ASTVผู้จัดการรายวัน- “มาร์ค” ชิ่งไป“อินเดีย”วันนี้ อ้างรอข้อมูลสรุปศาลรัฐธรรมนูญ หนีถกบันทึกเจบีซี 3 ฉบับ “ เทือก” รอดูท่าทีเขมร คุย “จีบีซี”อีกรอบ ด้าน”กลาโหม” ยัน ต้องทวิภาคีเท่านั้น ไม่มีความจำเป็นใช้ประเทศที่ 3 ชี้หากยื้อ! ต้องขออนุญาตรัฐสภาตาม มาตรา190 วรรคสอง
เวลา 16.30 น.วานนี้ (3 เม.ย.) ที่สนามบิน ขส.ทบ. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงการประชุมรัฐสภาเพื่อพิจารณาบันทึกการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม (เจบีซี) ไทย-กัมพูชา จำนวน 3 ฉบับ ในวันที่ 5 เมษายนนี้ ว่าในวันที่ 5 เมษายนไม่มีการประชุมรัฐสภาแล้ว เพราะต้องรอให้ศาลรัฐธรรมนูญประสานงานมาก่อน แต่เชื่อว่าไม่น่าจะเป็นปัญหา ยังเดินหน้าการประชุมเจบีซีไทย-กัมพูชา ที่จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 7-8 เมษายนนี้ได้ต่อไป เพราะไม่จำเป็นต้องรับรองเอกสารดังกล่าวก่อน ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศประสานไปยังกัมพูชา และทุกอย่างก็เรียบร้อยแล้ว
**ชิ่งไปอินเดีย4-6 เม.ย.นี้
รายงานข่าวแจ้งว่า วันที่ 4-6 เมษายนนี้ นายอภิสิทธิ์ และคณะบุคคล อาทิ นายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ รมว.อุตสาหกรรม นายอลงกรณ์ พลบุตร รมช.พาณิชย์ มีกำหนดการเดินทางเยือนสาธารณรัฐอินเดียอย่างเป็นทางการ เพื่อเสริมสร้างปฏิสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องระหว่างผู้นำระดับสูงของไทยและอินเดีย และแสดงถึงความสำคัญที่ไทยให้กับอินเดียอย่างต่อเนื่องตามนโยบายมุ่งตะวันตกของไทย รวมถึงส่งเสริมการขยายความร่วมมือด้านการค้า ตามความตกลงด้านการค้าเสรีที่มีอยู่
** เทือก รอดูท่าทีเขมรอีกรอบ
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่พล.อ.เตีย บัญห์ รมว.กลาโหมของกัมพูชา ระบุว่าการประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไป(จีบีซี)ไทย-กัมพูชา จะต้องจัดขึ้นที่ประเทศอินโดนีเซีย และให้อินโดนีเซียเข้าไกล่เกลี่ยปัญหาโดยอ้างว่าเป็นมติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ(ยูเอ็นเอสซี) ว่า หลังจากที่ตนกลับมาถึงกรุงเทพฯ จะหารือร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงกลาโหม เพื่อดูท่าทีว่าเมื่อฝ่ายกัมพูชาเป็ยอย่างนี้ เราจะดำเนินการอย่างไร เพราะพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม ได้ประสานกับทางกัมพูชาอยู่ตลอด แต่ท่าทีของกัมพูชาก็เปลี่ยนอยู่เรื่อยๆ การทำความสัมพันธ์กับเขาจึงไม่ใช่เรื่องง่าย
นายสุเทพ กล่าวว่า การที่ทางกัมพูชาจะให้อินโดนีเซียเข้ามาเป็นผู้ไกล่เกลี่ยยนั้น ก็เป็นเรื่องที่ฟังได้ มติของยูเอ็นเอสซีระบุว่าที่กัมพูชาจะนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของยูเอ็นเอสซี เขาก็อยากให้ทั้ง 2 ประเทศมาคุยกันเอง และมีอาเซียนเข้ามาร่วมเจรจาลักษณะเป็นผู้มาสังเกตการณ์ แต่ถ้ากัมพูชาจะมีความคิดอย่างไร เราก็พร้อมรับฟังและปรับให้เข้ากันเพื่อให้เจรจากันได้
การเจรจาที่กัมพูชาบอกว่าไทยไม่จริงใจนั้น ความจริงคือความจริง เราตั้งใจที่จะให้มีการเจรจาระหว่าง 2 ประเทศ จะมาบอกว่าเราไม่ตั้งใจก็ไม่ได้ แต่เมื่อเขากำหนดเงื่อนไขและท่าทีออกมา เราต้องมาปรึกษากัน ซึ่งจุดยืนก็ต้องพิสูจน์ว่าพื้นที่ข้อพิพาทยังเป็นพื้นที่พิพาท จึงต้องนำหลักฐานต่างๆมาพิจารณาตามข้อเท็จจริง
เมื่อถามย้ำว่ารัฐบาลจะฟังการตัดสินใจของกองทัพมากน้อยแค่ไหน นายสุเทพ กล่าวว่า ต้องให้ความสำคัญกับความเห็นของกระทรวงกลาโหม เช่นเดียวกับที่ฟังจากกระทรวงการต่างประเทศ
**ไฟเขียวอินโดระวังขัดรธน.
พ.อ.ธนาธิป สว่างแสง โฆษก กระทรวงกลาโหม ให้สัมภาษณ์ว่า กระทรวงกลาโหมไทยยังคงยืนยันในจุดยืนเดิมการประชุมจีบีซีต้องแบบทวิภาคีเท่านั้น หากประเทศกัมพูชาไม่สามารถจัดการประชุมได้ทางไทยก็พร้อมเป็นเจ้าภาพจัดประชุมแทน ดังนั้น ไม่มีความจำเป็นที่ต้องไปจัดการประชุมที่ประเทศอินโดนีเซีย หรือประเทศที่ 3 เพราะสถานการณ์ระหว่างไทย-กัมพูชาในขณะนี้ดีขึ้นอยู่ในสภาวะปกติ ช่องทางด่านข้ามชายแดนประชาชนทั้ง 2 ประเทศยังคงไปมาหาสู่กันได้ มีการค้าขายตามปกติ ทั้งนี้ หากจะมีการประชุมนอกกรอบหรือนอกประเทศไทยหรือกัมพูชา ต้องผ่านรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญ ปี'50 มาตรา 190 วรรคสอง จะทำให้การประชุมจีบีซี ไทย-กัมพูชาต้องล่าช้าออกไป.
เวลา 16.30 น.วานนี้ (3 เม.ย.) ที่สนามบิน ขส.ทบ. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงการประชุมรัฐสภาเพื่อพิจารณาบันทึกการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม (เจบีซี) ไทย-กัมพูชา จำนวน 3 ฉบับ ในวันที่ 5 เมษายนนี้ ว่าในวันที่ 5 เมษายนไม่มีการประชุมรัฐสภาแล้ว เพราะต้องรอให้ศาลรัฐธรรมนูญประสานงานมาก่อน แต่เชื่อว่าไม่น่าจะเป็นปัญหา ยังเดินหน้าการประชุมเจบีซีไทย-กัมพูชา ที่จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 7-8 เมษายนนี้ได้ต่อไป เพราะไม่จำเป็นต้องรับรองเอกสารดังกล่าวก่อน ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศประสานไปยังกัมพูชา และทุกอย่างก็เรียบร้อยแล้ว
**ชิ่งไปอินเดีย4-6 เม.ย.นี้
รายงานข่าวแจ้งว่า วันที่ 4-6 เมษายนนี้ นายอภิสิทธิ์ และคณะบุคคล อาทิ นายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ รมว.อุตสาหกรรม นายอลงกรณ์ พลบุตร รมช.พาณิชย์ มีกำหนดการเดินทางเยือนสาธารณรัฐอินเดียอย่างเป็นทางการ เพื่อเสริมสร้างปฏิสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องระหว่างผู้นำระดับสูงของไทยและอินเดีย และแสดงถึงความสำคัญที่ไทยให้กับอินเดียอย่างต่อเนื่องตามนโยบายมุ่งตะวันตกของไทย รวมถึงส่งเสริมการขยายความร่วมมือด้านการค้า ตามความตกลงด้านการค้าเสรีที่มีอยู่
** เทือก รอดูท่าทีเขมรอีกรอบ
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่พล.อ.เตีย บัญห์ รมว.กลาโหมของกัมพูชา ระบุว่าการประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไป(จีบีซี)ไทย-กัมพูชา จะต้องจัดขึ้นที่ประเทศอินโดนีเซีย และให้อินโดนีเซียเข้าไกล่เกลี่ยปัญหาโดยอ้างว่าเป็นมติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ(ยูเอ็นเอสซี) ว่า หลังจากที่ตนกลับมาถึงกรุงเทพฯ จะหารือร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงกลาโหม เพื่อดูท่าทีว่าเมื่อฝ่ายกัมพูชาเป็ยอย่างนี้ เราจะดำเนินการอย่างไร เพราะพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม ได้ประสานกับทางกัมพูชาอยู่ตลอด แต่ท่าทีของกัมพูชาก็เปลี่ยนอยู่เรื่อยๆ การทำความสัมพันธ์กับเขาจึงไม่ใช่เรื่องง่าย
นายสุเทพ กล่าวว่า การที่ทางกัมพูชาจะให้อินโดนีเซียเข้ามาเป็นผู้ไกล่เกลี่ยยนั้น ก็เป็นเรื่องที่ฟังได้ มติของยูเอ็นเอสซีระบุว่าที่กัมพูชาจะนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของยูเอ็นเอสซี เขาก็อยากให้ทั้ง 2 ประเทศมาคุยกันเอง และมีอาเซียนเข้ามาร่วมเจรจาลักษณะเป็นผู้มาสังเกตการณ์ แต่ถ้ากัมพูชาจะมีความคิดอย่างไร เราก็พร้อมรับฟังและปรับให้เข้ากันเพื่อให้เจรจากันได้
การเจรจาที่กัมพูชาบอกว่าไทยไม่จริงใจนั้น ความจริงคือความจริง เราตั้งใจที่จะให้มีการเจรจาระหว่าง 2 ประเทศ จะมาบอกว่าเราไม่ตั้งใจก็ไม่ได้ แต่เมื่อเขากำหนดเงื่อนไขและท่าทีออกมา เราต้องมาปรึกษากัน ซึ่งจุดยืนก็ต้องพิสูจน์ว่าพื้นที่ข้อพิพาทยังเป็นพื้นที่พิพาท จึงต้องนำหลักฐานต่างๆมาพิจารณาตามข้อเท็จจริง
เมื่อถามย้ำว่ารัฐบาลจะฟังการตัดสินใจของกองทัพมากน้อยแค่ไหน นายสุเทพ กล่าวว่า ต้องให้ความสำคัญกับความเห็นของกระทรวงกลาโหม เช่นเดียวกับที่ฟังจากกระทรวงการต่างประเทศ
**ไฟเขียวอินโดระวังขัดรธน.
พ.อ.ธนาธิป สว่างแสง โฆษก กระทรวงกลาโหม ให้สัมภาษณ์ว่า กระทรวงกลาโหมไทยยังคงยืนยันในจุดยืนเดิมการประชุมจีบีซีต้องแบบทวิภาคีเท่านั้น หากประเทศกัมพูชาไม่สามารถจัดการประชุมได้ทางไทยก็พร้อมเป็นเจ้าภาพจัดประชุมแทน ดังนั้น ไม่มีความจำเป็นที่ต้องไปจัดการประชุมที่ประเทศอินโดนีเซีย หรือประเทศที่ 3 เพราะสถานการณ์ระหว่างไทย-กัมพูชาในขณะนี้ดีขึ้นอยู่ในสภาวะปกติ ช่องทางด่านข้ามชายแดนประชาชนทั้ง 2 ประเทศยังคงไปมาหาสู่กันได้ มีการค้าขายตามปกติ ทั้งนี้ หากจะมีการประชุมนอกกรอบหรือนอกประเทศไทยหรือกัมพูชา ต้องผ่านรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญ ปี'50 มาตรา 190 วรรคสอง จะทำให้การประชุมจีบีซี ไทย-กัมพูชาต้องล่าช้าออกไป.