ASTVผู้จัดการรายวัน- พันธมิตรฯ ยื่นหนังสือปธ.วุฒิ ค้านการผ่านบันทึก JBC ทั้ง 3 ฉบับ ยัน JBCเกิดก่อน MOU ซัด"มาร์ค"บิดเบือน อ้างล้มเวทีทวิภาคี "ปานเทพ" ยกคำ"ศ.ดร.สมปอง" ชี้ MOU เข้าขั้นมหันตโทษต่อชาติ หมกเม็ดรับรองแผนที่ 1 ต่อ 2 แสน เตือน ตร.ระดับปฏิบัติพิจารณาให้รอบคอบก่อนทำรุนแรง มิเช่นนั้นจะโดนคดีเล่นงานภายหลัง “จำลอง”นำทีมแกนนำ พธม.ขึ้นศาลชัยภูมิ สู้คดี “นช.แม้ว”ฟ้องหมิ่นประมาท
เมื่อเวลา 10.00 น. วานนี้ (21 มี.ค.) ที่บริเวณสะพานมัฆวานรังสรรค์ นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โฆษกพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กล่าวว่า ตนจะเป็นตัวแทนคณะกรรมการป้องกันราชอาณาจักรไทย ไปยื่นหนังสือคัดค้านการพิจารณา ร่าง บันทึกการประชุมกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา ( เจบีซี ) ทั้ง 3 ฉบับ ของที่ประชุมร่วมรัฐสภา ซึ่งคาดว่าจะมีขึ้นในวันที่ 29 มี.ค.นี้ โดยครั้งนี้ ถือเป็นการเตือนครั้งที่ 2 หลังจากที่ได้ยื่นหนังสือไปครั้งหนึ่งแล้ว เมื่อวันที่ 14 มี.ค. ที่ผ่านมาโดยได้เพิ่มบทความเรื่อง “จุดยืนที่เหนือกว่า” โดย ศ.ดร.สมปอง สุจริตกุล ในหนังสือที่จะยื่นถึงสมาชิกรัฐสภาทุกคน ผ่านทางสำนักเลขาธิการวุฒิสภาด้วย
ทั้งนี้ ในบทความของ ศ.ดร.สมปอง ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายระหว่างประเทศ และยังเป็นอดีตคณะทนายผู้ประสานงานคดีปราสาทพระวิหาร เมื่อปี 2505 ด้วย ได้ให้แสดงข้อคิดเห็นว่า เขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชาได้ปักปันแล้วเสร็จมากว่า 103 ปี ตั้งแต่สมัยที่เป็นสยาม และฝรั่งเศสเป็นเจ้าอาณานิคมของกัมพูชา แต่หากที่ประชุมร่วมรัฐสภารับรองร่างบันทึกเจบีซี ทั้ง 3 ฉบับ จะเป็นการยอมรับให้มีการปักปันเขตแดนระหว่างไทย-กัมพูชาใหม่ และสละผลงานการปักปันเขตแดนที่เสร็จสิ้นไปเมื่อ 103 ปีที่แล้ว ที่ยอมรับใช้สันปันน้ำเป็นเส้นเขตแดนบริเวณเขาพระวิหารอีกด้วย
นอกจากนี้ ศ.ดร.สมปอง ยังได้ระบุด้วยว่า เอ็มโอยู 2543 นั้นเป็นมหันตโทษต่อประเทศชาติ เนื่องจากมีเงื่อนงำ หมกเม็ดแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน ที่ฝรั่งเศสกระทำฝ่ายเดียวอีกด้วย
ดังนั้นทางคณะกรรมการฯจึงได้ทำหนังสือขอให้สมาชิกรัฐสภา ลงมติไม่รับรองบันทึกเจบีซีทั้ง 3 ฉบับ เพื่อเป็นหนทางให้รอดพ้นจากวิกฤตการณ์ของชาติครั้งนี้
** หากรับเจบีซีถือว่าทำผิดกม.อาญา
ทั้งนี้ หาก ส.ว.และ ส.ส.คนใดลงมติรับรองบันทึกการประชุมดังกล่าว นอกจากจะถูกบันทึกในหน้าประวัติศาสตร์ว่าได้ทำให้ประเทศชาติสูญเสียดินแดนและอธิปไตยอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน แล้วยังถือเป็นการกระทำผิดประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 119, 120 และ 157 ซึ่งมีโทษจำคุกตลอดชีวิต หรือประหารชีวิต ซึ่งภาคประชาชนจำเป็นต้องดำเนินคดีอาญาให้ถึงที่สุด
" การพิจาณาบันทึกการประชุมเจบีซีครั้งนี้ เป็นการพิจารณาเพื่อรับรอง หรือไม่รับรอง ไม่สามารถแปรญัตติ หรือแก้ไขข้อความได้ ดังนั้นการรับปากของนายกฯ หรือการตั้งข้อสังเกตที่คณะกรรมาธิการฯของรัฐสภานั้น ก็ไม่มีผลใดๆ ทั้งสิ้น หากรัฐสภาไทยรับรองบันทึกเจบีซี ที่เสร็จสิ้นไปแล้ว ทางกัมพูชา ก็สามารถนำไปอ้างในเวทีนานาชาติได้ว่า ประเทศไทยยอมรับแผนที่ 1 ต่อ 2 แสน และยังยอมรับว่าไทยรุกรานกัมพูชา ตามคำปราศรัยของ นายวาร์ คิม ฮง ผู้แทนเจบีฝ่ายกัมพูชาอีกด้วย" นายปานเทพ กล่าว
**ยันเจบีซีเกิดก่อนเอ็มโอยู 43
โอกาสนี้ นายปานเทพ ยังได้เปิดเผยร่างบันทึกรายงานการประชุมของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (เจบีซี) ครั้งที่ 2 ลงวันที่ 9 มี.ย. 43 ที่ระบุถึง การเตรียมการจัดทำ เอ็มโอยู 2543 พร้อมกล่าวว่า หนังสือฉบับนี้แสดงให้เห็นว่า แม้จริงแล้ว เอ็มโอยู 2543 เกิดมาจากการประชุมของคณะกรรมการเจบีซี เนื่องจากการประชุมครั้งที่ 2 ของเจบีซีนั้น เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 5-7 มิ.ย. 43 แต่เอ็มโอยู 2543 ลงนามในวันที่ 14 มิ.ย. 43 โดย ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร รมช.ต่างประเทศ ในขณะนั้น ซึ่งหมายความว่า ที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี พยายามกล่าวอ้างบิดเบือนต่อสาธารณชนว่า หากมีการยกเลิกเอ็มโอยู 2543 จะทำให้ไม่มีกลไกการเจรจาแบบทวิภาคีนั้น เป็นการกล่าวเท็จ เนื่องจากมีหลักฐานที่นระบุชัดเจนว่า ก่อนหน้าที่จะมีเอ็มโอยู 2543 นั้น ไทยและกัมพูชาก็มีการเจรจาในระดับทวิภาคีอยู่แล้ว ผ่านคณะกรรมาธิการเจบีซี
"การยกเลิกเอ็มโอยู 2543 ไม่ได้เป็นการทำลายกลไกระดับทวิภาคี เพราะก่อนมีเอ็มโอยู 2543 ไทยกับกัมพูชาก็มี เจบีซีอยู่ แล้ว และมีการประชุมกันอย่างต่อเนื่อง เราจึงขอยืนหยัดเรียกร้องเหมือนเดิมให้รัฐบาลไทยยกเลิกเอ็มโอยู 2543 รวมทั้งไม่รับรองบันทึกเจบีซีทั้ง 3 ฉบับ ซึ่งจะทำให้คณะกรรมาธิการเจบีซี ต้องไปประชุมกันใหม่เพื่อให้เกิดข้อตกลงที่เป็นธรรมกับทั้งสองฝ่าย" โฆษกพันธมิตรฯ กล่าว
** ระวังตกอยู่ในเกมของกัมพูชา
นายปานเทพ ยังตั้งข้อสังเกตกับการเลื่อนการประชุมเจบีซี ซึ่งจะจัดขึ้นที่ประเทศอินโดนีเซียจากวันที่ 24-25 มี.ค.ไปเป็นวันที่ 7-8 เม.ย. นี้ว่า สอดรับการกับการเลื่อนพิจารณาร่างบันทึกการประชุมเจบีซี ของรัฐบาลไทย จากวันที่ 22 มี.ค.เป็นวันที่ 29 มี.ค. โดยตนเห็นว่าเป็นการวางเกมให้มีการผ่านบันทึกเจบีซีทั้ง 3 ฉบับก่อน เพื่อให้อาเซียนสามารถส่งทหารอินโดนีเซียเข้ามาสังเกตการณ์ในพื้นที่ได้อย่างชอบธรรม เนื่องจากในบันทึกมีระบุถึงการให้ทหารของทั้งไทยกับกัมพูชาออกจากพื้นที่
** ยื่นปธ.วุฒิฯค้านเจบีซี 3 ฉบับ
ต่อมา เวลาประมาณ 11.00 น. ผู้แทนคณะกรรมการป้องกันราชอาณาจักรไทย โดยนายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ และนายประพันธ์ คูณมี ได้เดินทางไปยื่นหนังสือต่อ นายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา ในฐานะรองประธานรัฐสภา ผ่านนายไพโรจน์ โพธิไสย รองเลขาธิการวุฒิสภา เพื่อขอให้สมาชิกรัฐสภา ไม่รับรองบันทึกเจบีซี ทั้ง 3 ฉบับ โดยนายปานเทพ ได้เปิดเผยกับสื่อมวลชนภายหลังจากการยื่นหนังสือว่า การที่ภาคประชาชนมายื่นหนังสือเตือนสมาชิกรัฐสภาเป็นครั้งที่ 2 เพื่อไม่ให้สมาชิกเห็นชอบบันทึกเจบีซี
ทั้งนี้ เรารับทราบมาว่าในการบันทึกผลประชุม ไม่มีการบันทึกของนักสำรวจ การทำประชามติไม่เป็นไปตามขั้นตอน ให้ข้อมูลเฉพาะที่เป็นคุณกับรัฐบาล แต่ไม่ได้ให้ข้อมูลที่เป็นโทษต่อการสูญเสียดินแดนของประเทศ
**เก๋งดำลึกลับโผล่ชนผู้ชุมนุม
วันเดียวกัน เมื่อเวลา 18.00 น. เกิดเหตุการณ์ระทึกในการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) หลังจากมีรถยนต์ ยี่ห้อวอลโว่ สีดำ ไม่ทราบป้ายทะเบียน ได้วิ่งข้ามสะพานมัฆวานรังสรรค์เข้ามายังบริเวณ ถ.ราชดำเนินนอก ฝั่งกระทรวงศึกษาธิการ ด้วยความเร็วพร้อมบีบแตรเสียงดังตลอดทาง ก่อนที่จะเฉี่ยวชนผู้ชุมนุมชายคนหนึ่งที่เดินอยู่บริเวณด้านนอกพื้นที่ชุมนุม ส่งผลให้ผู้ชุมนุมจำนวนหนึ่งที่เห็นเหตุการณ์ ได้ลุกฮือด้วยความตื่นตระหนกและพยายามวิ่งตามรถคันดังกล่าว ขณะที่บนเวทีปราศรัยกลุ่มแนวร่วมพันธมิตรฯ ที่ขึ้นพูดปราศรัยอยู่ ได้พูดห้ามปรามห้ามผู้ชุมนุมใจเย็น ให้อยู่ในพื้นที่ชุมนุม โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ดูแลความปลอดภัยบริเวณหน้ากระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งอยู่เหตุการณ์ได้ระบุว่า ขณะที่สถานการณ์อยู่ในช่วงชุลมุน ได้มีผู้ชุมนุมรายหนึ่งขับขี่รถมอเตอร์ไซค์เข้าไปทุบกระจกรถยนต์คันดังกล่าวจนได้รับความเสียหายกระจนแตก ก่อนที่จะขับหลบหนีไปทางแยกมิสกวันในท้ายที่สุด อย่างไรก็ตามเบื้องต้นขณะนี้ผู้ที่รับบาดเจ็บที่มีแผลถลอกบริเวณไหล่ขวาและเข่าขวา ได้ถูกนำตัวไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลวิชรพยาบาลต่อไป
“จำลอง”นำทีมขึ้นศาลสู้คดี นช.แม้ว
วานนี้ (21 มี.ค.)เมื่อเวลา 09.00 น. ศาลจังหวัดชัยภูมิ ได้นัดไต่สวนคำร้อง ตามคดีหมายเลขดำที่ อ.1621 โดยมี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นโจทก์ ฟ้อง นายสนธิ ลิ้มทองกุล และกับพวกรวม 8 คน ประกอบด้วย นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์, นายพิภพ ธงไชย, นายสมศักดิ์ โกศัยสุข, พล.ต.จำลอง ศรีเมือง, นายสุริยะใส กตะศิลา, ผู้บริหารบริษัท เอเอสทีวี (ประเทศไทย) จำกัด และผู้บริหารบริษัท ไทยเดย์ ด็อทคอม จำกัด ในข้อหาคดีกล่าวให้ร้ายหมิ่นประมาทเมื่อครั้งพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ชุมนุมใหญ่ 193 วันเพื่อขับไล่รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ เมื่อปี 2551 ณ บัลลังก์ 6 ชั้น 2 ศาลจังหวัดชัยภูมิ โดย นางสาวเกสสุดา มุสิกะปาน เป็นผู้พิพากษานั่งบัลลังก์พิจารณาคดี นานกว่า 1 ชั่วโมง
ขณะเดียวกัน ที่บริเวณด้านหน้าศาลจังหวัดชัยภูมิ ได้มีประชาชนกลุ่มพันธมิตรฯ จ.ชัยภูมิ มาคอยต้อนรับให้กำลังใจ พร้อมมอบดอกกุหลาบ ให้กับบรรดาแกนนำพันธมิตรฯ พร้อมผู้บริหาร เอเอสทีวี (ประเทศไทย) จำกัด และ บริษัท ไทยเดย์ ด็อทคอม จำกัด ที่เดินทางมาขึ้นศาลคดีดังกล่าวอย่างคึกคัก ซึ่งไม่มีกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หรือ กลุ่มคนเสื้อแดง ในพื้นที่ออกมาเคลื่อนไหวแต่อย่างใด
วันนี้แกนนำพันธมิตรฯ นำโดย พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ได้เดินทางมาขึ้นศาลทุกคน ยกเว้น นายสนธิ ลิ้มทองกุล ที่ไม่ได้เดินทางมารับคำร้องด้วยตนเอง นายสุวัตร อภัยภักดิ์ ทนายความพันธมิตรฯได้แจ้งต่อศาล ว่า นายสนธิ ลิ้มทองกุล มีอาการปวดขาอย่างรุนแรงไม่สามารถเดินได้ สาเหตุเนื่องจากเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2552 ถูกยิงด้วยอาวุธสงครามกว่า 200 นัด และถูกยิงที่ศีรษะ กระทบเนื้อสมอง ส่งผลให้ระบบการทรงตัวของ นายสนธิ ได้รับการกระทบกระเทือน และอาการกำเริบเมื่อ 2 วันก่อนหน้านี้ ศาลจึงอนุญาตให้เลื่อนสอบ นายสนธิ ลิ้มทองกุล ไปเป็นภายในวันที่ 5 เม.ย.2554
ทั้งนี้ แกนนำพันธมิตรฯ ทุกคน รวมทั้ง ผู้บริหาร บริษัท เอเอสทีวี (ประเทศไทย) จำกัด และผู้บริหาร บริษัท ไทยเดย์ ด็อทคอม จำกัด ที่ตกเป็นจำเลย ให้การปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ซึ่งคดีนี้ ทนายทั้ง 2 ฝ่าย เห็นพ้องไม่สามารถตกลงกันได้ ขอให้ศาลนำเข้าสู่ระบบพิจารณาคดีอย่างต่อเนื่อง โดยทางทนายฝ่ายโจทก์มีพยาน 16 ปาก ทนายฝ่ายจำเลยมีพยาน 20 ปาก ทนายทั้ง 2 ฝ่ายตกลงขออนุญาตนำสืบพยานที่ศาลาอาญา กรุงเทพฯ เพื่อความสะดวกในการเดินทางของพยาน
พล.ต.จำลอง ศรีเมือง 1 ใน 5 แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เปิดเผยว่า หลังรับทราบข้อกล่าวหา ทุกคนให้การปฏิเสธและพร้อมสู้คดีในชั้นศาลต่อไป ซึ่งศาลได้กำหนดนัดพิจารณาคดีแล้วและจำเลยไม่ต้องมาให้การ เพราะเป็นการพิจารณาลับหลัง
เมื่อเวลา 10.00 น. วานนี้ (21 มี.ค.) ที่บริเวณสะพานมัฆวานรังสรรค์ นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โฆษกพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กล่าวว่า ตนจะเป็นตัวแทนคณะกรรมการป้องกันราชอาณาจักรไทย ไปยื่นหนังสือคัดค้านการพิจารณา ร่าง บันทึกการประชุมกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา ( เจบีซี ) ทั้ง 3 ฉบับ ของที่ประชุมร่วมรัฐสภา ซึ่งคาดว่าจะมีขึ้นในวันที่ 29 มี.ค.นี้ โดยครั้งนี้ ถือเป็นการเตือนครั้งที่ 2 หลังจากที่ได้ยื่นหนังสือไปครั้งหนึ่งแล้ว เมื่อวันที่ 14 มี.ค. ที่ผ่านมาโดยได้เพิ่มบทความเรื่อง “จุดยืนที่เหนือกว่า” โดย ศ.ดร.สมปอง สุจริตกุล ในหนังสือที่จะยื่นถึงสมาชิกรัฐสภาทุกคน ผ่านทางสำนักเลขาธิการวุฒิสภาด้วย
ทั้งนี้ ในบทความของ ศ.ดร.สมปอง ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายระหว่างประเทศ และยังเป็นอดีตคณะทนายผู้ประสานงานคดีปราสาทพระวิหาร เมื่อปี 2505 ด้วย ได้ให้แสดงข้อคิดเห็นว่า เขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชาได้ปักปันแล้วเสร็จมากว่า 103 ปี ตั้งแต่สมัยที่เป็นสยาม และฝรั่งเศสเป็นเจ้าอาณานิคมของกัมพูชา แต่หากที่ประชุมร่วมรัฐสภารับรองร่างบันทึกเจบีซี ทั้ง 3 ฉบับ จะเป็นการยอมรับให้มีการปักปันเขตแดนระหว่างไทย-กัมพูชาใหม่ และสละผลงานการปักปันเขตแดนที่เสร็จสิ้นไปเมื่อ 103 ปีที่แล้ว ที่ยอมรับใช้สันปันน้ำเป็นเส้นเขตแดนบริเวณเขาพระวิหารอีกด้วย
นอกจากนี้ ศ.ดร.สมปอง ยังได้ระบุด้วยว่า เอ็มโอยู 2543 นั้นเป็นมหันตโทษต่อประเทศชาติ เนื่องจากมีเงื่อนงำ หมกเม็ดแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน ที่ฝรั่งเศสกระทำฝ่ายเดียวอีกด้วย
ดังนั้นทางคณะกรรมการฯจึงได้ทำหนังสือขอให้สมาชิกรัฐสภา ลงมติไม่รับรองบันทึกเจบีซีทั้ง 3 ฉบับ เพื่อเป็นหนทางให้รอดพ้นจากวิกฤตการณ์ของชาติครั้งนี้
** หากรับเจบีซีถือว่าทำผิดกม.อาญา
ทั้งนี้ หาก ส.ว.และ ส.ส.คนใดลงมติรับรองบันทึกการประชุมดังกล่าว นอกจากจะถูกบันทึกในหน้าประวัติศาสตร์ว่าได้ทำให้ประเทศชาติสูญเสียดินแดนและอธิปไตยอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน แล้วยังถือเป็นการกระทำผิดประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 119, 120 และ 157 ซึ่งมีโทษจำคุกตลอดชีวิต หรือประหารชีวิต ซึ่งภาคประชาชนจำเป็นต้องดำเนินคดีอาญาให้ถึงที่สุด
" การพิจาณาบันทึกการประชุมเจบีซีครั้งนี้ เป็นการพิจารณาเพื่อรับรอง หรือไม่รับรอง ไม่สามารถแปรญัตติ หรือแก้ไขข้อความได้ ดังนั้นการรับปากของนายกฯ หรือการตั้งข้อสังเกตที่คณะกรรมาธิการฯของรัฐสภานั้น ก็ไม่มีผลใดๆ ทั้งสิ้น หากรัฐสภาไทยรับรองบันทึกเจบีซี ที่เสร็จสิ้นไปแล้ว ทางกัมพูชา ก็สามารถนำไปอ้างในเวทีนานาชาติได้ว่า ประเทศไทยยอมรับแผนที่ 1 ต่อ 2 แสน และยังยอมรับว่าไทยรุกรานกัมพูชา ตามคำปราศรัยของ นายวาร์ คิม ฮง ผู้แทนเจบีฝ่ายกัมพูชาอีกด้วย" นายปานเทพ กล่าว
**ยันเจบีซีเกิดก่อนเอ็มโอยู 43
โอกาสนี้ นายปานเทพ ยังได้เปิดเผยร่างบันทึกรายงานการประชุมของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (เจบีซี) ครั้งที่ 2 ลงวันที่ 9 มี.ย. 43 ที่ระบุถึง การเตรียมการจัดทำ เอ็มโอยู 2543 พร้อมกล่าวว่า หนังสือฉบับนี้แสดงให้เห็นว่า แม้จริงแล้ว เอ็มโอยู 2543 เกิดมาจากการประชุมของคณะกรรมการเจบีซี เนื่องจากการประชุมครั้งที่ 2 ของเจบีซีนั้น เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 5-7 มิ.ย. 43 แต่เอ็มโอยู 2543 ลงนามในวันที่ 14 มิ.ย. 43 โดย ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร รมช.ต่างประเทศ ในขณะนั้น ซึ่งหมายความว่า ที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี พยายามกล่าวอ้างบิดเบือนต่อสาธารณชนว่า หากมีการยกเลิกเอ็มโอยู 2543 จะทำให้ไม่มีกลไกการเจรจาแบบทวิภาคีนั้น เป็นการกล่าวเท็จ เนื่องจากมีหลักฐานที่นระบุชัดเจนว่า ก่อนหน้าที่จะมีเอ็มโอยู 2543 นั้น ไทยและกัมพูชาก็มีการเจรจาในระดับทวิภาคีอยู่แล้ว ผ่านคณะกรรมาธิการเจบีซี
"การยกเลิกเอ็มโอยู 2543 ไม่ได้เป็นการทำลายกลไกระดับทวิภาคี เพราะก่อนมีเอ็มโอยู 2543 ไทยกับกัมพูชาก็มี เจบีซีอยู่ แล้ว และมีการประชุมกันอย่างต่อเนื่อง เราจึงขอยืนหยัดเรียกร้องเหมือนเดิมให้รัฐบาลไทยยกเลิกเอ็มโอยู 2543 รวมทั้งไม่รับรองบันทึกเจบีซีทั้ง 3 ฉบับ ซึ่งจะทำให้คณะกรรมาธิการเจบีซี ต้องไปประชุมกันใหม่เพื่อให้เกิดข้อตกลงที่เป็นธรรมกับทั้งสองฝ่าย" โฆษกพันธมิตรฯ กล่าว
** ระวังตกอยู่ในเกมของกัมพูชา
นายปานเทพ ยังตั้งข้อสังเกตกับการเลื่อนการประชุมเจบีซี ซึ่งจะจัดขึ้นที่ประเทศอินโดนีเซียจากวันที่ 24-25 มี.ค.ไปเป็นวันที่ 7-8 เม.ย. นี้ว่า สอดรับการกับการเลื่อนพิจารณาร่างบันทึกการประชุมเจบีซี ของรัฐบาลไทย จากวันที่ 22 มี.ค.เป็นวันที่ 29 มี.ค. โดยตนเห็นว่าเป็นการวางเกมให้มีการผ่านบันทึกเจบีซีทั้ง 3 ฉบับก่อน เพื่อให้อาเซียนสามารถส่งทหารอินโดนีเซียเข้ามาสังเกตการณ์ในพื้นที่ได้อย่างชอบธรรม เนื่องจากในบันทึกมีระบุถึงการให้ทหารของทั้งไทยกับกัมพูชาออกจากพื้นที่
** ยื่นปธ.วุฒิฯค้านเจบีซี 3 ฉบับ
ต่อมา เวลาประมาณ 11.00 น. ผู้แทนคณะกรรมการป้องกันราชอาณาจักรไทย โดยนายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ และนายประพันธ์ คูณมี ได้เดินทางไปยื่นหนังสือต่อ นายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา ในฐานะรองประธานรัฐสภา ผ่านนายไพโรจน์ โพธิไสย รองเลขาธิการวุฒิสภา เพื่อขอให้สมาชิกรัฐสภา ไม่รับรองบันทึกเจบีซี ทั้ง 3 ฉบับ โดยนายปานเทพ ได้เปิดเผยกับสื่อมวลชนภายหลังจากการยื่นหนังสือว่า การที่ภาคประชาชนมายื่นหนังสือเตือนสมาชิกรัฐสภาเป็นครั้งที่ 2 เพื่อไม่ให้สมาชิกเห็นชอบบันทึกเจบีซี
ทั้งนี้ เรารับทราบมาว่าในการบันทึกผลประชุม ไม่มีการบันทึกของนักสำรวจ การทำประชามติไม่เป็นไปตามขั้นตอน ให้ข้อมูลเฉพาะที่เป็นคุณกับรัฐบาล แต่ไม่ได้ให้ข้อมูลที่เป็นโทษต่อการสูญเสียดินแดนของประเทศ
**เก๋งดำลึกลับโผล่ชนผู้ชุมนุม
วันเดียวกัน เมื่อเวลา 18.00 น. เกิดเหตุการณ์ระทึกในการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) หลังจากมีรถยนต์ ยี่ห้อวอลโว่ สีดำ ไม่ทราบป้ายทะเบียน ได้วิ่งข้ามสะพานมัฆวานรังสรรค์เข้ามายังบริเวณ ถ.ราชดำเนินนอก ฝั่งกระทรวงศึกษาธิการ ด้วยความเร็วพร้อมบีบแตรเสียงดังตลอดทาง ก่อนที่จะเฉี่ยวชนผู้ชุมนุมชายคนหนึ่งที่เดินอยู่บริเวณด้านนอกพื้นที่ชุมนุม ส่งผลให้ผู้ชุมนุมจำนวนหนึ่งที่เห็นเหตุการณ์ ได้ลุกฮือด้วยความตื่นตระหนกและพยายามวิ่งตามรถคันดังกล่าว ขณะที่บนเวทีปราศรัยกลุ่มแนวร่วมพันธมิตรฯ ที่ขึ้นพูดปราศรัยอยู่ ได้พูดห้ามปรามห้ามผู้ชุมนุมใจเย็น ให้อยู่ในพื้นที่ชุมนุม โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ดูแลความปลอดภัยบริเวณหน้ากระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งอยู่เหตุการณ์ได้ระบุว่า ขณะที่สถานการณ์อยู่ในช่วงชุลมุน ได้มีผู้ชุมนุมรายหนึ่งขับขี่รถมอเตอร์ไซค์เข้าไปทุบกระจกรถยนต์คันดังกล่าวจนได้รับความเสียหายกระจนแตก ก่อนที่จะขับหลบหนีไปทางแยกมิสกวันในท้ายที่สุด อย่างไรก็ตามเบื้องต้นขณะนี้ผู้ที่รับบาดเจ็บที่มีแผลถลอกบริเวณไหล่ขวาและเข่าขวา ได้ถูกนำตัวไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลวิชรพยาบาลต่อไป
“จำลอง”นำทีมขึ้นศาลสู้คดี นช.แม้ว
วานนี้ (21 มี.ค.)เมื่อเวลา 09.00 น. ศาลจังหวัดชัยภูมิ ได้นัดไต่สวนคำร้อง ตามคดีหมายเลขดำที่ อ.1621 โดยมี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นโจทก์ ฟ้อง นายสนธิ ลิ้มทองกุล และกับพวกรวม 8 คน ประกอบด้วย นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์, นายพิภพ ธงไชย, นายสมศักดิ์ โกศัยสุข, พล.ต.จำลอง ศรีเมือง, นายสุริยะใส กตะศิลา, ผู้บริหารบริษัท เอเอสทีวี (ประเทศไทย) จำกัด และผู้บริหารบริษัท ไทยเดย์ ด็อทคอม จำกัด ในข้อหาคดีกล่าวให้ร้ายหมิ่นประมาทเมื่อครั้งพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ชุมนุมใหญ่ 193 วันเพื่อขับไล่รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ เมื่อปี 2551 ณ บัลลังก์ 6 ชั้น 2 ศาลจังหวัดชัยภูมิ โดย นางสาวเกสสุดา มุสิกะปาน เป็นผู้พิพากษานั่งบัลลังก์พิจารณาคดี นานกว่า 1 ชั่วโมง
ขณะเดียวกัน ที่บริเวณด้านหน้าศาลจังหวัดชัยภูมิ ได้มีประชาชนกลุ่มพันธมิตรฯ จ.ชัยภูมิ มาคอยต้อนรับให้กำลังใจ พร้อมมอบดอกกุหลาบ ให้กับบรรดาแกนนำพันธมิตรฯ พร้อมผู้บริหาร เอเอสทีวี (ประเทศไทย) จำกัด และ บริษัท ไทยเดย์ ด็อทคอม จำกัด ที่เดินทางมาขึ้นศาลคดีดังกล่าวอย่างคึกคัก ซึ่งไม่มีกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หรือ กลุ่มคนเสื้อแดง ในพื้นที่ออกมาเคลื่อนไหวแต่อย่างใด
วันนี้แกนนำพันธมิตรฯ นำโดย พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ได้เดินทางมาขึ้นศาลทุกคน ยกเว้น นายสนธิ ลิ้มทองกุล ที่ไม่ได้เดินทางมารับคำร้องด้วยตนเอง นายสุวัตร อภัยภักดิ์ ทนายความพันธมิตรฯได้แจ้งต่อศาล ว่า นายสนธิ ลิ้มทองกุล มีอาการปวดขาอย่างรุนแรงไม่สามารถเดินได้ สาเหตุเนื่องจากเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2552 ถูกยิงด้วยอาวุธสงครามกว่า 200 นัด และถูกยิงที่ศีรษะ กระทบเนื้อสมอง ส่งผลให้ระบบการทรงตัวของ นายสนธิ ได้รับการกระทบกระเทือน และอาการกำเริบเมื่อ 2 วันก่อนหน้านี้ ศาลจึงอนุญาตให้เลื่อนสอบ นายสนธิ ลิ้มทองกุล ไปเป็นภายในวันที่ 5 เม.ย.2554
ทั้งนี้ แกนนำพันธมิตรฯ ทุกคน รวมทั้ง ผู้บริหาร บริษัท เอเอสทีวี (ประเทศไทย) จำกัด และผู้บริหาร บริษัท ไทยเดย์ ด็อทคอม จำกัด ที่ตกเป็นจำเลย ให้การปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ซึ่งคดีนี้ ทนายทั้ง 2 ฝ่าย เห็นพ้องไม่สามารถตกลงกันได้ ขอให้ศาลนำเข้าสู่ระบบพิจารณาคดีอย่างต่อเนื่อง โดยทางทนายฝ่ายโจทก์มีพยาน 16 ปาก ทนายฝ่ายจำเลยมีพยาน 20 ปาก ทนายทั้ง 2 ฝ่ายตกลงขออนุญาตนำสืบพยานที่ศาลาอาญา กรุงเทพฯ เพื่อความสะดวกในการเดินทางของพยาน
พล.ต.จำลอง ศรีเมือง 1 ใน 5 แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เปิดเผยว่า หลังรับทราบข้อกล่าวหา ทุกคนให้การปฏิเสธและพร้อมสู้คดีในชั้นศาลต่อไป ซึ่งศาลได้กำหนดนัดพิจารณาคดีแล้วและจำเลยไม่ต้องมาให้การ เพราะเป็นการพิจารณาลับหลัง