xs
xsm
sm
md
lg

“อภิสิทธิ์” เดินหน้าประชุมเจบีซี 7-8 เม.ย.รออ่านคำวินิจฉัยศาล อ้างส่อไม่เข้า ม.190

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี (แฟ้มภาพ)
นายกฯ เผย “ชัย” ยันไม่มีประชุมเจบีซี 5 เม.ย. อ้างยังไม่ได้รับคำแจ้งศาลรัฐธรรมนูญ รออ่านคำวินิจฉัยอยู่ โยน กต.ดูรายละเอียดพร้อมประสานเขมรต่อ อ้างคำพูดตุลาการชี้ส่อไม่เข้า ม.190 พร้อมเดินหน้าประชุม 7-8 เม.ย.นี้

 คลิกที่นี่ เพื่อฟัง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ให้สัมภาษณ์  

วันนี้ (1 เม.ย.) ที่ทำเนียบรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์เรื่องของเดินหน้าประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (เจบีซี) ว่า เรื่องของเจบีซี ขณะนี้สภาได้รอการแจ้งผลของทางศาลรัฐธรรมนูญก่อน ขณะเดียวกัน ตนให้ทางกระทรวงการต่างประเทศศึกษาเท่าที่จะทำได้ จากการเผยแพร่ข่าวสารที่จะออกมาว่าจะทำกันอย่างไร ส่วนการประชุมสภาในเรื่องของเจบีซี วันที่อังคารที่ 5 เม.ย.นั้น ตนได้สอบถามไปยังประธานสภาแล้วว่าไม่มีการนัดประชุมไว้แล้ว เนื่องจากว่ายังไม่ได้รับคำแจ้งจากศาลรัฐธรรมนูญ ส่วนกระบวนการต่อไปนั้น ทางกระทรวงการต่างประเทศกำลังไปดูรายละเอียด ขณะเดียวกันได้ประสานงานกับทางกัมพูชาเพื่อให้เจบีซีเดินหน้าต่อ

ผู้สื่อข่าวถามว่า เท่าที่ดูจากข่าวที่ออกมาจากศาลรัฐธรรมนูญ เท่ากับว่าการบันทึกเจรจาไม่เข้าข่ายกฎหมายรัฐธรรมนูญมาตรา 190 หรือไม่ นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า ถ้าฟังจากคำสัมภาษณ์ของตุลาการจะเป็นเช่นนั้น เพราะฉะนั้นทางกระทรวงการต่างประเทศและหน่วยงานกำลังประสานงานกับกัมพูชาอยู่ ซักต่อว่าเป็นไปได้หรือไม่ว่ารัฐบาลจะถอนเรื่องออกมาและเดินหน้าทำต่อไปเลย นายกฯ กล่าวว่า กำลังดูรูปแบบที่เหมาะสมคืออะไร เพราะมีข้อบังคับหลายอย่าง ซึ่งกำลังปรึกษาหารือกันอยู่ ส่วนการเจรจา ในวันที่ 7-8 เม.ย. นั้นขณะนี้กำลังตั้งใจให้เดินหน้าอยู่ และพยายามแจ้งกัมพูชาเช่นกัน

เมื่อถามว่า การเจรจาจะรับนำเอาข้อสังเกตของกรรมาธิการไปเดินหน้าเข้าไปพิจารณาด้วยหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า กรรมาธิการคงไม่มีปัญหาตรงข้อสังเกต แต่จะดูว่าต้องแจ้งเป็นทางการในรูปแบบไหนอย่างไร หากว่าสภาไม่ได้เห็นชอบ เพราะถือว่ายังไม่ได้เป็นทางการ

เมื่อถามว่า ถ้าผลของศาลรัฐธรรมนูญออกมาในลักษณะที่ไม่เข้าข่าย มาตรา 190 จะมีผลต่อการทำงานของรัฐบาลในเรื่องกรอบเจรจาอื่นๆว่าต่อไป ไม่ต้องเข้าสภา หรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า ต้องเป็นเรื่องๆ ไป ส่วนหลักในการพิจารณาจะพยายามเทียบเคียงดูจากการวางหลักต่างๆที่ได้จากคำวินิจฉัย เพราะตนยังกังวลว่า คำวินิจฉัยที่เป็นทางการอาจจะพูดว่าเป็นแค่การจำหน่ายคำร้อง แต่เหตุผลต่างๆซึ่งจะเป็นประโยชน์กับทางการตัดสินใจการทำงานของหน่วยงานของรัฐอื่นๆ ตนไม่แน่ใจว่าเราจะอ้างอิงได้แค่ไหน

เมื่อถามต่อว่า โดยหลักแล้วตามรัฐธรรมนูญ 190 ได้เปิดช่องไว้ว่าถ้ามีปัญหาในทางปฏิบัติควรจะส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยได้ แต่ครั้งนี้ศาลรัฐธรรมนูญกลับไม่วินิจฉัย ทั้งๆที่เป็นปัญหาในทางปฏิบัติแล้ว นายกฯ กล่าวว่า กำลังรออ่านคำวินิจฉัยอยู่
กำลังโหลดความคิดเห็น