เอเอฟพี/รอยเตอร์ - นายกรัฐมนตรีนาโอโตะ คัง ของญี่ปุ่น ระบุวานนี้(31มี.ค.)ว่า จะต้องสั่งปิดโรงไฟฟ้าปรมาณู ฟูกูชิมะ ไดอิจิ ที่กำลังก่อให้เกิดปัญหาวิกฤตนิวเคลียร์อันย่ำแย่สาหัส ทว่าทางการแดนอาทิตย์อุทัยกลับแสดงอาการอิดออดไม่ต้องการขยายเขตอพยพผู้คนรอบโรงไฟฟ้าให้กว้างออกไปอีก ตามที่หน่วยงานชำนัญพิเศษของสหประชาชาติออกมาเสนอแนะ ภายหลังตรวจพบรังสีระดับน่าห่วงในหมู่บ้านซึ่งอยู่ห่างออกมา 40 กิโลเมตร ทางด้านน้ำในมหาสมุทรแปซิฟิกที่อยู่ใกล้ๆ โรงไฟฟ้าอัมพาตแห่งนี้ ก็พบปริมาณสารไอโอดีน-131 เพิ่มลิ่วขึ้นเป็น 4,385 เท่าของขีดสูงสุดที่กฎหมายอนุญาต
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่อาจจะถือเป็นข่าวดีได้ก็คือ การที่ประธานาธิบดีนิโกลาส์ ซาร์โกซี แห่งฝรั่งเศส มาเยือนกรุงโตเกียวเมื่อวานนี้ นับเป็นผู้นำต่างชาติคนแรกที่เดินทางมายังญี่ปุ่นตั้งแต่ที่เกิดเหตุแผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์สึนามิถล่มพื้นที่ชายฝั่งภาคตะวันออกเฉียงเหนือของแดนอาทิตย์อุทัยในวันที่ 11 มีนาคม แล้วติดตามมาด้วยวิกฤตนิวเคลียร์ที่โรงไฟฟ้าฟูกูชิมะ ไดอิจิ ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงโตเกียวไปทางเหนือประมาณ 250 กิโลเมตร
ทั้งนี้ผู้นำฝรั่งเศส ซึ่งมีฐานะเป็นประธานของกลุ่ม 20 ชาติที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ของโลก (จี20) วาระปัจจุบัน ใช้โอกาสนี้ เสนอว่าฝรั่งเศสจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมพวกเจ้าหน้าที่ด้านนิวเคลียร์ของกลุ่มจี20 ในเดือนพฤษภาคมนี้ เพื่อปรับปรุงยกเครื่องบรรทัดฐานและมาตรการต่างๆ ในด้านความปลอดภัยทางนิวเคลียร์กันเสียใหม่ โดยที่นายกรัฐมนตรีคังของญี่ปุ่น ก็ได้แสดงความสนับสนุน “เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดอุบัติภัยเช่นนี้ขึ้นมาอีก มันเป็นหน้าที่ของเราที่จะต้องแลกเปลี่ยนบทเรียนประสบการณ์ของเรากับทั่วโลกอย่างถูกต้องแม่นยำ” เขากล่าวระหว่างการแถลงข่าวร่วมกับซาร์โกซีภายหลังการหารือ
ก่อนหน้านั้น สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า คังซึ่งไปพบปะเจรจากับผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์ญี่ปุ่น ได้กล่าวออกมาอย่างชัดเจนว่า โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ ไดอิจิ จะต้องถูกถอนใบอนุญาตและปิดดำเนินการ
อันที่จริงได้มีเจ้าหน้าที่หลายรายพูดอย่างอ้อมๆ มาก่อนแล้วว่า โรงไฟฟ้าแห่งนี้จะต้องถูกปลดเกษียณ ทันทีที่สถานการณ์กลับเข้าสู่ภาวะเสถียร ขณะที่ สึเนฮิซะ คัตสึมาตะ ประธานบริษัทโตเกียว อิเล็กทริก เพาเวอร์ (เท็ปโก) ผู้ดำเนินการโรงไฟฟ้าแห่งนี้ ออกมายอมรับในวันพุธ(30) ว่า เตาปฏิกรณ์ 4 เครื่องจากจำนวนทั้งสิ้น 6 เครื่องของฟูกูชิมะ ไดอิจิ ซึ่งได้รับความเสียหายหนักนั้น แทบไม่มีโอกาสเอาเลยที่จะกลับมาใช้งานได้อีก และคงจะต้องปิดไป แต่เขายังแสดงความหวังว่าเตาปฏิกรณ์หมายเลข 5 และหมายเลข 6 ที่ไม่สู้เสียหายอะไรนัก น่าจะดำเนินการผลิตกระแสไฟฟ้าได้ต่อไป
สำหรับสถานการณ์รอบๆ โรงไฟฟ้าแห่งนี้ เท็ปโกแถลงว่า ผลการตรวจวัดระดับสารกัมมันตรังสีไอโอดีน-131 ในมหาสมุทรแปซิฟิก บริเวณใกล้ๆ โรงไฟฟ้า เมื่อวานนี้ พบว่าได้เพิ่มสูงขึ้นทำสถิติใหม่ที่ 4,385 เท่าของระดับสูงสุดซึ่งกฎหมายอนุญาต ระดับรังสีในบริเวณดังกล่าวมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยที่เมื่อวันศุกร์(25) วัดได้ 1,250 เท่าของขีดสูงสุด ต่อมาในวันเสาร์(26) ได้เพิ่มเป็น 1,850 เท่า, แล้วในวันอังคาร(29) เป็น 3,355 เท่า ก่อนจะมาอยู่ที่ 4,385 เท่าเมื่อวานนี้ดังกล่าว แนวโน้มเช่นนี้แสดงให้เห็นว่าสารกัมมันตภาพรังสีที่รั่วไหลจากเตาปฏิกรณ์ยังคงไหลลงมหาสมุทรอย่างต่อเนื่อง
ในอีกด้านหนึ่ง ทบวงพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (ไอเออีเอ) ที่เป็นองค์กรชำนัญพิเศษด้านนิวเคลียร์ของสหประชาชาติ ได้ออกมาแถลงเสนอแนะให้ญี่ปุ่นพิจารณาขยายพื้นที่ซึ่งประกาศให้เป็นเขตอพยพประชาชน
ข้อเสนอแนะนี้เป็นการหนุนหลังสิ่งที่องค์การพิทักษ์สิ่งแวดล้อม “กรีนพีซ” เคยเรียกร้องเอาไว้เมื่อไม่กี่วันก่อน อีกทั้งหลักฐานที่ใช้สนับสนุนก็เป็นเรื่องระดับกัมมันตภาพรังสีที่วัดได้จากหมู่บ้านลิตาเตะ ซึ่งอยู่ห่างจากโรงไฟฟ้าฟูกูชิมะ ไดอิจิ ประมาณ 40 กิโลเมตร เช่นเดียวกันด้วย โดยกรีนพีซบอกว่า ระดับรังสีที่หมู่บ้านดังกล่าวถือว่าเป็นอันตรายสำหรับชาวบ้านที่ต้องพำนักอาศัยเป็นเวลานานๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเด็กๆ และสตรีมีครรภ์ ซึ่งมีความเสี่ยงมากเป็นพิเศษ
สำหรับไอเออีเอนั้น เดนิส ฟลอรี หัวหน้าฝ่ายความปลอดภัยและความมั่นคงทางนิวเคลียร์ของไอเออีเอ กล่าวต่อที่ประชุมแถลงข่าวจากสำนักงานใหญ่ขององค์กรนี้ในกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ว่า ระดับรังสีที่พบในหมู่บ้านลิตาเตะ สูงเกินเกณฑ์ที่ถือกันว่าควรต้องสั่งอพยพประชาชน
โดยที่ เอเลนา บูโกลวา ผู้อำนวยการของศูนย์เหตุการณ์และภาวะฉุกเฉินทางนิวเคลียร์ ของไอเออีเอ ระบุว่า วัดกัมมันตภาพรังสีที่หมู่บ้านแห่งนั้นได้ 2 เมกะเบคเคอเรลต่อตารางเมตร ซึ่งเป็นอัตราส่วนที่สูงกว่าระดับที่ไอเออีเอแนะนำให้อพยพประชาชน “ราวสองเท่าตัว”
ทั้งนี้ไอเออีเอได้แนะนำญี่ปุ่นให้ “ประเมินสถานการณ์อย่างรอบคอบระมัดระวัง และพวกเขาก็แสดงท่าทีว่าเรื่องนี้ได้ถูกนำมาประเมินค่าไปแล้ว” ฟลอรีกล่าว
คำตอบอันชัดเจนจากฝ่ายญี่ปุ่นก็คือ “ในขณะนี้เรายังไม่ได้ไปถึงขั้นมีความเข้าใจว่า จำเป็นที่จะต้องมีการอพยพประชาชนซึ่งอยู่ในบริเวณดังกล่าว เราคิดว่าประชาชนยังคงสามารถพำนักต่อไปได้อย่างสงบ” โยชิฮิโระ สุงิยามะ เจ้าหน้าที่ผู้หนึ่งของสำนักงานความปลอดภัยด้านนิวเคลียร์ของญี่ปุ่น แถลงเมื่อวานนี้
คำพูดของเจ้าหน้าที่ผู้นี้เป็นการพูดย้ำสิ่งที่ ยูกิโอะ เอดาโนะ เลขาธิการคณะรัฐมนตรีและหัวหน้าโฆษกรัฐบาลญี่ปุ่นที่บอกว่า ยังไม่ได้มีความจำเป็นที่จะต้องสั่งอพยพประชาชนเพิ่มมากขึ้น ถึงแม้เขาจะไม่ปฏิเสธเสียทีเดียวว่าอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงในเวลาต่อไปก็ได้
“เราจะคอยเฝ้าติดตามระดับของรังสีต่อไปด้วยความระมัดระวังภัยอย่างสูงยิ่งขึ้น และเรามีเจตนารมณ์ที่จะลงมือปฏิบัติการในทันทีเมื่อเกิดความจำเป็นขึ้นมา” เขากล่าว
ในเวลานี้ทางการญี่ปุ่นกำหนดให้พื้นที่โดยรอบโรงไฟฟ้าแห่งนี้ในวงรัศมี 20 กิโลเมตร เป็นเขตที่ประชาชนต้องอพยพออกไป และผู้ที่อยู่ในวงรัศมีระหว่าง 20-30 กิโลเมตร ควรที่จะโยกย้ายออกเช่นกัน แต่ยังไม่ถือเป็นเขตอพยพ เพียงแต่ถ้าจะอยู่ต่อก็ให้อยู่แต่ภายในอาคาร ถึงแม้มีหลายๆ ฝ่ายเสนอแนะไว้ก่อนหน้านี้ เช่นสหรัฐฯได้มีคำชี้แนะพลเมืองและกำลังทหารของตนซึ่งมาช่วยเหลือการกู้ภัยบรรเทาทุกข์คราวนี้ ต้องอยู่ห่างจากโรงไฟฟ้าแห่งนี้ในรัศมี 80 กิโลเมตร ทว่าฝ่ายโตเกียวก็ยืนยันตลอดมาว่ายังไม่มีเหตุผลสมควรที่จะต้องมีการขยายพื้นที่อพยพ
เมื่อวันพุธ เจ้าหน้าที่กลาโหมหลายคนของสหรัฐฯแจ้งต่อสำนักข่าวเอเอฟพีว่า กำลังทหารนาวิกโยธินอเมริกันราว 150 คนที่อยู่ใน “กองกำลังตอบโต้เหตุทางเคมีและชีวภาพ” กำลังถูกส่งมายังญี่ปุ่นโดยจะมาถึงในวันนี้(1เม.ย.) ถึงแม้ยังไม่มีแผนการใดๆ ที่จะใช้ทหารเหล่านี้เข้าร่วมในภารกิจฉุกเฉินเพื่อทำให้โรงไฟฟ้าฟูกูชิมะ ไดอิจิ กลับคืนสู่ภาวะเสถียร
เจ้าหน้าที่เหล่านี้บอกด้วยว่า นาวิกโยธินพวกนี้จะไม่ผ่านเข้าเขตรัศมี 50 ไมล์ (80 กิโลเมตร) รอบโรงไฟฟ้า
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่อาจจะถือเป็นข่าวดีได้ก็คือ การที่ประธานาธิบดีนิโกลาส์ ซาร์โกซี แห่งฝรั่งเศส มาเยือนกรุงโตเกียวเมื่อวานนี้ นับเป็นผู้นำต่างชาติคนแรกที่เดินทางมายังญี่ปุ่นตั้งแต่ที่เกิดเหตุแผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์สึนามิถล่มพื้นที่ชายฝั่งภาคตะวันออกเฉียงเหนือของแดนอาทิตย์อุทัยในวันที่ 11 มีนาคม แล้วติดตามมาด้วยวิกฤตนิวเคลียร์ที่โรงไฟฟ้าฟูกูชิมะ ไดอิจิ ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงโตเกียวไปทางเหนือประมาณ 250 กิโลเมตร
ทั้งนี้ผู้นำฝรั่งเศส ซึ่งมีฐานะเป็นประธานของกลุ่ม 20 ชาติที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ของโลก (จี20) วาระปัจจุบัน ใช้โอกาสนี้ เสนอว่าฝรั่งเศสจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมพวกเจ้าหน้าที่ด้านนิวเคลียร์ของกลุ่มจี20 ในเดือนพฤษภาคมนี้ เพื่อปรับปรุงยกเครื่องบรรทัดฐานและมาตรการต่างๆ ในด้านความปลอดภัยทางนิวเคลียร์กันเสียใหม่ โดยที่นายกรัฐมนตรีคังของญี่ปุ่น ก็ได้แสดงความสนับสนุน “เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดอุบัติภัยเช่นนี้ขึ้นมาอีก มันเป็นหน้าที่ของเราที่จะต้องแลกเปลี่ยนบทเรียนประสบการณ์ของเรากับทั่วโลกอย่างถูกต้องแม่นยำ” เขากล่าวระหว่างการแถลงข่าวร่วมกับซาร์โกซีภายหลังการหารือ
ก่อนหน้านั้น สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า คังซึ่งไปพบปะเจรจากับผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์ญี่ปุ่น ได้กล่าวออกมาอย่างชัดเจนว่า โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ ไดอิจิ จะต้องถูกถอนใบอนุญาตและปิดดำเนินการ
อันที่จริงได้มีเจ้าหน้าที่หลายรายพูดอย่างอ้อมๆ มาก่อนแล้วว่า โรงไฟฟ้าแห่งนี้จะต้องถูกปลดเกษียณ ทันทีที่สถานการณ์กลับเข้าสู่ภาวะเสถียร ขณะที่ สึเนฮิซะ คัตสึมาตะ ประธานบริษัทโตเกียว อิเล็กทริก เพาเวอร์ (เท็ปโก) ผู้ดำเนินการโรงไฟฟ้าแห่งนี้ ออกมายอมรับในวันพุธ(30) ว่า เตาปฏิกรณ์ 4 เครื่องจากจำนวนทั้งสิ้น 6 เครื่องของฟูกูชิมะ ไดอิจิ ซึ่งได้รับความเสียหายหนักนั้น แทบไม่มีโอกาสเอาเลยที่จะกลับมาใช้งานได้อีก และคงจะต้องปิดไป แต่เขายังแสดงความหวังว่าเตาปฏิกรณ์หมายเลข 5 และหมายเลข 6 ที่ไม่สู้เสียหายอะไรนัก น่าจะดำเนินการผลิตกระแสไฟฟ้าได้ต่อไป
สำหรับสถานการณ์รอบๆ โรงไฟฟ้าแห่งนี้ เท็ปโกแถลงว่า ผลการตรวจวัดระดับสารกัมมันตรังสีไอโอดีน-131 ในมหาสมุทรแปซิฟิก บริเวณใกล้ๆ โรงไฟฟ้า เมื่อวานนี้ พบว่าได้เพิ่มสูงขึ้นทำสถิติใหม่ที่ 4,385 เท่าของระดับสูงสุดซึ่งกฎหมายอนุญาต ระดับรังสีในบริเวณดังกล่าวมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยที่เมื่อวันศุกร์(25) วัดได้ 1,250 เท่าของขีดสูงสุด ต่อมาในวันเสาร์(26) ได้เพิ่มเป็น 1,850 เท่า, แล้วในวันอังคาร(29) เป็น 3,355 เท่า ก่อนจะมาอยู่ที่ 4,385 เท่าเมื่อวานนี้ดังกล่าว แนวโน้มเช่นนี้แสดงให้เห็นว่าสารกัมมันตภาพรังสีที่รั่วไหลจากเตาปฏิกรณ์ยังคงไหลลงมหาสมุทรอย่างต่อเนื่อง
ในอีกด้านหนึ่ง ทบวงพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (ไอเออีเอ) ที่เป็นองค์กรชำนัญพิเศษด้านนิวเคลียร์ของสหประชาชาติ ได้ออกมาแถลงเสนอแนะให้ญี่ปุ่นพิจารณาขยายพื้นที่ซึ่งประกาศให้เป็นเขตอพยพประชาชน
ข้อเสนอแนะนี้เป็นการหนุนหลังสิ่งที่องค์การพิทักษ์สิ่งแวดล้อม “กรีนพีซ” เคยเรียกร้องเอาไว้เมื่อไม่กี่วันก่อน อีกทั้งหลักฐานที่ใช้สนับสนุนก็เป็นเรื่องระดับกัมมันตภาพรังสีที่วัดได้จากหมู่บ้านลิตาเตะ ซึ่งอยู่ห่างจากโรงไฟฟ้าฟูกูชิมะ ไดอิจิ ประมาณ 40 กิโลเมตร เช่นเดียวกันด้วย โดยกรีนพีซบอกว่า ระดับรังสีที่หมู่บ้านดังกล่าวถือว่าเป็นอันตรายสำหรับชาวบ้านที่ต้องพำนักอาศัยเป็นเวลานานๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเด็กๆ และสตรีมีครรภ์ ซึ่งมีความเสี่ยงมากเป็นพิเศษ
สำหรับไอเออีเอนั้น เดนิส ฟลอรี หัวหน้าฝ่ายความปลอดภัยและความมั่นคงทางนิวเคลียร์ของไอเออีเอ กล่าวต่อที่ประชุมแถลงข่าวจากสำนักงานใหญ่ขององค์กรนี้ในกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ว่า ระดับรังสีที่พบในหมู่บ้านลิตาเตะ สูงเกินเกณฑ์ที่ถือกันว่าควรต้องสั่งอพยพประชาชน
โดยที่ เอเลนา บูโกลวา ผู้อำนวยการของศูนย์เหตุการณ์และภาวะฉุกเฉินทางนิวเคลียร์ ของไอเออีเอ ระบุว่า วัดกัมมันตภาพรังสีที่หมู่บ้านแห่งนั้นได้ 2 เมกะเบคเคอเรลต่อตารางเมตร ซึ่งเป็นอัตราส่วนที่สูงกว่าระดับที่ไอเออีเอแนะนำให้อพยพประชาชน “ราวสองเท่าตัว”
ทั้งนี้ไอเออีเอได้แนะนำญี่ปุ่นให้ “ประเมินสถานการณ์อย่างรอบคอบระมัดระวัง และพวกเขาก็แสดงท่าทีว่าเรื่องนี้ได้ถูกนำมาประเมินค่าไปแล้ว” ฟลอรีกล่าว
คำตอบอันชัดเจนจากฝ่ายญี่ปุ่นก็คือ “ในขณะนี้เรายังไม่ได้ไปถึงขั้นมีความเข้าใจว่า จำเป็นที่จะต้องมีการอพยพประชาชนซึ่งอยู่ในบริเวณดังกล่าว เราคิดว่าประชาชนยังคงสามารถพำนักต่อไปได้อย่างสงบ” โยชิฮิโระ สุงิยามะ เจ้าหน้าที่ผู้หนึ่งของสำนักงานความปลอดภัยด้านนิวเคลียร์ของญี่ปุ่น แถลงเมื่อวานนี้
คำพูดของเจ้าหน้าที่ผู้นี้เป็นการพูดย้ำสิ่งที่ ยูกิโอะ เอดาโนะ เลขาธิการคณะรัฐมนตรีและหัวหน้าโฆษกรัฐบาลญี่ปุ่นที่บอกว่า ยังไม่ได้มีความจำเป็นที่จะต้องสั่งอพยพประชาชนเพิ่มมากขึ้น ถึงแม้เขาจะไม่ปฏิเสธเสียทีเดียวว่าอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงในเวลาต่อไปก็ได้
“เราจะคอยเฝ้าติดตามระดับของรังสีต่อไปด้วยความระมัดระวังภัยอย่างสูงยิ่งขึ้น และเรามีเจตนารมณ์ที่จะลงมือปฏิบัติการในทันทีเมื่อเกิดความจำเป็นขึ้นมา” เขากล่าว
ในเวลานี้ทางการญี่ปุ่นกำหนดให้พื้นที่โดยรอบโรงไฟฟ้าแห่งนี้ในวงรัศมี 20 กิโลเมตร เป็นเขตที่ประชาชนต้องอพยพออกไป และผู้ที่อยู่ในวงรัศมีระหว่าง 20-30 กิโลเมตร ควรที่จะโยกย้ายออกเช่นกัน แต่ยังไม่ถือเป็นเขตอพยพ เพียงแต่ถ้าจะอยู่ต่อก็ให้อยู่แต่ภายในอาคาร ถึงแม้มีหลายๆ ฝ่ายเสนอแนะไว้ก่อนหน้านี้ เช่นสหรัฐฯได้มีคำชี้แนะพลเมืองและกำลังทหารของตนซึ่งมาช่วยเหลือการกู้ภัยบรรเทาทุกข์คราวนี้ ต้องอยู่ห่างจากโรงไฟฟ้าแห่งนี้ในรัศมี 80 กิโลเมตร ทว่าฝ่ายโตเกียวก็ยืนยันตลอดมาว่ายังไม่มีเหตุผลสมควรที่จะต้องมีการขยายพื้นที่อพยพ
เมื่อวันพุธ เจ้าหน้าที่กลาโหมหลายคนของสหรัฐฯแจ้งต่อสำนักข่าวเอเอฟพีว่า กำลังทหารนาวิกโยธินอเมริกันราว 150 คนที่อยู่ใน “กองกำลังตอบโต้เหตุทางเคมีและชีวภาพ” กำลังถูกส่งมายังญี่ปุ่นโดยจะมาถึงในวันนี้(1เม.ย.) ถึงแม้ยังไม่มีแผนการใดๆ ที่จะใช้ทหารเหล่านี้เข้าร่วมในภารกิจฉุกเฉินเพื่อทำให้โรงไฟฟ้าฟูกูชิมะ ไดอิจิ กลับคืนสู่ภาวะเสถียร
เจ้าหน้าที่เหล่านี้บอกด้วยว่า นาวิกโยธินพวกนี้จะไม่ผ่านเข้าเขตรัศมี 50 ไมล์ (80 กิโลเมตร) รอบโรงไฟฟ้า