ASTVผู้จัดการรายวัน – “บีเอ็มเอ็น” ปรับกลยุทธ์พื้นที่ค้าปลีก สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินเอ็มอาร์ที 4 แห่ง นำร่องสถานีกำแพงเพชร ปรับสู่เกตุเวย์จตุจักร คิวต่อไปสถานีจตุจักร คาดปลายปีเปิดพื้นที่ใหม่สถานีพระรามเก้าและลาดพร้าว
นายเอกลักษณ์ ยิ้มวิไล ผู้อำนวยการฝ่ายพาณิชย์ บริษัท บางกอก เมโทร เน็ตเวิร์ค จำกัด หรือบีเอ็มเอ็น ผู้บริหารสื่อโฆษณาและพื้นที่ค้าปลีกรถไฟฟ้าและสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินเอ็มอาร์ที เปิดเผยว่า ปีนี้บริษัทฯปรับกลยุทธ์การทำตลาดพื้นที่ค้าปลีกของสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินใหม่ โดยจะปรับคอนเซ็ปท์ของและสถานีใหม่ให้มีความเหมาะสมกับแต่ละทำเลและสร้างศักยภาพในการทำตลาดด้วย จะเน้นความเป็นศูนย์การค้าและดึงคนนอกระบบรถไฟฟ้าเข้ามาในระบบ คาดว่าจะใช้งบประมาณปรับปรุงประมาณ 10 ล้านบาท
ปัจจุบันบริษัทฯพัฒนาพื้นที่ค้าปลีกสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินไปแล้ว 4 สถานี จากที่ได้รับสัมปทานทั้งหมด 18 สถานี แต่มีเพียง 11 สถานีเท่านั้นที่มีพื้นที่ค้าปลีก โดยสถานีที่พัฒนาแล้วคือ สถานีกำแพงเพชร พี้นที่รวมประมาณ 1,900 ตร.ม. 2.สถานีจตุจักร พื้นที่ 3,869 ตร.ม., 3.สถานีพหลโยธิน พื้นที่ 1,830 ตร.ม. และ 4. สถานีสุขุมวิท พื้นที่ 1,360 ตร.ม.
ล่าสุด บริษัทฯได้ปรับคอนเซ็ปท์สถานีกำแพงเพชรใหม่ จากเดิมเป็นสถานีแฟชั่นขายสินค้าแฟชั่น เสื้อผ้า ซึ่งก็จะซ้ำและสู้ไม่ได้กับตลาดนัดจตุจักรที่ใหญ่กว่ามาก ปรับให้เป็นสถานี เกตุเวย์สู่จตุจักรและศูนย์บริการนักท่องเที่ยว หรือแหล่งนัดพบของคนที่จะมาเที่ยวจตุจักร ซึ่งเปิดบริการเป็นทางการวันที่ 12 มีนาคมที่ผ่านมา เนื่องจากว่า ปริมาณคนที่มาเที่ยวจตุจักรมีมากกว่า 2 แสนคนต่อวัน มีเงินสะพัดมากกว่า 10 ล้านบาทต่อวัน แต่สถานที่ที่ผู้คนจะนัดเจอกันหรือนั่งพักผ่อนแทบจะไม่มีเลย จึงปรับพื้นที่และร้านค้าใหม่ให้เป็นแหล่งนัดพบ โดยจะมีทั้งศูนย์บริการให้ข้อมูลข่าวสารกับนักท่องเที่ยว ร้านค้าพวก ร้านอาหาร ร้านกาแฟ ร้านสปา นและบริการอื่นๆรวมกว่า 40 ร้านค้า
ขณะที่มีผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าใต้ดินที่ผ่านสถานีกำแพงเพชรมากกว่า 460,000 คนต่อเดือน จึงถือเป็นปริมาณคนที่มาก แต่บริษัทฯคาดหวังผู้ที่จะเข้ามาเดินเที่ยวและช้อปปิ้งในพื้นที่ค้าปลีกสถานีกำแพงเพชรเพียงแค่ 20,000 คนต่อวันก็พอแล้ว เพราะเปิดบริการเพียงแค่วันเสาร์-อาทิตย์
ส่วนสถานีที่จะปรับต่อไปคือ สถานีจตุจักร อยู่ระหว่างการศึกษาและวางแผน ซึ่งเป็นสถานีที่อยู่ใกล้กับสถานีจตุจักรเช่นกัน และใกล้กับเซ็นทรัลลาดพร้าวด้วย ที่อยู่ระหว่างการรีโนเวตใหญ่และเมือ่ปิดใหม่จะยิ่งทำให้มีปริมาณคนผ่านย่านนนั้นมากขึ้นกว่าเดิมอีก
ส่วนสถานีสุขุมวิทนั้นเดิมเป็นคอนเซ็ปท์สถานีแห่งความสะดวกสบายก็จะปรับให้ดียิ่งขึ้น ขณะที่สถานีพหลโยธินถือว่ากำลังไปได้ดี หลังจากที่ได้ปรับคอนเซ็ปท์เป็น ติวเตอร์สเตชั่น หรือสถานีแห่งการเรียนเสริม โดยมีสถาบันครูสมศรีเป็นตัวหลัก และมีร้านค้าอื่นประกอบด้วย
นอกจากนั้นคาดว่าในปลายปีนี้จะนำสถานีมาพัฒนาอีก 2 สถานีคาดว่าจะเป็นสถานีพระรามเก้า เพราะจะมีโครงการเซ็นทรัลพระรามเก้าเกิดขึ้น และสถานีลาดพร้าว
นายเอกลักษณ์ ยิ้มวิไล ผู้อำนวยการฝ่ายพาณิชย์ บริษัท บางกอก เมโทร เน็ตเวิร์ค จำกัด หรือบีเอ็มเอ็น ผู้บริหารสื่อโฆษณาและพื้นที่ค้าปลีกรถไฟฟ้าและสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินเอ็มอาร์ที เปิดเผยว่า ปีนี้บริษัทฯปรับกลยุทธ์การทำตลาดพื้นที่ค้าปลีกของสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินใหม่ โดยจะปรับคอนเซ็ปท์ของและสถานีใหม่ให้มีความเหมาะสมกับแต่ละทำเลและสร้างศักยภาพในการทำตลาดด้วย จะเน้นความเป็นศูนย์การค้าและดึงคนนอกระบบรถไฟฟ้าเข้ามาในระบบ คาดว่าจะใช้งบประมาณปรับปรุงประมาณ 10 ล้านบาท
ปัจจุบันบริษัทฯพัฒนาพื้นที่ค้าปลีกสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินไปแล้ว 4 สถานี จากที่ได้รับสัมปทานทั้งหมด 18 สถานี แต่มีเพียง 11 สถานีเท่านั้นที่มีพื้นที่ค้าปลีก โดยสถานีที่พัฒนาแล้วคือ สถานีกำแพงเพชร พี้นที่รวมประมาณ 1,900 ตร.ม. 2.สถานีจตุจักร พื้นที่ 3,869 ตร.ม., 3.สถานีพหลโยธิน พื้นที่ 1,830 ตร.ม. และ 4. สถานีสุขุมวิท พื้นที่ 1,360 ตร.ม.
ล่าสุด บริษัทฯได้ปรับคอนเซ็ปท์สถานีกำแพงเพชรใหม่ จากเดิมเป็นสถานีแฟชั่นขายสินค้าแฟชั่น เสื้อผ้า ซึ่งก็จะซ้ำและสู้ไม่ได้กับตลาดนัดจตุจักรที่ใหญ่กว่ามาก ปรับให้เป็นสถานี เกตุเวย์สู่จตุจักรและศูนย์บริการนักท่องเที่ยว หรือแหล่งนัดพบของคนที่จะมาเที่ยวจตุจักร ซึ่งเปิดบริการเป็นทางการวันที่ 12 มีนาคมที่ผ่านมา เนื่องจากว่า ปริมาณคนที่มาเที่ยวจตุจักรมีมากกว่า 2 แสนคนต่อวัน มีเงินสะพัดมากกว่า 10 ล้านบาทต่อวัน แต่สถานที่ที่ผู้คนจะนัดเจอกันหรือนั่งพักผ่อนแทบจะไม่มีเลย จึงปรับพื้นที่และร้านค้าใหม่ให้เป็นแหล่งนัดพบ โดยจะมีทั้งศูนย์บริการให้ข้อมูลข่าวสารกับนักท่องเที่ยว ร้านค้าพวก ร้านอาหาร ร้านกาแฟ ร้านสปา นและบริการอื่นๆรวมกว่า 40 ร้านค้า
ขณะที่มีผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าใต้ดินที่ผ่านสถานีกำแพงเพชรมากกว่า 460,000 คนต่อเดือน จึงถือเป็นปริมาณคนที่มาก แต่บริษัทฯคาดหวังผู้ที่จะเข้ามาเดินเที่ยวและช้อปปิ้งในพื้นที่ค้าปลีกสถานีกำแพงเพชรเพียงแค่ 20,000 คนต่อวันก็พอแล้ว เพราะเปิดบริการเพียงแค่วันเสาร์-อาทิตย์
ส่วนสถานีที่จะปรับต่อไปคือ สถานีจตุจักร อยู่ระหว่างการศึกษาและวางแผน ซึ่งเป็นสถานีที่อยู่ใกล้กับสถานีจตุจักรเช่นกัน และใกล้กับเซ็นทรัลลาดพร้าวด้วย ที่อยู่ระหว่างการรีโนเวตใหญ่และเมือ่ปิดใหม่จะยิ่งทำให้มีปริมาณคนผ่านย่านนนั้นมากขึ้นกว่าเดิมอีก
ส่วนสถานีสุขุมวิทนั้นเดิมเป็นคอนเซ็ปท์สถานีแห่งความสะดวกสบายก็จะปรับให้ดียิ่งขึ้น ขณะที่สถานีพหลโยธินถือว่ากำลังไปได้ดี หลังจากที่ได้ปรับคอนเซ็ปท์เป็น ติวเตอร์สเตชั่น หรือสถานีแห่งการเรียนเสริม โดยมีสถาบันครูสมศรีเป็นตัวหลัก และมีร้านค้าอื่นประกอบด้วย
นอกจากนั้นคาดว่าในปลายปีนี้จะนำสถานีมาพัฒนาอีก 2 สถานีคาดว่าจะเป็นสถานีพระรามเก้า เพราะจะมีโครงการเซ็นทรัลพระรามเก้าเกิดขึ้น และสถานีลาดพร้าว