หลบ! หุ้นไทยให้ผลตอบแทนน้อย นักลงทุนขนเงินลุยเทรดหุ้นต่างประเทศ โดยเฉพาะสหรัฐฯ สิงคโปร์ จีน ด้าน บริษัทหลักทรัพย์ระบุวอลุ่มซื้อขายเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง “บล.ธนชาต” เตรียมเพิ่มบุคลากรรองรับยอดออเดร์ที่สูงขึ้น ส่วน “เอเซียพลัส” ดันบลจ.ลูก เปิดกองทุนหุ้นต่างแดนรองรับในเร็วๆนี้ “บลจ.วรรณ” ประเมินแนวโน้มตลาดมะกัน ดีเฉพาะบางเซกเตอร์ ต้องตามติดตลอดเวลา ประมาทไม่ได้
แนวโน้มตลาดหุ้นไทยปีนี้ หลายฝ่ายประเมินว่า แม้ดัชนีจะปรับตัวสูงขึ้น แต่ก็ไม่สูงเท่ากับปีที่ผ่านมา เห็นได้จากต้นปีดัชนีมีการปรับฐานครั้งใหญ่ เม็ดเงินลงทุนบางส่วนไหลออกจากไทย และประเทศในภูมิภาคเดียวกันอย่างอินโดนีเซีย กลับสู่ประเทศใหญ่ เช่น สหรัฐอเมริกา ที่เริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ทำให้หุ้นหลายตัวที่ราคารูดต่ำลงมากในช่วง2ปีก่อน เริ่มปรับตัวเพิ่มขึ้น จึงนับจังหวะที่น่าเข้าไปลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนในระดับสูง
ขณะเดียวกัน ด้านตลาดหุ้นไทย ก็เหลือเวลาอีกเพียง 1 ปี ที่จะเปิดเสรีหลักทรัพย์ในปี2555 บรรดาบริษัทหลักทรัพย์(บล.)หลายแห่งปรับตัว เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นการควบรวมกิจการ หรือเพิ่มธุรกรรมการเงินประเภทอื่นๆ เข้ามาช่วยเสริมรายได้หลักที่มาจากค่านายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ แม้จะมีการเพิ่มสินค้าอนุพันธ์ หรือเครื่องมือทางเงินอื่นๆ แต่ขณะที่มีการพูดถึงกันมากขึ้น นั่นคือ การลงทุนในหุ้นต่างประเทศ ผ่านบล.ไทย ซึ่งขณะนี้เริ่มมีหลายแห่งเปิดให้บริการแก่ลูกค้าที่สนใจแล้ว แม้จะมีปริมาณนักลงทุนไม่มากนัก แต่ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่ฐานะและกำลังซื้อสูง
นางอัศวินี ไตลังคะ ประธานกรรมการบริหารและกรรมการผู้จัดการ บล.ธนชาต จำกัด กล่าวว่า ทางบริษัทได้เปิดบริการให้ลูกค้าสามารถเข้าไปลงทุนซื้อขายในหุ้นต่างประเทศได้แล้ว ซึ่งที่ผ่านมาบริการดังกล่าวได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี และมีแนวโน้มเติบโตเพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากภาวะดัชนีตลาดหุ้นไทยในช่วงที่ผ่านมามีความผันผวน และสร้างผลตอบแทนได้น้อยกว่าปีก่อน ทำให้นักลงทุนบางรายเริ่มมองหาแหล่งลงทุนที่ให้ผลตอบแทนดีกว่า ซึ่งหนึ่งในนั้น คือตลาดหุ้นในสหรัฐฯ ที่มีหุ้นน่าสนใจและเป็นหุ้นขนาดใหญ่หลายบริษัทมีราคาที่ถูก และสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีได้
ทั้งนี้ การลงทุนผ่านบล.ธนชาต บริษัทยืนยันว่าเป็นการลงทุนทางตรง เนื่องจากบริษัทมีพาร์ทเนอร์ที่เป็นบริษัทหลักทรัพย์ในต่างประเทศ คอยรับส่งคำสั่งซื้อขายกับบริษัทในตลาดหุ้นขนาดใหญ่ นอกจากนี้บริษัทยังมีข้อมูลในหุ้นๆต่างที่ลูกค้าสนใจ นำเสนอให้แก่ลูกค้าของบริษัทเพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุนโดยตลอด
“ส่วนใหญ่ที่ลูกค้าเข้าไปลงทุนในตลาดต่างประเทศช่วงนี้ จะเป็นสหรัฐ ยุโรป สิงคโปร์ มาเลเซีย และจีน วงเงินที่ลงทุนขั้นต่ำประมาณ 1 ล้านบาท ตอนนี้เรามีทีมงานคอยให้บริการลูกค้าสำรับเทรดในตลาดต่างประเทศแล้ว และกำลังจะเพิ่มจำนวนทีมงานเข้ามาอีกทั้งด้านมาร์เกตติ้ง และเทรดเดอร์”
ขณะเดียวกัน ในปีนี้ทางบริษัท จะมีความร่วมมือกับทางกลุ่มสโกวาเทีย ผู้ถือหุ้นใหญ่ในธนาคาร ธนชาต โดยการดึงลูกค้าไฮเนตเวิร์กของผู้ถือหุ้นใหญ่จากต่างประเทศ และลูกค้าไทย เข้ามาให้บริษัทบริหารเม็ดเงินลงทุนให้ ผ่านบริการ ไพรเวทเวลธ์โดยจะมีการจัดตั้งคณะกรรมการและทีมงานขึ้นมาทำร่วมกัน ซึ่งคาดว่าบริการดังกล่าวน่าจะเริ่มได้ประมาณกลางปีนี้
ด้าน นายก้องเกียรติ โอภาสวงการ ประธานกรรมการบริหาร บล.เอเซีย พลัส (ASP) กล่าวว่า เปิดเผยว่า แผนงานส่วนหนึ่งของบริษัทในปีนี้ คือการเน้นขยายการลงทุนไปในต่างประเทศ เพราะเห็นว่า ตลาดหุ้นในหลายประเทศมีราคาถูกกว่าหุ้นไทย ทั้งP/E บุ๊คแวลู หรือดิวิเดนด์ยิลด์ ซึ่งน่าจะสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนของบริษัทได้ดีกว่า ส่วนด้านการบริหารสินทรัพย์ให้ลูกค้า ในปีนี้ก็จะเน้นการลงทุนในต่างประเทศเช่นกัน ซึ่งประมาณกลางเดือนนี้ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) แอสเซทพลัส ในฐานะบริษัทย่อย จะมีการออกกองทุนที่ไปลงทุนในหุ้นต่างประเทศ มารองรับในเรื่องดังกล่าว
นอกจากนี้ที่ผ่านมาลูกค้าของบริษัทนิยมเข้าไปลงทุนในต่างประเทศประเทศมากขึ้น เช่น สหรัฐอเมริกา, ฮ่องกง, จีน, ญี่ปุ่น, สิงคโปร์ และ เกาหลีใต้ เพราะให้ผลตอบแทนดีกว่า โดยพบว่า ค่าP/E หุ้นไทยบางตัว ในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน ยังสูงกว่าหุ้นในต่างประเทศ ดังนั้นหากนำเงินไปลงทุน น่าจะได้ผลตอบแทนที่สูงกว่า
ปัจจุบัน บริษัทหลักทรัพย์ หลายแห่งให้ความสำคัญกับการเพิ่มช่องทางให้ลูกค้าไปลงทุนในหุ้นต่างประเทศมากขึ้น เพื่อเพิ่มทางเลือกในการลงทุน และช่วยสร้างรายได้กลับมาให้บริษัท เช่น บล.เอเซียพลัส บล.ธนชาต บล.ฟิลลิป บล.ไอร่า ฯลฯ เพราะรายได้ในส่วนนี้ จะเป็นช่องทางเสริมรายได้อีกด้านหนึ่ง เพื่อทดแทนรายได้จากค่าคอมมิชั่นที่ในอนาคตจะปรับลดลงไป จากการเปิดเสรีหลักทรัพย์ในปี 2555
ขณะเดียวกันนอกเหนือจาก บล.แล้ว พบว่า บรรดา บริษัทจัดการลงทุน (บลจ.) หลายแห่งก็เริ่มให้ความสนใจจัดตั้งกองทุนเพื่อไปลงทุนในหุ้นต่างประเทศมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นตลาดหุ้นอเมริกา หรือประเทศในกลุ่มอีเมอร์จิ้งมาร์เกต เช่น บลจ.อเบอร์ดีน ได้เปิดขายกองทุนเปิด อินเดีย โกรท ฟันด์ หรือแม้แต่บลจ.แอสเซทพลัส ที่กำลังจะออกกองทุนลงทุนหุ้นในต่างประเทศมานำเสนอนักลงทุน
นายมนรัฐ ผดุงสิทธิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) วรรณ จำกัด กล่าวว่า ตลาดหุ้นต่างประเทศขณะนี้บางแห่งมีความน่าสนใจมากกว่าตลาดหุ้นไทยจริง โดยในส่วนของตลาดหุ้นสหรัฐฯนั้น ยอมรับว่ามีการเติบโต แต่เป็นการเติบโตในเฉพาะบางกลุ่มอุตสาหกรรม เช่น หุ้นในกลุ่มพลังงาน และหุ้นที่ชนะเงินเฟ้อได้ จะไดัรับความสนใจมากสุด เพราะราคาหุ้นเริ่มปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง ขณะที่หุ้นที่เกี่ยวข้องกับอสัหงหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นหุ้นที่มีปัญหาโดยตรงจากวิกฤตเศรษฐกิจในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ราคาหุ้นยังอยู่ในระดับต่ำ และยังไม่น่าลงทุน
“จริงแล้วตั้งแต่ 2 เดือนก่อนเราพอมองภาพกันออกแล้วว่า เศรษฐกิจของสหรัฐฯจะฟื้นตัว น่าเข้าไปลงทุน อย่างไรก็ตามตลาดนี้ยังเป็นตลาดที่ประมาทไม่ได้ ต้องมีการติดตามโดยตลอด เพราะการฟื้นตัวบางอย่างเกิดจากความคาดหวัง ตอนนี้นักลงทุนต่างประเทศ คาดหวังจะเห็นมาตรการQE3ขึ้นอีก ทำให้ราคาหุ้นบางตัวปรับขึ้นมารอรับเรื่องนี้ เราพบว่าในช่วงต้นปี มีเม็ดเงินบางส่วนโยกกลับเข้าไปลงทุนในสหรัฐฯแล้ว”
ก่อนหน้านี้ นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ธปท. เปิดเผยว่า ในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2554 พบว่ามีคนไทยนำเงินออกไปลงทุนต่างประเทศมากขึ้น โดยคิดเป็นการเพิ่มขึ้นจากค่าเฉลี่ยของปีก่อนประมาณ 2 เท่าครึ่ง
แนวโน้มตลาดหุ้นไทยปีนี้ หลายฝ่ายประเมินว่า แม้ดัชนีจะปรับตัวสูงขึ้น แต่ก็ไม่สูงเท่ากับปีที่ผ่านมา เห็นได้จากต้นปีดัชนีมีการปรับฐานครั้งใหญ่ เม็ดเงินลงทุนบางส่วนไหลออกจากไทย และประเทศในภูมิภาคเดียวกันอย่างอินโดนีเซีย กลับสู่ประเทศใหญ่ เช่น สหรัฐอเมริกา ที่เริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ทำให้หุ้นหลายตัวที่ราคารูดต่ำลงมากในช่วง2ปีก่อน เริ่มปรับตัวเพิ่มขึ้น จึงนับจังหวะที่น่าเข้าไปลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนในระดับสูง
ขณะเดียวกัน ด้านตลาดหุ้นไทย ก็เหลือเวลาอีกเพียง 1 ปี ที่จะเปิดเสรีหลักทรัพย์ในปี2555 บรรดาบริษัทหลักทรัพย์(บล.)หลายแห่งปรับตัว เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นการควบรวมกิจการ หรือเพิ่มธุรกรรมการเงินประเภทอื่นๆ เข้ามาช่วยเสริมรายได้หลักที่มาจากค่านายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ แม้จะมีการเพิ่มสินค้าอนุพันธ์ หรือเครื่องมือทางเงินอื่นๆ แต่ขณะที่มีการพูดถึงกันมากขึ้น นั่นคือ การลงทุนในหุ้นต่างประเทศ ผ่านบล.ไทย ซึ่งขณะนี้เริ่มมีหลายแห่งเปิดให้บริการแก่ลูกค้าที่สนใจแล้ว แม้จะมีปริมาณนักลงทุนไม่มากนัก แต่ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่ฐานะและกำลังซื้อสูง
นางอัศวินี ไตลังคะ ประธานกรรมการบริหารและกรรมการผู้จัดการ บล.ธนชาต จำกัด กล่าวว่า ทางบริษัทได้เปิดบริการให้ลูกค้าสามารถเข้าไปลงทุนซื้อขายในหุ้นต่างประเทศได้แล้ว ซึ่งที่ผ่านมาบริการดังกล่าวได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี และมีแนวโน้มเติบโตเพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากภาวะดัชนีตลาดหุ้นไทยในช่วงที่ผ่านมามีความผันผวน และสร้างผลตอบแทนได้น้อยกว่าปีก่อน ทำให้นักลงทุนบางรายเริ่มมองหาแหล่งลงทุนที่ให้ผลตอบแทนดีกว่า ซึ่งหนึ่งในนั้น คือตลาดหุ้นในสหรัฐฯ ที่มีหุ้นน่าสนใจและเป็นหุ้นขนาดใหญ่หลายบริษัทมีราคาที่ถูก และสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีได้
ทั้งนี้ การลงทุนผ่านบล.ธนชาต บริษัทยืนยันว่าเป็นการลงทุนทางตรง เนื่องจากบริษัทมีพาร์ทเนอร์ที่เป็นบริษัทหลักทรัพย์ในต่างประเทศ คอยรับส่งคำสั่งซื้อขายกับบริษัทในตลาดหุ้นขนาดใหญ่ นอกจากนี้บริษัทยังมีข้อมูลในหุ้นๆต่างที่ลูกค้าสนใจ นำเสนอให้แก่ลูกค้าของบริษัทเพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุนโดยตลอด
“ส่วนใหญ่ที่ลูกค้าเข้าไปลงทุนในตลาดต่างประเทศช่วงนี้ จะเป็นสหรัฐ ยุโรป สิงคโปร์ มาเลเซีย และจีน วงเงินที่ลงทุนขั้นต่ำประมาณ 1 ล้านบาท ตอนนี้เรามีทีมงานคอยให้บริการลูกค้าสำรับเทรดในตลาดต่างประเทศแล้ว และกำลังจะเพิ่มจำนวนทีมงานเข้ามาอีกทั้งด้านมาร์เกตติ้ง และเทรดเดอร์”
ขณะเดียวกัน ในปีนี้ทางบริษัท จะมีความร่วมมือกับทางกลุ่มสโกวาเทีย ผู้ถือหุ้นใหญ่ในธนาคาร ธนชาต โดยการดึงลูกค้าไฮเนตเวิร์กของผู้ถือหุ้นใหญ่จากต่างประเทศ และลูกค้าไทย เข้ามาให้บริษัทบริหารเม็ดเงินลงทุนให้ ผ่านบริการ ไพรเวทเวลธ์โดยจะมีการจัดตั้งคณะกรรมการและทีมงานขึ้นมาทำร่วมกัน ซึ่งคาดว่าบริการดังกล่าวน่าจะเริ่มได้ประมาณกลางปีนี้
ด้าน นายก้องเกียรติ โอภาสวงการ ประธานกรรมการบริหาร บล.เอเซีย พลัส (ASP) กล่าวว่า เปิดเผยว่า แผนงานส่วนหนึ่งของบริษัทในปีนี้ คือการเน้นขยายการลงทุนไปในต่างประเทศ เพราะเห็นว่า ตลาดหุ้นในหลายประเทศมีราคาถูกกว่าหุ้นไทย ทั้งP/E บุ๊คแวลู หรือดิวิเดนด์ยิลด์ ซึ่งน่าจะสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนของบริษัทได้ดีกว่า ส่วนด้านการบริหารสินทรัพย์ให้ลูกค้า ในปีนี้ก็จะเน้นการลงทุนในต่างประเทศเช่นกัน ซึ่งประมาณกลางเดือนนี้ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) แอสเซทพลัส ในฐานะบริษัทย่อย จะมีการออกกองทุนที่ไปลงทุนในหุ้นต่างประเทศ มารองรับในเรื่องดังกล่าว
นอกจากนี้ที่ผ่านมาลูกค้าของบริษัทนิยมเข้าไปลงทุนในต่างประเทศประเทศมากขึ้น เช่น สหรัฐอเมริกา, ฮ่องกง, จีน, ญี่ปุ่น, สิงคโปร์ และ เกาหลีใต้ เพราะให้ผลตอบแทนดีกว่า โดยพบว่า ค่าP/E หุ้นไทยบางตัว ในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน ยังสูงกว่าหุ้นในต่างประเทศ ดังนั้นหากนำเงินไปลงทุน น่าจะได้ผลตอบแทนที่สูงกว่า
ปัจจุบัน บริษัทหลักทรัพย์ หลายแห่งให้ความสำคัญกับการเพิ่มช่องทางให้ลูกค้าไปลงทุนในหุ้นต่างประเทศมากขึ้น เพื่อเพิ่มทางเลือกในการลงทุน และช่วยสร้างรายได้กลับมาให้บริษัท เช่น บล.เอเซียพลัส บล.ธนชาต บล.ฟิลลิป บล.ไอร่า ฯลฯ เพราะรายได้ในส่วนนี้ จะเป็นช่องทางเสริมรายได้อีกด้านหนึ่ง เพื่อทดแทนรายได้จากค่าคอมมิชั่นที่ในอนาคตจะปรับลดลงไป จากการเปิดเสรีหลักทรัพย์ในปี 2555
ขณะเดียวกันนอกเหนือจาก บล.แล้ว พบว่า บรรดา บริษัทจัดการลงทุน (บลจ.) หลายแห่งก็เริ่มให้ความสนใจจัดตั้งกองทุนเพื่อไปลงทุนในหุ้นต่างประเทศมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นตลาดหุ้นอเมริกา หรือประเทศในกลุ่มอีเมอร์จิ้งมาร์เกต เช่น บลจ.อเบอร์ดีน ได้เปิดขายกองทุนเปิด อินเดีย โกรท ฟันด์ หรือแม้แต่บลจ.แอสเซทพลัส ที่กำลังจะออกกองทุนลงทุนหุ้นในต่างประเทศมานำเสนอนักลงทุน
นายมนรัฐ ผดุงสิทธิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) วรรณ จำกัด กล่าวว่า ตลาดหุ้นต่างประเทศขณะนี้บางแห่งมีความน่าสนใจมากกว่าตลาดหุ้นไทยจริง โดยในส่วนของตลาดหุ้นสหรัฐฯนั้น ยอมรับว่ามีการเติบโต แต่เป็นการเติบโตในเฉพาะบางกลุ่มอุตสาหกรรม เช่น หุ้นในกลุ่มพลังงาน และหุ้นที่ชนะเงินเฟ้อได้ จะไดัรับความสนใจมากสุด เพราะราคาหุ้นเริ่มปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง ขณะที่หุ้นที่เกี่ยวข้องกับอสัหงหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นหุ้นที่มีปัญหาโดยตรงจากวิกฤตเศรษฐกิจในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ราคาหุ้นยังอยู่ในระดับต่ำ และยังไม่น่าลงทุน
“จริงแล้วตั้งแต่ 2 เดือนก่อนเราพอมองภาพกันออกแล้วว่า เศรษฐกิจของสหรัฐฯจะฟื้นตัว น่าเข้าไปลงทุน อย่างไรก็ตามตลาดนี้ยังเป็นตลาดที่ประมาทไม่ได้ ต้องมีการติดตามโดยตลอด เพราะการฟื้นตัวบางอย่างเกิดจากความคาดหวัง ตอนนี้นักลงทุนต่างประเทศ คาดหวังจะเห็นมาตรการQE3ขึ้นอีก ทำให้ราคาหุ้นบางตัวปรับขึ้นมารอรับเรื่องนี้ เราพบว่าในช่วงต้นปี มีเม็ดเงินบางส่วนโยกกลับเข้าไปลงทุนในสหรัฐฯแล้ว”
ก่อนหน้านี้ นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ธปท. เปิดเผยว่า ในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2554 พบว่ามีคนไทยนำเงินออกไปลงทุนต่างประเทศมากขึ้น โดยคิดเป็นการเพิ่มขึ้นจากค่าเฉลี่ยของปีก่อนประมาณ 2 เท่าครึ่ง