกติ
(10) ฉันไม่เคยกังวลว่าฉันดูแก่ และน่าเกลียดกว่าเก่า และฉันไม่ได้วิตกในเรื่องสุขภาพเกินกว่าปกติ ฉันไม่ได้กลัวเกี่ยวกับการเจ็บป่วยของตนเอง และไม่ได้กลัวว่าจะตาย
ถ้าคุณยังไม่สามารถ ตอบตนเองอย่างเต็มปากเต็มคำว่า “ใช่!” ในข้อความแต่ละข้อทั้งสิบข้อข้างต้น ทุกข้อ นี่ก็ย่อมแสดงว่า ตัวคุณยังไม่สามารถ “ปรองดอง” ตัวเองให้เข้ากับ “ชีวิต” ของคุณได้มากพอ และตัวคุณคงยังติดอยู่กับ “มายา” บางอย่างที่ทำให้ตัวคุณไม่สามารถมีชีวิตที่รู้ตื่น รู้เบิกบานอย่างเต็มตัวได้
ลองย้อนไปมองให้กว้างขึ้นกว่าเดิม...ในช่วง 20-30 ปีมานี้ ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม และเศรษฐกิจกับประเทศไทยอย่างเห็นได้ชัด กล่าวคือ การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างค่อนข้างต่อเนื่อง เปิดโอกาสให้มีการสะสมทุน ดึงดูดทุนมาขยายธุรกิจได้อย่างน่าทึ่งในเวลาอันรวดเร็ว ทำให้สังคมไทยมีความมั่งคั่งร่ำรวยมากขึ้นกว่าแต่ก่อน คนไทยจำนวนมากได้รับความสะดวกสบายเพิ่มขึ้นจากการลงทุนทางสาธารณูปโภคพื้นฐาน และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ แต่ในขณะเดียวกัน สุขภาพของคนไทยโดยทั่วไปกลับทรุดโทรมลง ทำให้คนไทยจำนวนไม่น้อยอายุสั้นกว่าที่ควรจะเป็น แก่เร็วกว่าที่ควรจะเป็น และเจ็บไข้ได้ป่วยจนเป็นโรคร้ายแรงที่ไม่มีทางรักษาโดยไม่จำเป็น
แต่ที่สำคัญยิ่งกว่านั้นก็คือ คนไทยจำนวนไม่น้อยต้องทนทุกข์ทรมานกับชีวิตที่หลงทาง และหลงผิด อย่างไม่ควรจะเป็น เพราะพวกเขาหลงไปยึดติดกับ มายาแห่งวัตถุนิยม และบริโภคนิยม จนเห็นแก่เงิน และนับถือเงินเป็นพระเจ้าอย่างไม่ลืมหูลืมตา ทำให้ชีวิตของพวกเขา ห่างไกลจากความเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ มากขึ้นทุกที และขาดแคลนความสุขกาย และความสุขใจอย่างไม่น่าเชื่อ
มันจึงกลายเป็นเรื่องแปลกแต่จริงที่ปัจจุบัน คนไทยจำนวนไม่น้อยร่ำรวยขึ้นกว่าแต่ก่อน มีชีวิตที่สะดวกสบายขึ้นกว่าแต่ก่อน แต่พวกเขากลับเจ็บป่วยมากขึ้นกว่าเดิม และต้องทนทุกข์ทรมานกับชีวิตที่ “แห้งแล้ง” มากขึ้นกว่าเดิม และ “ไร้ความหมาย” มากขึ้นกว่าเดิม
ปัจจุบันภาวะวิกฤตโลก และวิกฤตของสังคมดูเหมือนจะเกิดขึ้นด้วยอัตราเร่ง ทั้งนี้เพราะปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อปัญหาอันเป็นวิกฤตที่ซับซ้อนนั้นมีมากมายขึ้นกว่าเดิมมาก การมุ่งแก้ปัญหาหรือวิกฤตใดๆ ด้วยองค์ความรู้ใดความรู้หนึ่งเพียงอย่างเดียวอย่างโดดๆ และแยกส่วน จึงกลายเป็น “มายาคติ” อย่างหนึ่ง และยากที่จะแก้ปัญหาที่มีความซับซ้อนเหล่านั้นได้
ปัญหาต่างๆ ที่พวกเรากำลังเผชิญในยุคปัจจุบัน และยุคหลังจากนี้เป็นต้นไป จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้อง “บูรณาการ” ศาสตร์ต่างๆ หลายแขนงไว้ด้วยกัน เพื่อมองทะลุมายาคติ และสภาวะตาบอดคลำช้าง อันเป็นข้อจำกัดขององค์ความรู้ ไม่ว่าสาขาใดๆ ที่มีลักษณะเฉพาะทาง แยกส่วน ขาดความเชื่อมโยงกับองค์ความรู้อื่นๆ อย่างเป็นระบบและอย่างบูรณาการ
นอกจากนี้ มายาคติแบบที่เป็นฉันทาคติคือ เชื่อมั่นมากเกินไปในองค์ความรู้ในสาขาของตนว่าดีกว่า จริงกว่า ลึกกว่า องค์ความรู้สาขาอื่นๆ ก็เป็นสิ่งที่พึงสังวรเป็นอย่างยิ่ง เพราะในความเป็นจริงแล้ว การที่เราไปศึกษามองโลกด้วยศาสตร์ใดศาสตร์หนึ่งนั้น มันจำเป็นต้องไปลดทอนหรือจำกัดตัวแปร หรือผลกระทบต่างๆ ที่ยากเกินกว่าจะควบคุมอยู่แล้ว ทำให้การมองปัญหานั้นจำเป็นต้องนำเสนอองค์ความรู้จากมุมมองเดียว หรือจากมิติเดียวแห่งความรู้ความเชี่ยวชาญในสาขาของตนอยู่แล้ว ซึ่งไม่ใช่เรื่องผิดแต่อย่างใด เพียงแต่ต้องตระหนักอยู่เสมอว่า เรากำลังนำเสนอความจริงจากองค์ความรู้ความเชี่ยวชาญของเราที่มีความถูกต้องแค่บางส่วนเท่านั้น เพราะมันเป็นองค์ความรู้ที่มาจาก “การลดทอน” จากความเป็นจริงทั้งสิ้น
การจะแก้ปัญหาต่างๆ ในยุคปัจจุบัน และยุคหลังจากนี้เป็นต้นไปอย่างบูรณาการนั้น จึงไม่สามารถปฏิเสธองค์ความรู้ของศาสตร์แขนงใดได้เลย การมองปัญหาหรือวิกฤตใดๆ จึงต้องมองแบบองค์รวม ด้วยจิตสำนึกเชิงบูรณาการอย่างแท้จริง ที่จะไม่ปฏิเสธองค์ความรู้ใดๆ เลย ทั้งองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ ทางวิทยาศาสตร์สังคม ทางวัฒนธรรม และทางจิตวิญญาณ ในฐานะที่ต่างก็เป็นภูมิปัญญาของมนุษยชาติที่สั่งสมกันมาอย่างต่อเนื่องยาวนานทั้งสิ้น โดยไม่มีอคติหรือฉันทาคติต่อองค์ความรู้สาขาใดสาขาหนึ่งเป็นพิเศษ
ในการจะเข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงวิกฤตต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ ตัวเราจำเป็นต้องมีมุมมองเชิงจิตวิญญาณเกี่ยวกับมายาภายในตัวเราก่อน การเปลี่ยนแปลงภายในตัวเราอย่างเล็กๆ ในแต่ละวัน สามารถสร้างผลกระทบที่มีต่อสังคมภายนอก และรอบข้างได้มากเกินกว่าที่จะคาดคิดนัก เพราะจะว่าไปแล้ว วิกฤตปัจจุบันเป็นแค่สิ่งสะท้อนมายาของการใช้ชีวิตของผู้คนส่วนใหญ่ในสังคมเท่านั้น หากเราใช้เพียงแค่มุมมองทางโลก ทางวัตถุที่มีเพียงสัญลักษณ์ตัวเลขย่อมมิอาจสะท้อนถึงรากเหง้าของวิกฤต อันมีสาเหตุมาจากภายในตัวคนเราที่ฝังรากลึกอยู่ในระดับจิตวิญญาณได้ เพราะโลกทุนนิยมคือระบบที่ถูกออกแบบมาเพื่อกระตุ้น และบุกเบิกพรมแดนแห่งกิเลส ตัณหา ความทะยานอยาก และความโลภของผู้คนให้กว้างไกลออกไปอย่างไม่มีขอบเขตจำกัด โดยการให้ “รูปธรรม” หรือสินค้าและบริการที่สนองตอบ ความอยากหรือกิเลสที่เป็น “นามขันธ์” ของผู้คนทั้งหลาย
ชีวิตของคนเราจึงเป็นการต่อสู้ระหว่าง “อัตตา” กับ “ปัญญา” ภายในตัวเอง โดยที่ทั้งอัตตา และปัญญานั้น ต่างก็มีขึ้นได้ตลอดเวลาในรูปของอัตวิสัย ซึ่งเป็นสิ่งที่คนเราเป็นผู้ตัดสินจากมุมมองของเรา แต่เพียงผู้เดียว ถ้าเรามี “สติ” “รู้ตัว” “รู้ตื่น” ในขณะนั้น ปัญญาย่อมมีขึ้นในตอนนั้น
แต่ถ้าเราหลงไปอยู่ในโลกของความคิด หรือความอยาก อัตตาย่อมมีขึ้นในตอนนั้นเช่นกัน แรงผลักดันที่เกิดจากกิเลส ความทะยานอยาก ความอยากได้อยากมีที่เกินกว่าความจำเป็นอันเนื่องมาจากความหลงในวัตถุภายนอก ทำให้การรับรู้โลกแห่งภาวะวิสัยที่ดำรงอยู่แล้ว สะท้อนกลับเข้ามาในจิตสำนึกภายในจิตใจของเราจนเป็น มายาในการดำรงชีวิต ลองกลับไปอ่านข้อความ 10 ข้อที่ทดสอบระดับความปรองดองกับชีวิตของตัวคุณอีกครั้ง และหามายาในการดำรงชีวิตของคุณให้เจอ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริงภายในตัวคุณ
“หยาดน้ำค้างสะท้อนทั่วแผ่นฟ้า บนยอดหญ้าเรียงรายอยู่ไหวไหว แม้นชั่วครู่จักระเหยลิ่วลอยไป มิเป็นไรคืนสู่ฟ้า...เป็นหนึ่งเดียว”
www.suvinai-dragon.com
ปัจจุบันคุณสามารถ “ปรองดอง” กับ “ชีวิต” ของคุณได้มากแค่ไหน? ลองอ่านข้อความต่อไปนี้อย่างพินิจไตร่ตรอง และลองประเมินตนเองอย่างเที่ยงตรงที่สุด
(1) ฉันไม่รู้สึกเศร้าโศก หรือเป็นทุกข์อย่างจมจ่อมอยู่กับมันเป็นเวลานานๆ เลย พอฉันรู้สึกทุกข์ขึ้นมาทีไร ฉันมักจะรู้สึกตัวขึ้นมาได้บ่อยๆ และรู้ทัน หรือเห็นตัวทุกข์นั้นที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไปได้เสมอ
(2) ฉันไม่เคยรู้สึกท้อถอย หรือท้อแท้เกี่ยวกับอนาคตของฉัน ฉันไม่เคยรู้สึกสิ้นหวังกับชีวิต และเชื่อมั่นว่าฉันสามารถทำให้ชีวิตฉันดีขึ้นได้
(3) ฉันไม่คิดว่าฉันเป็นคนที่ล้มเหลวในชีวิต
(4) ฉันมีความพอใจกับทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิตเสมอมา และฉันสามารถรื่นรมย์กับชีวิตได้เสมอ
(5) ฉันไม่เคยรู้สึกผิดไม่ว่าในเรื่องใดๆ ที่ผ่านมา เพราะฉันได้ทำทุกสิ่งทุกเรื่องอย่างทุ่มเทและจริงใจเสมอ
(6) ฉันไม่เคยรู้สึกว่าฉันไม่ได้รับความไม่เป็นธรรมในชีวิต และไม่เคยรู้สึกว่าชีวิตคือการถูกลงทัณฑ์
(7) ฉันไม่เคยรู้สึกผิดหวังในตัวเอง
(8) ฉันนอนหลับได้เป็นปกติ รับประทานได้ตามปกติ ฉันไม่เคยอ่อนเพลียอย่างผิดปกติ และฉันไม่ได้หงุดหงิดรำคาญโดยผิดปกติ
(9) ฉันใส่ใจคนรอบข้าง ฉันสามารถตัดสินใจเกี่ยวกับทุกอย่างได้ดีเหมือนเคย และยังคงทำอะไรต่ออะไรได้ดีเป็นปกติ
(10) ฉันไม่เคยกังวลว่าฉันดูแก่ และน่าเกลียดกว่าเก่า และฉันไม่ได้วิตกในเรื่องสุขภาพเกินกว่าปกติ ฉันไม่ได้กลัวเกี่ยวกับการเจ็บป่วยของตนเอง และไม่ได้กลัวว่าจะตาย
ถ้าคุณยังไม่สามารถ ตอบตนเองอย่างเต็มปากเต็มคำว่า “ใช่!” ในข้อความแต่ละข้อทั้งสิบข้อข้างต้น ทุกข้อ นี่ก็ย่อมแสดงว่า ตัวคุณยังไม่สามารถ “ปรองดอง” ตัวเองให้เข้ากับ “ชีวิต” ของคุณได้มากพอ และตัวคุณคงยังติดอยู่กับ “มายา” บางอย่างที่ทำให้ตัวคุณไม่สามารถมีชีวิตที่รู้ตื่น รู้เบิกบานอย่างเต็มตัวได้
ลองย้อนไปมองให้กว้างขึ้นกว่าเดิม...ในช่วง 20-30 ปีมานี้ ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม และเศรษฐกิจกับประเทศไทยอย่างเห็นได้ชัด กล่าวคือ การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างค่อนข้างต่อเนื่อง เปิดโอกาสให้มีการสะสมทุน ดึงดูดทุนมาขยายธุรกิจได้อย่างน่าทึ่งในเวลาอันรวดเร็ว ทำให้สังคมไทยมีความมั่งคั่งร่ำรวยมากขึ้นกว่าแต่ก่อน คนไทยจำนวนมากได้รับความสะดวกสบายเพิ่มขึ้นจากการลงทุนทางสาธารณูปโภคพื้นฐาน และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ แต่ในขณะเดียวกัน สุขภาพของคนไทยโดยทั่วไปกลับทรุดโทรมลง ทำให้คนไทยจำนวนไม่น้อยอายุสั้นกว่าที่ควรจะเป็น แก่เร็วกว่าที่ควรจะเป็น และเจ็บไข้ได้ป่วยจนเป็นโรคร้ายแรงที่ไม่มีทางรักษาโดยไม่จำเป็น
แต่ที่สำคัญยิ่งกว่านั้นก็คือ คนไทยจำนวนไม่น้อยต้องทนทุกข์ทรมานกับชีวิตที่หลงทาง และหลงผิด อย่างไม่ควรจะเป็น เพราะพวกเขาหลงไปยึดติดกับ มายาแห่งวัตถุนิยม และบริโภคนิยม จนเห็นแก่เงิน และนับถือเงินเป็นพระเจ้าอย่างไม่ลืมหูลืมตา ทำให้ชีวิตของพวกเขา ห่างไกลจากความเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ มากขึ้นทุกที และขาดแคลนความสุขกาย และความสุขใจอย่างไม่น่าเชื่อ
มันจึงกลายเป็นเรื่องแปลกแต่จริงที่ปัจจุบัน คนไทยจำนวนไม่น้อยร่ำรวยขึ้นกว่าแต่ก่อน มีชีวิตที่สะดวกสบายขึ้นกว่าแต่ก่อน แต่พวกเขากลับเจ็บป่วยมากขึ้นกว่าเดิม และต้องทนทุกข์ทรมานกับชีวิตที่ “แห้งแล้ง” มากขึ้นกว่าเดิม และ “ไร้ความหมาย” มากขึ้นกว่าเดิม
ปัจจุบันภาวะวิกฤตโลก และวิกฤตของสังคมดูเหมือนจะเกิดขึ้นด้วยอัตราเร่ง ทั้งนี้เพราะปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อปัญหาอันเป็นวิกฤตที่ซับซ้อนนั้นมีมากมายขึ้นกว่าเดิมมาก การมุ่งแก้ปัญหาหรือวิกฤตใดๆ ด้วยองค์ความรู้ใดความรู้หนึ่งเพียงอย่างเดียวอย่างโดดๆ และแยกส่วน จึงกลายเป็น “มายาคติ” อย่างหนึ่ง และยากที่จะแก้ปัญหาที่มีความซับซ้อนเหล่านั้นได้
ปัญหาต่างๆ ที่พวกเรากำลังเผชิญในยุคปัจจุบัน และยุคหลังจากนี้เป็นต้นไป จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้อง “บูรณาการ” ศาสตร์ต่างๆ หลายแขนงไว้ด้วยกัน เพื่อมองทะลุมายาคติ และสภาวะตาบอดคลำช้าง อันเป็นข้อจำกัดขององค์ความรู้ ไม่ว่าสาขาใดๆ ที่มีลักษณะเฉพาะทาง แยกส่วน ขาดความเชื่อมโยงกับองค์ความรู้อื่นๆ อย่างเป็นระบบและอย่างบูรณาการ
นอกจากนี้ มายาคติแบบที่เป็นฉันทาคติคือ เชื่อมั่นมากเกินไปในองค์ความรู้ในสาขาของตนว่าดีกว่า จริงกว่า ลึกกว่า องค์ความรู้สาขาอื่นๆ ก็เป็นสิ่งที่พึงสังวรเป็นอย่างยิ่ง เพราะในความเป็นจริงแล้ว การที่เราไปศึกษามองโลกด้วยศาสตร์ใดศาสตร์หนึ่งนั้น มันจำเป็นต้องไปลดทอนหรือจำกัดตัวแปร หรือผลกระทบต่างๆ ที่ยากเกินกว่าจะควบคุมอยู่แล้ว ทำให้การมองปัญหานั้นจำเป็นต้องนำเสนอองค์ความรู้จากมุมมองเดียว หรือจากมิติเดียวแห่งความรู้ความเชี่ยวชาญในสาขาของตนอยู่แล้ว ซึ่งไม่ใช่เรื่องผิดแต่อย่างใด เพียงแต่ต้องตระหนักอยู่เสมอว่า เรากำลังนำเสนอความจริงจากองค์ความรู้ความเชี่ยวชาญของเราที่มีความถูกต้องแค่บางส่วนเท่านั้น เพราะมันเป็นองค์ความรู้ที่มาจาก “การลดทอน” จากความเป็นจริงทั้งสิ้น
การจะแก้ปัญหาต่างๆ ในยุคปัจจุบัน และยุคหลังจากนี้เป็นต้นไปอย่างบูรณาการนั้น จึงไม่สามารถปฏิเสธองค์ความรู้ของศาสตร์แขนงใดได้เลย การมองปัญหาหรือวิกฤตใดๆ จึงต้องมองแบบองค์รวม ด้วยจิตสำนึกเชิงบูรณาการอย่างแท้จริง ที่จะไม่ปฏิเสธองค์ความรู้ใดๆ เลย ทั้งองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ ทางวิทยาศาสตร์สังคม ทางวัฒนธรรม และทางจิตวิญญาณ ในฐานะที่ต่างก็เป็นภูมิปัญญาของมนุษยชาติที่สั่งสมกันมาอย่างต่อเนื่องยาวนานทั้งสิ้น โดยไม่มีอคติหรือฉันทาคติต่อองค์ความรู้สาขาใดสาขาหนึ่งเป็นพิเศษ
ในการจะเข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงวิกฤตต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ ตัวเราจำเป็นต้องมีมุมมองเชิงจิตวิญญาณเกี่ยวกับมายาภายในตัวเราก่อน การเปลี่ยนแปลงภายในตัวเราอย่างเล็กๆ ในแต่ละวัน สามารถสร้างผลกระทบที่มีต่อสังคมภายนอก และรอบข้างได้มากเกินกว่าที่จะคาดคิดนัก เพราะจะว่าไปแล้ว วิกฤตปัจจุบันเป็นแค่สิ่งสะท้อนมายาของการใช้ชีวิตของผู้คนส่วนใหญ่ในสังคมเท่านั้น หากเราใช้เพียงแค่มุมมองทางโลก ทางวัตถุที่มีเพียงสัญลักษณ์ตัวเลขย่อมมิอาจสะท้อนถึงรากเหง้าของวิกฤต อันมีสาเหตุมาจากภายในตัวคนเราที่ฝังรากลึกอยู่ในระดับจิตวิญญาณได้ เพราะโลกทุนนิยมคือระบบที่ถูกออกแบบมาเพื่อกระตุ้น และบุกเบิกพรมแดนแห่งกิเลส ตัณหา ความทะยานอยาก และความโลภของผู้คนให้กว้างไกลออกไปอย่างไม่มีขอบเขตจำกัด โดยการให้ “รูปธรรม” หรือสินค้าและบริการที่สนองตอบ ความอยากหรือกิเลสที่เป็น “นามขันธ์” ของผู้คนทั้งหลาย
ชีวิตของคนเราจึงเป็นการต่อสู้ระหว่าง “อัตตา” กับ “ปัญญา” ภายในตัวเอง โดยที่ทั้งอัตตา และปัญญานั้น ต่างก็มีขึ้นได้ตลอดเวลาในรูปของอัตวิสัย ซึ่งเป็นสิ่งที่คนเราเป็นผู้ตัดสินจากมุมมองของเรา แต่เพียงผู้เดียว ถ้าเรามี “สติ” “รู้ตัว” “รู้ตื่น” ในขณะนั้น ปัญญาย่อมมีขึ้นในตอนนั้น
แต่ถ้าเราหลงไปอยู่ในโลกของความคิด หรือความอยาก อัตตาย่อมมีขึ้นในตอนนั้นเช่นกัน แรงผลักดันที่เกิดจากกิเลส ความทะยานอยาก ความอยากได้อยากมีที่เกินกว่าความจำเป็นอันเนื่องมาจากความหลงในวัตถุภายนอก ทำให้การรับรู้โลกแห่งภาวะวิสัยที่ดำรงอยู่แล้ว สะท้อนกลับเข้ามาในจิตสำนึกภายในจิตใจของเราจนเป็น มายาในการดำรงชีวิต ลองกลับไปอ่านข้อความ 10 ข้อที่ทดสอบระดับความปรองดองกับชีวิตของตัวคุณอีกครั้ง และหามายาในการดำรงชีวิตของคุณให้เจอ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริงภายในตัวคุณ
“หยาดน้ำค้างสะท้อนทั่วแผ่นฟ้า บนยอดหญ้าเรียงรายอยู่ไหวไหว แม้นชั่วครู่จักระเหยลิ่วลอยไป มิเป็นไรคืนสู่ฟ้า...เป็นหนึ่งเดียว”
www.suvinai-dragon.com