อาร์สยาม ปิดช่องโหว่แผ่นผี ส่งนักร้องวัยรุ่นลูกทุ่งร่วมสมัย ยึดพื้นที่หนุ่มสาวคนรุ่นใหม่อายุ 14-25ปี หวังผลสร้างรายได้ดิจิตอลดาวน์โหลดตามรอย อาร์เอส คาดในอีก 3 ปี รายได้ดิจิตอล 80% ฟิสิกซ์คอล 20% มั่นใจรายได้ปีนี้แตะ 640 ล้านบาท เติบโต 20% หลังปีก่อนโต 45% มากสุดตั้งแต่เปิดค่าย
นายศุภชัย นิลวรรณ รองกรรมการผู้อำนวยการดูแลงานเพลงลูกทุ่ง/ธุรกิจเพลง และกรรมการผู้จัดการ ค่ายเพลง อาร์สยาม บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า อาร์สยามถือเป็นค่ายเพลงลูกทุ่งที่มีความหลากหลายมากที่สุด จากจำนวนศิลปินกว่า 90 คน เจาะกลุ่มคนฟังทุกภูมิภาค และทุกช่วงอายุ ตั้งแต่เด็กไปจนถึงผู้สูงอายุ
อย่างไรก็ตาม พบว่า เพลงลูกทุ่ง ถือเป็นอีกกลุ่มที่ได้รับผลกระทบกับการละเมิดลิขสิทธิ์เช่นกัน รวมถึงช่องทางขายผ่านร้านค้าทั่วไปนั้นก็มีลดลงเหลือน้อยมาก ส่งผลให้ทางบริษัทต้องมีการปรับตัวรับกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ไปในทิศทางเดียวกันทางค่ายอาร์เอส เริ่มตั้งแต่ต้นน้ำในการปรับแนวเพลงและศิลปิน เพื่อเข้าถึงกลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 14ปีลงมาและกลุ่มวัยรุ่นตั้งแต่ 14-25ปี มากยิ่งขึ้น
ล่าสุดในช่วงครึ่งปีหลังในปีที่ผ่านมา บริษัทได้เริ่มทดลองส่งกลุ่มศิลปินอย่าง วงบลูเบอร์รี่, ลูกตาล, ใบเตย และกระแต ในแนวเพลงลูกทุ่งร่วมสมัย สไตล์เกาหลี ให้ได้รับฟัง พบว่าได้รับการตอบรับสูงมาก ส่งผลให้ยอดรายได้จากดิจิตอลเพิ่มสูงขึ้นเป็น 45% และฟิสิกซ์คอล(ซีดี วีซีดี) 55% จากเดิมใน 3 ปีก่อน ดิจิตอลอยู่ที่ 20% และฟิสิกซ์คัลอยู่ที่ 80% โดยมองว่าภายใน 3ปีหลังจากนี้รายได้จากดิจิตอลจะปรับขึ้นเป็น 80% และฟิสิกซ์คอลอยู่ที่ 20% แทน
นายศุภชัย กล่าวต่อว่า สำหรับรายได้ของอาร์สยามปีนี้ วางไว้ที่ 640 ล้านบาท เติบโตราว 20% มาจากดิจิตอล 30%, ฟิสิกซ์คอล 23%, สื่อโฆษณา(รวมกับรายได้จาก ช่อง สบายดี ทีวี) 26%, กิจกรรมทางการตลาด 9%, ลิขสิทธิ์ 7% และงานโชว์ศิลปินอีก 5% โดยการเติบโตหลักๆมาจากช่อง สบายดี ทีวี ที่คาดว่าปีนี้จะมีรายได้ 150-180 ล้านบาท
โดยปีนี้จะมีการเชื่อมต่อสัญญาณให้กับทางสหรัฐอเมริกานำไปออกอากาศให้คนไทยได้รับชมด้วย จากปีก่อนสบายดีทีวีทำรายได้ไว้ที่ 20-30 ล้านบาท ทั้งนี้เมื่อเทียบรายได้จากกลุ่มธุรกิจเพลงของอาร์เอสทั้งหมด 2 ค่าย พบว่า อาร์เอสอยู่ที่ 51% และอาร์สยาม 49% (ไม่รวมช่องทีวีดามเทียม)
ขณะที่ในปีที่ผ่านมา อาร์สยาม มีการเติบโตสูงถึง 45% สูงสุดตั้งแต่เปิดค่ายมาตลอด 9 ปี และการเติบโตมาจากการลดต้นทุนการผลิตรายการโทรทัศน์ทางฟรีทีวี จาก 5 รายการ เหลือ 2 รายการ เพื่อมาพัฒนารายการลงในช่องสบายดี ทีวีแทน รวมถึงกลุ่มธุรกิจด้านกิจกรรมทางการตลาดและออการ์ไนซ์ โชว์ศิลปิน และช่องทางดิจิตอล
นายศุภชัย นิลวรรณ รองกรรมการผู้อำนวยการดูแลงานเพลงลูกทุ่ง/ธุรกิจเพลง และกรรมการผู้จัดการ ค่ายเพลง อาร์สยาม บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า อาร์สยามถือเป็นค่ายเพลงลูกทุ่งที่มีความหลากหลายมากที่สุด จากจำนวนศิลปินกว่า 90 คน เจาะกลุ่มคนฟังทุกภูมิภาค และทุกช่วงอายุ ตั้งแต่เด็กไปจนถึงผู้สูงอายุ
อย่างไรก็ตาม พบว่า เพลงลูกทุ่ง ถือเป็นอีกกลุ่มที่ได้รับผลกระทบกับการละเมิดลิขสิทธิ์เช่นกัน รวมถึงช่องทางขายผ่านร้านค้าทั่วไปนั้นก็มีลดลงเหลือน้อยมาก ส่งผลให้ทางบริษัทต้องมีการปรับตัวรับกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ไปในทิศทางเดียวกันทางค่ายอาร์เอส เริ่มตั้งแต่ต้นน้ำในการปรับแนวเพลงและศิลปิน เพื่อเข้าถึงกลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 14ปีลงมาและกลุ่มวัยรุ่นตั้งแต่ 14-25ปี มากยิ่งขึ้น
ล่าสุดในช่วงครึ่งปีหลังในปีที่ผ่านมา บริษัทได้เริ่มทดลองส่งกลุ่มศิลปินอย่าง วงบลูเบอร์รี่, ลูกตาล, ใบเตย และกระแต ในแนวเพลงลูกทุ่งร่วมสมัย สไตล์เกาหลี ให้ได้รับฟัง พบว่าได้รับการตอบรับสูงมาก ส่งผลให้ยอดรายได้จากดิจิตอลเพิ่มสูงขึ้นเป็น 45% และฟิสิกซ์คอล(ซีดี วีซีดี) 55% จากเดิมใน 3 ปีก่อน ดิจิตอลอยู่ที่ 20% และฟิสิกซ์คัลอยู่ที่ 80% โดยมองว่าภายใน 3ปีหลังจากนี้รายได้จากดิจิตอลจะปรับขึ้นเป็น 80% และฟิสิกซ์คอลอยู่ที่ 20% แทน
นายศุภชัย กล่าวต่อว่า สำหรับรายได้ของอาร์สยามปีนี้ วางไว้ที่ 640 ล้านบาท เติบโตราว 20% มาจากดิจิตอล 30%, ฟิสิกซ์คอล 23%, สื่อโฆษณา(รวมกับรายได้จาก ช่อง สบายดี ทีวี) 26%, กิจกรรมทางการตลาด 9%, ลิขสิทธิ์ 7% และงานโชว์ศิลปินอีก 5% โดยการเติบโตหลักๆมาจากช่อง สบายดี ทีวี ที่คาดว่าปีนี้จะมีรายได้ 150-180 ล้านบาท
โดยปีนี้จะมีการเชื่อมต่อสัญญาณให้กับทางสหรัฐอเมริกานำไปออกอากาศให้คนไทยได้รับชมด้วย จากปีก่อนสบายดีทีวีทำรายได้ไว้ที่ 20-30 ล้านบาท ทั้งนี้เมื่อเทียบรายได้จากกลุ่มธุรกิจเพลงของอาร์เอสทั้งหมด 2 ค่าย พบว่า อาร์เอสอยู่ที่ 51% และอาร์สยาม 49% (ไม่รวมช่องทีวีดามเทียม)
ขณะที่ในปีที่ผ่านมา อาร์สยาม มีการเติบโตสูงถึง 45% สูงสุดตั้งแต่เปิดค่ายมาตลอด 9 ปี และการเติบโตมาจากการลดต้นทุนการผลิตรายการโทรทัศน์ทางฟรีทีวี จาก 5 รายการ เหลือ 2 รายการ เพื่อมาพัฒนารายการลงในช่องสบายดี ทีวีแทน รวมถึงกลุ่มธุรกิจด้านกิจกรรมทางการตลาดและออการ์ไนซ์ โชว์ศิลปิน และช่องทางดิจิตอล