“ASTVผู้จัดการ” ได้สัมภาษณ์ นายปริญญ์ พานิชภักดิ์ ผู้อำนวยการอาวุโส สายงานการลงทุนภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ เครดิต ลียองเนส์ (ฮ่องกง) หรือ (ซีแอลเอสเอ) จัดทำขึ้นเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2554 ถึงสภาวะแนวโน้มการลงทุนในตลาดหุ้นระดับภูมิภาคเอเชีย โดยในฐานะผู้แนะนำการลงทุนของกองทุนขนาดใหญ่ที่เข้ามาลงทุนใน 13 ตลาดภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก รวม ประเทศญี่ปุ่น
นอกจากนี้ เขายังได้ให้มุมมองหลายหลายทั้งในประเด็นตลาดหุ้นภูมิภาค รวมถึง ภาพความเปลี่ยนแปลงระดับมหภาคของประเทศที่สำคัญๆ ซึ่งมีอาจมีผลต่อแนวโน้มของตลาดหุ้นเอเชีย ที่น่าสนใจในแบบตรงไปตรงมา
สำหรับ CLSA Asia-Pacific Markets เป็นบริษัทนายหน้าค้าหุ้นและกลุ่มลงทุนแถวหน้าของเอเชีย ก่อตั้งเมื่อปี 1986 มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ประเทศฮ่องกง โดยมีทีมงานมืออาชีพกว่า 1,500 ชีวิตใน 15 เมืองของอาเซียน รวม ลอนดอน นิวยอร์ก บอสตัน ชิคาโก้ และซานฟรานซิสโก โดยมี Credit Agricole ซึ่งควบรวมกับ Credit Lyonnais เมื่อปี 2003 เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ 65% ที่เหลืออีก 35% เป็นหุ้นของทีมงาน CLSA
ASTVผู้จัดการ - อยากให้คุณปริญญ์ช่วยมอง movement ตลาดหุ้นไทยในระยะกลางและระยะยาวว่าจะเป็นอย่างไร
ปริญญ์ - ผมคิดว่าตลาดไทยจริงๆ ภายในระยะสั้นหรือระยะกลางอาจจะถูกบดบังด้วยเรื่องการเมือง จริงๆ แล้วนักลงทุนฝรั่งที่มองเมืองไทยทราบดีว่าการเมืองเป็นเรื่องผันผวน คนที่ซื้อขายหุ้นเมืองไทยจริงๆ พยายามที่จะไม่เอาการเมืองมาเป็นตัวแปร แต่ได้ให้ discount กันไปแล้ว เหมือนได้รับทราบข่าวไปแล้วว่าการเมืองไทยมีอะไรดี อะไรไม่ดี
แน่นอนทุกคนจะดูเหมือนจะเห็นตรงกันว่าหากรัฐบาลมีเสถียรภาพและต่อเนื่องในเรื่องนโยบายแล้วจะเป็นผลบวกต่อตลาด ความต่อเนื่องหมายความว่ารัฐบาลอภิสิทธิ์หรือขั้วการเมืองทางฝั่งอภิสิทธิ์ได้กลับเข้ามาเป็นรัฐบาลอีกรอบแล้วแนวโน้มของตลาดจะมีขาขึ้นแน่
แต่สิ่งนี้ผมเชื่อว่าทุกคนรู้อยู่แล้ว หรือทุกคนอาจจะยังไม่ค่อยรู้และยังตัดสินใจไม่ได้กันคือประเด็นของวงจรหรือวัฏจักรการลงทุนจากทางภาคเศรษฐกิจที่แท้จริงจะเกิดขึ้นได้จริงหรือเปล่า เพราะการลงทุนในประเทศจาก private domestic investment มันต่ำมาหลายปีมากแล้ว
อย่างถ้าเราไปคุยกับบางเจ้าเขาก็ว่าจะมี re-service จะ upgrade โรงกลั่นน้ำมันใหม่ กลุ่ม CP Group เมื่อก่อนผมเจอท่านชนินท์ (เจียรวรานนท์) ปลายปีก่อนท่านไปที่เมืองจีน ท่านก็พูดกับนักลงทุนที่มาเจอกับนักลงทุนของเรา ท่านก็บอกว่าของเราต้อง expand อีกเยอะทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทางเราคิดว่าจะเป็น kitchen in the world เราต้อง expand capacity ในเมืองไทย จะซื้อบริษัทในเมืองไทย จะ expand wholesale ตัวที่เป็น CP Fresh Mart พูดถึงขนาดที่ว่าแกมี capacity ที่ต้องมี borrow อีกเยอะ เพราะฉะนั้น CP Group จะต้องโตทั้งในประเทศและต่างประเทศ....
ทางคุณโทนี่ (ชาติสิริ โสภณพนิช) ก็บอกว่ามันจะโต แต่มันไม่โตมากขนาดนั้น คือ loan growth จะโตประมาณ 7-9 เปอร์เซนต์ปีนี้ แต่จริงๆ ทาง CLSA มองว่าจะสูงถึง 12 เปอร์เซนต์ขึ้นไป ซึ่งเรามองค่อนข้างจะเหนือกว่าตลาดอื่น คือปกติแล้วทางคนอื่นเขาอาจจะมองแค่ high-digit 7-8เปอร์เซนต์ แต่ที่เรามองสูงขนาดนั้นเพราะคิดว่า 4-5 ปีที่ผ่านมาไทยไม่มีการลงทุนอะไรเลย หลายๆ อย่างหลายโรงงานต้องยกระดับ facility
อย่างทางฝั่งเบียร์ช้างเองก็ไปสร้างโรงงานใหม่ เมื่อวันก่อน (21 มี.ค.) ทางคุณเจริญ (สิริวัฒนภักดิ์) ไปทานข้าวกับคุณบัณฑูร (ลำซ่ำ) K BANK แกบอกเลยว่าแกขอ maximum limit ขอเพิ่มอีกหน่อยได้ไหม แกก็พูดตรงๆ เลยว่าขอเพิ่ม limit จริงๆ ทางไทยเบฟเขา push มาหลายปีแล้ว และในปีนี้เขาก็จะขอปรับ limit อีก เพราะมีโรงงานใหม่อีกที่จะ expand ที่กำแพงเพชรและ expand ต่อไปอีก ธุรกิจของเบอร์ลี่ยุคเกอร์ที่อยู่ในเครือคุณเจริญก็จะ expand และ relocate โรงงานจากที่อยู่ใกล้ๆ ธนาคารกสิกรไทยที่มี factory ใหญ่ก็จะ relocate ไปอยู่ที่กำแพงเพชร และต้อง upgrade facility โรงงานก็จะใหญ่ขึ้นไปอีก
เพราะฉะนั้น capacity บริษัทพวกนี้ที่จะโตได้ คุณเจริญมองแล้วว่าจะใช้ประเทศไทยเป็นฐานในการโต และตลาดในชนบทโตได้อีกเยอะเลย สบู่นกแก้ว กระดาษทิชชูเซลล๊อก ช๊อกโกดริ้งก์ เทสโต้ แกบอกว่า growth พวกนี้ยังมีอีกมาก
ตอนนี้คุณเจริญบอกว่าเริ่มไปทำ logistics ทำ trading company ซึ่ง dominate พวกแก้ว กล่องกระดาษอยู่ทางเวียดนาม คือมันมีธุรกิจไทยพวกนี้ที่ผมเชื่อว่ามันยังไปอีกได้ แล้วแกไปโตในพม่า กัมพูชา และลาว ซึ่งเป็น 3 ประเทศที่บริษัทไทยเริ่มทำธุรกิจมากขึ้น และประเทศพวกนี้ยังถือว่าปิดอยู่เมื่อเทียบกับประเทศอื่น ดังนั้นบริษัทที่มี connection มีความสามารถที่จะเข้าไปรู้จักรัฐบาลของเขาได้อย่างคุณเจริญหรืออย่างปูนใหญ่ ปูนซีเมนต์ ที่เข้าไปได้นั้นจะทำให้มีจุดได้เปรียบ
เพราะฉะนั้นสำหรับหุ้นไทยผมถือว่ายังถูก และต่างชาติที่ผมได้คุยด้วย fund flow ที่เข้ามาเมื่อปลายปีที่แล้วเป็น hedge fund เยอะมาก ผมเห็น hedge fund flowเข้ามาก่อนหน้า คือมันมี 2 รอบคือพวกที่ซื้อไปนานมากแล้วตั้งแต่ดัชนี 400 กว่า 500 กว่า และก็ซื้อเต็มที่ Templeton ก็ซื้อจนกระทั่งอยู่ในไทยสูงถึง 2.5 billion U.S. dollars ซึ่งถือว่าใหญ่มาก
Templeton มีกองทุนที่ชื่อ Global Emerging Market Pension Fund ทาง Templeton มาตั้ง office ที่เซ็นทรัลเวิล์ด เขาจ้างมี Annalist ที่เป็นคนไทย 2 คนมานั่งอยู่ในเมืองไทย ถ้าเขาไม่เห็น potential ในเมืองไทยก็คงไม่ทำแบบนี้หรอก อาร์เบอร์ดีนก็มี office ใหญ่อยู่ในนี้มานานแล้ว AIA แม้ธุรกิจทางอเมริกาจะมีปัญหา แต่ AIA ก็ไม่เคยปล่อยทางเมืองไทย และยังมีทีมใหญ่ที่นี่คอยดูแลอยู่
ส่วน Capital เขาก็ซื้อไปเร็วเหมือนกัน แล้วเริ่มกลับมาดูพวก consumer stock เพราะตอนนี้หุ้นที่เกี่ยวกับสาธารณูปโภค หุ้นที่เกี่ยวกับการบริโภคเริ่มอ่อนตัวลงจากเงินเฟ้อเป็นปัญหา นักลงทุนรายย่อยหรือนักลงทุน hedge fund บางรายจึงเทขายทำกำไรในหุ้นที่ perform ดีปีที่แล้ว อย่างกลุ่มซีพีออลล์, โฮมโปร, บิ๊กซี ซึ่งจะทำให้หุ้นเหล่านี้อาจอ่อนตัวลงในระยะสั้น
แต่ผมยังเชื่อว่ามีกำลังซื้อจากคนรากหญ้า ซึ่งผมไปโรดโชว์กับคุณวิชาของเมเจอร์ซีนีเพล็กเมื่ออาทิตย์ก่อนมาแล้วที่ London เป็นครั้งแรกที่คุณวิชาไป และก็พบว่า Capital Hedgeทั้ง BlackRock ทั้ง Templeton ทั้ง GE Capital ที่ London เจอกันอย่างพร้อมหน้า จริงๆ แล้วเมเจอร์ซีนีเพล็กถือว่าเป็นหุ้น small cap การที่จะให้นักลงทุนต่างชาติเจอแบบนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่คุณวิชาออกไปโรดโชว์ครั้งแรกในรอบ 2 ปี และปีนี้เขาก็มั่นใจมากว่าจะมีภาพยนต์ระดับ Maga Hollywood และ Blockbuster เยอะมาก ประกอบกับหนังไทยอย่างพระนเรศวรที่จะเปิดฉายในปีนี้ อันแรกจะมาสิ้นเดือนนี้ บวกกับหนังไทยหลายเรื่องที่แรงตอบรับดี อย่างสุดเขตเสลดเป็ด พวกนี้ดีหมดเลย
ขณะที่ยอดขายในต่างจังหวัดเริ่มดีและสู้กับกรุงเทพได้ แม้สัดส่วนจะมีขนาดเล็กคือ 30 เปอร์เซนต์แต่จะเติบโตขึ้นอย่างแน่นอน และเมเจอร์ฯ เพิ่งไปเปิดที่เชียงราย อุดร ขอนแก่น ขายดีหมดเลย แล้วด้าน sale price แกมี pricing power ที่จะขึ้นราคาได้ มาร์จิ้นต่างจังหวัดจะสู้กรุงเทพได้ เพราะฉะนั้น กำลังซื้อของรากหญ้าในไทยยังมีอยู่จริง และทุกคนคงไม่ลืมอยู่แล้วว่าประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกด้านเกษตร ปีนี้สินค้าเกษตรมีราคาสูงและยังจะดีต่อ รวมถึงความต้องการสินค้าเกษตรระยะยาวแล้วยังไงหนีไม่พ้นไปไหนแน่นอน
ตรงนี้เวลาอธิบายให้นักลงทุนฟังต้องอธิบายในเชิงที่ว่า 10 ปีให้หลังคุณเห็นจีนเป็นผู้ซื้อรายใหญ่ แรงงานจีนนั้นเคยอยู่ในภาคการเกษตรเยอะมาก แต่ใน 2-3 ปีหลังมานี้แรงงานภาคเกษตรของจีนได้ย้ายเข้ามาอยู่ในภาคอุตสาหกรรม ภาคการเงิน ภาคการลงทุน ทำให้เกิดภาพการเคลื่อนย้ายของคนในชนบทเข้ามาอยู่ในเมืองเพื่อทำงานที่อาจเกี่ยวกับการค้าขาย บริษัทหรือธุรกิจการเงิน การธนาคาร หรือกฎหมายอะไรก็แล้วแต่
พอ first primary sector labor ลดลง secondary labor เพิ่มขึ้นมันทำให้สินค้าเกษตรในจีนไม่มีวันถูกอีกต่อไปแล้ว ไม่มีวันที่สินค้าที่ export จากจีนจะถูกอีกต่อไป it's the end of cheap labor of China that's for the inflationary to the West เพราะตอนนี้ทางภาคตะวันตก อเมริกา ยุโรป ที่ต่างก็เคย enjoy ของถูกๆ จากเอเชีย แต่อนาคตจะไม่ใช่อย่างนั้นแล้ว Asia จะเป็น exporter of inflation ไม่ใช่ exporter of deflation
เมื่อจีนเป็นอย่างนี้แล้วทำให้เกษตรกรที่เคยทำไร่ไถ่นาน้อยลง แน่นอนค่าครองชีพหรือค่าแรงงานจะสูงขึ้น จีนมี double-digit growth มาตลอด 10 ปี เพราะฉะนั้นเงินเฟ้อจึงต้องสูงขึ้นตามมาด้วย ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่ผิดปกติ และเป็นเรื่องที่จะเกิดขึ้นต่อไปจากความต้องการของรัฐบาลจีนที่จำเป็นต้องหาเลี้ยงคนเรื่องการเกษตร
เงื่อนไขสินค้าเกษตรของจีนจึงสูงมาก เพราะตอนนี้จีนกำลังเริ่มขาดแคลนน้ำ จะเห็นได้จากที่จีนสร้างเขื่อนกักน้ำจากแม่น้ำที่ไหลมาจากทางเหนือของจีนลงมาทางพม่าและมาทางไทย ทางเราก็เริ่มบ่นแล้วว่าจีนไปกักน้ำ ไปกักอะไรไว้ เพราะฉะนั้น aviation เป็นการลงทุนที่ทางไทยเริ่มไปลงทุนมากขึ้น ถ้าสินค้าเกษตรของเรายังมี yield ที่ดีขึ้น หากรัฐบาลจะพยายามหาวิธีที่จะทำให้การลงทุนดีขึ้น โดยส่งเสริมการพัฒนาเมล็ดพันธุ์เพื่อทำให้ yield ดีขึ้นแล้ว ผมว่ารายได้เกษตรไทยจะดีขึ้น
สินค้าเกษตรไทยคือคนกลางได้ไปเยอะ แน่นอนว่าปัญหาเรื่องคนกลางนั้นรัฐบาลต้องไปปรับปรุงให้ดีขึ้นเพื่อทำให้เกษตรกรมีรายได้ที่ดีขึ้นจริงๆ ไม่ใช่รายได้ที่มาจากการซื้อเสียง แต่เป็นรายได้ที่มาจากการแบ่งปันผลประโยชน์ที่มากขึ้นจากคนกลางมาสู่เกษตรกร การพัฒนาภาคการเกษตรของรัฐบาลด้วยวิธีการแจกโค กระบือ มันไม่ใช่การสอนวิชาชีพที่แท้จริงเพื่อจะทำให้เกิดการสร้างงานและสร้างรายได้อย่างแท้จริง แต่ผมว่าท่านอภิสิทธิ์พยายามที่จะทำ อย่างเรื่องการศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาด้านวิชาชีพ แต่ที่จะไปล้างอะไรมันได้ผมคิดว่ามีอะไรที่ต้องทำอีกเยอะ และตอนนี้เขาก็เริ่มทำแล้ว
ปัญหาคือพวกนี้มันไม่ใช่ vote winner policy ไม่ใช่อะไรที่จะเป็นการเอาชนะคะแนนระยะสั้น ทุกรัฐบาลมาก็ทำง่ายคือแจกสร้างเงินสร้างถนน มันง่ายกว่าเยอะ และได้คะแนนโดยตรง เพราะเงินถึงมือคุณโดยตรง คุณก็ชอบ และคุณก็รักเขา แต่ผมคิดว่าคุณอภิสิทธิ์ทราบดีถึงเรื่องเหล่านี้ และก็พยายามทำ อันนี้ผมไม่รู้ว่ากระทรวงการคลังทำไปได้แค่ไหน แต่ผมคิดว่าความพยายามมันต้องมีการเริ่มต้นเราถึงจะทำตรงนี้เข้าไปได้
แล้วไม่ใช่ว่าอย่างชาวนาไทยจะมีใครเข้าไปช่วยลงทุน อย่างเพื่อนผมทำโรงสีข้าว คนที่โรงสี คนที่ทำข้าว ก็เริ่มมีคนที่เขาต้องกระจายเม็ดเงินตรงนี้เพิ่ม ตอนนี้ผมเห็นคนในรัฐบาลเริ่มพูดเรื่องคนโรงสี เรื่องโควต้า หมายความว่าต้องให้เอาเม็ดเงินมาลงทุนกับชาวนาให้มากขึ้นและก็ไปสอนเขา คือมันจะต้องมีคนที่มี technical know-how เข้าไปสอนในขั้นตอนอีกเยอะ อย่างทางกลุ่มซีพี พยายามที่จะเข้าไปสอน เข้าไปทำ แต่ยังเล็กมากเมื่อเทียบกับจำนวนชาวนาจริงๆ
คือเมืองไทยเรามีปัญหาเรื่องการศึกษามาตั้งแต่ต้นที่ไม่มีลงทุนเข้ามาเลย และคนที่ไปลงทุนก็ลงทุนแบบผิดๆ อย่างสมัยก่อนเรื่องคอมพิวเตอร์ ซื้อคอมพิวเตอร์ไปให้ แต่ไม่มีโรงไฟฟ้าให้ใช้ ผมว่าเป็นปัญหาจริงๆ ที่กระทรวงศึกษาธิการของเราไม่เคยมีคนที่อยากเป็นรัฐมนตรีจะรู้สึกอยากสนใจเข้ามาทำกันจริงๆ และปัญหารายได้ครูนั้นในประเทศที่เจริญแล้วรายได้คนทำงานเพื่อหมู่บ้านจะสูงกว่าใครเยอะ มันต้องปรับโครงสร้าง แต่ปัญหาคือจะมีรัฐบาลคนไหนที่กล้าเข้าไปปรับและมี mandate เพื่อที่จะเข้าไปทำอะไรได้จริง
ASTVผู้จัดการ - แล้วต่างชาติมองโครงสร้างเมืองไทยที่มีปัญหาแบบนี้ยังไง
ปริญญ์ - ผมคิดว่าต่างชาติเขามองขั้นแรก simple ก่อน คือเขาคิดว่าโครงสร้างของไทยคงเหมือนกับประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ คือมีปัญหาการเมือง มีภาคการเกษตรที่แข็งแรง มีน้ำมัน มี resource มีแก๊ซ เขาไม่หวังหรอกว่าใน 10 ปีข้างหน้าไทยจะปรับโครงสร้างได้เร็วถึงขั้นที่ว่ารายได้แรงงานครูหรือข้าราชการสำคัญๆ จะสูงขึ้นมาก เขาไม่ได้หวังถึงขั้นนั้น
ขั้นแรกเขาเห็นแค่ว่าแรงงานถูกมากเมืองไทย แรงงานถูกมีความรู้ ความสามารถ เพราะตอนนี้ปัญหาคือแรงงานจีนที่มีความรู้นี่จะแพงและแพงขึ้นเร็วกว่าไทยด้วย พอมันแพงขึ้นเร็วกว่าเมืองไทยก็จะมีกลุ่มบริษัทหลายๆ อันที่ allocate resource ไปประเทศอื่น แน่นอนอย่างบังคลาเทศ อย่างลาว มันเป็น the cheapest of labor คือถูกสุดๆ ฝีมือไม่ต้องสูงมาก แต่แรงงานไทยฝีมือก็มีและราคาก็ถูก
ถ้าถามจีนถาม ญี่ปุ่น ที่เข้ามา เขาอยากเปิดโรงงานในเมืองไทย เขายังอยากจะเข้ามาอยู่ เพราะไทยมี Infrastructure ทั้งกฎหมายเอื้อการลงทุนที่เปิดตลอด เราไม่ได้มีปัญหาหวือหวาอย่างเวียดนามที่มีปัญหาค่าเงินด่อง รัฐบาลต้องเข้ามา intervene โน่น intervene นี่ ทางเวียดนาม พม่า ลาว ก็ยังไม่เปิดเต็มที่ ส่วนบังคลาเทศก็มีปัญหา hardware ด้านถนนหนทาง electricityไฟฟ้า หรือโรงไฟฟ้าที่ยังไม่เสถียร ไทยเราถือว่าเป็น switch spot สุดๆ แล้วตอนนี้ในสายตาต่างชาติ
ถ้าพวก industrial real estate อย่าง อมตะ จะเห็นได้ว่าพอความมั่นใจกลับมา หุ้นมันจะวิ่งอย่างเห็นได้ชัด ถึงแม้ไทยจะมีปัญหาเรื่องการเมือง แต่นักลงทุนพวกนี้มอง 15-20 ปีว่าประเทศนี้แรงงานมีความสามารถจริง แล้วราคาจะถูกต่อไปไหม น่าอยู่อาศัย ปลอดภัยหรือเปล่าถ้าจะส่งแรงงานของเขาเองจากญี่ปุ่น จากจีน จากนิวซีแลนด์ จากออสเตรเลีย เข้ามาอยู่ ทุกคนอยากอยู่เมืองไทย ผมว่า infrastructure บ้านเรามีทั้ง soft side และ hard side ในระดับที่ใช้ได้
ASTVผู้จัดการ - ต่างชาติเห็นกันยังไงกับปัญหาการลงทุนทั้งภาครัฐ-เอกชนที่ไม่มีมาหลายปีแล้ว ปริญญ์ - อย่างที่ผมบอกว่ามันจะมี cycle จะกลับมาจริงไหม คือเราเริ่มเห็น sign ของการเข้ามา take out new loan มากขึ้น อย่างเซ็นทรัล ก็เริ่มเข้ามาลงทุนเปิด shopping mall ในต่างจังหวัดมากขึ้น ซึ่งทางเขาก็พูดอยู่เสมอว่าเขาอยากจะเปิดเพิ่ม คือ Central Group คิดว่าเขาจะ expand ได้
กลุ่มบ้านปู แม้เขาจะทำ M&A ในต่างประเทศ แต่เขาก็มี need ที่ต้อง borrow ในบ้านเราเพื่อ expand เหมืองที่เขามีอยู่แล้วในเมืองไทย และที่เขาไปซื้อเหมืองอินโดฯ เหมืองออสเตรเลีย เขาต้อง expand ของเขาตรงนั้น และเขาก็ expand ออกไปได้ ทางกลุ่มโฮมโปรก็มี target ว่าจะเพิ่มสาขา ซีพีออลล์มี target ชัดเจนเหมือนกันว่าจะโตปีละ 20 เปอร์เซ็นต์ เพราะฉะนั้นพวกบริษัทที่เกี่ยวกับสาธารณูปโภคทุกคนพูดไปในทางเดียวกันว่า growth ยังต่ำปีละ 15-20 เปอร์เซนต์ ซึ่งอันนี้ค่อนข้างดีมากสำหรับต่างชาติที่มองเรา
เพราะเขาเห็นว่ายังมีบริษัทที่ stable เหล่านี้สามารถเติบโตได้ 10-20 เปอร์เซนต์นั้นถือว่าเติบโตมาก เพราะหากไปมองยูนิลีเวอร์ที่อเมริกา หรือมองประเทศอื่นในเอเชียนั้นมีน้อยมาก และมูลค่าหุ้นเราก็ถูกเมื่อเทียบกับจีนซึ่งหากโตได้เท่านี้มูลค่าหุ้นก็ต้องเป็น 20-30 เท่าแล้ว ของเราอย่างซีพีออลล์อาจจะ 10 เท่าปลายๆ หรือ 20 ต้นๆ ยังไม่มีใครไปได้ถึง 30 เท่าของบริษัทจีน และซีพีออล์ก็จ่ายปันผลออกมาเยอะพอสมควร ทุกคนจ่ายปันผลหมดในระดับที่ใช้ได้ ซีพีกรุ๊ปก็จ่าย ซีพีออล์ก็จ่าย ซีพีฟู้ดก็จ่าย ทุกคนมีปันผลที่น่าสนใจ และต่างชาติเขาก็มอง risk reward มันคุ้มค่าเมื่อเทียบกับความเสี่ยง growth potential และเงินปันผลที่ได้
ผมเชื่อว่าฝรั่งหลายคนที่ได้ตอนนี้ก็เริ่มมองเมืองไทยอย่างเป็นจริงเป็นจัง เพราะหากเงินมันเข้า ขั้นแรกมันเข้า country fund Thailand Country Fund เริ่มเข้ามาก่อน คนที่มีพวกนี้อย่างเช่นพวกเจเอฟ, กลุ่มจาร์ดีนเฟรมมิ่ง, ฟิเดลลิตี้, อาร์เบอร์ดีน มีไทยฟันด์ ซึ่งจะเริ่มเข้ามาก่อนรอบแรก รอบ 2 จะเป็นพวก regional money คือคนที่ manage เงินจากฮ่องกง สิงคโปร์ regional capital ก็เริ่มเข้ามาแล้ว รอบสุดท้ายคือพวก global money fund พวก global emerging market fund เป็น fund ที่ base จากลอนดอน, แฟรงเฟริส์, อเมริกา ซึ่งเห็น flow ที่เริ่มเข้ามา แบงก์ใหญ่ๆ ที่จะได้ flow อย่างเช่น การประกาศตัวเลขจากแบงก์กรุงเทพ ซึ่งโชว์ให้เห็นว่ามีการเติบโต
ในภาค corporate blue ship ผมว่าบริษัทในไทยใหญ่ๆ หลายเจ้ายังต้อง expand อีกเยอะ กลุ่มเซ็นทรัล กลุ่มซีพี กลุ่มเหมืองบ้านปู กลุ่ม ปตท. และ infrastructure ซึ่งจะไปทำกับจีน ถึงแม้ท่านอภิสิทธิ์จะเป็นคนไปเริ่มต่อรอง เริ่ม negotiate และ MOU จะ sign infrastructure รถไฟของเราไม่ได้ upgrade มากี่ร้อยปีแล้ว เรามีรถไฟมาก็ไม่เคยเปลี่ยนอะไร ทีนี้ถ้าจะสร้างโดยที่กู้จีนถ้าอยากทำจริง
ทางเราพานักลงทุนไปคุยกับลาวแล้ว ไปขอนแก่น อุดร และไปลาว ไปเจอกับกระทรวงการลงทุนลาว เขาบอกว่าเขาเซ็นเอ็มโอยูกับจีนแล้ว แน่นอนมันอาจใช้เวลา 3-5 ปีในการสร้างรถไฟที่จะลงมาจาก speed-rail ของจีน-ลาว-ไทย แต่มันเป็น intention ที่ว่าตัว regional integration มันเกิดขึ้นแน่นอน แล้วจีนก็มีเงินเยอะจริง คือจีนนี่มี infrastructure fund ที่ให้อาเซียนโดยเฉพาะ แต่ถ้าจีนเขาอยากจ่ายเงิน spend เงินจริงเขาทำได้ เงินไม่ใช่ปัญหาสำหรับจีน
ASTVผู้จัดการ - ดูเหมือนไทยกำลังระวังจีนอยู่มากในการเจรจาเรื่องสิทธิตัวรางรถไฟ และมันก็เป็นประเด็นใหญ่มากที่ไทย-จีนต้องสรุปให้ได้ก่อน แต่ทางไทยยืนยันแล้วว่าเราต้องเป็นเจ้าของไม่ใช่จีน เพราะเราไม่ได้เป็นประเทศเล็กๆ ที่ต้องขอเงินจากจีนมาช่วยเหมือนลาว เขมร หรือพม่า ที่จีนคิดว่าจะมาทำอะไรกับเราก็ได้
ปริญญ์ - ครับ ใช่ ผมก็ได้ยินมาเหมือนกันว่าเรื่องนี้ถือเป็นเรื่องใหญ่ แต่คราวนิ้คือรัฐบาลไทยเราอยากเปิดทางให้จีนไหม ผมคิดว่ารัฐบาลไทยน่าจะอยากร่วมมือ มันจะสร้างตั้งแต่จีนลงมาสิงคโปร์ลงมาเลย์เลย ค่าขนส่ง หรือแม้แต่คนท่องเที่ยว หรือคนทำธุรกิจ cross-border มันจะถูกลง แต่การเจรจาคงจะอีกยาว เพราะใครจะถือหุ้นเท่าไหร่ไม่ใช่ง่าย คงต้องต่อรองกันอีกนาน ไม่ใช่เรื่องที่จะจบในรัฐบาลนี้ คงเป็นรัฐบาลหน้าที่ต้องเข้ามารับทำต่อแน่นอน
ท่านนายกฯ เราพูดที่ forum เราที่มาจาก Asian Forum เมื่อกลางเดือน ก.พ. ที่ผ่านมา ท่านมาพูด และเจอนักลงทุนของเรานั่งอยู่ในโต๊ะ 20 กว่าคนของเรา ท่านก็บอกว่าจริงๆ แล้ว MOU เริ่มคุยแล้ว มี feasibility study ทำแล้ว คราวนี้ต้องคุยกันว่าใครจะถืออะไร เราคงต้องถือหุ้นส่วน share holding กันเท่าไหร่ และจะทำ private fund, PP กันเท่าไหร่ ใครจะมาทำบ้าง ซึ่งฟังแล้วก็คงจะสิ้นปี
แต่ผมว่า intention ก็ต้องอย่างนั้น คงเลี่ยงไม่ได้ เพราะมันอาจต้องใช้เวลานานเหมือนตอนสร้าง BTS แต่ผมรู้ว่า infrastructure เขาต้อง upgrade เขาไม่มีทางที่จะเลี่ยงได้ และมันก็เป็นสิ่งที่จีนเขามีกำลังต่อรองกับไทยเยอะ และจีนก็เป็นคนที่ช่วยไทยไว้เยอะหลายเรื่อง ไทยก็ export ออกไปจีนเยอะมาก และส่งออกที่เราโตได้ส่วนใหญ่ก็ไม่ใช่เพราะอเมริกาหรือยุโรปแล้ว แต่เราโตได้แบบเต็มที่จากจีน เพราะฉะนั้น จีนเขามีกำลังที่ผมเชื่อว่ารัฐบาลคงต้องพิจารณาจีน serious นะ จีนเขามีกำลังต่อรองในเรื่องนี้เยอะนะผมว่า
ASTVผู้จัดการ - เมื่อเดือนก่อนอเมริกาก็ประกาศแล้วว่าจะลดนำเข้า และไม่นานจีนก็มาประกาศเหมือนกันว่าจะลดนำเข้าด้วย มองว่า มันจะกระเทือนเราแรงขนาดไหน
ปริญญ์ -ครับ ใช่ แต เศรษฐกิจจีนปีนี้คงชะลอตัวลงช้ากว่าปีก่อนๆ อยู่แล้ว มันจะกระทบเราแน่นอนคือเราคงโตน้อยลง เพราะ export ของเราที่จะไปจีนคงลดลง แต่ปีที่แล้วเราโตเยอะมากเกือบ double-digit ตลาดจีนที่ยังเติบโตเพราะชิ้นส่วนบางอย่างที่ไทยส่งไปให้จีน อย่างพวกแผงวงจรไฟฟ้า จีนก็ re-export ให้อเมริกาไปประกอบต่อ
แต่เรื่องว่าทางอเมริกา อย่าง วอลล์มาร์ทไป source ที่อื่นถูกกว่าจีนมีอีกไหมในโลกนี้ในเรื่องอิเล็กทรอนิกส์ ผมว่ายังหายากอยู่นะ คือแน่นอนวอลล์มาร์ทมี choice ที่จะไปประเทศอื่นได้ อย่าลืมว่าบริษัทที่มี size ขนาดวอลล์มาร์ท ไม่ได้ต้องการแค่ volume แต่ต้องการ reliability เขาต้องการของที่ได้แน่
วอลล์มาร์ทเขาทำกับจีนมากี่ปีแล้ว ผมจะแปลกใจมากถ้าวอลล์มาร์ทจะ walk away จากโต๊ะ และ negotiate กับจีนว่าอเมริกาจะสั่งน้อยลง วอลล์มาร์ทสั่งน้อยลง LI&FUNG เป็นเทรดดิ้งคอมปานีที่ใหญ่ที่สุดในโลก ผมไม่เชื่อเลย ผมคุยกับ LI&FUNG แล้ว Victor K. Fung ที่เป็นเจ้าของและรู้จักกันดี เขาบอกเลยว่าอย่างไรซะวอลล์มาร์ทก็ถูกมัดมือชก ต้องยอมขึ้นค่าจ้างแรงงานในจีน ยอมเสียมาร์จินน้อยลง และต้องยอมรับจากจีนอยู่ดี ขั้นต้นนะคือขั้นที่ allocate resource ที่มีวอลลุ่มใหญ่ขนาดนี้ มี reliability ที่ใหญ่ขนาดนี้ และสเปกที่วอลล์มาร์ทอยากได้ มันไม่มีทางที่จะไปที่อื่นได้ คือ โอ.เค. จีนอาจต้องถูก pressure จากอเมริกาบางเรื่อง
แต่ถ้าอเมริกามันก็อีกเรื่องหนึ่ง เพราะในอเมริกาเขาโต 2 tracks คือ corporate เขาโตเร็วมากแต่ household debt ก็โตมากด้วย ส่วนตัว household consumer น้อยลง แต่ตัว corporate sector ไอ้พวกจะ upgrade hardware software อะไรบางอย่างมันก็ยังขายได้ และ gadget บางอย่างก็ยังขายดี อย่างแอปเปิ้ลก็ stamped ในจีน ในไต้หวันหมด ผมว่าบริษัทพวกนี้รายได้ยังโตอยู่จากที่เรา cover มันไม่ได้ slow down แต่อาจจะ slow down บางเรื่องที่อเมริกาเล็งอยู่ ซึ่งก็น่าจะเป็นสินค้าเกษตรบางตัวที่เขายังเถียงกัน บางอย่างที่อเมริกาทั้งนำเข้าและผลิตเองด้วย จีนส่งออกเกษตรไป จีนอยากจะไปส่งออกแร่ธาตุบางอย่าง ซึ่งบางทีอเมริกาก็ชะลอตรงนั้น
ส่วนของเล่นจากจีนบางทีอเมริกาก็หาเรื่องไป source จากที่อื่นได้ที่ไม่ได้ทำจากจีน และก็มา push up เรื่อง tariffs แต่ผมคิดว่าอเมริกาจะหาที่ source จากที่อื่นที่จะถูกกว่าจีนนี่เป็นเรื่องยาก คือมันต้องทั้ง volume และเวลาด้วย บริษัทอย่างวอลล์มาร์ท แอปเปิ้ล ไม่ได้แคร์แค่เรื่องนี้ แต่เขาต้องมีทั้งคุณภาพและปริมาณด้วย
ทางอเมริกาเขากังวลว่าจีนซื้อ treasury ของอเมริกาไว้เยอะมาก ซึ่งจีนถืออยู่ก็จริง แต่ก็เป็นการถือซึ่งกันและกัน คือมันค้ำค้านกันอยู่ว่าเงินหยวนแข็งเกินไป แต่ทางจีนก็ถือเงินดอลลาร์และ U.S. Treasury เต็มที่เลย จีนก็ไม่ได้อยากให้เงินแข็งและอ่อนไปกว่าอเมริกามากนักหรอก เพราะจริงๆ แล้วเงินของจีนก็ appreciate มานาน และก็มากพอแล้ว
ตอนนี้โอบามาเขาเริ่มรู้ตัวแล้ว คืออเมริกาเคยเป็น single power ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา 50 ปีไม่เคยมีใครมา challenge ญี่ปุ่นอาจเคยมา challenge อยู่ช่วงหนึ่ง แต่พอปี 1970-1980 แต่ตอนนี้ก็เริ่มลงมา แต่จีนเป็นประเทศเดียวตอนนี้ อินเดียอาจเป็นประเทศหนึ่งแต่เทคโนโลยีก็อาจจะยังค่อนข้างล้าหลังอยู่ จีนจึงเป็นประเทศเดียวที่เขา realize ว่าสามารถมีกำลังทั้งทางด้านเศรษฐกิจและทางทหารที่จะสู้อเมริกาได้ เพราะจีนเข้ามา exceed influenceในอาเซียนมากขึ้น และเป็นครั้งแรกที่ U.S. President มาขอ meeting กับ Asian as the one-one meeting ซึ่งไม่เคยมีประธานาธิบดีอเมริกาคนใดในประวัติศาสตร์จะเคยทำแบบนี้
ทางอเมริกาคงต้องถดถอยแน่ในอีก 10-20 ปีข้างหน้า ผมเชื่อว่าเศรษฐกิจอเมริกาด้วยปัญหาหนี้ที่มีมากขนาดนี้จากการเอาหนี้ไปโป๊ะหนี้เพื่อแก้ปัญหาระยะสั้น debt/GDP ตอนนี้ 500 กว่าเปอร์เซนต์ มันไม่ sustainable อย่างแน่นอน ระยะสั้นเขา inject liquidity ทาง FED เพราะไม่มี choice อะไร เขาเห็นประสบการณ์ของญี่ปุ่นมาแล้ว เขาทำ QE 2 ซึ่งดูเหมือนจะไม่สำเร็จ เพราะ credit growth ในอเมริกามันไม่มี โดยเห็นได้จากไม่มี lend แต่เอาเงินไปเก็บเป็น reserve หรือextra reserve
ดังนั้น lending growth ในอเมริกาจึงแทบจะไม่มี พอ lending growthไม่มี ตัว board money growth ก็ไม่มีด้วย ประกอบด้วยราคาบ้านไม่ขึ้นหรือโตน้อยมาก income คนจริงๆ ก็ไม่เพิ่มขึ้น และมันก็ถูกeffectually bubble มาหลายปี เพราะฉะนั้น trend ใน housing price ยังไงมันก็ตกลงอยู่แล้ว และกำลังซื้อคนมันก็ตกลงด้วย อเมริกาจะ reverse digit ยังคงต้องใช้เวลาอีกหลายปีแน่นอน คงจะไม่ได้จบ
เมื่อนักลงทุนส่วนใหญ่มองกันอย่างนี้แล้วระยะสั้นที่จะเห็นเงินมันไหลจากเอเชียกลับไปอเมริกาบ้าง เพราะว่าราคาหุ้นทางอเมริกากำลังถูกมากเมื่อประมาณ 6 เดือนที่แล้ว หุ้นบางตัวอย่างยูนิลีเวอร์, ฮิวเล็ตแพกการ์ด, แคลล็อกซ์ และอเมริกายังมีเทคโนโลยี ยังมีซอฟแวร์ ยังมี creditability อยู่ เพราะฉะนั้น คนจึงเริ่มไหลกันไปซื้อหุ้น อย่าง อเมซอน
แต่ตอนนี้ผมว่าหุ้นอเมริกาเริ่มมีราคาแพงแล้ว ทั้ง fund flow ที่กลับมา หรือ request ที่ CLSA ได้รับจากเอเชียทุกวันมันชัดเจนมากๆ ว่าอีก 6 เดือนข้างหน้าต้องกลับมาเอเชียแน่นอน และตอนนี้ก็เริ่มกลับมาแล้วบ้าง แต่ไปเจอเรื่องของญี่ปุ่นคนเลย delete ไปชั่วคราว เพราะมี risk อันนี้เกิดขึ้นจึงไม่อยากทำอะไร รอก่อน
แต่ผมว่าทุกคนเริ่มทำงานกันเพื่อดูว่าหุ้นในเอเชียตัวไหนถูก ตลาดไหนถูก ตลาดจีน lagมา 2 ปีกว่าแล้ว ปีนี้เป็นปีที่ 3 ตลาดจีนก็ยังไม่ perform คนเขาเลยมองกันว่าจีนไม่ perform เพราะอะไร เรื่องเงินเฟ้อ รัฐบาลมา intervene เรื่องเศรษฐกิจ จีนจริงๆ นี่โตเร็วมาก 10 กว่าเปอร์เซนต์มาตลอดเวลา แต่ 10 ปีหลังมันเป็น acceptable growth รัฐบาลจึงปล่อยกู้เต็มที่ ปล่อย liquidity จาก state-owned enterprise รัฐบาลเป็นเจ้าของแบงก์ส่วนใหญ่
ตอนนี้รัฐบาลบอกชัดเจนแล้วว่าขั้นแรกเขาไม่ต้องการให้ราคาที่ดินเพิ่มขึ้นไปมากกว่านี้ ขั้นที่สองเขาก็บอกว่าเขาจะ tackle กับปัญหาเงินเฟ้ออย่างจริงจังโดยให้แบงก์ปล่อยกู้น้อยลง เพราะฉะนั้นแค่ 3 ตัวนี้ไม่ว่าจะเรื่องที่ดิน เรื่องเงินเฟ้อ เรื่องปล่อยกู้น้อยลง แน่นอนเศรษฐกิจจีนต้องชะลอตัวลง
แต่ถามว่าชะลอแล้วยังโตดีไหม ยังโตดีมาก คือชะลอแล้วก็ยังโต 8-9 เปอร์เซนต์ได้ปีนี้ คือมันเป็นการโตที่ normalized growth มันไม่ใช่ super-boom หรือ boom phrase หรือ highest growth phase มันเป็น normalized phase of growth และก่อน crisis เขา inject liquidity และ inject special measure เข้าไปเมื่อปี 2008 เพื่อให้จีนไม่ฟุบ พอจีนไม่ฟุบก็ทำให้มันโตต่อไปได้ด้วยความรุนแรง แต่ตอนนี้จีนเขาเห็นแล้วว่ามันมากเกินไปสำหรับเงินเฟ้อ เขาก็แค่ให้ normalized ผมว่าตลาดจีนพอถึงกลางปีนี้คนคงจะกลับมาซื้อหุ้นแบงก์จีน แต่ตลาดไทยผมว่าน่าจะโอ.เค.นะปีนี้ถ้าเกิดผ่านการเลือกตั้งแล้วไม่วุ่นวาย
ASTVผู้จัดการ - ถ้าตลาดหุ้นจีนดีขึ้นแล้วตลาดหุ้นไทยจะเป็นยังไง ต่างชาติยังรู้สึกว่าไทยน่าสนใจเหมือนเดิมหรือเปล่า หรือจะขายทางนี้ไปซื้อทางโน้นมากขึ้น
ปริญญ์ - คือตลาดไทยมันเล็กมากคือเวลาคนมองจะมองว่าขายไทยไปซื้อจีน แต่มันเป็นไปไม่ได้ อีกอย่างกองทุนเขาก็แยกกัน เขามี Asian Fund ก็ลงทุนใน Asian กลุ่มเพื่อนบ้านเรา ที่ว่าเขาว่ามีการ relocation fund ขายไทยทิ้งไปซื้อจีนกันเถอะ ไปซื้อไต้หวัน จีน ถูกกว่าเยอะ ความเป็นจริงมันไม่ใช่อย่างนั้น
คือ fund flow ที่มัน work จริงๆ แล้วกองทุนมันมีหลาย style แต่ style พวก long money เขาทำก็ weight ตาม MSCI เขาสามารถเลือกได้ อย่างเมืองไทยเขา weight แค่ 2 เปอร์เซนต์กว่า แต่ถ้าคิดว่าเขาจะ overweight ไทยเรา 25 เปอร์เซนต์ เขาก็ overweight ได้ถ้าเขาอยากจะ overweight
ผมเชื่อว่า fund flow มันมอง complicate มากกว่าการพูดกันเรียบๆ ว่าวันนี้ขายไทยไปซื้อจีน เพราะไทยเล็กมาก market cap มัน 2 เปอร์เซนต์กว่า แต่จีนมัน 17เปอร์เซนต์ของ MSCI เลยนะ มันจึงไม่มีทางเลยที่คนจะขาย 2 เปอร์เซนต์ไปซื้อ 17 เปอร์เซนต์ มันเป็นไปไม่ได้ และ fund flow ต่างชาติที่เห็นเข้ามาซื้อหุ้นในตลาดไทยจริงๆ แล้วก็ไม่ใช่อย่าง Templeton ที่ซื้อเยอะและก็อยู่นานจริง แบบพวกนั้นมันซื้อน้อย แต่เจ้าใหญ่ๆ อย่าง Templeton อย่าง Capital น่ะซื้อจริงและก็อยู่จริง เพราะพวกนี้มุมมองเขา 3-5 ปี เขาซื้อแล้วก็ทิ้งไว้ แต่พวกที่เข้ามาแรกๆ เป็นพวกที่ซื้อแล้วก็ขาย ไม่ได้เป็นพวกที่ซื้อแล้วก็อยู่นานจริง
ASTVผู้จัดการ - กำลังจะหมด Q1 ตอนนี้ 1000 จุดแล้ว Q-2 มองหุ้นไทยอย่างไร
ปริญญ์ - จริงๆ CLSA ตั้งเป้าปีนี้ 1,400 นะ ซึ่ง aggressive มาก ขึ้นตั้ง 40 เปอร์เซนต์ เพราะเราว่า sector ที่เขา bullish กันมาก... ต้องบอก 2-3 ประเด็นก่อนคือประเด็นแรกเรา bullish ในเรื่องราคาน้ำมัน และ energy sector ยังถูกอยู่ มองว่า ปตท. Trade ที่ 35 เปอร์เซนต์ discount NAV มันถูกมากเมื่อไปมองที่ธุรกิจ downstream ของธุรกิจปิโตรเคมี อย่าง ปตท. เคมิคอล, ปตท. อะโรเมติกส์ หรือแม้กระทั่งไทยออยล์ refinery product หรือพาราไซรีน หรือของ ปตท.สผ. ซึ่งราคาน้ำมันตอนนี้ก็สูงขึ้นมา
ความจริงแล้วตอนนี้ ปตท. ตัวแม่ควรจะได้ผลรับที่ดีมากกว่านี้ แต่ทำไมหุ้นไม่ไปไหนเลย หุ้น ปตท. และปตท. สผ. คนจึงมองว่าอาจจะยังขึ้นได้อีก และไทยออยล์เราก็ชอบมาก และยิ่งมีปัญหา issue ที่ญี่ปุ่นเรื่องไฟฟ้าที่มี capacity น้อยลง ไทยออยล์จะได้รับผลประโยชน์เต็มๆ ในเรื่อง demand และ supply แต่ไม่ใช่ว่าไทยออยล์จะไปขายญี่ปุ่นมากขึ้น เพราะทางไทยไม่ได้ขายญี่ปุ่นโดยตรงอยู่แล้วเรื่อง refinery produce แต่ demand และ supplyมันจะทำให้ tight มากขึ้นซึ่งจะทำให้ผลประกอบการไทยออยล์ดีขึ้นแน่
และน้ำมันเรามองว่าสูงต่อเพราะ 3 ประเด็นหลักๆ คือแม้โอเปกจะไม่ต้องการให้ราคาน้ำมันสูงมากเกินไป แต่โอเปกเป็นองค์กรที่เวลาน้ำมันเริ่มเคลื่อนตัวขึ้นเรื่อยๆ เขาไม่ค่อยชอบออกมา intervene เท่าไหร่ เขามักจะชอบ intervene เวลาที่มันตกแรงๆ 30 นี่เขาจะ intervene รุนแรงมาก แต่เวลาที่มันขึ้น 100 กว่า 100 ต้น โอเปกจะ happy มาก 100-110 เขาอยู่ได้ แต่แน่นอนเขาไม่อยากให้เกิน 120-130 มันเริ่มมากไปแล้ว
แต่หากเอาน้ำมันแต่ 110-120 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ปตท.สผ. กำไรปีนี้ได้จากทั้ง volume growth จากมอนทารา ออสเตรเลีย ได้ volume growth จากเวียดนาม M&A เขาก็จะทำ และ ปตท.สผ. อาจจะทำ right issue อาจจะมี placement ใหญ่ๆ ออกมา ที่เขาทำเป็นจุดของจังหวะที่ดี เพราะราคาน้ำมันปีนี้มีโอกาสสูงที่มันจะสูงขึ้นไปได้ เรามองขั้นแรกคือหุ้น energy ยังถูก ซึ่งมันจะเป็น influence index เพราะ target price ของ ปตท. และ ปตท.สผ. มันน่าจะขึ้นไปอย่างต่ำๆ ก็ 30 กว่าเปอร์เซนต์ และของ ปตท.สผ. ด้วยก็จะเป็น 40 เปอร์เซนต์ ซึ่งเราให้ target ปตท. สผ.สูงมาก แค่ 2 ตัวนี้เท่านั้นเอง
สำหรับหุ้นแบงก์ ผมคิดว่าแบงก์หลายเจ้ากำลังเข้ามาส่ง signal ว่าปีนี้จะได้เห็น corporate demand กลับมาจริง เมื่อ corporateกลับมาจริงเป็นครั้งแรกในรอบ 15-17 ปี ทาง bank annalist เขามองว่าเป็นครั้งแรกที่ loan growth จะโตในระดับ double-digit growth คือจะมี loan growth จากทาง corporate เข้ามา ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง M&A เรื่อง expand capacity เรื่อง replacement cycle coming back
ประเด็นที่ 2 คือ net interest margin ที่จะมีมากขึ้น จากที่หลายบริษัทต้องการ expand ก็คิดว่า margin ที่แบงก์จะ make on loan ยังเพิ่มขึ้นอยู่ คิดว่า product ใหม่ๆ สำหรับพวกแบงก์ที่จะขายประกัน ในประเทศไทยเรามาถึงจุดที่เป็น inflection point ของ GDP ที่ per capita เกือบๆ 4,000 เหรียญสหรัฐ/หัว มันจะมีความต้องการใช้จ่ายในเรื่อง social safety net ที่สูงขึ้น รัฐบาลก็ privatize เรื่องนี้แล้ว และ social security ก็เป็น social issue หลักที่นายกฯ พูดไปแล้วเช่นกัน
เพราะฉะนั้นผมเชื่อว่าตัว demand ของ bank product กับ bank insurance product จะสูงขึ้นแน่นอน fee income growth ก็จะ real มีทั้ง margin และ loan growth แล้ว fee income growth เรื่อง cost/ income ration ดูเหมือนจะเริ่ม growth กันแล้วด้วยอย่าง K Bank ที่ spend budget ตัวที่เป็น K transformation program มาตั้ง 5 ปีดูเหมือนจะมา peak เอาปลายปีนี้ ถ้า cost/income ration บางแบงก์เริ่ม peak อย่าง SCB คุณกรรณิการ์ (ชลิตอาภรณ์ กรรมการผู้จัดการ) ก็ spend ในเรื่อง brand และก็ invest มาตลอด
cost/income ration ก็จะ peak สัก 55-58 เปอร์เซนต์ พอมัน peak แล้วมันก็อาจจะเริ่มลง และ profitability ของแบงก์ก็จะดีขึ้นด้วย เพราะมันมี driving หลายตัวที่เข้ามา และยังจ่าย yield ได้อีก และยังจ่ายปันผลได้ดี
ของแบงก์กรุงเทพซื้อขาย 1.3 เท่าของ book มันยังถูกมากเมื่อเทียบกับแบงก์ระดับ regional อย่างแบงก์ทางไต้หวันเทรดกัน 2 เท่า ของจีนถึงแม้จะถูกแต่ก็เทรดสูงถึง 1.6 เท่า ไทยเราจริงๆ เรามี growth national มากกว่า และไม่มีรัฐบาล intervene เรื่องการเพิ่มหรือลดการปล่อยกู้ของแบงก์เหมือนจีนที่ทำให้บางทีคนมักไม่ค่อยชอบแบงก์จีนซึ่งถูกควบคุมโดยรัฐบาล ราคาหุ้นแบงก์ไทยเราค่อนข้างจะถูก เพราะสามารถปล่อย lending ได้ และยังมี risk system ที่ดี อย่าง K Bank หรือ SCB และเป็นการแข่งขันที่ rational บ้าง แม้เอสซีบีจะมีทำ pricing มีการตัดอะไรกันในเวลาที่อัตราดอกเบี้ยขึ้น แบงก์ SCB ก็เริ่มรู้ตัวและเข้ามาแข่งขันมากขึ้นบ้าง เขาเลยมองพวก bullish bank มาก เมื่อขึ้น bullish 2 sectors ที่ใหญ่ที่สุดในตลาดไทย
ประกอบกับรายได้ในชนบท ซึ่งทาง consumer sector ของเรามี top-buy คือโฮมโปร ซีพีออลล์ เมเจอร์ซีนีเพล็ก และโรบินสัน 4 ตัวนี้ที่ cover หลักๆ ซึ่งตัว analysis consumer เขาชอบมาก และหุ้นพวกนี้ก็เป็น top-pick, top-buy ของพวกเขา ส่วนโรบินสันมีข้อดีที่ตรงไหน ผมเห็นว่าราคามันถูกและกำลังจะมี expansion ในต่างจังหวัด จะเห็นได้ว่าแต่ก่อน image ของโรบินสันจะเป็นแบบว่าเก่าๆ เหมือนอันที่อยู่บนนถนนสุขุมวิท 19 แต่ในต่างจังหวัดสภาพจะไม่ใช่แบบนี้ เพราะจะมีความใหม่กว่า มีคนเดินกันแน่น รายได้ก็น่าจะได้ โรบินสันไปเปิดคู่กับบิ๊กซี ซึ่งเซ็นทรัลก็ถือหุ้นส่วนหนึ่งในโรบินสันอยู่แล้วเขาก็เลยไปด้วยกันกับบิ๊กซี ผมว่าเวิร์กนะ
แล้วเราอาจจะ cover เบอร์ลี่ยุคเกอร์ ซึ่งตอนนี้เรายังไม่ได้ cover เป็นหุ้น consumer ที่ลูกค้าฝรั่งถามถึงเยอะในตอนนี้สำหรับหุ้นตัวนี้ เพราะเป็นอะไรที่เกี่ยวกับ consumption และยังถูกอยู่คือ 11 เท่าของ P/E จ่าย yield 4 เปอร์เซนต์ และคุณอัศวินที่เป็นประธานเริ่มทำโรดโชว์ครั้งแรก เราพาไปโรคโชว์ฮ่องกงครั้งแรกเมื่อปลายปีที่แล้ว ซึ่งเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่เบอลี่ยุคเกอร์ไปโรดโชว์ในต่างประเทศ และเริ่มเจอนักลงทุนมากขึ้น และก็น่าจะไปสิงคโปร์อีกทีเดือนหน้า เผอิญว่าเขาโต stable เขาจะ apply เขาจะไม่ approach ด้วยเพราะเขา fail deal คาร์ฟูที่บิ๊กซีได้ไป เขาคงไป target อื่นซึ่งมี tail franchise ที่เหลืออยู่ในเมืองไทย และเขาคงต้องมี deal ที่เกิดขึ้นภายในปีนี้แน่นอน
ทางไทยไปทางเวียดนามเยอะ เพราะค่าเงินเริ่ม devaluable และคิดว่าคงต้องลดลงอีก และทางเมเจอร์ฯ ก็จะไปซื้อโรงหนังใหญ่สุดในเวียดนามอีก อันนี้เป็น big growth area ของเมเจอร์อีกอันหนึ่ง คนที่นั่นเริ่มมี income มากขึ้น และปกติเมื่อคนมีรายได้มากขึ้นก็ spend อยู่ 2 อย่างคือ travel และ leisure ถ้าเรื่อง travel interestingในเมืองไทยมีกี่เจ้าบ้าง
แต่เมืองไทยปัญหาคือover supply hotel อย่าง MINT ก็เริ่มไปซื้อที่ออสเตรเลียแล้วเพราะ MINT มีเงิน ธุรกิจพวกนี้มันเป็นธุรกิจที่น่าสนใจเพราะ theme ในอีก 3 ปีข้างหน้าคือ regional connectivity และ regional facility อาจจะเป็น infrastructure ที่เราคุยกันเรื่องจะสร้างโน่นสร้างนี่ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลานาน แต่เป็นเรื่องที่เขาต้องทำ เพราะนี่เป็น intention ของทุก government ว่าเขามีเงิน spend จริง
และจีนก็ spend regional integrate เรื่อง transport system เรื่อง travel เพราะจีนมีประชากร 1,200 ล้านคน ทุกคนมีรายได้เพิ่มขึ้น และ weight growth โตขนาดนี้แล้วจะทำอะไร
เรา survey มาแล้วขั้นแรก spend คือ travel อาจจะมีเรื่อง mobile ซื้อทีวี เครื่องซักผ้า ซื้ออะไรที่ basic goods ในบ้าน ตรงนั้นก็ยังโตได้อีกเยอะ ขั้นต่อไปเขา travel ซึ่งตอนนี้ก็เริ่มแล้ว อย่างเช่น ไต้หวัน ญี่ปุ่นเคยเยอะสุด แต่ตอนนี้จีนคือ 25 เปอร์เซนต์ของ tourist ที่ไปไต้หวัน ไทยเราก็เช่นกันแต่ก่อนญี่ปุ่นหรือสแกนดิเนเวียเยอะสุด อนาคตคนจีนก็เริ่มจะเป็นเปอร์เซนต์ที่สูงสุด คนจีนเป็นคนที่มีเงินเยอะและก็ใช้จ่ายจริง แม้จะมีกลุ่มทัวร์ราคาถูกก็ตาม
คือถ้าเราได้เจอผู้บริหารรัฐบาลจีนจริงๆ จีนจะเป็นพวกที่ passive สุด เขาเอาคนที่ expert ในแต่ละเรื่องไม่ว่าจะเป็นเรื่องการค้า เรื่องการดูแลสุขภาพ เข้ามาเป็นรัฐมนตรี เพื่อปรับปรุงสิ่งเหล่านี้ให้ดีขึ้นได้จริงๆ ถึงแม้คนจะด่าว่าจีนมีเรื่องโกงกิน แน่นอนทุกรัฐบาลในเอเชียมันต้องมีอยู่แล้ว แต่จีนน่ากลัวตรงที่ว่าเขาเอาคนที่เก่งจริงเข้ามาในรัฐบาลกลาง แต่ที่มันมีปัญหาคือคนที่อยู่ใน local government ที่ทำให้เกิดปัญหาหนี้เสียหรือการโกงกินกันบ้างจากการที่ต้องแข่งกันต่อสู้กันเพื่อเข้าสู่รัฐบาลกลาง ซึ่งมันก็เป็นการต่อสู้กันทางกำลังภายในของ 2 bodies นี้
ASTVผู้จัดการ- ถ้าดัชนีเป็น 1,400 ทิศทางที่มองหมายความว่า Q-2 หรือกลางปีนี้มันก็ต้องขึ้นสักประมาณ 1,100 หรือ 1,200
ปริญญ์ - ตลาดไทยค่อนข้างแกว่งอยู่อย่างเดียวคือราคาน้ำมัน ถ้ามัน peak กระฉูดแบบกระเด้งขึ้นมาจริงแล้วกำลังซื้อมันจะหด เพราะไทยใช้พลังงานอย่างไม่มีประสิทธิภาพ แถมนโยบายการใช้พลังงานไทยไม่มีมานานแล้ว รัฐบาลไหนก็ไม่มีใครกล้าทำเพราะมี interest ที่กลัวกันอยู่ ไม่มีใครทำนโยบายพลังงาน
แน่นอนว่าเศรษฐกิจโตเราต้องใช้พลังงานถ่านหิน ใช้น้ำมัน หรือใช้อะไร แต่ใช้ในแง่ efficient คือไม่ต้องไปถึงขึ้น new available หมด เพราะมันเป็นไปไม่ได้ที่มันจะมา replace ถ่านหิน replace น้ำมันได้หมด แต่คุณต้องวิธีการใช้ หรือเครื่องมือเครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพต่อการใช้พลังงาน อย่างเรื่องง่ายๆ เช่นถนนหนทางที่ต้องใช้ energy ที่มันมีประสิทธิภาพมากขึ้น
เพราะฉะนั้นถ้าน้ำมันไม่ spike ขึ้นไปจริง อย่างแย่เลยไทยก็ต้องโตอย่างต่ำๆ 4 เปอร์เซนต์ของ GDP แต่ก็ใช่ว่ามันไม่ถือว่าเราโตเพราะเงินเฟ้อจะเกิน แต่ที่ต่างชาติยัง skeptical มากสุดคือรัฐบาลจะอยู่ได้จริงไหม และจะ implement นโยบายที่ทำให้ private sector compliance และกลับมาลงทุน sustainable ต่อไปได้ ถ้ารัฐบาลอยู่ต่อแล้ว sustain confidence ได้ และตอนนี้ทุกคนก็รอ เพราะใน region หุ้นก็ไม่ได้ถือว่าถูกมากแม้ราคาจะตกลงก็ตาม อย่างจีนแม้จะลงมาบ้างแต่ก็ยังไม่ถือว่าถูก และปัญหาเงินเฟ้ออย่างที่อินเดียก็แรงมาก
ส่วนหุ้นในตลาดอินโดนีเซียก็ถือว่ายังแพง เมื่อดูแล้วก็ยิ่งแพงกว่าไทย หุ้นมาเลเซียก็แพงและก็ไม่มี growth เกิดขึ้นจริง ส่วนสิงคโปร์นี่ growth ก็ไม่ค่อยมี เพราะฉะนั้นตอนนี้มันเหลือแค่ 2-3 ประเทศที่โตได้คือไต้หวันซึ่งจะดีมากในปีนี้ เพราะการส่งออกชิ้นส่วนบางอย่างไปอเมริกายังถือว่าอยู่ในระดับที่ดีมาก และปีนี้ไต้หวันจะมีเรื่อง capital link ที่ลงทุนร่วมกับจีนเพื่อเปิดประเทศมากขึ้น และจีนก็เปิดรับไต้หวันมากขึ้นด้วย เพราะฉะนั้นการลงทุนระหว่างประเทศจีน-ไต้หวันปีนี้ยังถูกและไปได้อีกเยอะ ส่วนเกาหลีตอนนี้ก็ถูกมาก ซึ่งจริงๆ แล้วตลาดหุ้นเกาหลี ไต้หวัน และไทย เป็นตลาดหุ้นที่ผมชอบมากที่สุดในปีนี้
ASTVผู้จัดการ - ที่บอกว่าตอนนี้มี fund flow กลับไปอยู่อเมริกา และคาดว่า 6 เดือนจะกลับมาในเอเชีย...
ปริญญ์ - ผมว่า 6 เดือนจะเริ่มเห็น และตอนนี้เราเริ่มเห็นแล้ว เพราะหุ้นอเมริกาตอนนี้มันเริ่มแพงแล้ว คือมันมี spectacle adjust the P/E อเมริกาเคยเทรด 13 เท่าเมื่อ 7-8 เดือนที่แล้ว และจาก 13 เท่ากลายเป็น 23 เท่า หุ้นอเมริกาที่ขึ้นมาเทรดกันวันนี้ไม่ถูกเลย และในอเมริกาถ้าราคาน้ำมันยิ่งสูงมันก็ยิ่งแย่ด้วย เพราะ consumption ของอเมริกาก็จะโดน track เพราะมันเหมือน track on consumption คนอเมริกา consume น้ำมันเยอะมาก ผมคิดว่าถ้าน้ำมัน tension ยังสูง อเมริกาไม่พอใจแน่นอน แล้วที่พูดไปว่าตัว broad money growth และ credit growth ในอเมริกาไม่มี
แต่ยังไงก็ตามคิดว่าทาง FED อาจจะไม่ทำ QE3 แต่จะให้มี roll over ของตัว bond proceed ซึ่งจะทำให้มันมีการซื้อต่อไปได้ หรือทำให้เกิด reinvestment of process ที่ได้มาจาก QE 2 ตอนนั้นต่อไปได้ ยังหนักในอเมริกา ผมคิดว่าคงไม่ใช่เรื่องง่ายเมื่อคน realize ว่า QE2 มัน fail แล้วทางอเมริกาจะทำยังไงต่อไป เพราะมันถูก trap แล้ว
ส่วน fiscal deficits ก็ยังสูงมาก ปัญหา debt ปัญหาอะไร ไม่ใช่ง่าย ทุกคนคงกลับมาเอเชียซึ่งเป็น structure growth story คือ proportion growth มันอยู่ที่เอเชีย เพราะ consumption ในจีนนี่มันใหญ่มาก คือจีนเขากำลังได้ประชากรที่ไม่ได้เติบโตในสมัยที่ culture revolution ที่พ่อแม่เขาเติบโตมาแล้ว suffer
เพราะฉะนั้น mental ของคนจีนในการซื้อขายสินค้าของ generation ใหม่ที่เริ่มทำงานอายุประมาณ 20 ปลายๆ -30 ต้นๆ มันจะเปลี่ยนไปเลย mental เขาจะ free spending ไม่มี concern worrying เหมือนพ่อแม่เขาที่จะมากลัวเรื่อง culture revolution เพราะฉะนั้น spending pattern ของกลุ่มคนจีนที่เป็น new population จะเปลี่ยนอย่างเห็นได้ชัด ตัว luxury growth, luxury spending items มันจะโตขึ้นแน่นอน และก็จะไปกับ travel spending
การค้าขายซื้อของ online ของจีนก็ดีมาก แต่เมืองไทยยังไปไม่ถึงขนาดนั้น websiteซื้อของ online ของจีนก็บูมมาก คือเขา block Facebook, block Google เขามี online equity, online e-commerce ขายของกันเยอะมาก เขาขายเป็น B2B e-commerce ด้วย B2C และ C2C ด้วย เขามี complete หมดและ growth ตรงนี้เขาก็มี
ผมว่าประเทศเอเชียเพิ่งจะเริ่มต้นเข้าสู่วงจรการเติบโตทางเศรษฐกิจ ดูได้จากpercentage share of GDP ของจีนเมื่อ 10-15 ปีก่อนมันแค่ 2 เปอร์เซนต์ ญี่ปุ่นเคย peak ที่เกือบ 17 เปอร์เซนต์ของ world GDP share แต่ตอนนี้ตกลงมาเหลือแค่ 6 หรือ 7 เปอร์เซนต์ จีนตอนนี้คือแซงหน้าญี่ปุ่นแล้วหลังจากเพิ่งจะมา match กัน ตอนนี้จีนก็เพิ่งผ่านในเชิงของจีดีพี ประเทศในเอเชีย ผมว่า....
แต่ growth มันไม่เหมือนกันนะ ต้องยอมรับอยู่อย่างว่าจีนประชากรจะเริ่มแก่แล้วในอีก 5 ปีข้างหน้า ประชากร profile ของจีนจะเหมือนญี่ปุ่นเลยในสมัยปี 1990 ที่คนเริ่มแก่ตัวและต้องหาคนมาคอยดูแล จีนถึงแคร์มากกับเรื่อง social safety net เรื่อง security เรื่องความสงบสุขของประเทศ และการมีกินมีอยู่ของประชากร และจีนก็ลงทุนไว้เยอะมากในเรื่อง insurance แต่เขามีเรื่อง urbanization เพราะจีนมันมีการ upgrade second tier city , third tier city, fourth tier city ไม่ใช่แค่ที่เมืองปักกิ่งหรือเซี่ยงไฮ้ที่โต แต่มันมีเมืองอื่นๆ ที่โตด้วยเช่นกัน อย่าง เฉินตู เสิ่นเจิ้น เมือง second tier, third tier ที่โตมาได้ยังมีอีกมากและกำลังซื้อเขาสูงจริงๆ
ผมคิดว่า cycle ของ spending... คือ 10 ปีที่ผ่านมาเอเชียเป็น exporter of last resource คือเป็น the cheapest of exporters มันต้องมีการ rebalance recalling เกิดขึ้น คือมันจะไม่เกิดขึ้นแล้วที่ทางฝั่ง savers เอเชียก็ save และก็ save ตลอด และทางฝั่งยุโรป spend ตลอดและก็ leverage ลักษณะการ spend คือเป็นลักษณะการใช้หนี้คือ take on credit card debt
ส่วน corporate ก็ take on bank debt มี loan growth มีอะไรในยุโรป 10 กว่าปีที่ทำมาก็ debt เต็มที่ในยุโรป เอเชียก็ save มันต้องมี balance ตอนนี้ทั้งภาครัฐและ corporate ทางเอเชียแทบจะไม่ leverage เลย leverage ก็น้อยมาก เพราะฉะนั้นการเติบโตตรงนี้ผมเห็นว่ายังอยู่ในจุดเริ่มต้น ยังเป็น tipping point และ GDP per capita ในอินเดียก็ต่ำมาก
อินเดีย growing low base แต่ในขณะที่โตเร็วแบบนี้มัน accelerate เร็วมาก เพราะฉะนั้น เป็น hyper growth ตอนนี้อินเดียกับจีนเป็น the largest consumption ของน้ำมันคือเป็น 2 ประเทศที่รวมกันซื้อขายน้ำมันเยอะสุดแล้ว demand น้ำมันสูงสุด ผมเชื่อว่าตอนนี้มันยัง early stage มากที่เอเชียจะบูม ยัง share GDP ได้อีกเยอะ เพราะทางยุโรปและอเมริกาก็ต้อง leverage debt ลงมาซึ่งเป็น process ที่เขาเริ่มทำบ้างแล้ว
ตัวอย่างชีวิตจริงของคนอเมริกา ของคนยุโรป ตอนนี้ทุกคนอยากหางานทำในเอเชีย ไม่มีใครอยากอยู่ที่โน่น เพราะรู้ว่าภาษีจะขึ้น และรัฐบาลจะเข้ามาคุมเรื่องอะไรต่อมิอะไร รัฐบาลจะเข้ามาควบคุมการจ่ายโบนัส regulate ในยุโรปต้องสูงขึ้นแน่นอน มันจะไม่ใช่ free market อีกแล้ว เพราะฉะนั้นสมองคนที่เก่งๆ จะเริ่มไหลมาเอเชีย และก็ไหลมาจริงๆ แล้ว ฝรั่งมาทำงานที่ฮ่องกง จีน เซี่ยงไฮ้ นี่เยอะมาก และเราก็เริ่มที่จะเห็น trend ชัด ซึ่งมันจะ drive up property price ราคาบ้าน ราคาค่าเช่าอะไร ไอ้ตัว liquidity จาก QE1 และQE 2 ก็จะเริ่มไหลเข้ามา
คือรัฐบาลอเมริกาเขาคิดว่าเขา pump เงินเข้าไปเขา pump ได้ แต่เขาเลือกไม่ได้ว่าเมื่อ pump แล้วเงินจะไปไหน เมื่อ pump ออกมาแล้วเงินมันจะไปเป็น choice ของเขาแล้วว่าเงินนั้นต้องไหลไปสู่ the highest growth area in the world และ the highest growth in the world ก็คือเอเซีย ซึ่งมันไม่มีใคร doubt ตรงนี้ เพียงแต่แค่ short-term คนก็แค่กลัวว่าเงินเฟ้อในเอเชียมันแรงกว่าที่อื่นในโลก เมื่อแรงกว่ารัฐบาลแต่ละรัฐบาลในเอเชียต้อง step in เข้ามาทำอะไรบ้างอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการขึ้นดอกเบี้ยหรือ exchange control หรือ capital control บางคนพูดถึงอย่างนั้น แต่อันนี้คงไม่เกิดขึ้น แต่ถ้ามัน extreme จริงมันคงต้องมีคนทำงานได้
แต่พอขึ้นดอกเบี้ยไปเรื่อยๆ เงินเฟ้อมันเกิน 4 เปอร์เซนต์ คือทุกคนก็กลัวเรื่อง short-term intervention ในเรื่องพวกนี้ เพราะฉะนั้นคนก็เลยเอาเงินออกไปอเมริกา แต่พอเอาออกไปจนจบ ราคาหุ้นอเมริกาก็ขึ้นมาจนถึงจุดหนึ่งแล้ว ขึ้นมาเยอะนะ ผมคิดว่าหุ้น S&P มันขึ้นมา double แล้ว คือขึ้นมาถึงเกือบ 100 เปอร์เซนต์นับจากในเวลาที่ crisis by 2008 เพราะฉะนั้น recover มันเร็วมาก
ASTV ผู้จัดการ - ส่วนใหญ่คนมองว่ารอบที่แล้วแบงก์ชาติไม่ควรรีบขึ้นดอกเบี้ย แล้วทาง CLSA มองยังไง หรือแปลความการส่งสัญญาณถึงตลาดจากทางแบงก์ชาติยังไง
ปริญญ์ - สำหรับเมืองไทยผมมองว่าจริงๆ ดอกเบี้ยไม่ควรขึ้นมากไปกว่านี้ แต่ก็สามารถขึ้นได้อีกนิดหน่อยก็ได้ แต่หากเขาจะออก plan มาทำอะไรบางอย่าง เช่น มาคอย control price อะไรบางอย่าง แต่ก็ใช่ครับ เศรษฐกิจไทยจริงๆ ไม่จำเป็นต้องขึ้นดอกเบี้ยขนาดนั้น และเขาก็ขึ้นไปก่อนหน้านั้นแล้ว ซึ่งจริงๆ แล้วฝรั่งชอบนะเรื่องนี้ เหมือนกับว่ามันเป็น conservative management ฝรั่งที่มองไทยเขามองแบบเรียบๆ ไงว่าประเทศนี้ inflation ต้องมาแน่
คือคนไทยเองมองบ้านเราเองอาจคิดว่าอย่าขึ้นเลยเพราะเรายังมีสภาพคล่องเยอะ แต่ฝรั่งกลับมองว่าแบงก์ชาติ conservative ดี pro-active ไว้ก่อน เขาชอบใครที่ hawkish และ pro-active ไว้ก่อนอย่างนี้จะดี ดูอย่างอินโดนีเซียไม่ขึ้น 2 ครั้งหุ้นถูกเทขายภายใน 1-2 วัน เพราะอินโดนีเซียคิดเหมือนเราคือไม่ต้องต้องขึ้นหรอกดอกเบี้ย ยังมี capacity และ inflation ยังไม่แรงcore-inflation ก็ยังต่ำ เขามองแค่ core ไม่สูง แต่ headline มันวิ่งไปแล้ว ผมคิดว่าดอกเบี้ยไทยถ้ามองแบบ aggressive มองทั้ง official view ผมยังมองว่าน่าจะขึ้นอีก 1 เปอร์เซนต์ภายใน 1 ปี ก็คือกลับไป normalize ที่ 3.5 จากตอนแรกที่ normalizeไว้ที่ 2.5 ซึ่งถ้า growth มันโตขึ้นมาจริงๆ แล้วผมว่าอาจจะโอเคนะ 3.5
ส่วนการส่งสัญญาณดอกเบี้ยครั้งล่าสุดของแบงก์ชาติ ผมคิดว่าเขาน่าจะต้องการ manage flow as expectation จริงๆ flow expectation มันเป็น inflation ของเงินเฟ้อ คือเขาคงไม่ต้องการให้คน build expectation ว่าราคามันจะขึ้น แต่ถ้าคุณ dump expectation ได้ก่อนคุณจะชนะ battle ไปเกือบครึ่งแล้ว ผมเชื่อว่าแบงก์ชาติต้องการจะส่งสัญญาณที่ชัดเจนว่าหากคุณจะรบกับ inflation ได้ คุณต้อง manage expectation of inflation ได้มากกว่า ถ้าคุณ manage ได้คุณก็จะ maintain ได้มากกว่า นั่นคือสิ่งที่แบงก์ชาติส่ง signal มามากกว่า จริงๆ ผมก็อยากจะพาพวกแบงก์ชาติไปเจอพวกนักลงทุนต่างชาติ แต่ ดร. ประสาร (ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่า ธปท.) ก็ยังไม่ยอมไปเสียที
ดร.ประสารตอนสมัยอยู่ที่ K Bank ผมเจอแกบ่อยมาก แกน่ารัก นิสัยดีมาก พูดนุ่มนวล ต่างชาติชอบ แต่แกเผลอไปพูด 2-3 ทีก่อนแกจะเป็นผู้ว่า แต่แกก็ follow up และทำจริงนะ เพราะแกพูดว่าแกจะขึ้นดอกเบี้ย แกก็ขึ้นจริงๆ คือฝรั่งชอบเพราะไปพูดว่าจะขึ้นและก็ขึ้นจริง ฝรั่งเขาชอบที่ขึ้นดอกเบี้ย และเขาก็มอง positive นะ เพราะเขามองว่า Thailand stays ahead the curve และคิดว่าแบงก์ชาติ stays ahead the curve เพราะทุกคนมองว่า inflation ปัญหาไม่จบ เป็นอะไรที่พวกเราคุยกัน เพราะราคาสินค้าเกษตรตอนนี้จะขึ้นต่อแน่นอน ราคาน้ำมันตอนนี้ก็มีสิทธิที่จะสูงมากกว่านี้ได้อีก ราคาค่าจ้างงานสูงขึ้นแน่นอน เพราะฉะนั้น trend ยังไงๆ เงินเฟ้อมันจะสูงขึ้น
คือตอนนี้มันยังไม่ peak ไง มันอาจจะไป peak ที่ 5 เปอร์เซนต์กว่าในจีนสักเดือน เม.ย. หรือ พ.ค. คือถ้าหากมองเรื่องหุ้นในตอนนี้นะ เรื่องปัญหาเงินเฟ้อให้มอง 2 อย่างคือ action ในเอเชียทั้งหมด เวลาที่คุยกับนักลงทุนทั้งหมดเขาจะมองกัน 3-4 ตัวเลขคือ CPI ในจีนว่าจะออกเท่าไหร่ เขาหวังกันว่าจะ peak 5 เปอร์เซนต์ในเดือน เม.ย. ถ้าเป็นไปตามนี้ผมว่าหุ้นเอเชียวิ่งแน่นอน เพราะมันจะแปลว่ารัฐบาลจีนจะเริ่ม relax เรื่องการปล่อยกู้มากขึ้น จะไม่ขึ้นดอกเบี้ยนั่นคือเขาจะเริ่มมี tone ที่จะออกมา relax มากขึ้น แต่ตอนนี้คือ tone ยังไม่ relax อาจจะ relax title น้อยลง แต่ก็ยังไม่ relax รัฐบาลจีนเขา finding พวกนี้ เขาดูราคาที่ดินในจีนแล้ว ราคา property price, volume ซึ่งตอนนี้ sign ดีมาก volume น้อยลง และ price เริ่ม flat แล้ว ซึ่งมันเป็น sing ที่ดีถ้าราคาที่ดินเริ่มลง volume ไม่เยอะ ราคาบ้านไม่โตมากนัก รัฐบาลจีนก็ไม่ต้องใส่ยาอื่นที่จะทำให้มันรุนแรงขึ้นไปได้อีกก็จะดีกับหุ้นในเอเชีย
ผมมองว่าตลาดหุ้นไต้หวันจะดี เพราะปีนี้เขาจะมี... คือตอนนี้ไต้หวันโดนเรื่อง supply chain จากที่ญี่ปุ่นมีปัญหาทำมี destruct supply chainซึ่งอาจทำให้สินค้าที่ส่งออกไปยังอเมริกาชะลอตัวในระยะสั้นได้ แต่ว่าทางไต้หวันกับจีนตอนนี้มันมีเรื่อง capital link city ที่ว่าครอบครัวของไต้หวันสมัยก่อนอพยพไปอยู่ในจีนเยอะมากและเข้าไปทำธุรกิจทำอะไรกันในจีน แล้วจีนก็ไม่เคยช่วยไต้หวัน ไม่เคยลงทุนในไต้หวัน ไม่อยากยุ่งเกี่ยวกันไต้หวัน และก็เกือบจะยิง missile ใส่กัน ตอนนี้ก็เริ่มกลับจากหน้ามือเป็นหลังมือ คือจีนชัดเจนว่าจะลงทุนมากขึ้น ซื้อบริษัทไต้หวันส่งไชน่า โมบาย ไปซื้อไต้หวัน เทเลคอม และดูว่าจะซื้อแบงก์ไหนไม๊ ชัดเจน
ส่วนทางไต้หวันเองก็ relax ในเรื่องการเอาเงินจากคนไต้หวันที่ไปรวยและเก่งอยู่ในต่างประเทศเยอะมาก ก็เริ่มปล่อยให้คนพวกนี้เอาเงินกลับมาได้โดยไม่ต้องคิดภาษี เพราะฉะนั้นจึงมีเงินทุนไหลเข้ากลับไปยังไต้หวันจริง และการสร้างบ้านในไต้หวัน property ราคาที่ดินถูกและเริ่มขยับขึ้น เพราะพวกญาติๆ ของไต้หวันที่อยู่ในจีนเริ่มเข้ามาซื้อ second home อาจจะไม่ได้กลับมาอยู่อย่างถาวร แต่อย่างน้อยก็ใช้พักร้อนได้ และตอนนี้การเดินทางก็ normalize ระหว่างจีนกับไต้หวันจากเมื่อก่อนที่จีนกลับไต้หวันไม่ได้ และก็เช่นเดียวกันที่ไต้หวันก็เข้าจีนยาก
ตอนนี้ทั้งธุรกิจ ทั้ง airline และ travel มันเริ่ม free flow มากขึ้นแล้ว และเขาเริ่มเพิ่มจำนวน flight มากขึ้นเรื่อยๆ เพราะฉะนั้น activity ในการซื้อขายสินค้าหรือท่องเที่ยวทุกอย่างมันเพิ่มขึ้นแน่นอน และทางไต้หวันจะมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีและสภาชุดใหม่ต้นปีหน้า เขาต้อง boot stimulate packageแน่นอนเหมือนไทย เพราะทางไต้หวันยังต้อง upgrade infrastructure อีกเยอะมาก
อย่างสนามบินที่ไต้หวันที่ตอนนี้เก่ายิ่งกว่าสนามบินของลาวหรือพม่า สนามบินของพม่าดีกว่าไต้หวันเป็นไปได้ไง สนามบินไต้หวันที่เป็น international airport โอเคเขามี terminal ใหม่เล็กๆ อีกอันหนึ่งแต่ terminal ที่ใหญ่สุดก็เก่าแก่มากแล้ว และต้อง upgrade อีกเยอะมาก เขาก็มี investment plan เป็น R-twelve เป็นอะไรระยะสั้น โดยรวมไต้หวันยังต้อง upgrade infrastructure อีกเยอะ และจะมีจีนมาช่วยสร้าง ช่วยอะไร การเลือกตั้งในไต้หวันมันเป็นการเลือกพรรคการเมือง 2 พรรค จริงๆ แล้วคนที่ anti จีนอีกเยอะก็ยังมีอยู่นะ แต่ตอนนี้พรรคที่ pro-Chinese เขายังได้เป็นรัฐบาลอยู่ทุกอย่างก็เลยดีขึ้น
ASTVผู้จัดการ - แล้วที่ทางญี่ปุ่นที่มีปัญหามันจะกระทบกันภาพรวมตลาดหุ้นเอเชียแค่ไหน
ปริญญ์ - ผมกลับมองว่าจริงๆ แล้วญี่ปุ่นเป็นตลาดที่ผลได้ในเชิงที่... คือจริงๆ asset inflation หรือ inflation ในเอเชียนี่ญี่ปุ่นได้รับเต็มที่สุด เพราะญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ต้องการเงินเฟ้อมากที่สุด คราวนี้คือจะมีอะไรก็ได้ที่กระตุ้นให้ญี่ปุ่น spend กระตุ้นให้คนญี่ปุ่นลุกออกมาใช้จ่าย ลงมา upgrade ลงมาทำอะไร การที่เกิด earthquake ระยะยาวจะเป็นข้อดีที่เกิดขึ้นมาจากความเสียหายหรือโอกาสในหายนะ การที่ญี่ปุ่นต้องมา reconstruction มันจะมี sector ที่ได้ประโยชน์แน่ๆ อย่างพวก construction, ซีเมนต์, เหล็ก, เฟอร์นิเจอร์, การก่อสร้างที่เกี่ยวกับที่ดินและการก่อสร้างบ้านใหม่พวกนี้
แต่สิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นกับญี่ปุ่นและมันก็ทำให้เกิดปัญหาหนึ่งกับเอเชียคือเรื่องนิวเคลียร์ เพราะ target เรื่อง carbon emissionที่จีนและหลายๆ ประเทศกำลังจะ meet การจะ reduce carbon consumption มันอาจจะทำให้ meet ยากขึ้น เพราะตอนแรกจีนเขามี target ที่ aggressive มากในการใช้นิวเคลียร์ให้เป็น power support ของเขา 10-20 เปอร์เซนต์ คือเขาจะลดถ่านหินซึ่งอาจถือว่าไม่สะอาด ต้องลดน้ำมัน และต้องมีนิวเคลียร์มา support แทน แน่นอนลมกับแสงอาทิตย์อาจช่วยได้บ้าง แต่เป็นอะไรที่ไม่แน่นอนและไม่ reliable แต่นิวเคลียร์เป็นพลังงานที่ reliable ที่สุดแม้อาจจะไม่ใช่ปลอดภัยที่สุดก็ตาม
จริงๆ แล้วทางจีนตอนแรกเขา rank up เร็วมาก และก็สั่งซื้อพวกยูเรเนียมจากออสเตรเลียเยอะมาก จะสังเกตุได้ว่าหุ้นกลุ่มยูเรเนียมของออสเตรเลียตกกันหมดเลยตอนนี้ เพราะจีนเขา delay plan ทางยุโรปก็ delay plan ออกไปด้วย หุ้นทางออสเตรเลียก็เลยตกลง ตรงนี้มันจะทำให้เกิดจุดที่การจะ meet target ไอ้ตัว global warming อาจทำได้ช้าลง และทำให้ธุรกิจถ่านหินดีขึ้นทั้งเอเชีย
หุ้นบริษัทถ่านหินเริ่มขึ้นแล้ว อย่าง บ้านปู หรือหุ้นบริษัทถ่านหินของบริษัทในอินโดนีเซีย หรือของที่บ้านปูไปถือหุ้นอยู่ด้วย เพราะแม้คนเราจะพยายามหา new available resource หรือจะพยายามหานิวเคลียร์ ลม โซล่าร์ น้ำ หรืออะไรก็แล้วแต่ แต่ตัว resource ที่ใช้ได้ถูกที่สุด มี efficiency ที่สุดที่จะ generate electricity ซึ่งเป็น growthก็คือถ่านหินอยู่ดี เมื่อวันก่อนที่ผมเพิ่งทำตัวเลขขึ้นมาเราพบว่ามีคนกว่า 2,000 คนในเอเชียที่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้ ซึ่งยังต้องใช้ถ่านหินอีกเยอะ
ถามว่าญี่ปุ่นกระทบเอเชียมากไหม ผมว่าไม่น่าจะเยอะนะ อาจมีกระทบการส่งออกนิดหน่อย แต่เมืองไทยเรากระทบน้อยมากเลย เพราะอาจจะมีการ delay project บางอัน แต่เท่าที่คุยกับบริษัทมามันไม่ได้เยอะขนาดนั้น ผมคิดว่าเผลอๆ บางบริษัทจะดีขึ้นด้วย อย่างเช่น SNC ที่ได้ order จากไดกิ้นมากขึ้น ไดกิ้นทำแอร์ SNC ส่งทั้งท่อแอร์ให้เขาก็ได้ outsource มากขึ้น คือไดกิ้นที่ญี่ปุ่นเขา outsource เยอะ เขาก็ต้อง outsource ให้เมืองไทยทำมากขึ้นมากขึ้น กลับกลายเป็นว่าบางอย่างก็ต้องมา outsource ในเมืองไทยเพิ่มขึ้นเพื่อ accelerate ให้เร็วขึ้น
เมื่อกี้ที่ผมพูดเรื่อง refinery, ปิโตรเคมี margin มันสูงขึ้นแน่นอน เพราะ capacity ใหญ่ของญี่ปุ่นที่มีเรื่องพาราไซลีน และอื่นๆ ตอนนี้ capacity เขาลดลงฮวบไปเลยซึ่งมัน 5 เปอร์เซนต์ของ global supply ที่มันหายไป ประเทศอย่างไต้หวัน, เกาหลี ได้ไปก่อนเต็มๆ เพราะเขา supply ใส่ญี่ปุ่นโดยตรง ไทยเราก็เป็น second beneficiary คือ demand, supply spared มันจะ tight ขึ้น แต่ไทยอย่าง TUFเขาบอกว่า demand ส่งออกเขาเพิ่มขึ้น
ปีนี้ earning บริษัท SNC จะดีมากเลย แต่ราคาหุ้นขึ้นมาจาก 5 บาท จะ 20 บาท แล้ว ยิ่งญี่ปุ่นเป็นอย่างนี้แล้ว earning ปีนี้เขาจะดีมากเลยคือ earning SMC ปีนี้ไม่ธรรมดาแน่แล้ว yield 7- 8 เปอร์เซนต์ แล้วต่างชาติก็ยังไม่ค่อยรู้จัก และผมจะพาเขาไปโรดโชว์ที่ฮ่องกง สิงคโปร์
คือจริงๆ ผมพยายามจะหาบริษัทที่ต่างชาติไม่ค่อยรู้จัก คือจริงๆ บ้านเรามีธุรกิจหลายธุรกิจที่น่าสนใจและเป็นจุดแข็งของประเทศ แต่ต่างชาติบางคนก็ซื้อหุ้นพวกนี้ไม่ได้ เพราะเล็กไป หรือ liquidity น้อยไป แต่ตอนนี้ฝรั่ง อย่าง ฟิเดลลิตี้หรือแคปิตอล ถ้ามีระยะยาวมากขึ้นเขาถือ 5 ปี เขาไม่กลัวอะไร ยกตัวอย่างๆ ไดนาสตี้ เซรามิกส์ คุณรุ่งโรจน์ แสงศาสตรา ที่เป็น founder ผมพาไปโรดโชว์ครั้งแรกเมื่อ 5 ปีที่แล้วปี 2005
อย่างไดนาสตี้ เซรามิกส์ เมื่อก่อนคนซื้อไม่ได้เลย พอเริ่มขึ้นคนก็มาซื้อกันแล้ว มาซื้อกันตอนมันขึ้นไป 5 เท่าแล้ว หรือ IBL บริษัทที่ดีมาก ตั้งแต่ 3 บาท ตั้งแต่สมัยผมอยู่ดอยช์แบงก์ ผมกับทิสโก้ก็พาไปเมื่อ 5-6 ปีที่แล้ว แต่ไม่มีใครสนใจ ไม่มีใครอยากเจอ เจอน้อยมาก พาไปต่างชาติ 3 บาทไม่ซื้อ พอ 60 บาทอยากจะเจอกัน คือฝรั่งบางทีเราคุยกับเขา ฝรั่งความรู้เรื่องการลงทุนน้อย คนไทยนักลงทุนรายย่อยบางคนเสียอีกที่ฉลาด เล่นหุ้น และรู้หุ้นไทยดีกว่าฝรั่ง บางทีคนไทยบางคนก็คิดว่าไทยต้องตามฝรั่ง ต้องเข้าตามฝรั่ง
ASTVผู้จัดการ - ถ้าให้ focus ว่านักลงทุนต่างชาติมองหุ้นไทยที่นอกเหนือจากพลังงานและแบงก์ ยังมีตัวไหนอีกไม๊ที่เขากำลังให้ความสนใจกัน
ปริญญ์ - ต่างชาติจริงๆ แล้วพลังงานกับแบงก์คนเริ่มรู้จักหุ้นกันดีอยู่แล้ว แต่ sector ที่ฝรั่งเขาเริ่มมาศึกษามากขึ้นมันเป็น sector ที่เล็กลงมา อย่างเช่น property เพราะเดี๋ยวจะมี LH Bank จะ list ใช่ไหม ซึ่งเราหวังว่าจะได้ list มันอาจจะไม่ใหญ่มากแค่ 500 กว่าล้านเหรียญ แต่มันก็เป็นอะไรที่ทำให้ต่างชาติจะหันกลับมามองบริษัท property ของเมืองไทยเรา
จริงๆ หลายบริษัทยังถูกมาก อย่างถ้าพูดถึงบริษัทอย่างควอลิตี้ เฮาส์ ซึ่งถึงแม้ว่าเขาจะขายหลังสวน คอนโดฯ ได้ยากแต่ก็ยังเทรดกันแค่ 9 เท่าของพีอีปีนี้แล้ว yield ตั้ง 7 เปอร์เซนต์ผมว่าควอลิตี้ เฮาส์ ถูกมากเมื่อเทียบกับ asset ที่เขามี เขามีสิทธิ์ในโฮมโปรเขาจะออกโฮมโปร 20 เปอร์เซนต์ เขาถือ LH Bank ถ้าเกิด LH Bank list ผมว่าคนจะกลับมามอง sector นี้แน่นอน LPN, พฤกษา เป็นผู้นำในตลาดล่างและคนก็ยังชอบอยู่
หุ้น 2 ตัวนี้ฝรั่งชอบมาก เวลามาขอ financial model เรา 2 ตัวนี้ก็เป็นตัวที่ฝรั่งเขาทำการบ้านมากที่สุดตอนนี้ และแลนด์แอนด์เฮาส์เป็นบริษัทใหญ่แต่ราคาก็ไม่ได้ถูกที่สุด คือจริงๆ แลนด์ฯ ปีนี้จะโตดีมากนะ แต่เขาไม่ค่อยชอบไปโรดโชว์ พฤกษา LPN จริงๆ แล้วก็ไม่ไปนะ พวกนี้ไปน้อย คนที่ไปโรดโชว์ตอนนี้มีแต่แสนสิริที่ไปมา ฝรั่งยังไม่ค่อยเท่าไหร่กับแสนสิริ แต่แสนสิริเริ่มทำมากขึ้น แสนสิริเป็นหุ้นที่น่าสนใจเพราะอะไร ผมฟันธงเลยว่า 99 จาก 100 จะบอกว่าไม่ชอบหุ้นแสนสิริ เพราะเขาคิดว่าคงไม่มีโอกาสหรอกมั๊ง เวลาที่เราให้ฝรั่งซื้อหุ้นอะไรเราก็พยายามให้ซื้อหุ้นที่คนยังไม่ชอบเพราะมันจะพลิก เวลาที่ฝรั่งเขาให้เราแนะนำอะไรเขาต้องการขอที่แน่ใจว่าจะโตติดต่อกันอย่างแน่นอน อย่าง ซีพีออลล์ปีนี้จะโต 20 เปอร์เซนต์ อย่างนี้ชอบ แต่หุ้นมันแพงเพราะคนมันรู้จักหมดแล้ว แต่อย่างแสนสิรินี่ตรงกันข้ามคือเกือบทุกคนจะไม่ชอบ และก็จะไม่รู้จักเท่าไหร่
ผมว่า natural growth ของ property ในเมืองไทยมันยังไปได้อีก เพราะมันยังเป็น early stage ที่คนซึ่งเคยอยู่กับพ่อกับแม่เริ่มไม่เอาแล้ว แต่อยากเริ่มมาซื้อบ้านเดี่ยวอยู่เอง ทำงานก็เริ่มมีรายได้ขึ้น เพราะแสนสิริมัน build brand เป็น... เสียเยอะ มันเป็นไม่ได้ เพราะมันเป็นหุ้นที่คนเกลียดกันมากที่สุดแล้ว
ธุรกิจจริงๆ ในเมืองไทยที่ตอนนี้คนอยากซื้อกันมากๆ คือเป็นอะไรที่เกี่ยวกับ service sector อย่างเช่นเรื่องโรงพยาบาล หรือพวก healthcare sector หุ้นตอนนี้ก็ไม่ได้ถูกแล้ว และหุ้นก็ไม่ได้ liquid มาก บางกอก ดุสิต แมดิคอล ก็วิ่งมาสวยงามตั้งแต่ 10 กว่าบาทมาจน 50 กว่าบาทแล้วมั๊งตอนนี้ บำรุงราษฏร์ก็ไม่ growth มันเป็นอะไรบางตัวที่เขาชอบ แต่ก็คิดว่าบางอันอาจจะแพงไป ส่วนเอราวัณตอนนี้หุ้นดีมากเลย แบบว่าตอนนี้คือมันถูกมาก บ้านปูเป็น natural growth rate เขาโตได้อย่างสบายๆ เลยนะ 20 เปอร์เซนต์ บ้านปูนี่ management ก็ดีด้วย เขามี asset ในจีนที่ดีมากซึ่งถือว่า undervalue มาก ตรงนั้น annalist เริ่มไปดูกันมาก จริงๆ ไทยเราโชคดีนะที่มีทั้ง resource, bank, property