ปตท.อะโรเมติกส์และการกลั่นแย้มใจตรงกันกับPTTCH สนใจซื้อโรงโอเลฟินส์ที่อินโดนีเซีย จ้างที่ปรึกษาเพื่อโครงการลงทุนใหม่ร่วมกัน ส่วนโครงการ Green Jet -Green Diesel ต้องชะลอไปก่อนจนกว่าราคาน้ำมันาปาล์มเสถียรภาพมากขึ้น มั่นใจปีนี้โกยรายได้โตกว่า 30% หลังราคาน้ำมันดิบพุ่งดึงราคาโอเลฟินส์ขยับตาม
นายบวร วงศ์สินอุดม ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.อะโรเมติกส์และการกลั่น จำกัด (มหาชน)(PTTAR) เปิดเผยว่า บริษัทฯมีแผนการลงทุนเพิ่มเติมทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษา โดยบริษัทฯสนใจเข้าไปซื้อกิจการ (M&A)โรงงานผลิตโอเลฟินส์ที่อินโดนีเซีย ซึ่งมีธุรกิจการกลั่นด้วย และพบว่าทางบมจ.ปตท.เคมิคอล (PTTCH)เองก็สนใจซื้อกิจการดังกล่าวเช่นกัน จากนโยบายควบรวมกิจการระหว่างบริษัทฯกับ ปตท.เคมิคอล จึงได้ว่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อดูโครงการลงทุนใหม่ๆร่วมกัน
ส่วนแผนการลงทุนโครงการGreen Jet -Green Diesel นั้น คงต้องชะลอโครงการไปก่อน เนื่องจากสถานการณ์ราคาน้ำมันปาล์มที่ใช้เป็นวัตถุดิบมีความผันผวนในช่วงที่ผ่านมา ทำให้โครงการดังกล่าวเกิดความไม่แน่นอนในการลงทุน รวมทั้งการศึกษาการลงทุนทำโอเลฟินส์แครกเกอร์ โดยจะพิจารณาอีกครั้งภายหลังการควบรวมกิจการระหว่างPTTAR-PTTCH แล้วเสร็จพร้อมเทรดในตลาดหลักทรัพย์ฯเดือนส.ค. 54เพราะต้องศึกษาให้รอบคอบว่าบริษัทจะลงทุนโครงการดิลิเวทิฟเบนซีนประเภทใด
ส่วนโครงการก่อสร้างDHDS เพื่อผลิตน้ำมันยูโร 4 มูลค่าเงินลงทุน 200 กว่าล้านเหรียญสหรัฐ มีความคืบหน้าไปแล้ว 94% คาดว่าจะแล้วเสร็จเร็วกว่ากำหนด 2 เดือนจากเดิมที่แล้วเสร็จในวันที่ 31 ธันวาคม 2554 ก่อนหน้านี้ บริษัทฯมีความสนใจลงทุนโครงการGreen Jet-Green Diesel ใช้น้ำมันปาล์มเป็นวัตถุดิบ มูลค่าเงินลงทุนประมาณ 150 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อรองรับความต้องการใช้น้ำมันดีเซลและน้ำมันอากาศยานสะอาด
นายบวร กล่าวต่อไปว่า ในไตรมาส 2 นี้ ราคาพาราไซลีนมีแนวโน้มอ่อนตัวลงจากไตรมาสก่อน เนื่องจากมีกำลังการผลิตใหม่จากจีนและเกาหลีเข้ามาเกือบ 2 ล้านตันในไตรมาสนี้ แต่โรงงานอะโรเมติกส์ของญี่ปุ่นที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวยังคงต้องหยุดอยู่ ทำให้กำลังการผลิตหายไป 5.3 ล้านตัน และโรงงานผลิตพีทีเอจากจีนเพิ่มขึ้นทำให้มีความต้องการใช้พาราไซลีนสูงอยู่ ดังนั้นไตรมาสนี้ส่วนต่างราคาพาราไซลีนและวัตถุดิบ (สเปรด)จะลดลงไม่มาก ล่าสุดอยู่ที่ 650 เหรียญสหรัฐ/ตัน ต่ำกว่าไตรมาสก่อนที่มีสเปรดอยู่ 700 เหรียญสหรัฐ/ตัน
“ในไตรมาส 3 นี้มีกำลังการผลิตพีทีเอเพิ่มขึ้นอีก 4 ล้านตัน/ปี ทำให้มีความต้องการใช้พาราไซลีนเพิ่มอีก 2.8 ล้านตัน ขณะที่กำลังการผลิตใหม่ในช่วงนั้นน้อยมาก เชื่อว่าราคาพาราไซลีนไม่น่าจะต่ำกว่า 1,500 เหรียญสหรัฐ/ตัน ทำให้กังวลว่าราคาพาราไซลีนจะวิ่งขึ้นมากในไตรมาส 3 นี้ จนทำให้ผู้ประกอบการผลิตพีทีเอต้องหยุดผลิตเพราะไม่คุ้มการลงทุนก็ได้”
ส่วนเบนซีนพบว่าไตรมาสนี้ ปริมาณการผลิตเบนซีนเพิ่มขึ้น แต่ราคาไม่อ่อนตัวลง เนื่องจากโรงงานผลิตสไตรีนโมโนเมอร์ (SM)กลับมาดำเนินการผลิตอีกครั้งหลังหยุดซ่อมบำรุง และมีการลงทุนโครงการผลิตเดลิเวทิฟเบนซีนเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดความต้องการใช้เบนซีนเป็นวัตถุดิบ คาดว่าราคาเบนซีนไม่ต่ำกว่า 1,200 เหรียญสหรัฐ/ตัน
นายบวร กล่าวต่อไปว่า ในปีนี้ บริษัทฯคาดว่ามีรายได้เติบโตขึ้นไม่ต่ำกว่า 30% ทำให้กำไรสุทธิเติบโตไปในทิศทางเดียวกัน มาจากปัจจัยราคาน้ำมันที่ดิบที่ปรับตัวสูงขึ้นซึ่งเดิมบริษัทฯคาดการณ์ราคาน้ำมันดิบอยู่ที่ 85 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล แต่ปัจจุบันราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 100 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ทำให้ค่าการกลั่นปรับตัวดีขึ้น และสเปดอะโรเมติกส์ในปีนี้ดีอยู่
สำหรับผลการดำเนินงานในไตรมาส 2/2554 รายได้จะออกมาดีกว่าไตรมาส 1/2554 ที่มีรายได้ 6.87 หมื่นล้านบาท เนื่องจากบริษัทฯไม่มีการปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่น 47 วันเหมือนไตรมาส 1/2554 แต่จะมีการหยุดปรับปรุงคุณภาพการผลิตของโรงอะโรเมติกส์(AR2)เป็นเวลา 10 วันในช่วงปลายเดือนนี้ หลังจากนั้นจะมีกำลังการผลิตพาราไซลีนเพิ่มขึ้นอีกปีละ 5 หมื่นตัน
นายบวร วงศ์สินอุดม ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.อะโรเมติกส์และการกลั่น จำกัด (มหาชน)(PTTAR) เปิดเผยว่า บริษัทฯมีแผนการลงทุนเพิ่มเติมทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษา โดยบริษัทฯสนใจเข้าไปซื้อกิจการ (M&A)โรงงานผลิตโอเลฟินส์ที่อินโดนีเซีย ซึ่งมีธุรกิจการกลั่นด้วย และพบว่าทางบมจ.ปตท.เคมิคอล (PTTCH)เองก็สนใจซื้อกิจการดังกล่าวเช่นกัน จากนโยบายควบรวมกิจการระหว่างบริษัทฯกับ ปตท.เคมิคอล จึงได้ว่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อดูโครงการลงทุนใหม่ๆร่วมกัน
ส่วนแผนการลงทุนโครงการGreen Jet -Green Diesel นั้น คงต้องชะลอโครงการไปก่อน เนื่องจากสถานการณ์ราคาน้ำมันปาล์มที่ใช้เป็นวัตถุดิบมีความผันผวนในช่วงที่ผ่านมา ทำให้โครงการดังกล่าวเกิดความไม่แน่นอนในการลงทุน รวมทั้งการศึกษาการลงทุนทำโอเลฟินส์แครกเกอร์ โดยจะพิจารณาอีกครั้งภายหลังการควบรวมกิจการระหว่างPTTAR-PTTCH แล้วเสร็จพร้อมเทรดในตลาดหลักทรัพย์ฯเดือนส.ค. 54เพราะต้องศึกษาให้รอบคอบว่าบริษัทจะลงทุนโครงการดิลิเวทิฟเบนซีนประเภทใด
ส่วนโครงการก่อสร้างDHDS เพื่อผลิตน้ำมันยูโร 4 มูลค่าเงินลงทุน 200 กว่าล้านเหรียญสหรัฐ มีความคืบหน้าไปแล้ว 94% คาดว่าจะแล้วเสร็จเร็วกว่ากำหนด 2 เดือนจากเดิมที่แล้วเสร็จในวันที่ 31 ธันวาคม 2554 ก่อนหน้านี้ บริษัทฯมีความสนใจลงทุนโครงการGreen Jet-Green Diesel ใช้น้ำมันปาล์มเป็นวัตถุดิบ มูลค่าเงินลงทุนประมาณ 150 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อรองรับความต้องการใช้น้ำมันดีเซลและน้ำมันอากาศยานสะอาด
นายบวร กล่าวต่อไปว่า ในไตรมาส 2 นี้ ราคาพาราไซลีนมีแนวโน้มอ่อนตัวลงจากไตรมาสก่อน เนื่องจากมีกำลังการผลิตใหม่จากจีนและเกาหลีเข้ามาเกือบ 2 ล้านตันในไตรมาสนี้ แต่โรงงานอะโรเมติกส์ของญี่ปุ่นที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวยังคงต้องหยุดอยู่ ทำให้กำลังการผลิตหายไป 5.3 ล้านตัน และโรงงานผลิตพีทีเอจากจีนเพิ่มขึ้นทำให้มีความต้องการใช้พาราไซลีนสูงอยู่ ดังนั้นไตรมาสนี้ส่วนต่างราคาพาราไซลีนและวัตถุดิบ (สเปรด)จะลดลงไม่มาก ล่าสุดอยู่ที่ 650 เหรียญสหรัฐ/ตัน ต่ำกว่าไตรมาสก่อนที่มีสเปรดอยู่ 700 เหรียญสหรัฐ/ตัน
“ในไตรมาส 3 นี้มีกำลังการผลิตพีทีเอเพิ่มขึ้นอีก 4 ล้านตัน/ปี ทำให้มีความต้องการใช้พาราไซลีนเพิ่มอีก 2.8 ล้านตัน ขณะที่กำลังการผลิตใหม่ในช่วงนั้นน้อยมาก เชื่อว่าราคาพาราไซลีนไม่น่าจะต่ำกว่า 1,500 เหรียญสหรัฐ/ตัน ทำให้กังวลว่าราคาพาราไซลีนจะวิ่งขึ้นมากในไตรมาส 3 นี้ จนทำให้ผู้ประกอบการผลิตพีทีเอต้องหยุดผลิตเพราะไม่คุ้มการลงทุนก็ได้”
ส่วนเบนซีนพบว่าไตรมาสนี้ ปริมาณการผลิตเบนซีนเพิ่มขึ้น แต่ราคาไม่อ่อนตัวลง เนื่องจากโรงงานผลิตสไตรีนโมโนเมอร์ (SM)กลับมาดำเนินการผลิตอีกครั้งหลังหยุดซ่อมบำรุง และมีการลงทุนโครงการผลิตเดลิเวทิฟเบนซีนเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดความต้องการใช้เบนซีนเป็นวัตถุดิบ คาดว่าราคาเบนซีนไม่ต่ำกว่า 1,200 เหรียญสหรัฐ/ตัน
นายบวร กล่าวต่อไปว่า ในปีนี้ บริษัทฯคาดว่ามีรายได้เติบโตขึ้นไม่ต่ำกว่า 30% ทำให้กำไรสุทธิเติบโตไปในทิศทางเดียวกัน มาจากปัจจัยราคาน้ำมันที่ดิบที่ปรับตัวสูงขึ้นซึ่งเดิมบริษัทฯคาดการณ์ราคาน้ำมันดิบอยู่ที่ 85 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล แต่ปัจจุบันราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 100 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ทำให้ค่าการกลั่นปรับตัวดีขึ้น และสเปดอะโรเมติกส์ในปีนี้ดีอยู่
สำหรับผลการดำเนินงานในไตรมาส 2/2554 รายได้จะออกมาดีกว่าไตรมาส 1/2554 ที่มีรายได้ 6.87 หมื่นล้านบาท เนื่องจากบริษัทฯไม่มีการปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่น 47 วันเหมือนไตรมาส 1/2554 แต่จะมีการหยุดปรับปรุงคุณภาพการผลิตของโรงอะโรเมติกส์(AR2)เป็นเวลา 10 วันในช่วงปลายเดือนนี้ หลังจากนั้นจะมีกำลังการผลิตพาราไซลีนเพิ่มขึ้นอีกปีละ 5 หมื่นตัน