ASTVผู้จัดการรายวัน – คลังเล็งเสนอแก้กฎหมายปรับอัตราคำนวณภาษีบุหรี่ใหม่ “มั่น พัธโนทัย” ชงครม. 29 มี.ค.นี้ ระบุต้องปรับปรุงให้สอดคล้องกับข้อตกลงกรอบการค้าเสรีอาเซียน แจงราคาขายปลีกบุหรี่จะสูงขึ้นเล็กน้อยแต่จำเป็นต้องปรับตามข้อเสนอของ สสส.
นายมั่น พัธโนทัย รมช.คลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังจะนำเสนอร่าง พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ภาษีบุหรี่ พ.ศ. … ฉบับแก้ไข ต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันที่ 29 มีนาคมนี้ ซึ่งจะปรับเปลี่ยนฐานในการคำนวณภาษีจากการคำนวณที่ต้องถือตามราคาที่ผู้นำเข้าสำแดงตามราคาสินค้าบวกด้วยค่าประกันภัยและค่าขนส่งหรือ C.I.F. (C=cost I = insurance F= freights) ซึ่งมีมูลค่าต่ำมาเป็นการคำนวณราคาขายปลีกแทน ซึ่งจะส่งผลให้ราคาขายปลีกบุหรี่ในประเทศปรับขึ้น แต่จะไม่สูงมาก โดยเป็นแนวทางการปรับฐานการคิดภาษีในประเทศให้ถูกต้อง เพราะจากข้อตกลงการค้าเสรี (FTA)กับประเทศสมาชิกอาเซียน จะทำให้ไม่มีภาษีศุลกากรและราคา C.I.F.ลดลงด้วย
“นอกจากนั้น ยังเป็นการดำเนินการตามเจตนารมณ์ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ที่ต้องการรณรงค์ให้คนลดการสูบบุหรี่ลง ดังนั้นก็ควรที่จะปรับฐานราคาบุหรี่ให้สูง เพราะเป็นตัวทำลายสุขภาพ” นายมั่นกล่าวและว่า การปรับฐานการคิดภาษีสรรพสามิตบุหรี่จะทำให้การจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลเพิ่มขึ้นด้วย แต่ไม่มากนัก
สำหรับการปรับโครงสร้างภาษีรถยนต์ในสัปดาห์หน้าจะมีการประชุมร่วมกันระหว่างกระทรวงการคลังและกระทรงพลังงาน ทั้ง นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ รมว.อุตสาหกรรม เพื่อสรุปโครงสร้างภาษีรถยนต์ที่จะประกาศใช้ใหม่ หลังจากที่ได้ข้อสรุปจากหน่วยงานต่างๆ แล้ว โดยยืนยันหลักการเดิมที่จะให้ผู้ประกอบการมีเวลาในการปรับตัว 3 ปี เพราะประเทศไทยเป็นฐานการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์จำนวนมากและเป็นผู้ส่งออกอันดับ 1 ด้วย
“ที่เรายังให้เวลาผู้ประกอบการ 3 ปี เพราะมองว่า หากผลิตชิ้นส่วนยานยนต์มาก เราก็จะได้ประโยชน์ ขณะเดียวกัน หากขึ้นภาษีแรง และกระทบต่อการเอกชนผู้ส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์ และจะทำให้ประเทศอินโดนีเซียขึ้นมาเป็นอันดับ 1 ในการส่งออกแทน เราจึงอยากรักษาตรงนี้ไว้ และอยากให้เอกชนปรับตัวด้านความปลอดภัยแทน” นายมั่นกล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรมสรรพสามิตได้ปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.ยาสูบ โดยเปลี่ยนฐานในการคำนวณภาษีจากการคำนวณที่ต้องถือตามราคา C.I.F. เป็นราคาขายปลีกแทน และได้ดำเนินการออกพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ. 2509 ปรับเพิ่มเพดานอัตราภาษีจากเดิม "ตามมูลค่าร้อยละ 80 หรือ 60 สตางค์ต่อปริมาณหนึ่งกรัม" เป็น "อัตราตามมูลค่าร้อยละ 90 หรือ 3 บาทต่อปริมาณหนึ่งกรัม" ตามข้อเสนอของกระทรวงยุติธรรม ที่ให้กรมสรรพสามิตเรียกเก็บภาษีบุหรี่ตามสภาพ (Specific Rate) ซึ่งส่งผลให้กระทรวงการคลังมีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดให้จัดเก็บภาษียาสูบตามปริมาณ หรือตามสภาพ (Specific Rate) ได้สูงขึ้น และปัจจุบันอยู่ระหว่างเสนอออกกฎกระทรวงเพื่อใช้บังคับต่อไป.
นายมั่น พัธโนทัย รมช.คลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังจะนำเสนอร่าง พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ภาษีบุหรี่ พ.ศ. … ฉบับแก้ไข ต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันที่ 29 มีนาคมนี้ ซึ่งจะปรับเปลี่ยนฐานในการคำนวณภาษีจากการคำนวณที่ต้องถือตามราคาที่ผู้นำเข้าสำแดงตามราคาสินค้าบวกด้วยค่าประกันภัยและค่าขนส่งหรือ C.I.F. (C=cost I = insurance F= freights) ซึ่งมีมูลค่าต่ำมาเป็นการคำนวณราคาขายปลีกแทน ซึ่งจะส่งผลให้ราคาขายปลีกบุหรี่ในประเทศปรับขึ้น แต่จะไม่สูงมาก โดยเป็นแนวทางการปรับฐานการคิดภาษีในประเทศให้ถูกต้อง เพราะจากข้อตกลงการค้าเสรี (FTA)กับประเทศสมาชิกอาเซียน จะทำให้ไม่มีภาษีศุลกากรและราคา C.I.F.ลดลงด้วย
“นอกจากนั้น ยังเป็นการดำเนินการตามเจตนารมณ์ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ที่ต้องการรณรงค์ให้คนลดการสูบบุหรี่ลง ดังนั้นก็ควรที่จะปรับฐานราคาบุหรี่ให้สูง เพราะเป็นตัวทำลายสุขภาพ” นายมั่นกล่าวและว่า การปรับฐานการคิดภาษีสรรพสามิตบุหรี่จะทำให้การจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลเพิ่มขึ้นด้วย แต่ไม่มากนัก
สำหรับการปรับโครงสร้างภาษีรถยนต์ในสัปดาห์หน้าจะมีการประชุมร่วมกันระหว่างกระทรวงการคลังและกระทรงพลังงาน ทั้ง นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ รมว.อุตสาหกรรม เพื่อสรุปโครงสร้างภาษีรถยนต์ที่จะประกาศใช้ใหม่ หลังจากที่ได้ข้อสรุปจากหน่วยงานต่างๆ แล้ว โดยยืนยันหลักการเดิมที่จะให้ผู้ประกอบการมีเวลาในการปรับตัว 3 ปี เพราะประเทศไทยเป็นฐานการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์จำนวนมากและเป็นผู้ส่งออกอันดับ 1 ด้วย
“ที่เรายังให้เวลาผู้ประกอบการ 3 ปี เพราะมองว่า หากผลิตชิ้นส่วนยานยนต์มาก เราก็จะได้ประโยชน์ ขณะเดียวกัน หากขึ้นภาษีแรง และกระทบต่อการเอกชนผู้ส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์ และจะทำให้ประเทศอินโดนีเซียขึ้นมาเป็นอันดับ 1 ในการส่งออกแทน เราจึงอยากรักษาตรงนี้ไว้ และอยากให้เอกชนปรับตัวด้านความปลอดภัยแทน” นายมั่นกล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรมสรรพสามิตได้ปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.ยาสูบ โดยเปลี่ยนฐานในการคำนวณภาษีจากการคำนวณที่ต้องถือตามราคา C.I.F. เป็นราคาขายปลีกแทน และได้ดำเนินการออกพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ. 2509 ปรับเพิ่มเพดานอัตราภาษีจากเดิม "ตามมูลค่าร้อยละ 80 หรือ 60 สตางค์ต่อปริมาณหนึ่งกรัม" เป็น "อัตราตามมูลค่าร้อยละ 90 หรือ 3 บาทต่อปริมาณหนึ่งกรัม" ตามข้อเสนอของกระทรวงยุติธรรม ที่ให้กรมสรรพสามิตเรียกเก็บภาษีบุหรี่ตามสภาพ (Specific Rate) ซึ่งส่งผลให้กระทรวงการคลังมีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดให้จัดเก็บภาษียาสูบตามปริมาณ หรือตามสภาพ (Specific Rate) ได้สูงขึ้น และปัจจุบันอยู่ระหว่างเสนอออกกฎกระทรวงเพื่อใช้บังคับต่อไป.