วานนี้(4 เม.ย.) ที่รัฐสภา นายนิคม ไวยรัชพานิช รองประธานวุฒิสภาคนที่ 1 และประธานคณะกรรมาธิการกิจการวุฒิสภา(วิปวุฒิ) เปิดเผยว่า ในสัปดาห์นี้ คณะกรรมการสรรหา ส.ว.สรรหาชุดใหม่ จะประชุม 4 วัน เพื่อคัดเลือกจาก 73 คน โดยฝ่ายเลขานุการฯระบุว่า จะประกาศรายชื่อผู้ได้รับการคัดเลือกได้ก่อนสงกรานต์ และจะมีการประกาศผลในวันที่ 11 เม.ย.นี้ โดยจะเปิดรายงานตัวในวันที่ 12-14 เม.ย.จากนั้น การประชุมวุฒิสภาวันที่ 18 เม.ย.
“ส่วนการเลือกประธานวุฒิสภาคนใหม่ คงจะยัง เว้นแต่จะมีคนยกเรื่องขึ้นมาในที่ประชุม อย่างไรก็ดี ในสัปดาห์นั้น วุฒิสภาจะนัดประชุมในศุกร์วันที่ 22 เม.ย.ด้วย คาดว่า จะมีการเลือกประธานวุฒิสภาคนใหม่ได้ในวันดังกล่าว” นายนิคม กล่าว
ส่วนการลงชิงตำแหน่งประธานวุฒิสภาโดยไม่ลาออกจากตำแหน่งรองประธานวุฒิสภาคนที่ 1 นั้น นายนิคม กล่าวว่า ก็จะเสนอตัวชิงตำแหน่งด้วย และจะไม่ลาออกจากตำแหน่งรองก่อน เพราะไม่มีเหตุผลอะไรที่ต้องออกตามธรรมเนียมปฏิบัติ สมัยก่อนนายอุกฤษ มงคลนาวิน หรือ นายสุชน ชาลีเครือ ก็ไม่ลาออกจากตำแหน่งรองก่อน แต่ก็เสนอตัวชิงตำแหน่งประธาน
วันเดียวกันมีการประชุมวุฒิสภา ที่มีนายประสพสุข บุญเดช เป็นประธาน โดยก่อนเข้าสู่วาระการประชุม พล.ต.อ.โกวิท ภักดีภูมิ ส.ว.อ่างทอง หารือว่า มีเรื่องค้างคาใจอยากปรึกษาเพื่อนสมาชิก เพราะเร็วๆ นี้จะมีส.ว.สรรหาใหม่เข้ามา เพราะ ส.ว. ชุดปัจจุบันมีความถ้อยทีถ้อยอาศัย และทำงานร่วมกันโดยความราบรื่นมาโดยตลอด โดยประธานวุฒิสภาได้ดำรงตำแหน่งมาถึง 3 ปี อย่างมีเกียรติ
“เพื่อความสามัคคี ความราบรื่น ให้เกียรติซึ่งกันและกัน จึงอยากเรียนว่าเมื่อเทอมหนึ่งเป็นของชุดสรรหา ก็อยากให้เทอมนี้เป็นของชุดเลือกตั้ง ส่วนสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งจะหมุนเวียนกัน”สว.อ่างทองกล่าว
ด้าน นายสุเมธ ศรีพงศ์ ส.ว.นครราชสีมา หารือว่าเมื่อวันที่ 29 มี.ค. องค์ประชุมมีปัญหาทำให้การพิจารณารายงานของคณะกรรมาธิการพิจารณาบันทึกการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (เจบีซี) ทั้ง 3 ฉบับมีปัญหา และมีข่าวออกไปว่า ส.ว.มีส่วนทำให้องค์ประชุมไม่ครบ จากการตรวจสอบพบว่ามี ส.ว.บางคนลุกออกไปทำธุระจำเป็นนอกห้องประชุม 2-3 ท่าน โดย ส.ว.ส่วนใหญ่ยังอยู่ในห้องประชุม และมีการแสดงตนไม่น้อยกว่า 45 คน ดังนั้น การบอกว่าส.ว.ทำให้องค์ประชุมล่มจึงไม่ถูกต้อง
นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ส.ว.สรรหา กล่าวว่า ล่าสุดมีข่าวจากนายกรัฐมนตรี และประธานรัฐสภาว่า ในวันที่ 5 เม.ย.นี้ จะไม่มีการประชุมร่วมเพื่อพิจารณาบันทึกเจบีซีทั้ง 3 ฉบับแล้ว แสดงว่าการประชุมร่วมรัฐสภาล่ม ตั้งแต่ยังไม่มีประชุม ทั้งที่ศาลรัฐธรรมนูญเผยแพร่คำวินิจฉัยไว้ชัดเจนถึงการจำหน่ายคำร้องเกี่ยวกับบันทึกการประชุมเจบีซี ว่ายังมีขั้นตอนอื่น ๆ ซึ่งเป็นเรื่องที่ฝ่ายบริหาร และฝ่ายนิติบัญญัติต้องพิจารณาก่อน คิดว่านายกรัฐมนตรีและประธานรัฐสภาได้เห็นคำวินิจฉัยนี้แล้ว.
“ส่วนการเลือกประธานวุฒิสภาคนใหม่ คงจะยัง เว้นแต่จะมีคนยกเรื่องขึ้นมาในที่ประชุม อย่างไรก็ดี ในสัปดาห์นั้น วุฒิสภาจะนัดประชุมในศุกร์วันที่ 22 เม.ย.ด้วย คาดว่า จะมีการเลือกประธานวุฒิสภาคนใหม่ได้ในวันดังกล่าว” นายนิคม กล่าว
ส่วนการลงชิงตำแหน่งประธานวุฒิสภาโดยไม่ลาออกจากตำแหน่งรองประธานวุฒิสภาคนที่ 1 นั้น นายนิคม กล่าวว่า ก็จะเสนอตัวชิงตำแหน่งด้วย และจะไม่ลาออกจากตำแหน่งรองก่อน เพราะไม่มีเหตุผลอะไรที่ต้องออกตามธรรมเนียมปฏิบัติ สมัยก่อนนายอุกฤษ มงคลนาวิน หรือ นายสุชน ชาลีเครือ ก็ไม่ลาออกจากตำแหน่งรองก่อน แต่ก็เสนอตัวชิงตำแหน่งประธาน
วันเดียวกันมีการประชุมวุฒิสภา ที่มีนายประสพสุข บุญเดช เป็นประธาน โดยก่อนเข้าสู่วาระการประชุม พล.ต.อ.โกวิท ภักดีภูมิ ส.ว.อ่างทอง หารือว่า มีเรื่องค้างคาใจอยากปรึกษาเพื่อนสมาชิก เพราะเร็วๆ นี้จะมีส.ว.สรรหาใหม่เข้ามา เพราะ ส.ว. ชุดปัจจุบันมีความถ้อยทีถ้อยอาศัย และทำงานร่วมกันโดยความราบรื่นมาโดยตลอด โดยประธานวุฒิสภาได้ดำรงตำแหน่งมาถึง 3 ปี อย่างมีเกียรติ
“เพื่อความสามัคคี ความราบรื่น ให้เกียรติซึ่งกันและกัน จึงอยากเรียนว่าเมื่อเทอมหนึ่งเป็นของชุดสรรหา ก็อยากให้เทอมนี้เป็นของชุดเลือกตั้ง ส่วนสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งจะหมุนเวียนกัน”สว.อ่างทองกล่าว
ด้าน นายสุเมธ ศรีพงศ์ ส.ว.นครราชสีมา หารือว่าเมื่อวันที่ 29 มี.ค. องค์ประชุมมีปัญหาทำให้การพิจารณารายงานของคณะกรรมาธิการพิจารณาบันทึกการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (เจบีซี) ทั้ง 3 ฉบับมีปัญหา และมีข่าวออกไปว่า ส.ว.มีส่วนทำให้องค์ประชุมไม่ครบ จากการตรวจสอบพบว่ามี ส.ว.บางคนลุกออกไปทำธุระจำเป็นนอกห้องประชุม 2-3 ท่าน โดย ส.ว.ส่วนใหญ่ยังอยู่ในห้องประชุม และมีการแสดงตนไม่น้อยกว่า 45 คน ดังนั้น การบอกว่าส.ว.ทำให้องค์ประชุมล่มจึงไม่ถูกต้อง
นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ส.ว.สรรหา กล่าวว่า ล่าสุดมีข่าวจากนายกรัฐมนตรี และประธานรัฐสภาว่า ในวันที่ 5 เม.ย.นี้ จะไม่มีการประชุมร่วมเพื่อพิจารณาบันทึกเจบีซีทั้ง 3 ฉบับแล้ว แสดงว่าการประชุมร่วมรัฐสภาล่ม ตั้งแต่ยังไม่มีประชุม ทั้งที่ศาลรัฐธรรมนูญเผยแพร่คำวินิจฉัยไว้ชัดเจนถึงการจำหน่ายคำร้องเกี่ยวกับบันทึกการประชุมเจบีซี ว่ายังมีขั้นตอนอื่น ๆ ซึ่งเป็นเรื่องที่ฝ่ายบริหาร และฝ่ายนิติบัญญัติต้องพิจารณาก่อน คิดว่านายกรัฐมนตรีและประธานรัฐสภาได้เห็นคำวินิจฉัยนี้แล้ว.