ASTVผู้จัดการรายวัน- ครม.ปรับขึ้น5%รัฐวิสาหกิจมีผล1เม.ย.นี้ให้เฉพาะคนเงินเดือนไม่ถึง 50,000บาท เพื่อให้สอดคล้องกับการปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการที่ได้รับการอนุมัติไปก่อนหน้านี้
นายวัชระ กรรณิกา รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)มีมติอนุมัติการปรับขึ้นเงินเดือนพนักงานรัฐวิสาหกิจ 5% มีผลตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.54 นี้ การปรับขึ้นเงินเดือนดังกล่าวแล้วจะต้องมีเพดานเงินเดือนไม่เกิน 5 หมื่นบาท ตามที่กระทรวงแรงงาน เสนอ
นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการครม.เปิดเผยว่า การปรับขึ้นเงินเดือนดังกล่าว เป็นข้อเสนอที่ผ่านความเห็นชอบมาจากคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ(กนร.)แล้ว ซึ่งจะสอดคล้องกับการปรับเงินเดือนของข้าราชการที่จะมีผลในเดือนเม.ย.นี้
ทั้งนี้ ให้ความเห็นชอบให้ปรับอัตราค่าจ้างรัฐวิสาหกิจ (ไม่เกินร้อยละ 5 ) ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ครั้งที่2/2554วันที่ 21 ก.พ.2554 โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 2554 เป็นต้นไป
การพิจารณาปรับอัตราค่าจ้างของลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ แต่ละแห่งให้คำนึงถึงการปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานและผลกระทบต่อต้นทุนและอัตราค่าบริการที่จะเกิดขึ้นและให้คงสัดส่วนของรายจ่ายด้านบุคลากรต่อรายได้ให้คงอยู่ในอัตราเดิมโดยไม่เป็นการผลักภาระให้ประชาชนและไม่กระทบต่อการจัดเก็บรายได้ของกระทรวงการคลัง ในการนำรายได้ส่งคลังแผ่นดิน
โดยแบ่งเป็น 3กลุ่มรัฐวิสาหกิจ ดังนี้ กลุ่มที่ 1.รัฐวิสาหกิจ 13 แห่ง อาทิ ที่ ครม.เคยมีมติให้สามารถกำหนดอัตราเงินเดือนค่าจ้างและสวัสดิการเองได้ตามม. 13(2)แห่งพ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯ อาทิ บมจ.ปตท. บมจ.กสท บมจ.ทีโอที บมจ.อสมท และบมจ.การบินไทย เป็นต้น ให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการรัฐวิสากิจแต่ละแห่งเป็นผู้พิจารณา หากจะปรับค่าจ้างให้ปรับได้ไม่เกินร้อยละ5 โดยใช้เงินงบประมาณของรัฐวิสาหกิจนั้น
กลุ่มที่ 2 รัฐวิสาหกิจ 16 แห่งที่ใช้บัญชีโครงสร้างอัตราเงินเดือนค่าจ้างเป็นของตนเอง อาทิ กฟน กฟผ. กฟภ. ธกส. ธอส ธนาคารออมสิน เป็นต้น ให้คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งพิจารณาปรับค่าจ้างของลูกจ้างทุกตำแหน่งไม่เกินร้อยละ5 ยกเว้นตำแหน่งผู้บริหารซึ่งใช้สัญญาจ้างและลูกจ้างระดับผู้บังคับบัญชาซึ่งใช้สัญญาจ้างที่มีระยะเวลากำหนดไว้ โดยให้เงินงบประมาณของแต่ละรัฐวิสาหกิจเองกรณีมีการปรับค่าจ้างแล้วอัตราใดเกินอัตราขั้นสูงสุดแล้ว
และกลุ่มที่ 3 รัฐวิสาหกิจ 36 แห่งที่ใช้บัญชีโครงสร้างอัตราเงินเดือนค่าจ้าง 58 ขั้น ตามประกาศคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ อาทิ การทางพิเศษฯ กปน. กปภ. การรถไฟฯ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด บริษัท ขนส่ง จำกัด ขสมก. เป็นต้น ให้ปรับค่าจ้างของลูกจ้างทุกตำแหน่งในอัตราร้อยละ 5 ของอัตราที่ได้รับ ยกเว้นตำแแหน่งผู้บริหารซึ่งใช้สัญญาจ้างและลูกจ้างระดับผู้บังคับบัญชาซึ่งใช่สัญญาจ้างที่มีระยะเวลากำหนดไว้ โดยใช้เงินงบประมาณของแต่ละรัฐวิสาหกิจเอง
ทั้งนี้โครงสร้างอัตราเงินเดือนค่าจ้าง 58 ขั้น ที่ปรับใหม่แล้วปรากฎดังนี้ เงินเดือนค่าจ้าง ขั้นต่ำ ลำดับที่1- ลำดับที่ 4 เดิมร้อยละ 4 ตามมติครม.2ต.ค.50 อยู่ที่ 5,510 เพิ่มเป็น 5,790 ขั้นกลาง ลำดับที่ 29 จากเดิม 22,860 เป็น 24,010 ขั้นสูงลำดับที่ 58 จากเดิม 113,520 เป็น119,200
**แบงก์รัฐเฮครม.สั่งเพิ่มโบนัส 1 เดือน
นายแพทย์ มารุส มัสยวานิช รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมครม.ยังให้ความเห็นชอบปรับเพิ่มโบนัสพนักงานธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ ประกอบไปด้วย ธนาคารออมสิน ,ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์(ธกส.) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (อิสลามแบงก์) และ ธนาคารพัฒนาวิสาหิจขนาดกลางและย่อม (เอสเอ็มอีแบงก์) โดยให้ปรับเพิ่มจากโบนัสปกติอีก 1 เดือน
นายวัชระ กรรณิกา รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)มีมติอนุมัติการปรับขึ้นเงินเดือนพนักงานรัฐวิสาหกิจ 5% มีผลตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.54 นี้ การปรับขึ้นเงินเดือนดังกล่าวแล้วจะต้องมีเพดานเงินเดือนไม่เกิน 5 หมื่นบาท ตามที่กระทรวงแรงงาน เสนอ
นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการครม.เปิดเผยว่า การปรับขึ้นเงินเดือนดังกล่าว เป็นข้อเสนอที่ผ่านความเห็นชอบมาจากคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ(กนร.)แล้ว ซึ่งจะสอดคล้องกับการปรับเงินเดือนของข้าราชการที่จะมีผลในเดือนเม.ย.นี้
ทั้งนี้ ให้ความเห็นชอบให้ปรับอัตราค่าจ้างรัฐวิสาหกิจ (ไม่เกินร้อยละ 5 ) ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ครั้งที่2/2554วันที่ 21 ก.พ.2554 โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 2554 เป็นต้นไป
การพิจารณาปรับอัตราค่าจ้างของลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ แต่ละแห่งให้คำนึงถึงการปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานและผลกระทบต่อต้นทุนและอัตราค่าบริการที่จะเกิดขึ้นและให้คงสัดส่วนของรายจ่ายด้านบุคลากรต่อรายได้ให้คงอยู่ในอัตราเดิมโดยไม่เป็นการผลักภาระให้ประชาชนและไม่กระทบต่อการจัดเก็บรายได้ของกระทรวงการคลัง ในการนำรายได้ส่งคลังแผ่นดิน
โดยแบ่งเป็น 3กลุ่มรัฐวิสาหกิจ ดังนี้ กลุ่มที่ 1.รัฐวิสาหกิจ 13 แห่ง อาทิ ที่ ครม.เคยมีมติให้สามารถกำหนดอัตราเงินเดือนค่าจ้างและสวัสดิการเองได้ตามม. 13(2)แห่งพ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯ อาทิ บมจ.ปตท. บมจ.กสท บมจ.ทีโอที บมจ.อสมท และบมจ.การบินไทย เป็นต้น ให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการรัฐวิสากิจแต่ละแห่งเป็นผู้พิจารณา หากจะปรับค่าจ้างให้ปรับได้ไม่เกินร้อยละ5 โดยใช้เงินงบประมาณของรัฐวิสาหกิจนั้น
กลุ่มที่ 2 รัฐวิสาหกิจ 16 แห่งที่ใช้บัญชีโครงสร้างอัตราเงินเดือนค่าจ้างเป็นของตนเอง อาทิ กฟน กฟผ. กฟภ. ธกส. ธอส ธนาคารออมสิน เป็นต้น ให้คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งพิจารณาปรับค่าจ้างของลูกจ้างทุกตำแหน่งไม่เกินร้อยละ5 ยกเว้นตำแหน่งผู้บริหารซึ่งใช้สัญญาจ้างและลูกจ้างระดับผู้บังคับบัญชาซึ่งใช้สัญญาจ้างที่มีระยะเวลากำหนดไว้ โดยให้เงินงบประมาณของแต่ละรัฐวิสาหกิจเองกรณีมีการปรับค่าจ้างแล้วอัตราใดเกินอัตราขั้นสูงสุดแล้ว
และกลุ่มที่ 3 รัฐวิสาหกิจ 36 แห่งที่ใช้บัญชีโครงสร้างอัตราเงินเดือนค่าจ้าง 58 ขั้น ตามประกาศคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ อาทิ การทางพิเศษฯ กปน. กปภ. การรถไฟฯ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด บริษัท ขนส่ง จำกัด ขสมก. เป็นต้น ให้ปรับค่าจ้างของลูกจ้างทุกตำแหน่งในอัตราร้อยละ 5 ของอัตราที่ได้รับ ยกเว้นตำแแหน่งผู้บริหารซึ่งใช้สัญญาจ้างและลูกจ้างระดับผู้บังคับบัญชาซึ่งใช่สัญญาจ้างที่มีระยะเวลากำหนดไว้ โดยใช้เงินงบประมาณของแต่ละรัฐวิสาหกิจเอง
ทั้งนี้โครงสร้างอัตราเงินเดือนค่าจ้าง 58 ขั้น ที่ปรับใหม่แล้วปรากฎดังนี้ เงินเดือนค่าจ้าง ขั้นต่ำ ลำดับที่1- ลำดับที่ 4 เดิมร้อยละ 4 ตามมติครม.2ต.ค.50 อยู่ที่ 5,510 เพิ่มเป็น 5,790 ขั้นกลาง ลำดับที่ 29 จากเดิม 22,860 เป็น 24,010 ขั้นสูงลำดับที่ 58 จากเดิม 113,520 เป็น119,200
**แบงก์รัฐเฮครม.สั่งเพิ่มโบนัส 1 เดือน
นายแพทย์ มารุส มัสยวานิช รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมครม.ยังให้ความเห็นชอบปรับเพิ่มโบนัสพนักงานธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ ประกอบไปด้วย ธนาคารออมสิน ,ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์(ธกส.) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (อิสลามแบงก์) และ ธนาคารพัฒนาวิสาหิจขนาดกลางและย่อม (เอสเอ็มอีแบงก์) โดยให้ปรับเพิ่มจากโบนัสปกติอีก 1 เดือน