ASTVผู้จัดการรายวัน – ไทยออยล์ชี้ค่าการกลั่นรวมเฉลี่ย ( GIM )พุ่งขึ้น 1-2 เหรียญสหรัฐ มาอยู่ที่ 9 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล จากเหตุการณ์ภัยพิบัติแผ่นดินไหวและสึนามิที่ญี่ปุ่น ทำให้สเปรดราคาน้ำมันสำเร็จรูปเพิ่มขึ้นทันที 10 เหรียญ/บาร์เรล และราคาพาราไซลีนดีดขึ้นตันละ 100 เหรียญ มั่นใจครึ่งปีแรก บริษัทฯมีGIMอยู่ที่ระดับ 8 เหรียญ/บาร์เรล ดีกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน
นายสุรงค์ บูลกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) หรือ TOP เปิดเผยว่า ขณะนี้ค่าการกลั่นน้ำมัน (GRM)ได้ปรับเพิ่มขึ้นจากเดิม 5 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรลเป็น 6 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล และค่าการกลั่นรวมเฉลี่ย (GIM) ก็ปรับเพิ่มเช่นกันจาก 7 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล เป็น 9 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล เนื่องจากเกิดภัยพิบัติแผ่นดินไหวและสึนามิในญี่ปุ่น ทำให้มีความต้องการใช้น้ำมันสำเร็จรูปจำนวนมากรวมไปถึงราคาน้ำมันเตาก็ปรับขึ้นเช่นกัน
โดยในวันที่ 11 มี.ค.ที่ผ่านมา บริษัทคาดว่าปริมาณการกลั่นในญี่ปุ่นจะหายไปจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิประมาณ 8 แสนบาร์เรล/วัน แต่ผลกระทบรุนแรงกว่าที่คาดไว้ ล่าสุดปริมาณการกลั่นน้ำมันที่ญี่ปุ่นหยุดไปแล้ว 1.1 ล้านบาร์เรล/วัน จากปริมาณการกลั่นทั้งหมด 4.5 ล้านบาร์เรล/วัน หรือคิดเป็น 25% ของกำลังการกลั่นรวม ส่งผลให้ญี่ปุ่นต้องนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งน้ำมันเตาเพื่อใช้ในการผลิตไฟฟ้าด้วย จากเดิมที่เคยส่งออกน้ำมันดีเซลและน้ำมันอากาศยาน 5 แสนลิตร/วัน ส่งผลให้ส่วนต่างราคาน้ำมันดิบดูไบกับน้ำมันสำเร็จรูป (แครก สเปรด) เพิ่มขึ้นจากปกติ 15 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล เป็น 25 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ดันค่าการกลั่นขยับขึ้นในทันที
ขณะเดียวกันโรงอะโรเมติกส์และโอเลฟินส์ของญี่ปุ่นก็ต้องหยุดผลิตจากการปิดโรงกลั่นน้ำมัน ทำให้ปริมาณการส่งออกพาราไซลีนหายไปจากตลาด ดันราคาพาราไซลีนในภูมิภาคนี้เพิ่มขึ้นจากทันที 100 เหรียญสหรัฐ/ตันมาอยู่ที่ 1,700 เหรียญสหรัฐ/ตัน เนื่องจากซัปพลายพาราไซลลีนที่ญี่ปุ่นหายไปแต่จีนยังมีความต้องการใช้สูงมาจากโรงงานผลิตพีทีเอเกิดขึ้นจำนวนมาก
อย่างไรก็ตาม ภัยพิบัติดังกล่าวส่งผลกระทบต่อธุรกิจการกลั่นของญี่ปุ่นในช่วงระยะเวลาสั้น คาดว่าโรงกลั่นน้ำมันของญี่ปุ่นจะกลับมาผลิตได้ภายใน 1-2 เดือน แต่ความเสียหายที่เกิดกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชื่อว่าจะต้องใช้เวลานานหลายปี ซึ่งระหว่างนี้ญี่ปุ่นต้องนำเข้าน้ำมันเตามาผลิตไฟฟ้าแทน ทำให้ราคาน้ำมันเตาในภูมิภาคนี้ขยับขึ้นมาอยู่ที่ 650 เหรียญสหรัฐ/ตัน เพิ่มขึ้น 2 เหรียญสหรัฐ/ตัน
นายสุรงค์ กล่าวต่อไปว่า ผลการดำเนินงานในครึ่งปีแรกนี้ บริษัทฯคาดรายได้และกำไรดีกว่าครึ่งแรกของปี 2553 เนื่องจากได้รับอานิสงส์กำลังการผลิตของญี่ปุ่นที่หายไปหลังจากเกิดเหตุแผ่น ดินไหวและสึนามิ และเหตุการณ์ประท้วงในตะวันออกกลาง ทำให้ค่าการกลั่น (GRM) 6 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล และค่าการกลั่นรวมเฉลี่ย (GIM)อยู่ที่ระดับ 8 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล โดยโรงกลั่นไทยออยล์มีกำลังการกลั่นได้น้ำมันดีเซลและอากาศยานมากเป็นสัดส่วน 65% ของกำลังการผลิต ซึ่งกำลังการกลั่น 95%จำหน่ายในประเทศ เพราะโรงกลั่นบางจากฯและโรงกลั่นของ ปตท.อะโรเมติกส์และการกลั่นได้หยุดซ่อมบำรุงในช่วงต้นปีนี้ ทำให้ไตรมาสแรกปีนี้ผลการดำเนินงานของไทยออยล์ดีแน่นอน
นายสุรงค์ บูลกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) หรือ TOP เปิดเผยว่า ขณะนี้ค่าการกลั่นน้ำมัน (GRM)ได้ปรับเพิ่มขึ้นจากเดิม 5 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรลเป็น 6 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล และค่าการกลั่นรวมเฉลี่ย (GIM) ก็ปรับเพิ่มเช่นกันจาก 7 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล เป็น 9 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล เนื่องจากเกิดภัยพิบัติแผ่นดินไหวและสึนามิในญี่ปุ่น ทำให้มีความต้องการใช้น้ำมันสำเร็จรูปจำนวนมากรวมไปถึงราคาน้ำมันเตาก็ปรับขึ้นเช่นกัน
โดยในวันที่ 11 มี.ค.ที่ผ่านมา บริษัทคาดว่าปริมาณการกลั่นในญี่ปุ่นจะหายไปจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิประมาณ 8 แสนบาร์เรล/วัน แต่ผลกระทบรุนแรงกว่าที่คาดไว้ ล่าสุดปริมาณการกลั่นน้ำมันที่ญี่ปุ่นหยุดไปแล้ว 1.1 ล้านบาร์เรล/วัน จากปริมาณการกลั่นทั้งหมด 4.5 ล้านบาร์เรล/วัน หรือคิดเป็น 25% ของกำลังการกลั่นรวม ส่งผลให้ญี่ปุ่นต้องนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งน้ำมันเตาเพื่อใช้ในการผลิตไฟฟ้าด้วย จากเดิมที่เคยส่งออกน้ำมันดีเซลและน้ำมันอากาศยาน 5 แสนลิตร/วัน ส่งผลให้ส่วนต่างราคาน้ำมันดิบดูไบกับน้ำมันสำเร็จรูป (แครก สเปรด) เพิ่มขึ้นจากปกติ 15 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล เป็น 25 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ดันค่าการกลั่นขยับขึ้นในทันที
ขณะเดียวกันโรงอะโรเมติกส์และโอเลฟินส์ของญี่ปุ่นก็ต้องหยุดผลิตจากการปิดโรงกลั่นน้ำมัน ทำให้ปริมาณการส่งออกพาราไซลีนหายไปจากตลาด ดันราคาพาราไซลีนในภูมิภาคนี้เพิ่มขึ้นจากทันที 100 เหรียญสหรัฐ/ตันมาอยู่ที่ 1,700 เหรียญสหรัฐ/ตัน เนื่องจากซัปพลายพาราไซลลีนที่ญี่ปุ่นหายไปแต่จีนยังมีความต้องการใช้สูงมาจากโรงงานผลิตพีทีเอเกิดขึ้นจำนวนมาก
อย่างไรก็ตาม ภัยพิบัติดังกล่าวส่งผลกระทบต่อธุรกิจการกลั่นของญี่ปุ่นในช่วงระยะเวลาสั้น คาดว่าโรงกลั่นน้ำมันของญี่ปุ่นจะกลับมาผลิตได้ภายใน 1-2 เดือน แต่ความเสียหายที่เกิดกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชื่อว่าจะต้องใช้เวลานานหลายปี ซึ่งระหว่างนี้ญี่ปุ่นต้องนำเข้าน้ำมันเตามาผลิตไฟฟ้าแทน ทำให้ราคาน้ำมันเตาในภูมิภาคนี้ขยับขึ้นมาอยู่ที่ 650 เหรียญสหรัฐ/ตัน เพิ่มขึ้น 2 เหรียญสหรัฐ/ตัน
นายสุรงค์ กล่าวต่อไปว่า ผลการดำเนินงานในครึ่งปีแรกนี้ บริษัทฯคาดรายได้และกำไรดีกว่าครึ่งแรกของปี 2553 เนื่องจากได้รับอานิสงส์กำลังการผลิตของญี่ปุ่นที่หายไปหลังจากเกิดเหตุแผ่น ดินไหวและสึนามิ และเหตุการณ์ประท้วงในตะวันออกกลาง ทำให้ค่าการกลั่น (GRM) 6 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล และค่าการกลั่นรวมเฉลี่ย (GIM)อยู่ที่ระดับ 8 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล โดยโรงกลั่นไทยออยล์มีกำลังการกลั่นได้น้ำมันดีเซลและอากาศยานมากเป็นสัดส่วน 65% ของกำลังการผลิต ซึ่งกำลังการกลั่น 95%จำหน่ายในประเทศ เพราะโรงกลั่นบางจากฯและโรงกลั่นของ ปตท.อะโรเมติกส์และการกลั่นได้หยุดซ่อมบำรุงในช่วงต้นปีนี้ ทำให้ไตรมาสแรกปีนี้ผลการดำเนินงานของไทยออยล์ดีแน่นอน