*สังคมไทยจะแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมได้สำเร็จเพื่อหลีกเลี่ยงการล่มสลายในอนาคต อันเนื่องมาจากหายนภัยของโลกร้อนได้หรือไม่? (ต่อ)*
ในทางเศรษฐศาสตร์ ปัญหาเศรษฐกิจที่สร้างความหนักใจให้แก่นักเศรษฐศาสตร์เป็นอย่างมากคือ ภาวะ สแตกเฟลชัน (stagflation) หรือการที่ ภาวะเงินเฟ้อ (inflation) กับ ภาวะเงินฝืด (stagration) เกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกัน ทั้งๆ ที่โดยปกติแล้ว มันน่าจะเกิดคนละช่วงกัน ฉันใดก็ฉันนั้น ปัญหา “น้ำ” ในเมืองไทยหลังจากนี้เป็นต้นไป เริ่มที่จะมีลักษณะคล้ายคลึงกับปัญหาสแตกเฟลชัน ในทางเศรษฐศาสตร์เข้าไปทุกที
นั่นคือ ปัญหาน้ำท่วมกับปัญหาน้ำแล้งจะเกิดขึ้นในปีเดียวกันซ้ำๆ อย่างเป็นโครงสร้างเรื้อรังทุกปี อันเนื่องมาจากภาวะโลกร้อน ที่รุนแรงขึ้นจนทำให้ปัญหาการจัดการเรื่อง “น้ำ” จะกลายเป็น วาระแห่งชาติ ของประเทศไทยในอนาคตอันใกล้อย่างแน่นอน
ปัญหา “น้ำ” ในเมืองไทย จึงมิใช่มีแค่เรื่อง วิกฤตน้ำท่วม เท่านั้น ปัญหาน้ำแล้งหรือ วิกฤตขาดแคลนน้ำ ก็เป็นเรื่องใหญ่มากสำหรับประเทศไทยเช่นกัน และ ถ้าหากพิจารณาในระดับโลกแล้ว ปัญหาวิกฤตขาดแคลนน้ำ ดูจะเป็นเรื่องหนักหนาสาหัสยิ่งกว่าปัญหาวิกฤตน้ำท่วม เสียอีก จนแทบจะกลายเป็น วาระแห่งโลก ในอนาคตอันใกล้นี้แล้ว
เพราะ วิกฤตขาดแคลนน้ำ อันเนื่องมาจากภาวะโลกร้อนที่รุนแรงขึ้น มีที่มาจากการที่แหล่งน้ำต่างๆ ของโลก ไม่ว่าจะเป็นแหล่งน้ำใต้ดิน ธารน้ำแข็ง รวมทั้งแหล่งกักเก็บน้ำต่างๆ เช่น เขื่อนมีปริมาณน้ำลดลง ขณะที่ความต้องการบริโภคน้ำทั้งทางตรงและทางอ้อมของชาวโลกที่มีจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้นกลับสูงขึ้นทุกปี มันเป็นเรื่องยากมากในระยะยาวที่โลกใบนี้จะรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นในการใช้น้ำอย่างต่อเนื่องของประชากรโลก เพราะทรัพยากรน้ำมีจำนวนจำกัด เนื่องจากน้ำบนผิวโลกกว่า 97% เป็นน้ำทะเล ขณะที่ 2.5% เป็นน้ำจืด แต่ 70% ของน้ำจืดเหล่านี้อยู่ในรูปของน้ำแข็งที่อยู่ที่ขั้วโลก เป็นธารน้ำแข็ง ดังนั้น น้ำจืดที่ชาวโลกสามารถนำมาใช้ได้จึงอยู่ที่ 0.75% ของปริมาณน้ำทั้งหมดทั่วโลกเท่านั้น และส่วนใหญ่เป็นน้ำใต้ดินที่อยู่ในธารน้ำใต้ดิน หรือลักษณะที่ใกล้เคียง นอกนั้นอยู่ในทะเลสาบ แม่น้ำ และแหล่งกักเก็บต่างๆ ที่มีการระเหยและหมุนเวียนตลอดเวลา
แต่ ภาวะที่โลกร้อนขึ้น กำลังทำให้แม่น้ำสายใหญ่ๆ ในโลกเหือดแห้งลงอย่างรวดเร็ว ปรากฏการณ์นี้ย่อมนำไปสู่การขาดแคลนน้ำอย่างสาหัสในอนาคตอันใกล้ จนกลายเป็นอีกหนึ่งในวิกฤตของศตวรรษที่ 21 อย่างแน่นอน ลองคิดดูสิว่า ในการผลิตข้าวเจ้า 1 กิโลกรัมนั้น ต้องใช้น้ำมากถึง 940-2,450 ลิตร โดยที่การผลิตข้าวเจ้านี้ใช้น้ำมากกว่าการผลิตข้าวสาลี 2 เท่า และมากกว่าการผลิตมันฝรั่งถึง 10 เท่า นอกจากนี้ การปลูกธัญพืชเพื่อเลี้ยงวัว และผลิตเนื้อวัวยังใช้น้ำเปลืองกว่านั้นอีก
กล่าวคือ ในการผลิตเนื้อวัว 1 กิโลกรัมนั้น ต้องใช้น้ำถึง 1 แสนลิตร ส่วนการผลิตกาแฟและน้ำตาลอย่างละ 1 กิโลกรัม จะใช้น้ำเกินกว่า 22,000 ลิตร และ 3,400 ลิตรตามลำดับ ผู้คนส่วนใหญ่มักไม่เคยได้รับรู้ว่า ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมนี้ ได้ใช้น้ำเปลืองในปริมาณมากมายมหาศาลจนน่าตกใจขนาดไหนเพื่อหล่อเลี้ยงและค้ำจุนระบบนี้ให้ทำงานอยู่ได้ นอกจากนี้ ผู้คนส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยได้ตระหนักรู้เลยว่า การที่ประเทศไทยของเราเป็นผู้นำในการส่งออกสินค้าเกษตรไปขายต่างประเทศนั้น ในอีกด้านหนึ่งจึงเป็น ผู้นำในการส่งน้ำออกไปขายทางอ้อม นั่นเอง
เพราะฉะนั้น จงอย่าแปลกใจไปเลย ถ้าหากต่อจากนี้ไปจะเกิด “สงครามแย่งน้ำ” หรือเกิดความขัดแย้งเรื่องแย่งน้ำ หรือความขัดแย้งเรื่องทำทำนบปิดกั้นน้ำ กักน้ำไว้ใช้เองเกิดขึ้นตามที่ต่างๆ มากมาย เพราะภัยแล้งจากภาวะที่โลกร้อนขึ้น จะไม่ปรานีท้องที่ใดๆ ทั้งสิ้น ผมจะไม่ประหลาดใจเลย ถ้าหากปัญหาวิกฤตขาดน้ำ จะส่งผลกระทบทำให้การเกษตรเพื่อการพาณิชย์ในประเทศต่างๆ ล่มสลายในอนาคตอันใกล้ จนเป็นที่มาของวิกฤตขาดแคลนอาหารและน้ำทั่วโลกที่กำลังมาถึงอย่างแน่นอน
ปัญหาการสูบน้ำบาดาลขึ้นมาใช้อย่างไม่บันยะบันยัง ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่จะนำไปสู่การขาดแคลนน้ำในที่สุด เพราะเราจะต้องไม่ลืมว่า การสูบน้ำใต้ดินขึ้นมาใช้ปลูกพืชซึ่งกินน้ำมาก เช่น ข้าว อ้อย ฝ้าย จะทำให้ขุมน้ำใต้ดินแห้งเหือดลดลงอย่างรวดเร็วได้ แต่การเหือดแห้งนี้ ถ้าไม่ใช่นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านธรณีวิทยาแล้ว ยากที่จะมีใครมองเห็นหรือสนใจเพราะมันอยู่ใต้ดินนั่นเอง
ผมคิดว่า ถึงเวลาแล้วที่คนไทยทั้งประเทศ จะต้องหันมาตระหนักร่วมกันอย่างจริงจังในการแสวงหาแหล่งน้ำเพื่อเตรียมรับมือกับปัญหาวิกฤตขาดแคลนน้ำอย่างบูรณาการเสียแต่บัดนี้ ผมมีความเห็นว่า นโยบายการกักเก็บน้ำด้วยวิธีการ และรูปแบบที่หลากหลายตามพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศไทย น่าจะเป็นแนวทางที่เหมาะสมที่สุดในการรักษาความมั่นคงด้านอาหาร และน้ำของประเทศไทยในอนาคตอันใกล้ เมื่อยุค “วิกฤตขาดแคลนอาหารและน้ำ” มาถึงโลกนี้อย่างเต็มรูปแบบในอีก 20-30 ปีข้างหน้า
พวกเราควรหันมาคิดค้นวิธีสร้างถังน้ำขนาดใหญ่ไว้ตามทุ่งนา นอกเหนือไปจากระดมสร้างถังน้ำขนาดใหญ่ไว้ใต้พื้นบ้านเพื่อการบริโภค นอกจากนี้ พวกเราจะต้องคิดค้น วิธี “เก็บเกี่ยวน้ำฝน” โดยผลักดันให้ชาวบ้านทุกหมู่บ้านทั่วประเทศไทย ร่วมกันขุดสระน้ำขึ้นเป็นจำนวนมาก ในทุกๆ หมู่บ้าน โดยมีข้อแม้ว่า พวกเขาจะต้องไม่นำน้ำจากสระไปใช้โดยตรง แต่จะต้องปล่อยให้น้ำซึมลงไปใต้ดิน เพื่อยกระดับน้ำใต้ดินให้สูงขึ้น เพื่อทำให้ตาน้ำในบ่อมีน้ำไหลอยู่เสมอจนตักไม่แห้ง
ยิ่งไปกว่านี้ น้ำที่ซึมลงไปในดินจะทำให้ดินชุ่มชื้น และต้นไม้ชนิดต่างๆ งอกงาม จนนำไปสู่ “วงจรมงคล” ที่ตรงข้ามกับวงจรอุบาทว์ในระบบนิเวศ การแก้ปัญหาเกี่ยวกับน้ำของพวกเรา ต่อจากนี้ไป ก็ไม่ควรเน้นแนวทางที่มุ่งเอาชนะธรรมชาติแบบหักดิบ เช่น การสร้างเขื่อน และระบบผันน้ำขนาดใหญ่ แต่เราควรจะหันมาปรองดองกับธรรมชาติมากขึ้นในการจัดการเรื่องน้ำ เพราะการมุ่งชนะธรรมชาติแบบหักดิบนั้นไม่ได้ผลอย่างยั่งยืน และในระยะยาวยากที่จะต้านทานภัยพิบัติจากธรรมชาติที่จะรุนแรงยิ่งขึ้น อันเนื่องมาจากภาวะโลกร้อนได้ แม้แต่ในการบริหารเมืองต่างๆ ของประเทศไทย ก็ควรหันมาใช้วิธีที่มุ่งปรองดองกับธรรมชาติให้มากขึ้น เช่น สร้างตึกอาคารที่มีที่รองรับน้ำฝนไว้ได้ในปริมาณมากๆ กับมุ่งสร้างระบบสระเก็บน้ำและพื้นที่สีเขียวให้มากขึ้น ขณะเดียวกัน ก็ต้องระดมสมองในการค้นหาสารพัดวิธีที่จะลดการใช้น้ำที่สูญเปล่าลงให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ การประหยัดน้ำควรจะกลายเป็นไลฟ์สไตล์อย่างหนึ่งของคนไทยในอนาคต หลังจากนี้เป็นต้นไป
นอกจากนี้ เรายังควรผลักดัน “แนวพระราชดำริโครงการแก้มลิง” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงปรีชาสามารถในเรื่อง “น้ำ” อย่างหาใครเทียบได้ในแผ่นดินนี้ เพื่อใช้ทั้งการแก้ปัญหาน้ำท่วมในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลกับใช้กักเก็บน้ำไปพร้อมๆ กัน โดยเราจะต้องหาสถานที่ที่จะทำหน้าที่เป็นบ่อพักน้ำกับหาวิธีการในการชักน้ำท่วมให้ไหลเข้าสู่บ่อพักน้ำ รวมไปถึงเส้นทางน้ำไหลที่สะดวกต่อการระบายน้ำเข้าสู่แหล่งที่ทำหน้าที่บ่อพักน้ำ จากนั้นก็หาวิธีการระบายน้ำออกจากบ่อพักน้ำอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ
นับจากนี้เป็นต้นไป เราจะต้องใช้ลำคลองหนองบึงธรรมชาติมาทำเป็นบ่อพักน้ำ ตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ นอกจากนี้ เรายังควรปรับปรุงสภาพลำน้ำ ทำการขุดลอกลำน้ำที่ตื้นเขินเพื่อให้น้ำไหลไปตามลำน้ำได้สะดวกขึ้น พวกเราจะต้องตระหนักร่วมกันว่า ปัจจัยที่ทำให้เกิดการขาดแคลนน้ำจนนำไปสู่ “สงครามแย่งน้ำ” กันนั้นได้แก่ การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร พร้อมกับการใช้น้ำอย่างสุรุ่ยสุร่าย และการทำลายแหล่งน้ำ โดยการทำลายป่าไม้ต้นน้ำ หรือการทำเหมืองแร่ที่ทำลายสิ่งแวดล้อม
สุดท้าย เราจะต้องมองอย่างองค์รวมเพื่อให้เห็นความเชื่อมโยงกันระหว่างปัญหาการทำลายป่า ปัญหาการแย่งน้ำ ปัญหาน้ำท่วม และปัญหาการสูญเสียสิทธิเหนือทรัพยากร และระบบนิเวศของชุมชน ว่าเป็นสิ่งที่แยกออกจากกันไม่ได้ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การปฏิรูปประเทศไทยจากมุมมองเชิงบูรณาการ และจากวิสัยทัศน์เกี่ยวกับอนาคตอันใกล้ที่โลกทั้งโลกต้องเผชิญกับหายนภัยจากภาวะโลกร้อน จะต้องเชื่อมโยงกับการปฏิรูปที่ดิน เพราะภาคเกษตรของไทยจำนวน 12 ล้านคน กำลังสูญเสียที่ดินเพราะปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ และจะต้องเชื่อมโยงกับการได้รับสิทธิในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติโดยชุมชน ซึ่งจะเป็นการเปลี่ยนความสัมพันธ์ทางอำนาจระหว่างส่วนกลางกับภูมิภาค ถึงจะทำให้ “การปฏิรูป” นั้นเป็นไปได้จริง มิใช่เป็นแค่คำขวัญที่ชูขึ้นลอยๆ แต่ทำอะไรไม่ได้
เพราะฉะนั้น ภาคประชาชนเองก็ต้องลุกขึ้นมาต่อสู้ เพื่อช่วงชิงอำนาจในการดูแลชุมชนของตนเอง และอำนาจในการจัดการทรัพยากรในท้องถิ่นของตน โดยมี “วิชัน” ร่วมกันทั้งประเทศว่าจะร่วมมือป้องกันไม่ให้ประเทศไทยของเราล่มสลายจากหายนภัยจากภาวะโลกร้อนในอนาคตอันใกล้ได้อย่างไรด้วย
จะเห็นได้ว่า ปัญหาสิ่งแวดล้อมเอง ก็แยกไม่ออกจากเรื่องของวิถีชีวิตที่เราแต่ละคนจะต้องเลือก ซึ่งรวมทั้ง ทางเลือกในการใช้ชีวิต และ ทางเลือกทางจิตวิญญาณ ของคนแต่ละคนด้วย (ยังมีต่อ)
www.suvinai-dragon.com
ในทางเศรษฐศาสตร์ ปัญหาเศรษฐกิจที่สร้างความหนักใจให้แก่นักเศรษฐศาสตร์เป็นอย่างมากคือ ภาวะ สแตกเฟลชัน (stagflation) หรือการที่ ภาวะเงินเฟ้อ (inflation) กับ ภาวะเงินฝืด (stagration) เกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกัน ทั้งๆ ที่โดยปกติแล้ว มันน่าจะเกิดคนละช่วงกัน ฉันใดก็ฉันนั้น ปัญหา “น้ำ” ในเมืองไทยหลังจากนี้เป็นต้นไป เริ่มที่จะมีลักษณะคล้ายคลึงกับปัญหาสแตกเฟลชัน ในทางเศรษฐศาสตร์เข้าไปทุกที
นั่นคือ ปัญหาน้ำท่วมกับปัญหาน้ำแล้งจะเกิดขึ้นในปีเดียวกันซ้ำๆ อย่างเป็นโครงสร้างเรื้อรังทุกปี อันเนื่องมาจากภาวะโลกร้อน ที่รุนแรงขึ้นจนทำให้ปัญหาการจัดการเรื่อง “น้ำ” จะกลายเป็น วาระแห่งชาติ ของประเทศไทยในอนาคตอันใกล้อย่างแน่นอน
ปัญหา “น้ำ” ในเมืองไทย จึงมิใช่มีแค่เรื่อง วิกฤตน้ำท่วม เท่านั้น ปัญหาน้ำแล้งหรือ วิกฤตขาดแคลนน้ำ ก็เป็นเรื่องใหญ่มากสำหรับประเทศไทยเช่นกัน และ ถ้าหากพิจารณาในระดับโลกแล้ว ปัญหาวิกฤตขาดแคลนน้ำ ดูจะเป็นเรื่องหนักหนาสาหัสยิ่งกว่าปัญหาวิกฤตน้ำท่วม เสียอีก จนแทบจะกลายเป็น วาระแห่งโลก ในอนาคตอันใกล้นี้แล้ว
เพราะ วิกฤตขาดแคลนน้ำ อันเนื่องมาจากภาวะโลกร้อนที่รุนแรงขึ้น มีที่มาจากการที่แหล่งน้ำต่างๆ ของโลก ไม่ว่าจะเป็นแหล่งน้ำใต้ดิน ธารน้ำแข็ง รวมทั้งแหล่งกักเก็บน้ำต่างๆ เช่น เขื่อนมีปริมาณน้ำลดลง ขณะที่ความต้องการบริโภคน้ำทั้งทางตรงและทางอ้อมของชาวโลกที่มีจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้นกลับสูงขึ้นทุกปี มันเป็นเรื่องยากมากในระยะยาวที่โลกใบนี้จะรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นในการใช้น้ำอย่างต่อเนื่องของประชากรโลก เพราะทรัพยากรน้ำมีจำนวนจำกัด เนื่องจากน้ำบนผิวโลกกว่า 97% เป็นน้ำทะเล ขณะที่ 2.5% เป็นน้ำจืด แต่ 70% ของน้ำจืดเหล่านี้อยู่ในรูปของน้ำแข็งที่อยู่ที่ขั้วโลก เป็นธารน้ำแข็ง ดังนั้น น้ำจืดที่ชาวโลกสามารถนำมาใช้ได้จึงอยู่ที่ 0.75% ของปริมาณน้ำทั้งหมดทั่วโลกเท่านั้น และส่วนใหญ่เป็นน้ำใต้ดินที่อยู่ในธารน้ำใต้ดิน หรือลักษณะที่ใกล้เคียง นอกนั้นอยู่ในทะเลสาบ แม่น้ำ และแหล่งกักเก็บต่างๆ ที่มีการระเหยและหมุนเวียนตลอดเวลา
แต่ ภาวะที่โลกร้อนขึ้น กำลังทำให้แม่น้ำสายใหญ่ๆ ในโลกเหือดแห้งลงอย่างรวดเร็ว ปรากฏการณ์นี้ย่อมนำไปสู่การขาดแคลนน้ำอย่างสาหัสในอนาคตอันใกล้ จนกลายเป็นอีกหนึ่งในวิกฤตของศตวรรษที่ 21 อย่างแน่นอน ลองคิดดูสิว่า ในการผลิตข้าวเจ้า 1 กิโลกรัมนั้น ต้องใช้น้ำมากถึง 940-2,450 ลิตร โดยที่การผลิตข้าวเจ้านี้ใช้น้ำมากกว่าการผลิตข้าวสาลี 2 เท่า และมากกว่าการผลิตมันฝรั่งถึง 10 เท่า นอกจากนี้ การปลูกธัญพืชเพื่อเลี้ยงวัว และผลิตเนื้อวัวยังใช้น้ำเปลืองกว่านั้นอีก
กล่าวคือ ในการผลิตเนื้อวัว 1 กิโลกรัมนั้น ต้องใช้น้ำถึง 1 แสนลิตร ส่วนการผลิตกาแฟและน้ำตาลอย่างละ 1 กิโลกรัม จะใช้น้ำเกินกว่า 22,000 ลิตร และ 3,400 ลิตรตามลำดับ ผู้คนส่วนใหญ่มักไม่เคยได้รับรู้ว่า ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมนี้ ได้ใช้น้ำเปลืองในปริมาณมากมายมหาศาลจนน่าตกใจขนาดไหนเพื่อหล่อเลี้ยงและค้ำจุนระบบนี้ให้ทำงานอยู่ได้ นอกจากนี้ ผู้คนส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยได้ตระหนักรู้เลยว่า การที่ประเทศไทยของเราเป็นผู้นำในการส่งออกสินค้าเกษตรไปขายต่างประเทศนั้น ในอีกด้านหนึ่งจึงเป็น ผู้นำในการส่งน้ำออกไปขายทางอ้อม นั่นเอง
เพราะฉะนั้น จงอย่าแปลกใจไปเลย ถ้าหากต่อจากนี้ไปจะเกิด “สงครามแย่งน้ำ” หรือเกิดความขัดแย้งเรื่องแย่งน้ำ หรือความขัดแย้งเรื่องทำทำนบปิดกั้นน้ำ กักน้ำไว้ใช้เองเกิดขึ้นตามที่ต่างๆ มากมาย เพราะภัยแล้งจากภาวะที่โลกร้อนขึ้น จะไม่ปรานีท้องที่ใดๆ ทั้งสิ้น ผมจะไม่ประหลาดใจเลย ถ้าหากปัญหาวิกฤตขาดน้ำ จะส่งผลกระทบทำให้การเกษตรเพื่อการพาณิชย์ในประเทศต่างๆ ล่มสลายในอนาคตอันใกล้ จนเป็นที่มาของวิกฤตขาดแคลนอาหารและน้ำทั่วโลกที่กำลังมาถึงอย่างแน่นอน
ปัญหาการสูบน้ำบาดาลขึ้นมาใช้อย่างไม่บันยะบันยัง ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่จะนำไปสู่การขาดแคลนน้ำในที่สุด เพราะเราจะต้องไม่ลืมว่า การสูบน้ำใต้ดินขึ้นมาใช้ปลูกพืชซึ่งกินน้ำมาก เช่น ข้าว อ้อย ฝ้าย จะทำให้ขุมน้ำใต้ดินแห้งเหือดลดลงอย่างรวดเร็วได้ แต่การเหือดแห้งนี้ ถ้าไม่ใช่นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านธรณีวิทยาแล้ว ยากที่จะมีใครมองเห็นหรือสนใจเพราะมันอยู่ใต้ดินนั่นเอง
ผมคิดว่า ถึงเวลาแล้วที่คนไทยทั้งประเทศ จะต้องหันมาตระหนักร่วมกันอย่างจริงจังในการแสวงหาแหล่งน้ำเพื่อเตรียมรับมือกับปัญหาวิกฤตขาดแคลนน้ำอย่างบูรณาการเสียแต่บัดนี้ ผมมีความเห็นว่า นโยบายการกักเก็บน้ำด้วยวิธีการ และรูปแบบที่หลากหลายตามพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศไทย น่าจะเป็นแนวทางที่เหมาะสมที่สุดในการรักษาความมั่นคงด้านอาหาร และน้ำของประเทศไทยในอนาคตอันใกล้ เมื่อยุค “วิกฤตขาดแคลนอาหารและน้ำ” มาถึงโลกนี้อย่างเต็มรูปแบบในอีก 20-30 ปีข้างหน้า
พวกเราควรหันมาคิดค้นวิธีสร้างถังน้ำขนาดใหญ่ไว้ตามทุ่งนา นอกเหนือไปจากระดมสร้างถังน้ำขนาดใหญ่ไว้ใต้พื้นบ้านเพื่อการบริโภค นอกจากนี้ พวกเราจะต้องคิดค้น วิธี “เก็บเกี่ยวน้ำฝน” โดยผลักดันให้ชาวบ้านทุกหมู่บ้านทั่วประเทศไทย ร่วมกันขุดสระน้ำขึ้นเป็นจำนวนมาก ในทุกๆ หมู่บ้าน โดยมีข้อแม้ว่า พวกเขาจะต้องไม่นำน้ำจากสระไปใช้โดยตรง แต่จะต้องปล่อยให้น้ำซึมลงไปใต้ดิน เพื่อยกระดับน้ำใต้ดินให้สูงขึ้น เพื่อทำให้ตาน้ำในบ่อมีน้ำไหลอยู่เสมอจนตักไม่แห้ง
ยิ่งไปกว่านี้ น้ำที่ซึมลงไปในดินจะทำให้ดินชุ่มชื้น และต้นไม้ชนิดต่างๆ งอกงาม จนนำไปสู่ “วงจรมงคล” ที่ตรงข้ามกับวงจรอุบาทว์ในระบบนิเวศ การแก้ปัญหาเกี่ยวกับน้ำของพวกเรา ต่อจากนี้ไป ก็ไม่ควรเน้นแนวทางที่มุ่งเอาชนะธรรมชาติแบบหักดิบ เช่น การสร้างเขื่อน และระบบผันน้ำขนาดใหญ่ แต่เราควรจะหันมาปรองดองกับธรรมชาติมากขึ้นในการจัดการเรื่องน้ำ เพราะการมุ่งชนะธรรมชาติแบบหักดิบนั้นไม่ได้ผลอย่างยั่งยืน และในระยะยาวยากที่จะต้านทานภัยพิบัติจากธรรมชาติที่จะรุนแรงยิ่งขึ้น อันเนื่องมาจากภาวะโลกร้อนได้ แม้แต่ในการบริหารเมืองต่างๆ ของประเทศไทย ก็ควรหันมาใช้วิธีที่มุ่งปรองดองกับธรรมชาติให้มากขึ้น เช่น สร้างตึกอาคารที่มีที่รองรับน้ำฝนไว้ได้ในปริมาณมากๆ กับมุ่งสร้างระบบสระเก็บน้ำและพื้นที่สีเขียวให้มากขึ้น ขณะเดียวกัน ก็ต้องระดมสมองในการค้นหาสารพัดวิธีที่จะลดการใช้น้ำที่สูญเปล่าลงให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ การประหยัดน้ำควรจะกลายเป็นไลฟ์สไตล์อย่างหนึ่งของคนไทยในอนาคต หลังจากนี้เป็นต้นไป
นอกจากนี้ เรายังควรผลักดัน “แนวพระราชดำริโครงการแก้มลิง” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงปรีชาสามารถในเรื่อง “น้ำ” อย่างหาใครเทียบได้ในแผ่นดินนี้ เพื่อใช้ทั้งการแก้ปัญหาน้ำท่วมในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลกับใช้กักเก็บน้ำไปพร้อมๆ กัน โดยเราจะต้องหาสถานที่ที่จะทำหน้าที่เป็นบ่อพักน้ำกับหาวิธีการในการชักน้ำท่วมให้ไหลเข้าสู่บ่อพักน้ำ รวมไปถึงเส้นทางน้ำไหลที่สะดวกต่อการระบายน้ำเข้าสู่แหล่งที่ทำหน้าที่บ่อพักน้ำ จากนั้นก็หาวิธีการระบายน้ำออกจากบ่อพักน้ำอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ
นับจากนี้เป็นต้นไป เราจะต้องใช้ลำคลองหนองบึงธรรมชาติมาทำเป็นบ่อพักน้ำ ตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ นอกจากนี้ เรายังควรปรับปรุงสภาพลำน้ำ ทำการขุดลอกลำน้ำที่ตื้นเขินเพื่อให้น้ำไหลไปตามลำน้ำได้สะดวกขึ้น พวกเราจะต้องตระหนักร่วมกันว่า ปัจจัยที่ทำให้เกิดการขาดแคลนน้ำจนนำไปสู่ “สงครามแย่งน้ำ” กันนั้นได้แก่ การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร พร้อมกับการใช้น้ำอย่างสุรุ่ยสุร่าย และการทำลายแหล่งน้ำ โดยการทำลายป่าไม้ต้นน้ำ หรือการทำเหมืองแร่ที่ทำลายสิ่งแวดล้อม
สุดท้าย เราจะต้องมองอย่างองค์รวมเพื่อให้เห็นความเชื่อมโยงกันระหว่างปัญหาการทำลายป่า ปัญหาการแย่งน้ำ ปัญหาน้ำท่วม และปัญหาการสูญเสียสิทธิเหนือทรัพยากร และระบบนิเวศของชุมชน ว่าเป็นสิ่งที่แยกออกจากกันไม่ได้ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การปฏิรูปประเทศไทยจากมุมมองเชิงบูรณาการ และจากวิสัยทัศน์เกี่ยวกับอนาคตอันใกล้ที่โลกทั้งโลกต้องเผชิญกับหายนภัยจากภาวะโลกร้อน จะต้องเชื่อมโยงกับการปฏิรูปที่ดิน เพราะภาคเกษตรของไทยจำนวน 12 ล้านคน กำลังสูญเสียที่ดินเพราะปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ และจะต้องเชื่อมโยงกับการได้รับสิทธิในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติโดยชุมชน ซึ่งจะเป็นการเปลี่ยนความสัมพันธ์ทางอำนาจระหว่างส่วนกลางกับภูมิภาค ถึงจะทำให้ “การปฏิรูป” นั้นเป็นไปได้จริง มิใช่เป็นแค่คำขวัญที่ชูขึ้นลอยๆ แต่ทำอะไรไม่ได้
เพราะฉะนั้น ภาคประชาชนเองก็ต้องลุกขึ้นมาต่อสู้ เพื่อช่วงชิงอำนาจในการดูแลชุมชนของตนเอง และอำนาจในการจัดการทรัพยากรในท้องถิ่นของตน โดยมี “วิชัน” ร่วมกันทั้งประเทศว่าจะร่วมมือป้องกันไม่ให้ประเทศไทยของเราล่มสลายจากหายนภัยจากภาวะโลกร้อนในอนาคตอันใกล้ได้อย่างไรด้วย
จะเห็นได้ว่า ปัญหาสิ่งแวดล้อมเอง ก็แยกไม่ออกจากเรื่องของวิถีชีวิตที่เราแต่ละคนจะต้องเลือก ซึ่งรวมทั้ง ทางเลือกในการใช้ชีวิต และ ทางเลือกทางจิตวิญญาณ ของคนแต่ละคนด้วย (ยังมีต่อ)
www.suvinai-dragon.com