ASTVผู้จัดการรายวัน - แบงก์ชาติยันจำเป็นต้องขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเพื่อดูแลเงินเฟ้อ เผยปัญหาลิเบียอาจกดดันราคาน้ำมันโลกพุ่งแตะ 130-150 เหรียญ ส่งผลอัตราเงินเฟ้อสูงถึง 3.5% ส่วนเงินบาทอ่อนค่าแล้ว 0.43% เพราะเงินไหลออกจากตลาดหุ้น ด้านนักวิชาการเตือนหากดอกเบี้ยนโยบายพุ่งเกิน 3% ประชาชนเดือดร้อน
นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้บรรยายในเรื่อง “ค่าเงินบาทหรืออัตราดอกเบี้ย Impact ใดแรงกว่ากัน” ซึ่งจัดโดยธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ว่าในปีนี้โอกาสที่เงินบาทแข็งค่าอย่างปีก่อนมีน้อยลงและแรงกดดันในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมีมากขึ้น โดยอัตราดอกเบี้ยจะดูแลอัตราเงินเฟ้อเป็นหลัก
ถือเป็นการดูแลเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ทำให้ในปีนี้มีความจำเป็นต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของอัตราเงินเฟ้ออาจจะกระทบประชาชน ภาคสถาบันการเงิน รวมถึงระบบเศรษฐกิจไม่ว่าจะเป็นผู้ออมเงินที่อาจได้รับผลตอบแทนน้อยลง ผู้บริโภคจะมีการใช้จ่ายเกินตัว สถาบันการเงินจะมีการปล่อยกู้ง่ายขึ้นจนมีปัญหาหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ตามมาและส่งผลให้ภาคครัวเรือนมีหนี้สินเพิ่มขึ้น รวมทั้งเกิดปัญหาฟองสบู่ในราคาสินทรัพย์ตามมาได้ ขณะที่บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สัดส่วน 93% มีต้นทุนทางการเงินเพิ่มขึ้นต่อการดำเนินการไม่ถึง 10%
“การขึ้นอัตราดอกเบี้ยไม่ได้เป็นการดึงเงินทุนไหลเข้า เนื่องจากประเทศต่างๆ ในภูมิภาคต่างมีทิศทางขยับอัตราดอกเบี้ย เพื่อดูแลอัตราเงินเฟ้อ และหาก ธปท.ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยช้าเกินไปอาจมีผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนจนมีผลให้เงินทุนไหลออกได้ เพราะอาจชี้ให้นักลงทุนเห็นว่าทางการไทยไม่สามารถดูแลปัญหาจากอัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น และในระยะต่อไปอาจมีผลกระทบต่อราคาสินทรัพย์สูงขึ้นได้”
นอกจากนี้ ในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปีเงินเฟ้อพื้นฐานอาจจะเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 3% หรือ 3% กว่าได้ และถ้าเหตุการณ์ในตะวันออกกลางไม่ดี ซึ่งตอนนี้ก็ยังเห็นว่าไม่ดี ราคาน้ำมันดิบดูไบมีโอกาสขึ้นไปอยู่ที่ 130 เหรียญ ซึ่งหากเป็นอย่างนั้นอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะขึ้นไปอยู่ที่ 3.5% และขณะนี้เริ่มมีการพูดคุยกันบ้างว่าราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกมีโอกาสขึ้นไปที่ใกล้ๆ กับปี 2551 ซึ่งในช่วงนั้นราคาน้ำมันอยู่ที่ระดับ 150 เหรียญต่อบาร์เรล และอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ 3.3% แต่ไม่ได้หมายความว่า จะขึ้นดอกเบี้ยไประดับนั้น แต่ขึ้นกับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น
นางผ่องเพ็ญกล่าวด้วยว่า นับจากสิ้นปี 2543 จนถึงวานนี้ (24 มี.ค.) ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงแล้ว 0.43% เนื่องจากยังมีเงินไหลออกสุทธิจากตลาดหุ้น ขณะที่เงินที่ลงทุนในตราสารหนี้ไม่เพิ่มขึ้น มีเพียงการซื้อทดแทนพันธบัตรเก่าที่ครบอายุเท่านั้น โดยเงินที่ไหลออกมากที่สุดในช่วงเดือนม.ค.และในช่วงนี้เงินทุนเคลื่อนย้ายอยู่ในระดับทรงๆ เข้าออกใกล้เคียงกัน
ขณะที่แนวโน้มค่าเงินบาทในปีนี้มีโอกาสที่แข็งค่า และอ่อนค่าได้ทั้ง 2 ทางและผันผวนมากขึ้น แต่ โอกาสที่จะแข็งค่าแรงๆ เหมือนปีที่ผ่านมาไม่มีแล้ว โดย ธปท.จะดูแลไม่ให้คลื่อนไหวเร็ว และมีความผันผวนมากเกินไป ซึ่งทุกวันนี้ก็มีการแทรกแซงอย่างต่อเนื่อง รวมถึงมีมาตรการดูแลเงินทุนหากจำเป็น ซึ่งตอนนี้อาจจะไม่ต้องใช้ แต่ทุกประเทศจะต้องเตรียมไว้ ประเทศไทยก็เช่นกัน ดังนั้น ผู้ที่เกี่ยวข้องกับเงินบาทควรมีแผนการดูแลเงินที่ดีขึ้น และมีการป้องกันความเสี่ยงที่ครอบคลุมมากขึ้น
ด้านนายสมภพ มานะรังสรรค์ อธิการบดีสถาบันจัดการปัญญาภิวัฒน์ศ์ กล่าวว่า การขยายตัวเศรษฐกิจไทยในปีนี้คงไม่ดีเท่ากับปี 53 แต่คงไม่เลวร้ายในปี 52 โดยคาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวไม่ต่ำกว่า 4-5% โดยภาคเกษตรจะเป็นพระเอก ซึ่งจะช่วยกระตุ้นการอุปโภคบริโภคภายในประเทศไม่ต่ำกว่า 4%
ขณะที่การลงทุนอาจชะลอลงบ้างจากผลกระทบของญี่ปุ่น โดยเฉพาะเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) และมองว่าใน 2-3 ปีข้างหน้า ญี่ปุ่นจะย้ายฐานการผลิตระลอกใหญ่ ซึ่งจะเป็นโอกาสที่ดีต่อการลงทุนของไทยในอนาคตในปีนี้ คาดว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างน้อย 2 ครั้ง หรือสิ้นปีนี้ดอกเบี้ยนโยบายจะไม่ต่ำกว่า 3%
"ผลจากภัยพิบัติของญี่ปุ่น ทำให้เม็ดเงิน FDI ที่ได้รับจากญี่ปุ่นที่เป็นผู้ลงทุนต่างชาติอันดับ 1 ของไทยลดลง รวมถึงส่งผลให้นักท่องเที่ยวหายไป 2 แสนคน จึงคาดว่าเงินบาทในปีนี้จะมีการเคลื่อนไหว 30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ บวกหรือลบไม่เกิน 30 สตางค์" นายสมภพกล่าว.
นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้บรรยายในเรื่อง “ค่าเงินบาทหรืออัตราดอกเบี้ย Impact ใดแรงกว่ากัน” ซึ่งจัดโดยธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ว่าในปีนี้โอกาสที่เงินบาทแข็งค่าอย่างปีก่อนมีน้อยลงและแรงกดดันในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมีมากขึ้น โดยอัตราดอกเบี้ยจะดูแลอัตราเงินเฟ้อเป็นหลัก
ถือเป็นการดูแลเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ทำให้ในปีนี้มีความจำเป็นต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของอัตราเงินเฟ้ออาจจะกระทบประชาชน ภาคสถาบันการเงิน รวมถึงระบบเศรษฐกิจไม่ว่าจะเป็นผู้ออมเงินที่อาจได้รับผลตอบแทนน้อยลง ผู้บริโภคจะมีการใช้จ่ายเกินตัว สถาบันการเงินจะมีการปล่อยกู้ง่ายขึ้นจนมีปัญหาหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ตามมาและส่งผลให้ภาคครัวเรือนมีหนี้สินเพิ่มขึ้น รวมทั้งเกิดปัญหาฟองสบู่ในราคาสินทรัพย์ตามมาได้ ขณะที่บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สัดส่วน 93% มีต้นทุนทางการเงินเพิ่มขึ้นต่อการดำเนินการไม่ถึง 10%
“การขึ้นอัตราดอกเบี้ยไม่ได้เป็นการดึงเงินทุนไหลเข้า เนื่องจากประเทศต่างๆ ในภูมิภาคต่างมีทิศทางขยับอัตราดอกเบี้ย เพื่อดูแลอัตราเงินเฟ้อ และหาก ธปท.ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยช้าเกินไปอาจมีผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนจนมีผลให้เงินทุนไหลออกได้ เพราะอาจชี้ให้นักลงทุนเห็นว่าทางการไทยไม่สามารถดูแลปัญหาจากอัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น และในระยะต่อไปอาจมีผลกระทบต่อราคาสินทรัพย์สูงขึ้นได้”
นอกจากนี้ ในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปีเงินเฟ้อพื้นฐานอาจจะเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 3% หรือ 3% กว่าได้ และถ้าเหตุการณ์ในตะวันออกกลางไม่ดี ซึ่งตอนนี้ก็ยังเห็นว่าไม่ดี ราคาน้ำมันดิบดูไบมีโอกาสขึ้นไปอยู่ที่ 130 เหรียญ ซึ่งหากเป็นอย่างนั้นอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะขึ้นไปอยู่ที่ 3.5% และขณะนี้เริ่มมีการพูดคุยกันบ้างว่าราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกมีโอกาสขึ้นไปที่ใกล้ๆ กับปี 2551 ซึ่งในช่วงนั้นราคาน้ำมันอยู่ที่ระดับ 150 เหรียญต่อบาร์เรล และอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ 3.3% แต่ไม่ได้หมายความว่า จะขึ้นดอกเบี้ยไประดับนั้น แต่ขึ้นกับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น
นางผ่องเพ็ญกล่าวด้วยว่า นับจากสิ้นปี 2543 จนถึงวานนี้ (24 มี.ค.) ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงแล้ว 0.43% เนื่องจากยังมีเงินไหลออกสุทธิจากตลาดหุ้น ขณะที่เงินที่ลงทุนในตราสารหนี้ไม่เพิ่มขึ้น มีเพียงการซื้อทดแทนพันธบัตรเก่าที่ครบอายุเท่านั้น โดยเงินที่ไหลออกมากที่สุดในช่วงเดือนม.ค.และในช่วงนี้เงินทุนเคลื่อนย้ายอยู่ในระดับทรงๆ เข้าออกใกล้เคียงกัน
ขณะที่แนวโน้มค่าเงินบาทในปีนี้มีโอกาสที่แข็งค่า และอ่อนค่าได้ทั้ง 2 ทางและผันผวนมากขึ้น แต่ โอกาสที่จะแข็งค่าแรงๆ เหมือนปีที่ผ่านมาไม่มีแล้ว โดย ธปท.จะดูแลไม่ให้คลื่อนไหวเร็ว และมีความผันผวนมากเกินไป ซึ่งทุกวันนี้ก็มีการแทรกแซงอย่างต่อเนื่อง รวมถึงมีมาตรการดูแลเงินทุนหากจำเป็น ซึ่งตอนนี้อาจจะไม่ต้องใช้ แต่ทุกประเทศจะต้องเตรียมไว้ ประเทศไทยก็เช่นกัน ดังนั้น ผู้ที่เกี่ยวข้องกับเงินบาทควรมีแผนการดูแลเงินที่ดีขึ้น และมีการป้องกันความเสี่ยงที่ครอบคลุมมากขึ้น
ด้านนายสมภพ มานะรังสรรค์ อธิการบดีสถาบันจัดการปัญญาภิวัฒน์ศ์ กล่าวว่า การขยายตัวเศรษฐกิจไทยในปีนี้คงไม่ดีเท่ากับปี 53 แต่คงไม่เลวร้ายในปี 52 โดยคาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวไม่ต่ำกว่า 4-5% โดยภาคเกษตรจะเป็นพระเอก ซึ่งจะช่วยกระตุ้นการอุปโภคบริโภคภายในประเทศไม่ต่ำกว่า 4%
ขณะที่การลงทุนอาจชะลอลงบ้างจากผลกระทบของญี่ปุ่น โดยเฉพาะเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) และมองว่าใน 2-3 ปีข้างหน้า ญี่ปุ่นจะย้ายฐานการผลิตระลอกใหญ่ ซึ่งจะเป็นโอกาสที่ดีต่อการลงทุนของไทยในอนาคตในปีนี้ คาดว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างน้อย 2 ครั้ง หรือสิ้นปีนี้ดอกเบี้ยนโยบายจะไม่ต่ำกว่า 3%
"ผลจากภัยพิบัติของญี่ปุ่น ทำให้เม็ดเงิน FDI ที่ได้รับจากญี่ปุ่นที่เป็นผู้ลงทุนต่างชาติอันดับ 1 ของไทยลดลง รวมถึงส่งผลให้นักท่องเที่ยวหายไป 2 แสนคน จึงคาดว่าเงินบาทในปีนี้จะมีการเคลื่อนไหว 30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ บวกหรือลบไม่เกิน 30 สตางค์" นายสมภพกล่าว.