นายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.)เปิดเผยว่า การประกันภัยพืชผลการเกษตรของธ.ก.ส.ขณะนี้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.)และคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย(คปภ.) อยู่ระหว่างเจรจารายละเอียดกับสมาคมประกันวินาศภัย ในเรื่องเบี้ยประกันภัย เพื่อให้สามารถนำระบบประกันภัยมาใช้กับข้าวนาปี ในฤดูกาลผลิต ปี 2554/2555 ในเดือนมิถุนายนนี้ เพราะในหลักการรัฐบาลต้องการให้เกษตรกรจ่ายเบี้ยประกันในอัตราเดียวกันทุกพื้นที่ เพราะจะสามารถเฉลี่ยความเสี่ยงทั่วประเทศได้
และในขณะนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะประกันภัยพืชผลให้เกษตรเบื้องต้นอยู่แล้ว 606 บาทต่อไร่ หากเกิดความเสียหายจากภัยธรรมชาติ แต่รัฐบาลต้องการคุ้มครองความเสี่ยงให้กับเกษตรกรมากขึ้น ที่เป็นการคำนวณจากต้นทุนการผลิต 2,000 บาทต่อไร่ ดังนั้นจึงต้องการให้บริษัทประกันภัยเอกชนเข้ามาร่วมรับความเสี่ยงในส่วนต่างนั้น โดยที่เกษตรกรจะมีภาระมากขึ้นในการจ่ายค่าเบี้ยประกันภัย แต่จะไม่ใช่อัตราที่มาก ซึ่งกำลังคุยในรายละเอียด เพราะหากเกษตรเข้าร่วมโครงการจำนวนมาก เบี้ยประกันก็จะถูกลง
"ทั่วประเทศมีพื้นที่ปลูกข้าว 57 ล้านไร่ และเป็นเกษตรกรลูกค้าธ.ก.ส. 37 ล้านไร่คิดเป็น 70% ซึ่งธ.ก.ส.จะผลักดันให้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด เพราะเป็นลูกค้าที่อยู่ในโครงการประกันรายได้อยู่แล้ว จะทำให้จัดการได้ง่ายขึ้น และลูกค้าก็จะได้รับการคุ้มครองความเสี่ยงด้วย"นายลักษณ์กล่าวและว่า ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นบ่อยและรุนแรงในช่วงนี้คงไม่ผลักดันให้เบี้ยประกันสูงขึ้น เพราะในการคำนวณความเสียหายจะดูตัวเลขย้อนหลัง 10 ปีอยู่แล้วว่า กรณีที่เกิดภัยพิบัติจากธรรมชาติแต่ละครั้ง ก่อให้เกิดความเสียหายต่อพืชผลอย่างไรบ้าง เพียงแต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นขณะนี้จะทำให้ประเมินถึงแนวโน้มในอนาคตเท่านั้น” นายลักษณ์กล่าว
นายลักษณ์กล่าวต่อว่า ธ.ก.ส. ได้ปล่อยสินเชื่อให้กับสหกรณ์นิคมท่าแซะ จ.ชุมพร วงเงิน 373.6 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม ซึ่งเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มปาล์มน้ำมัน สร้างงานในชุมชน สร้างรายได้ กระตุ้นเศรษฐกิจในชุมชนให้เติบโตและมีความยั่งยืนและทดแทนการนำเข้าน้ำมันปาล์มดิบจากต่างประเทศ โดย ธ.ก.ส.ได้ลดหย่อนหลักเกณฑ์เกี่ยวกับวงเงินกู้และเงินสมทบการลงทุนคือ ให้สหกรณ์กู้ได้วงเงินไม่เกิน 273.6 ล้านบาท หรือ 87.62% ของเงินลงทุนในโครงการ 426.4 ล้านบาท จากปกติที่ธนาคารปล่อยกู้ได้ไม่เกิน 80% และให้สหกรณ์นำเงินสมทบค่าลงทุน 52.8 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 12.38 จากปกติที่กำหนดให้ผู้กู้ต้องมีเงินสมทบค่าลงทุนไม่น้อยกว่า 20% คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในอัตราเอ็มแอลอาร์ลบ 1.25% ต่อปี
นอกจากนั้น ยังได้ปล่อยกู้ให้กับสหกรณ์โคนมหนองโพราชบุรี ในพระบรมราชินูปถัมภ์ วงเงินไม่เกิน 122 ล้านบาท แยกเป็นเงินกู้เพื่อการปรับปรุงโรงงานและซื้อเครื่องจักรทดแทน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตนม UHT จำนวน 98 ล้านบาท ต่อเติมอาคารสำนักงานและสร้างอาคารสำนักงานและสร้างศาลาประชุม 24.45 ล้านบาท และขยายฟาร์มโคนมสาธิต 35.3 ล้านบาท โดยคิดอัตราดอกเบี้ยเอ็มแอลอาร์ 1.25% กำหนดชำระคืนเงินกู้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลาไม่เกิน 15 ปี
และในขณะนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะประกันภัยพืชผลให้เกษตรเบื้องต้นอยู่แล้ว 606 บาทต่อไร่ หากเกิดความเสียหายจากภัยธรรมชาติ แต่รัฐบาลต้องการคุ้มครองความเสี่ยงให้กับเกษตรกรมากขึ้น ที่เป็นการคำนวณจากต้นทุนการผลิต 2,000 บาทต่อไร่ ดังนั้นจึงต้องการให้บริษัทประกันภัยเอกชนเข้ามาร่วมรับความเสี่ยงในส่วนต่างนั้น โดยที่เกษตรกรจะมีภาระมากขึ้นในการจ่ายค่าเบี้ยประกันภัย แต่จะไม่ใช่อัตราที่มาก ซึ่งกำลังคุยในรายละเอียด เพราะหากเกษตรเข้าร่วมโครงการจำนวนมาก เบี้ยประกันก็จะถูกลง
"ทั่วประเทศมีพื้นที่ปลูกข้าว 57 ล้านไร่ และเป็นเกษตรกรลูกค้าธ.ก.ส. 37 ล้านไร่คิดเป็น 70% ซึ่งธ.ก.ส.จะผลักดันให้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด เพราะเป็นลูกค้าที่อยู่ในโครงการประกันรายได้อยู่แล้ว จะทำให้จัดการได้ง่ายขึ้น และลูกค้าก็จะได้รับการคุ้มครองความเสี่ยงด้วย"นายลักษณ์กล่าวและว่า ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นบ่อยและรุนแรงในช่วงนี้คงไม่ผลักดันให้เบี้ยประกันสูงขึ้น เพราะในการคำนวณความเสียหายจะดูตัวเลขย้อนหลัง 10 ปีอยู่แล้วว่า กรณีที่เกิดภัยพิบัติจากธรรมชาติแต่ละครั้ง ก่อให้เกิดความเสียหายต่อพืชผลอย่างไรบ้าง เพียงแต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นขณะนี้จะทำให้ประเมินถึงแนวโน้มในอนาคตเท่านั้น” นายลักษณ์กล่าว
นายลักษณ์กล่าวต่อว่า ธ.ก.ส. ได้ปล่อยสินเชื่อให้กับสหกรณ์นิคมท่าแซะ จ.ชุมพร วงเงิน 373.6 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม ซึ่งเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มปาล์มน้ำมัน สร้างงานในชุมชน สร้างรายได้ กระตุ้นเศรษฐกิจในชุมชนให้เติบโตและมีความยั่งยืนและทดแทนการนำเข้าน้ำมันปาล์มดิบจากต่างประเทศ โดย ธ.ก.ส.ได้ลดหย่อนหลักเกณฑ์เกี่ยวกับวงเงินกู้และเงินสมทบการลงทุนคือ ให้สหกรณ์กู้ได้วงเงินไม่เกิน 273.6 ล้านบาท หรือ 87.62% ของเงินลงทุนในโครงการ 426.4 ล้านบาท จากปกติที่ธนาคารปล่อยกู้ได้ไม่เกิน 80% และให้สหกรณ์นำเงินสมทบค่าลงทุน 52.8 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 12.38 จากปกติที่กำหนดให้ผู้กู้ต้องมีเงินสมทบค่าลงทุนไม่น้อยกว่า 20% คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในอัตราเอ็มแอลอาร์ลบ 1.25% ต่อปี
นอกจากนั้น ยังได้ปล่อยกู้ให้กับสหกรณ์โคนมหนองโพราชบุรี ในพระบรมราชินูปถัมภ์ วงเงินไม่เกิน 122 ล้านบาท แยกเป็นเงินกู้เพื่อการปรับปรุงโรงงานและซื้อเครื่องจักรทดแทน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตนม UHT จำนวน 98 ล้านบาท ต่อเติมอาคารสำนักงานและสร้างอาคารสำนักงานและสร้างศาลาประชุม 24.45 ล้านบาท และขยายฟาร์มโคนมสาธิต 35.3 ล้านบาท โดยคิดอัตราดอกเบี้ยเอ็มแอลอาร์ 1.25% กำหนดชำระคืนเงินกู้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลาไม่เกิน 15 ปี