ASTVผู้จัดการรายวัน - บริษัท ศูนย์วิจัยกรสิกรไทย จำกัด เปิดเผยว่า ญี่ปุ่น เป็นตลาดส่งออกเฟอร์นิเจอร์อันดับ 3 ของไทย รองจากตลาดสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป โดยในปี2553 มูลค่าการส่งออกเฟอร์นิเจอร์ไปญี่ปุ่นมีมูลค่า 220.7 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ คิดเป็น18.8% ของการส่งออกเฟอร์นิเจอร์ของไทย โดยการส่งออกในตลาดญี่ปุ่นปี 2553 มีแนวโน้มขยับตัวขึ้น 1.4% จากเดิมที่เคยหดตัวถึง13.9% ในปี 2552
ทั้งนี้ จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์สึนามิที่เกิดขึ้นสร้างความเสียหายต่อทรัพย์สิน บ้านเรือน และเศรษฐกิจของญี่ปุ่นอย่างมาก โดยคาดว่าผู้ส่งออกเฟอร์นิเจอร์จะได้รับผลกระทบต่อยอดคำสั่งซื้อในระยะสั้น โดยเฉพาะเฟอร์นิเจอร์ไม้ ซึ่งเป็นเฟอร์นิเจอร์ส่งออกที่สำคัญของไทยในตลาดญี่ปุ่น แต่คาดว่าความต้องการเฟอร์นิเจอร์ของญี่ปุ่นจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีกครั้งหลังจากการฟื้นฟูอาคาร บ้านเรือนที่ได้รับความเสียหายแล้วเสร็จในระยะครึ่งปีหลัง ซึ่งอาจส่งผลให้ภาพรวมของการส่งออกเฟอร์นิเจอร์ของไทยไปยังตลาดญี่ปุ่นในปี 2554 มีมูลค่าประมาณ 220 – 230 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือขยายตัว 4%จากปีก่อนหน้า
แต่อย่างไรก็ตาม การส่งออกเฟอร์นิเจอร์ไปญี่ปุ่นยังคงต้องเผชิญการแข่งขันจากประเทศคู่แข่งที่สำคัญ โดยเฉพาะ จีน เวียดนาม และอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นประเทศผู้ส่งออกเฟอร์นิเจอร์รายใหญ่ไปยังญี่ปุ่น และมีแนวโน้มว่าประเทศดังกล่าวจะมีส่วนแบ่งตลาดเฟอร์นิเจอร์ในประเทศญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น ในขณะที่ส่วนแบ่งตลาดการส่งออกเฟอร์นิเจอร์ของไทยไปยังตลาดญี่ปุ่นกลับมีแนวโน้มลดลง
ดังนั้น แนวทางในการปรับตัวสำหรับขยายการส่งออก เพื่อรองรับกับความต้องการนำเข้าเฟอร์นิเจอร์ของชาวญี่ปุ่นที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต ควรมีดังนี้ ผู้ส่งออกควรปรับปรุงและยกระดับผลิตภัณฑ์ เพื่อให้สามารถแข่งขันในตลาดระดับกลางและบน เพื่อหลีกเลี่ยงการแข่งขันทางด้านราคากับประเทศจีนและอินโดนีเซีย
ผู้ส่งออกควรคัดสรรสินค้าที่ตรงตามความต้องการของชาวญี่ปุ่น ซึ่งเน้นทางด้านดีไซน์เพื่อประโยชน์ใช้สอย ควบคู่ไปกับการคำนึงถึงเรื่องคุณภาพชีวิต สุขภาพ และความปลอดภัย เพื่อสร้างจุดขายให้แก่สินค้า
สำหรับเฟอร์นิเจอร์สำนักงานอาจจะมุ่งเน้นผลิตสินค้าให้ได้การรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม Japan Industrial Standard หรือ JIS Mark ซึ่งจะเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะช่วยสร้างจุดเด่นให้กับเฟอร์นิเจอร์ไทย เป็นสินค้าที่มีการผลิตได้มาตรฐานในสายตาของผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นประเด็นเรื่องร่วมถึงการส่งมอบให้ตรงตามระยะเวลาที่กำหนดเพื่อรักษาภาพลักษณ์ที่ดีในการทำธุรกิจร่วมกัน
ทั้งนี้ จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์สึนามิที่เกิดขึ้นสร้างความเสียหายต่อทรัพย์สิน บ้านเรือน และเศรษฐกิจของญี่ปุ่นอย่างมาก โดยคาดว่าผู้ส่งออกเฟอร์นิเจอร์จะได้รับผลกระทบต่อยอดคำสั่งซื้อในระยะสั้น โดยเฉพาะเฟอร์นิเจอร์ไม้ ซึ่งเป็นเฟอร์นิเจอร์ส่งออกที่สำคัญของไทยในตลาดญี่ปุ่น แต่คาดว่าความต้องการเฟอร์นิเจอร์ของญี่ปุ่นจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีกครั้งหลังจากการฟื้นฟูอาคาร บ้านเรือนที่ได้รับความเสียหายแล้วเสร็จในระยะครึ่งปีหลัง ซึ่งอาจส่งผลให้ภาพรวมของการส่งออกเฟอร์นิเจอร์ของไทยไปยังตลาดญี่ปุ่นในปี 2554 มีมูลค่าประมาณ 220 – 230 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือขยายตัว 4%จากปีก่อนหน้า
แต่อย่างไรก็ตาม การส่งออกเฟอร์นิเจอร์ไปญี่ปุ่นยังคงต้องเผชิญการแข่งขันจากประเทศคู่แข่งที่สำคัญ โดยเฉพาะ จีน เวียดนาม และอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นประเทศผู้ส่งออกเฟอร์นิเจอร์รายใหญ่ไปยังญี่ปุ่น และมีแนวโน้มว่าประเทศดังกล่าวจะมีส่วนแบ่งตลาดเฟอร์นิเจอร์ในประเทศญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น ในขณะที่ส่วนแบ่งตลาดการส่งออกเฟอร์นิเจอร์ของไทยไปยังตลาดญี่ปุ่นกลับมีแนวโน้มลดลง
ดังนั้น แนวทางในการปรับตัวสำหรับขยายการส่งออก เพื่อรองรับกับความต้องการนำเข้าเฟอร์นิเจอร์ของชาวญี่ปุ่นที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต ควรมีดังนี้ ผู้ส่งออกควรปรับปรุงและยกระดับผลิตภัณฑ์ เพื่อให้สามารถแข่งขันในตลาดระดับกลางและบน เพื่อหลีกเลี่ยงการแข่งขันทางด้านราคากับประเทศจีนและอินโดนีเซีย
ผู้ส่งออกควรคัดสรรสินค้าที่ตรงตามความต้องการของชาวญี่ปุ่น ซึ่งเน้นทางด้านดีไซน์เพื่อประโยชน์ใช้สอย ควบคู่ไปกับการคำนึงถึงเรื่องคุณภาพชีวิต สุขภาพ และความปลอดภัย เพื่อสร้างจุดขายให้แก่สินค้า
สำหรับเฟอร์นิเจอร์สำนักงานอาจจะมุ่งเน้นผลิตสินค้าให้ได้การรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม Japan Industrial Standard หรือ JIS Mark ซึ่งจะเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะช่วยสร้างจุดเด่นให้กับเฟอร์นิเจอร์ไทย เป็นสินค้าที่มีการผลิตได้มาตรฐานในสายตาของผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นประเด็นเรื่องร่วมถึงการส่งมอบให้ตรงตามระยะเวลาที่กำหนดเพื่อรักษาภาพลักษณ์ที่ดีในการทำธุรกิจร่วมกัน